ASTVผู้จัดการรายวัน -“มาร์ค” หวั่นรถไฟฟ้าสายสีม่วงเสียค่าโง่ แบบสัมปทานมือถือ ตีกลับแนวทางให้ผลตอบแทนเอกชน 12.5% ก่อนให้ใช้รูปแบบ PPP Gross Cost แทน มอบ 4 หน่วยงาน ทำรายละเอียดตามกฎหมายร่วมทุนรัฐ คาด 1 ปีร่างทีโออาร์เสร็จ เปิดประมูลปี 54 พร้อมเปิดใช้เต็มรูปแบบในปี 57 เพิ่มค่าที่ปรึกษาอีก 382 ล้านบาท “โสภณ”สั่ง BMCLปรับสัมปทานเดินรถใต้ดินเป็นแบบ PPP เหมือนสีม่วง ด้านรฟม.ปลุกเศรษฐกิจต้นปีนี้ ออกประกาศทีโออาร์ ประมูลสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย มูลค่า 52,257 ล้านบาท พร้อมกัน 4 สัญญา คาดลงนามผู้รับเหมาได้ใน ส.ค.-ก.ย.53 เหตุใช้เงินในประเทศขั้นตอนน้อยกว่าไจก้า
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ได้ข้อยุติในเรื่องรูปแบบการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ให้มาใช้รูปแบบ PPP Gross Cost ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยภาครัฐลงทุนค่างานโยธาทั้งหมด และเอกชนลงทุนค่างานระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริหารการเดินรถ และซ่อมบำรุงตามมาตรฐานที่กำหนดในเงื่อนไขสัญญา
ทั้งนี้ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงรูปแบบการเข้าร่วมลงทุนในโครงการจะใช้รูปแบบ PPP Gross Cost โดยภาครัฐจ้างเอกชนในการดำเนินการ ซึ่งภาคเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนในระบบอาณัติสัญญาณ ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ตัวรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถไฟฟ้า ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการกระจายความเสี่ยงทั้งในด้านผู้โดยสาร และต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมกว่ารูปแบบที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และทำให้ภาครัฐสามารถกำหนดนโยบายด้านอัตราค่าโดยสารเพื่อจูงใจให้เกิดการใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้การโอนระบบรถไฟฟ้ามาเป็นของรัฐนั้น จะช่วยให้การให้บริการมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ภาคเอกชนไม่สามารถให้บริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ภาครัฐสามารถเข้าไปดำเนินการให้การบริการมีความต่อเนื่องมากขึ้น สำหรับแนวทางการคัดเลือกเอกชนนั้น กรอบการพิจารณาจะพิจารณาในด้านเทคนิคและมาตรฐานการให้บริการที่เสนอก่อน และเมื่อผ่านการพิจารณาด้านเทคนิคแล้ว จะพิจารณาข้อเสนอด้านการลงทุนและค่าจ้างการเดินรถเป็นลำดับต่อไป ซึ่งการดำเนินการจะเป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
“กระทรวงคมนาคม นำเสนอเป็นตุ๊กตา เป็นตัวเลขผลตอบแทนเอกชนที่ให้บริการ จำนวน 12.5% แต่ก็ถูกยกออกไป เพราะมีการกำหนดกรอบลักษณะดังกล่าวนี้ โดยกรอบ รัฐจะเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร และรายได้เชิงพาณิชย์ จากการใช้ประโยชน์ และโครงสร้างงานโยธา และรถไฟฟ้าทั้งหมด รัฐจะจ่ายคืนเอกชนในลักษณะค่าจ้างบริหารการเดินรถ และซ่อมบำรุง”
นายวัชระ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปพิจารณารายละเอียดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
ตลอดจนประเมินปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การทดสอบตลาด เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน กำหนดอัตราผลตอบแทนการลงทุนภาคเอกชน เพื่อให้มีการแข่งขันในด้านต้นทุนการให้บริการของเอกชน และการกำหนดขอบเขตการดำเนินโครงการควรพิจารณาเรื่องการโอนรถไฟฟ้าให้เป็นของรัฐอย่างรอบคอบ โดยนำความเสี่ยงต่างๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ให้จัดทำแล้วเสร็จก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้รายงานต่อที่ประชุมว่าการจัดทำทีโออาร์จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งจะแล้วเสร็จ และเปิดประมูลได้ในปี 54 ส่วนการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ และเปิดเดินรถได้ในปี 57 โดยมีกรอบลงทุนราว 13,000 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมฯ ยังรับทราบการปรับเพิ่มวงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาระบบรถไฟฟ้าอีก 382 ล้านบาท ทำให้วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 1,678 ล้านบาท จากเดิม 1,296 ล้านบาท แต่ได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงานข้างต้นไปพิจารณาความเหมาะสมของวงเงินดังกล่าวอีกครั้ง แล้วเสนอต่อที่ประชุมครม.ต่อไป
นายวัชระ กล่าวว่า นายกฯ สอบถามเรื่องของการลงทุนรถไฟของภาคเอกชน โดยตั้งคำถามถึงตัวรถว่าเมื่อดำเนินการจะเป็นของรัฐตั้งแต่วันแรกหรือครบอายุสัมปทานก่อน โดยนายกอร์ปศักดิ์ ชี้แจงว่า หากครบสัมปทานก็ใช้เวลา 30 ปี ก็เป็นขยะไม่มีมูลค่าทางบัญชี นายกฯยังตั้งคำถามว่า เงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์จะแยกกันอย่างไร จะใช้ตัวเลขมาตรฐานหรือบรรทัดฐานตัวไหนมาวัด เช่น บริษัท ก. เสนองบลงทุนทางด้านฮาร์ดแวย์ แต่ค่าบริการถูกกว่า แต่อีกบริษัทเสนอค่าบริการที่แพงกว่า การการลงทุนฮาร์ดแวร์ที่ถูกกว่าในวงเงินประมูลที่เท่ากันเราจะใช้มาตรฐานตัวไหนมาวัด
โดยประชุมมีมติให้กระทรวงคมนาคมไปหารายละเอียดมาตรฐานกลางใหม่ในการตัดสินการประมูล โดยไม่ต้องมีรายละเอียดหยิบย่อย เพราะจะกลายเป็นข้อครหาและการฟ้องร้องอีก เช่นเดียวกับสัมปทานโทรศัพท์มือถือ
ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ ให้ความเห็นว่า เงื่อนไขต่าง ๆไม่ต้องไปสนใจ โดยเสนอว่า “รัฐบาลอาจจะออกประกาศการให้ผลตอบแทนค่าจ้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เงื่อนไขก็จะดูว่าเอกชนจะเข้ามาบริหารจัดการเท่าไรและให้ไปบริหารจัดการเอาเอง แต่ข้อเสนอนี้ที่ประชุมยังรับเป็นข้อสังเกตเท่านั้น”
ทั้งนี้ ตามแนวทางแม้รัฐบาลจะมีความเสี่ยง ตามแนวทางนี้ 1.รัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมการบริการทั้งหมด โดยรัฐบาลจะสามารถกำหนดราคา การบริการ หรือส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า เช่นการติดสติกเกอร์ห้ามรถยนต์เข้าเขตเมือง เป็นต้น 2.รัฐบาลมองว่าน่าจะเป็นทางเลือกที่เปิดโอกาสให้เอกชนมีการข่งขันให้มากที่สุด
สำหรับกรอบการดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยมีขั้นตอนระยะเวลาการทำสัญญาและร่างทีโออาร์จะอยู่ในเวลา 1 ปี และประมาณต้นปี 2554 จะสามารถเปิดประมูลได้ โดยประมาณปี 2557 ระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างของรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะแล้วเสร็จ
**เล็งปรับสัมปทานบีเอ็มซีแอล
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ครม.เศรษฐกิจ ได้มอบหมายให้ รฟม.ไปเจรจากับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินในปัจจุบันให้เป็นรูปแบบ PPP เช่นเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งรัฐและเอกชน โดยในส่วนของเอกชนจะไม่มีความเสี่ยงด้านรายได้ เพราะรัฐจะจ่ายเป็นค่าจ้างเดินรถให้
