ASTV ผู้จัดการรายวัน-“ภูมิใจไทย-ประชาธิปัตย์” เปิดศึกชิงเค้กค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 40 ,000 ล้านบาทอีกรอบ “โสภณ” ยันรฟม.ต้องเป็นผู้ก่อสร้าง ตามมติครม.หลัง ผู้ว่าฯกทม.ทำหนังสือถึง”นายก”ขอให้กทม.เป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งหมด ชี้ไม่ควรแย่งกันแต่ควรช่วยกันทำงานมากกว่า โวผลงาน คมนาคม 1 ปี ดีเยี่ยม ทุกโครงการคืบหน้าเป็นรูปธรรม รณรงค์ ปี 53 เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านคมนาคม
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงกรณีที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้เสนอเปลี่ยนแปลงมติคณะรัฐมนตรี ให้กทม.เป็นผู้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม ยืนยันจะดำเนินการตามมติครม.ที่ให้รฟม.เป็นผู้ก่อสร้างโครงการส่วนการเดินรถอาจให้กทม.เป็นผู้บริหารได้
“ก่อนหน้านี้ผมได้หารือกับนายกฯ แล้ว ก็ไม่ได้ขัดข้องที่ รฟม.จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการตามมติครม. ซึ่งกระบวนการต่างๆ ของรฟม.ในการเปิดประมูล ก็ยังคงเดินหน้าต่อไป ส่วนการที่กทม.ทำหนังสือขอทำโครงการทั้งหมดเอง ก็อยู่ที่นายกฯ จะว่าอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่ารถไฟฟ้าไม่ใช่โครงการของกทม.หรือของคมนาคม แต่เป็นของประเทศไทยการจะให้ใครดำเนินการก็ดูที่ประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่แย่งกันทำ แต่ต้องช่วยกัน”นายโสภณ
โดยก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ทำหนังสือถึงนายกฯ เพื่อขอดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยายทั้ง 2สายเอง โดยระบุว่าการให้กทม.ดำเนินการจะมีผลดีและมีประโยชน์ต่อประชาชน ในขณะที่มติครม.กำหนดให้ รฟม.เป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างงานโยธา โดยช่วง หมอชิต – สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กม.แบบยกระดับตลอดเส้นทาง 12 สถานี ค่าก่อสร้างงานโยธา 18,723 ล้านบาทค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2,388 ล้านบาท ค่างานระบบและตัวรถไฟฟ้า 14,156 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 1,244 ล้านบาท รวมมูลค่า 36,511 ล้านบาท ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการระยะทาง 13 กม. จำนวน 9 สถานี ค่าก่อสร้างงานโยธา 17,233 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 675 ล้านบาท ค่างานระบบและตัวรถไฟฟ้า 9,129 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 1,090 ล้านบาท รวมมูลค่า28,027 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า ค่าก่อสร้างงานโยธาและค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสายสีเขียวส่วนต่อขยายมีมูลค่าประมาณ40,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างปรับแบบในช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ ในส่วนที่เป็นพื้นที่ของกทม. ซึ่งรฟม.ยืนยันความพร้อมที่จะประกวดราคาในส่วนของสายสีเขียวอ่อนก่อน ซึงล่าสุดบริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการจัดทำร่างทีโออาร์เรียบร้อยแล้วและจะประกวดราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ็อคชั่น)
สำหรับแหล่งเงินทุนนั้น สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ยืนยันในการจัดหาแหล่งเงินให้รฟม.ดำเนินการก่อสร้างโครงการแล้วเช่นกัน
