ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.เห็นชอบเพิ่มค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนขยาย อีก 3,401 ล้านบาทจาก48,821เป็น 52,460 ล้านบาท มอบสศช.และกรมบัญชีกลาง ตรวจสอบราคาต่อหน่วยอีกครั้งเพื่อความถูกต้อง “โสภณ” หน้าบาน คาดม.ค. เปิดประมูลได้ แจงค่าก่อสร้างปูดค่าแรงค่าวัสดุ ค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภคขยับ เหตุปรับเทคนิคขุดอุโมงค์ช่วงผ่านพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (24 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับเพิ่มกรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร จากวงเงิน 48,821 ล้านบาทเป็น 52,460 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นจำนวน 3,401 ล้านบาท (7.81% ) โดยครม.ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกรมบัญชีกลาง ร่วมกันตรวจสอบวงเงินค่าก่อสร้างอัตราราต่อหน่วย (Unit Cost) อีกครั้ง เพื่อความถูกต้องและรอบคอบ ส่วนแหล่งเงินลงทุนโครงการนั้นกระทรวงการคลังยืนยันใช้แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ
สาเหตุที่ทำให้วงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการก่อสร้างอุโมงค์ช่วงสถานีวัดมังกร สถานีสนามชัย สถานีวังบูรพา ซึ่งเป็นพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากที่ใช้เทคนิดการเปิดหน้าดินมาเป็นการเจาะไปด้านข้าง เนื่องจากการเปิดหน้าดินไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ( EIA) ซึ่งการเจาะไปด้านข้าง ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประกอบด้วย ค่าแรงเพิ่มขึ้น 676 ล้านบาท (จาก 10,466 ล้านบาทเป็น 11,142 ล้านบาท) ค่าขนส่ง ค่าเครื่องมือ เครื่องจักร เพิ่มขึ้น 412 ล้านบาท (จาก 5,220 ล้านบาทเป็น 5,632 ล้านบาท ค่าวัสดุก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 881 ล้านบาท (จาก25,449 ล้านบาทเป็น 26,330 ล้านบาท) และค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้น 1,432 ล้านบาท(จาก 2,437 ล้านบาทเป็น 3,869 ล้านบาท)
ทั้งนี้ คาดว่า คณะกรรมการกำหนดราคากลางจะกำหนดราคากลางเสร็จภายในเดือนพ.ย.นี้ และจัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ในเดือนธ.ค. และประกาศประกวดราคาแบบนานาชาติ (International bid) และขายเอกสารประกวดราคาได้ในเดือนม.ค.2553โดยจะให้เวลาจัดทำข้อเสนอประกาดราคา 3 เดือน (ก.พ.-เม.ย. 2553) พิจารณาข้อเสนอและเจรจาต่อรอง ช่วงพ.ค.-ส.ค.2553 เสนอบอร์ดรฟม.อนุมัติการจัดจ้าง ก.ย.2553 และเริ่มการก่อสร้างในเดือนต.ค. 2553 ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้กลางปี 2559
โดยการก่อสร้างงานโยธาแบ่งเป็น 4 สัญญาประกอบด้วย งานก่อสร้างโครงสร้างใต้ดิน 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ช่วงหัวลำโพง-สนามชัย ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี วงเงิน 11,649 ล้านบาท และ สัญญาที่ 2 ช่วงสนามชัย-ท่าพระ ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี วงเงิน 10,818 ล้านบาท โครงสร้างยกระดับ 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 3 ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ระยะทาง 11 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี วงเงิน 11,395 ล้านบาท สัญญาที่ 4 ช่วงท่าพระ-หลักสอง (บางแค) รวมงานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร จำนวน 7 สถานี วงเงิน 13,429 ล้านบาท ส่วนสัญญาที่ 5 คือ งานระบบราง วงเงิน 5,169 ล้านบาท
สำหรับค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการและคุมงานก่อสร้าง (PMC&CSC) 2,174 ล้านบาท ค่า ICE 221 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,900 ล้านบาท และงานระบบเดินรถ 22,141 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ บางซื่อ-ท่าพระ และ ช่วงหัวลำโพง-บางแค
นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร ผู้ว่าการฯ รฟม. กล่าวว่า งานเดินรถจะใช้การลงทุนแบบรัฐบาลและเอกชนลงทุนร่วมกัน (Public private Partnership : PPP) ประเภท Modified Gross Cost Concession (MGC) คือ รัฐลงทุน 100% และเป็นผู้กำหนดและจัดเก็บค่าโดยสาร แล้วว่าจ้างเอกชนเดินรถโดยจ่ายเป็นค่าจ้างแบบกำหนดราคา และมีส่วนแบ่งรายได้ให้ด้วย
เบื้องต้น รฟม.จะว่าจ้างประมาณ 30 ปี เพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่เหมาะสม คือ รฟม.จะรับภาระค่าใช้จ่ายน้อยสุดในช่วง 30 ปี ซึ่งขณะนี้ สศช. อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดการลงทุนตามที่ รฟม.เสนอ คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในเดือนธ.ค. 2552 และประกาศประกวดราคาช่วงเม.ย.-พ.ค. 2553 ซึ่งขณะนี้บริษัทเดินรถจากฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่นให้ความสนใจที่จะมาลงทุนแล้ว ซึ่งโครงการมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ลดลงจาก 19.53% เหลือ 18.69 % และอัตราผลตอบแทนทางการเงิน ( FIRR) 1.47%
อย่างไรก็ตาม วันนี้ (25 พ.ย.) คณะกรรมการ รฟม.ที่มีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน จะพิจารณาผลการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาบริหารโครงการและคุมงานก่อสร้างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โดยบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกคือกลุ่มบริษัท เออีซี ซึ่งมี บริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ เป็นบริษัทผู้นำ ภายใต้กรอบวงเงิน 1,290 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี โดยบริษัทดังกล่าวจะต้องคุมงานก่อสร้างรวมถึงดูแลงานด้านระบบการเดินรถด้วย