**BMCLรอความชัดเจนก่อนให้คำตอบ รบ.
นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า ทางบริษัทคงจะต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาลก่อนว่าโจทย์นั้นคืออะไร จากนั้นบริษัทคงต้องใช้เวลาศึกษาเพื่อหาคำตอบให้รัฐบาลต่อไป
**รฟม.เปิดประมูลสีน้ำเงิน 4 สัญญา
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ รฟม. กล่าวว่า วานนี้ (6 ม.ค.) รฟม.ได้ออกประกาศเชิญชวนประกวดราคาก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร หลังจากหลังจากคณะกรรมการร่วม ได้พิจารณาปรับลดราคากลางลงเหลือ 52,257 ล้านบาท จากกรอบเดิม 52,460 ล้านบาท โดยหลังจากประกาศทีโออาร์ 1 สัปดาห์จะเปิดขายแบบอีก 15 วัน และให้เวลาในการจัดทำเอกสารประกวดราคา 90 วัน กำหนดให้ยื่นข้อเสนอประมาณเดือนเม.ย. 53 และใช้เวลาพิจารณาเอกสารประมาณ 5 เดือน และสามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาได้ภายในเดือน ส.ค. – ก.ย. 2553
โดยรฟม.ได้ประกาศเชิญชวนประกวดราคาก่อสร้างงานโยธาโครงการพร้อมกันทั้ง 4 สัญญา ประกอบด้วย เป็นงานอุโมงค์ 2 สัญญาและงานโครงสร้างยกระดับ 2 สัญญา และเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ภายในประเทศจาก 3 ธนาคารสำหรับดำเนินการก่อสร้าง ทำให้ขั้นตอนการประกวดราคาเร็วกว่าสายสีม่วงที่ใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ประมาณ6 เดือน
“การใช้เงินกู้ภายในประเทศ ทำให้ขั้นตอนการดำเนินการไม่มากเท่ากับการประมูลสายสีม่วง โดยแต่ละสัญญาจะมีคณะกรรมการประกวดราคา และสรุปผลเสนอคณะกรรมการประกวดราคาชุดใหญ่ อีกครั้ง ก่อนที่จะเสนอบอร์ดรฟม. พิจารณา และเมื่อสรุปทั้ง 4 สัญญาได้ก็จะเสนอรมว.คมนาคมเพื่อเสนอครม.ต่อไป “ นายสุพจน์กล่าว
สำหรับงานโยธา 4 สัญญาประกอบด้วย งานอุโมงค์ สัญญาที่ 1 ช่วงสถานีวัดมังกรและสถานีวังบูรพา ระยะทาง 2.8 กม. 2 สถานี, สัญญาที่ 2 เริ่มจากสถานีสนามชัย และสถานีอิสรภาพ มีระยะทาง 2.8-2.9 กม. มี 2 สถานี โครงสร้างยกระดับอีก 2 สัญญาคือสัญญาที่ 3 จากสถานีอิสรภาพ-ท่าพระ-บางแค (เดอะมอลล์บางแค) ระยะทาง 9 กม. และสัญญาที่ 4 จากเส้นทางที่เชื่อมต่อจากสถานีเตาปูนในรถไฟฟ้าสายสีม่วง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบที่ท่าพระ มีระยะทาง 11 กม.
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ได้ข้อยุติในเรื่องรูปแบบการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ให้มาใช้รูปแบบ PPP Gross Cost ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยภาครัฐลงทุนค่างานโยธาทั้งหมด และเอกชนลงทุนค่างานระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริหารการเดินรถ และซ่อมบำรุงตามมาตรฐานที่กำหนดในเงื่อนไขสัญญา
ทั้งนี้ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงรูปแบบการเข้าร่วมลงทุนในโครงการจะใช้รูปแบบ PPP Gross Cost โดยภาครัฐจ้างเอกชนในการดำเนินการ ซึ่งภาคเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนในระบบอาณัติสัญญาณ ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ตัวรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถไฟฟ้า ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการกระจายความเสี่ยงทั้งในด้านผู้โดยสาร และต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมกว่ารูปแบบที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และทำให้ภาครัฐสามารถกำหนดนโยบายด้านอัตราค่าโดยสารเพื่อจูงใจให้เกิดการใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้การโอนระบบรถไฟฟ้ามาเป็นของรัฐนั้น จะช่วยให้การให้บริการมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ภาคเอกชนไม่สามารถให้บริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ภาครัฐสามารถเข้าไปดำเนินการให้การบริการมีความต่อเนื่องมากขึ้น สำหรับแนวทางการคัดเลือกเอกชนนั้น กรอบการพิจารณาจะพิจารณาในด้านเทคนิคและมาตรฐานการให้บริการที่เสนอก่อน และเมื่อผ่านการพิจารณาด้านเทคนิคแล้ว จะพิจารณาข้อเสนอด้านการลงทุนและค่าจ้างการเดินรถเป็นลำดับต่อไป ซึ่งการดำเนินการจะเป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
“กระทรวงคมนาคม นำเสนอเป็นตุ๊กตา เป็นตัวเลขผลตอบแทนเอกชนที่ให้บริการ จำนวน 12.5% แต่ก็ถูกยกออกไป เพราะมีการกำหนดกรอบลักษณะดังกล่าวนี้ โดยกรอบ รัฐจะเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร และรายได้เชิงพาณิชย์ จากการใช้ประโยชน์ และโครงสร้างงานโยธา และรถไฟฟ้าทั้งหมด รัฐจะจ่ายคืนเอกชนในลักษณะค่าจ้างบริหารการเดินรถ และซ่อมบำรุง”
นายวัชระ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปพิจารณารายละเอียดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
ตลอดจนประเมินปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การทดสอบตลาด เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน กำหนดอัตราผลตอบแทนการลงทุนภาคเอกชน เพื่อให้มีการแข่งขันในด้านต้นทุนการให้บริการของเอกชน และการกำหนดขอบเขตการดำเนินโครงการควรพิจารณาเรื่องการโอนรถไฟฟ้าให้เป็นของรัฐอย่างรอบคอบ โดยนำความเสี่ยงต่างๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ให้จัดทำแล้วเสร็จก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้รายงานต่อที่ประชุมว่าการจัดทำทีโออาร์จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งจะแล้วเสร็จ และเปิดประมูลได้ในปี 54 ส่วนการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ และเปิดเดินรถได้ในปี 57 โดยมีกรอบลงทุนราว 13,000 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมฯ ยังรับทราบการปรับเพิ่มวงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาระบบรถไฟฟ้าอีก 382 ล้านบาท ทำให้วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 1,678 ล้านบาท จากเดิม 1,296 ล้านบาท แต่ได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงานข้างต้นไปพิจารณาความเหมาะสมของวงเงินดังกล่าวอีกครั้ง แล้วเสนอต่อที่ประชุมครม.ต่อไป
นายวัชระ กล่าวว่า นายกฯ สอบถามเรื่องของการลงทุนรถไฟของภาคเอกชน โดยตั้งคำถามถึงตัวรถว่าเมื่อดำเนินการจะเป็นของรัฐตั้งแต่วันแรกหรือครบอายุสัมปทานก่อน โดยนายกอร์ปศักดิ์ ชี้แจงว่า หากครบสัมปทานก็ใช้เวลา 30 ปี ก็เป็นขยะไม่มีมูลค่าทางบัญชี นายกฯยังตั้งคำถามว่า เงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์จะแยกกันอย่างไร จะใช้ตัวเลขมาตรฐานหรือบรรทัดฐานตัวไหนมาวัด เช่น บริษัท ก. เสนองบลงทุนทางด้านฮาร์ดแวย์ แต่ค่าบริการถูกกว่า แต่อีกบริษัทเสนอค่าบริการที่แพงกว่า การการลงทุนฮาร์ดแวร์ที่ถูกกว่าในวงเงินประมูลที่เท่ากันเราจะใช้มาตรฐานตัวไหนมาวัด
โดยประชุมมีมติให้กระทรวงคมนาคมไปหารายละเอียดมาตรฐานกลางใหม่ในการตัดสินการประมูล โดยไม่ต้องมีรายละเอียดหยิบย่อย เพราะจะกลายเป็นข้อครหาและการฟ้องร้องอีก เช่นเดียวกับสัมปทานโทรศัพท์มือถือ
ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ ให้ความเห็นว่า เงื่อนไขต่าง ๆไม่ต้องไปสนใจ โดยเสนอว่า “รัฐบาลอาจจะออกประกาศการให้ผลตอบแทนค่าจ้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เงื่อนไขก็จะดูว่าเอกชนจะเข้ามาบริหารจัดการเท่าไรและให้ไปบริหารจัดการเอาเอง แต่ข้อเสนอนี้ที่ประชุมยังรับเป็นข้อสังเกตเท่านั้น”
ทั้งนี้ ตามแนวทางแม้รัฐบาลจะมีความเสี่ยง ตามแนวทางนี้ 1.รัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมการบริการทั้งหมด โดยรัฐบาลจะสามารถกำหนดราคา การบริการ หรือส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า เช่นการติดสติกเกอร์ห้ามรถยนต์เข้าเขตเมือง เป็นต้น 2.รัฐบาลมองว่าน่าจะเป็นทางเลือกที่เปิดโอกาสให้เอกชนมีการข่งขันให้มากที่สุด
สำหรับกรอบการดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยมีขั้นตอนระยะเวลาการทำสัญญาและร่างทีโออาร์จะอยู่ในเวลา 1 ปี และประมาณต้นปี 2554 จะสามารถเปิดประมูลได้ โดยประมาณปี 2557 ระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างของรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะแล้วเสร็จ
**เล็งปรับสัมปทานบีเอ็มซีแอล
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ครม.เศรษฐกิจ ได้มอบหมายให้ รฟม.ไปเจรจากับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินในปัจจุบันให้เป็นรูปแบบ PPP เช่นเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งรัฐและเอกชน โดยในส่วนของเอกชนจะไม่มีความเสี่ยงด้านรายได้ เพราะรัฐจะจ่ายเป็นค่าจ้างเดินรถให้
**BMCLรอความชัดเจนก่อนให้คำตอบ รบ.
นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า ทางบริษัทคงจะต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาลก่อนว่าโจทย์นั้นคืออะไร จากนั้นบริษัทคงต้องใช้เวลาศึกษาเพื่อหาคำตอบให้รัฐบาลต่อไป
**รฟม.เปิดประมูลสีน้ำเงิน 4 สัญญา
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ รฟม. กล่าวว่า วานนี้ (6 ม.ค.) รฟม.ได้ออกประกาศเชิญชวนประกวดราคาก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร หลังจากหลังจากคณะกรรมการร่วม ได้พิจารณาปรับลดราคากลางลงเหลือ 52,257 ล้านบาท จากกรอบเดิม 52,460 ล้านบาท โดยหลังจากประกาศทีโออาร์ 1 สัปดาห์จะเปิดขายแบบอีก 15 วัน และให้เวลาในการจัดทำเอกสารประกวดราคา 90 วัน กำหนดให้ยื่นข้อเสนอประมาณเดือนเม.ย. 53 และใช้เวลาพิจารณาเอกสารประมาณ 5 เดือน และสามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาได้ภายในเดือน ส.ค. – ก.ย. 2553
โดยรฟม.ได้ประกาศเชิญชวนประกวดราคาก่อสร้างงานโยธาโครงการพร้อมกันทั้ง 4 สัญญา ประกอบด้วย เป็นงานอุโมงค์ 2 สัญญาและงานโครงสร้างยกระดับ 2 สัญญา และเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ภายในประเทศจาก 3 ธนาคารสำหรับดำเนินการก่อสร้าง ทำให้ขั้นตอนการประกวดราคาเร็วกว่าสายสีม่วงที่ใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ประมาณ6 เดือน
“การใช้เงินกู้ภายในประเทศ ทำให้ขั้นตอนการดำเนินการไม่มากเท่ากับการประมูลสายสีม่วง โดยแต่ละสัญญาจะมีคณะกรรมการประกวดราคา และสรุปผลเสนอคณะกรรมการประกวดราคาชุดใหญ่ อีกครั้ง ก่อนที่จะเสนอบอร์ดรฟม. พิจารณา และเมื่อสรุปทั้ง 4 สัญญาได้ก็จะเสนอรมว.คมนาคมเพื่อเสนอครม.ต่อไป “ นายสุพจน์กล่าว
สำหรับงานโยธา 4 สัญญาประกอบด้วย งานอุโมงค์ สัญญาที่ 1 ช่วงสถานีวัดมังกรและสถานีวังบูรพา ระยะทาง 2.8 กม. 2 สถานี, สัญญาที่ 2 เริ่มจากสถานีสนามชัย และสถานีอิสรภาพ มีระยะทาง 2.8-2.9 กม. มี 2 สถานี โครงสร้างยกระดับอีก 2 สัญญาคือสัญญาที่ 3 จากสถานีอิสรภาพ-ท่าพระ-บางแค (เดอะมอลล์บางแค) ระยะทาง 9 กม. และสัญญาที่ 4 จากเส้นทางที่เชื่อมต่อจากสถานีเตาปูนในรถไฟฟ้าสายสีม่วง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบที่ท่าพระ มีระยะทาง 11 กม.