ส่วนการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ นั้น นายโสภณกล่าวว่า หลังจากครม.ให้เสนอรายละเอียดการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) Gross Cost (ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดหาระบบและซื้อรถ ซ่อมบำรุงโดยรัฐจ่ายค่าจ้างบริหารการเดินรถและเก็บเงินค่าโดยสารเอง) คาดว่าจะเสนอครม.พิจารณาได้อีกครั้งในเดือนม.ค. 12553 โดยต้องการให้รฟม.สรุป งานก่อสร้างงานโยธาสัญญาที่ 2 และ 3 ซึ่งคาดว่า สำนักงานอัยการสูงสุดจะส่งเรื่องกลับมายัง รฟม.และลงนามก่อสร้างได้ในปลายเดือนธ.ค.2552 นี้
"โสภณ” ฟุ้งผลงาน1 ปี ดีเยี่ยม
นายโสภณกล่าวถึงการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาว่า พอใจผลงานเพราะมีหลายโครงการคืบหน้าเป็นรูปธรรม เช่น การทดลองเปิดเดินรถโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ สถานีรับส่งผู้โดยสารในเมือง (แอร์พอร์ตลิงค์) ซึ่งการเปิดเดินรถเป็นทางการยังคงเป็นไปตามกำหนดเดือนเม.ย. 2553 โดยคาดว่าในเดือนม.ค.2553 จะจัดตั้งบริษัทลูกแอร์พอร์ตลิ้งค์รวมถึงการจัดหา CEOของบริษัทลูกได้เรียบร้อย ส่วนพนักงานเดินรถยืนยันว่าไม่มีปัญหาเนื่องจากได้มีกระบวนการรับสมัครและเริ่มฝึกอบรมแล้ว เหลือเพียงการรับรองของ วิศวกรอิสระ (ICE)
นอกจากนี้ ยังสามารถดำเนินการประมูลและเริ่มก่อสร้างโครงการถนนไร้ฝุ่น, เรียกความเชื่อมั่นจากต่างประเทศเกี่ยวกับด้านการบินภายหลังมีปัญหาปิดสนามบิน, บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) แก้ปัญหาทำให้ผลการขาดทุนลดลง ส่วนการขนส่งทางน้ำ สามารผลักดันให้ก่อสร้างโครงการท่าเทียบเรือเชียงแสน 2 และท่าเรือคลลองใหญ่ รวมถึงดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีน้ำเงินส่วนต่อขยายได้ตามแผน
นายโสภณกล่าวถึงปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า เป็นเรื่องใหญ่แต่สามารถปรับปรุงให้เป็นรูปธรรมได้ จนรัฐบาลให้งบประมาณ 1 แสนล้านบาท และเริ่มศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
อย่างไรก็ตามในปี 2553 กระทรวงคมนาคมจะรณรงค์ให้เป็นปีแห่งความปลอดภัย สังคมไทยเป็นสุข ซึ่งจะร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในโครงการ
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงกรณีที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้เสนอเปลี่ยนแปลงมติคณะรัฐมนตรี ให้กทม.เป็นผู้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม ยืนยันจะดำเนินการตามมติครม.ที่ให้รฟม.เป็นผู้ก่อสร้างโครงการส่วนการเดินรถอาจให้กทม.เป็นผู้บริหารได้
“ก่อนหน้านี้ผมได้หารือกับนายกฯ แล้ว ก็ไม่ได้ขัดข้องที่ รฟม.จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการตามมติครม. ซึ่งกระบวนการต่างๆ ของรฟม.ในการเปิดประมูล ก็ยังคงเดินหน้าต่อไป ส่วนการที่กทม.ทำหนังสือขอทำโครงการทั้งหมดเอง ก็อยู่ที่นายกฯ จะว่าอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่ารถไฟฟ้าไม่ใช่โครงการของกทม.หรือของคมนาคม แต่เป็นของประเทศไทยการจะให้ใครดำเนินการก็ดูที่ประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่แย่งกันทำ แต่ต้องช่วยกัน”นายโสภณ
โดยก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ทำหนังสือถึงนายกฯ เพื่อขอดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยายทั้ง 2สายเอง โดยระบุว่าการให้กทม.ดำเนินการจะมีผลดีและมีประโยชน์ต่อประชาชน ในขณะที่มติครม.กำหนดให้ รฟม.เป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างงานโยธา โดยช่วง หมอชิต – สะพานใหม่ ระยะทาง 12 กม.