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (24 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับเพิ่มกรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร จากวงเงิน 48,821 ล้านบาทเป็น 52,460 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นจำนวน 3,401 ล้านบาท (7.81% ) โดยครม.ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกรมบัญชีกลาง ร่วมกันตรวจสอบวงเงินค่าก่อสร้างอัตราราต่อหน่วย (Unit Cost) อีกครั้ง เพื่อความถูกต้องและรอบคอบ ส่วนแหล่งเงินลงทุนโครงการนั้นกระทรวงการคลังยืนยันใช้แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ
สาเหตุที่ทำให้วงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการก่อสร้างอุโมงค์ช่วงสถานีวัดมังกร สถานีสนามชัย สถานีวังบูรพา ซึ่งเป็นพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากที่ใช้เทคนิดการเปิดหน้าดินมาเป็นการเจาะไปด้านข้าง เนื่องจากการเปิดหน้าดินไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ( EIA) ซึ่งการเจาะไปด้านข้าง ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประกอบด้วย ค่าแรงเพิ่มขึ้น 676 ล้านบาท (จาก 10,466 ล้านบาทเป็น 11,142 ล้านบาท) ค่าขนส่ง ค่าเครื่องมือ เครื่องจักร เพิ่มขึ้น 412 ล้านบาท (จาก 5,220 ล้านบาทเป็น 5,632 ล้านบาท ค่าวัสดุก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 881 ล้านบาท (จาก25,449 ล้านบาทเป็น 26,330 ล้านบาท) และค่ารื้อย้ายสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้น 1,432 ล้านบาท(จาก 2,437 ล้านบาทเป็น 3,869 ล้านบาท)
ทั้งนี้ คาดว่า คณะกรรมการกำหนดราคากลางจะกำหนดราคากลางเสร็จภายในเดือนพ.ย.นี้ และจัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ในเดือนธ.ค. และประกาศประกวดราคาแบบนานาชาติ (International bid) และขายเอกสารประกวดราคาได้ในเดือนม.ค.2553โดยจะให้เวลาจัดทำข้อเสนอประกาดราคา 3 เดือน (ก.พ.-เม.ย. 2553) พิจารณาข้อเสนอและเจรจาต่อรอง ช่วงพ.ค.-ส.ค.2553 เสนอบอร์ดรฟม.อนุมัติการจัดจ้าง ก.ย.2553 และเริ่มการก่อสร้างในเดือนต.ค. 2553 ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้กลางปี 2559
โดยการก่อสร้างงานโยธาแบ่งเป็น 4 สัญญาประกอบด้วย งานก่อสร้างโครงสร้างใต้ดิน 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ช่วงหัวลำโพง-สนามชัย ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี วงเงิน 11,649 ล้านบาท และ สัญญาที่ 2 ช่วงสนามชัย-ท่าพระ ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี วงเงิน 10,818 ล้านบาท โครงสร้างยกระดับ 2 สัญญา คือ สัญญาที่ 3 ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ระยะทาง 11 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี วงเงิน 11,395 ล้านบาท สัญญาที่ 4 ช่วงท่าพระ-หลักสอง (บางแค) รวมงานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร จำนวน 7 สถานี วงเงิน 13,429 ล้านบาท ส่วนสัญญาที่ 5 คือ งานระบบราง วงเงิน 5,169 ล้านบาท
สำหรับค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการและคุมงานก่อสร้าง (PMC&CSC) 2,174 ล้านบาท ค่า ICE 221 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,900 ล้านบาท และงานระบบเดินรถ 22,141 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ บางซื่อ-ท่าพระ และ ช่วงหัวลำโพง-บางแค
นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร ผู้ว่าการฯ รฟม. กล่าวว่า งานเดินรถจะใช้การลงทุนแบบรัฐบาลและเอกชนลงทุนร่วมกัน (Public private Partnership : PPP) ประเภท Modified Gross Cost Concession (MGC) คือ รัฐลงทุน 100% และเป็นผู้กำหนดและจัดเก็บค่าโดยสาร แล้วว่าจ้างเอกชนเดินรถโดยจ่ายเป็นค่าจ้างแบบกำหนดราคา และมีส่วนแบ่งรายได้ให้ด้วย
เบื้องต้น รฟม.จะว่าจ้างประมาณ 30 ปี เพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่เหมาะสม คือ รฟม.จะรับภาระค่าใช้จ่ายน้อยสุดในช่วง 30 ปี ซึ่งขณะนี้ สศช. อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดการลงทุนตามที่ รฟม.เสนอ คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในเดือนธ.ค. 2552 และประกาศประกวดราคาช่วงเม.ย.-พ.ค. 2553 ซึ่งขณะนี้บริษัทเดินรถจากฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่นให้ความสนใจที่จะมาลงทุนแล้ว ซึ่งโครงการมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ลดลงจาก 19.53% เหลือ 18.69 % และอัตราผลตอบแทนทางการเงิน ( FIRR) 1.47%
อย่างไรก็ตาม วันนี้ (25 พ.ย.) คณะกรรมการ รฟม.ที่มีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน จะพิจารณาผลการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาบริหารโครงการและคุมงานก่อสร้างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ โดยบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกคือกลุ่มบริษัท เออีซี ซึ่งมี บริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทนท์ เป็นบริษัทผู้นำ ภายใต้กรอบวงเงิน 1,290 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี โดยบริษัทดังกล่าวจะต้องคุมงานก่อสร้างรวมถึงดูแลงานด้านระบบการเดินรถด้วย