แบบยกระดับตลอดเส้นทาง 12 สถานี ค่าก่อสร้างงานโยธา 18,723 ล้านบาทค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2,388 ล้านบาท ค่างานระบบและตัวรถไฟฟ้า 14,156 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 1,244 ล้านบาท รวมมูลค่า 36,511 ล้านบาท ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการระยะทาง 13 กม. จำนวน 9 สถานี ค่าก่อสร้างงานโยธา 17,233 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 675 ล้านบาท ค่างานระบบและตัวรถไฟฟ้า 9,129 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 1,090 ล้านบาท รวมมูลค่า28,027 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า ค่าก่อสร้างงานโยธาและค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสายสีเขียวส่วนต่อขยายมีมูลค่าประมาณ40,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างปรับแบบในช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ ในส่วนที่เป็นพื้นที่ของกทม. ซึ่งรฟม.ยืนยันความพร้อมที่จะประกวดราคาในส่วนของสายสีเขียวอ่อนก่อน ซึงล่าสุดบริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการจัดทำร่างทีโออาร์เรียบร้อยแล้วและจะประกวดราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ็อคชั่น)
สำหรับแหล่งเงินทุนนั้น สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ยืนยันในการจัดหาแหล่งเงินให้รฟม.ดำเนินการก่อสร้างโครงการแล้วเช่นกัน
ส่วนการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ นั้น นายโสภณกล่าวว่า หลังจากครม.ให้เสนอรายละเอียดการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) Gross Cost (ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดหาระบบและซื้อรถ ซ่อมบำรุงโดยรัฐจ่ายค่าจ้างบริหารการเดินรถและเก็บเงินค่าโดยสารเอง) คาดว่าจะเสนอครม.พิจารณาได้อีกครั้งในเดือนม.ค. 12553 โดยต้องการให้รฟม.สรุป งานก่อสร้างงานโยธาสัญญาที่ 2 และ 3 ซึ่งคาดว่า สำนักงานอัยการสูงสุดจะส่งเรื่องกลับมายัง รฟม.และลงนามก่อสร้างได้ในปลายเดือนธ.ค.2552 นี้
"โสภณ” ฟุ้งผลงาน1 ปี ดีเยี่ยม
นายโสภณกล่าวถึงการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาว่า พอใจผลงานเพราะมีหลายโครงการคืบหน้าเป็นรูปธรรม เช่น การทดลองเปิดเดินรถโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ สถานีรับส่งผู้โดยสารในเมือง (แอร์พอร์ตลิงค์) ซึ่งการเปิดเดินรถเป็นทางการยังคงเป็นไปตามกำหนดเดือนเม.ย. 2553 โดยคาดว่าในเดือนม.ค.2553 จะจัดตั้งบริษัทลูกแอร์พอร์ตลิ้งค์รวมถึงการจัดหา CEOของบริษัทลูกได้เรียบร้อย ส่วนพนักงานเดินรถยืนยันว่าไม่มีปัญหาเนื่องจากได้มีกระบวนการรับสมัครและเริ่มฝึกอบรมแล้ว เหลือเพียงการรับรองของ วิศวกรอิสระ (ICE)
นอกจากนี้ ยังสามารถดำเนินการประมูลและเริ่มก่อสร้างโครงการถนนไร้ฝุ่น, เรียกความเชื่อมั่นจากต่างประเทศเกี่ยวกับด้านการบินภายหลังมีปัญหาปิดสนามบิน, บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) แก้ปัญหาทำให้ผลการขาดทุนลดลง ส่วนการขนส่งทางน้ำ สามารผลักดันให้ก่อสร้างโครงการท่าเทียบเรือเชียงแสน 2 และท่าเรือคลลองใหญ่ รวมถึงดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สีน้ำเงินส่วนต่อขยายได้ตามแผน
นายโสภณกล่าวถึงปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า เป็นเรื่องใหญ่แต่สามารถปรับปรุงให้เป็นรูปธรรมได้ จนรัฐบาลให้งบประมาณ 1 แสนล้านบาท และเริ่มศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
อย่างไรก็ตามในปี 2553 กระทรวงคมนาคมจะรณรงค์ให้เป็นปีแห่งความปลอดภัย สังคมไทยเป็นสุข ซึ่งจะร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในโครงการ