ASTVผู้จัดการรายวัน-รฟม.ใส่เกียร์เดินหน้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายและสีเขียว หลังสบน.ยืนยันแหล่งเงินกู้พร้อมทั้ง 2 โครงการ เผยสีน้ำเงิน ใช้แหล่งเงินจากแบงก์พาณิชย์ในประเทศ กู้ระยะสั้นดอกเบี้ยสุดต่ำ1% กว่า ก่อนรีไฟแนนซ์ออกพันธมิตรระยะยาว ชี้เป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีนี้ซึ่งลดภาระดอกเบี้ยได้ รอปรับกรอบวงเงินใหม่ ในก.ย.เพื่อชงครม.ขอเปิดประมูลในพ.ย. สั่งปรับแบบสีเขียวหลังกทม.เล่นแง่ไม่ให้ใช้พื้นที่ สบน.เตรียมเงินกู้จาก ธนาคารโลก ,ADB และJICA รอ
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวงในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วง บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. ว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กรมบัญชีกลางพิจารณา กรณีที่ รฟม.ขอยกเลิกการประกวดราคาแบบอี-อ๊อคชั่น และใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bid) ยื่นเอกสารประกวดราคา 3 ซองคือซองคุณสมบัติ ซองเทคนิคและราคา เช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
โดยให้บริษัทที่ปรึกษาทบทวนราคากลางโครงการใหม่ในทุกรายการเพื่อให้เป็นราคาปัจจุบัน เนื่องจากกรอบค่าก่อสร้างงานโยธาไม่รวมงานระบบและเดินรถที่วงเงิน 48,821 ล้านบาทนั้น เป็นกรอบที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตั้งแต่ปี 2550 โดยคาดว่าจะทบทวนราคากลางแล้วเสร็จในเดือนก.ย. และหากกรอบค่างานโยธาที่ปรับใหม่ไม่เกินจากที่ได้รับอนุมัติไว้ ก็จะสรุปเสนอครม.เพื่อขออนุมัติดำเนินการประกวดราคาได้ประมาณปลายเดือนต.ค.และเปิดประกวดราคาก่อสร้างโครงการได้ในเดือนพ.ย.52 แต่หากวงเงินที่ทบทวนใหม่เกินกรอบก็จะเสนอขอขยายวงเงิน
ไม่สนกทม.เดินหน้าประมูลสายสีเขียวกลางปี53
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กม. ค่าก่อสร้างงานโยธา 14,000 ล้านบาท และสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กม. ค่าก่อสร้างงานโยธา 16,000 ล้านบาท นั้นนายสุพจน์กล่าวว่า ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างปรับแบบก่อสร้างในบางช่วงของเส้นทางเนื่องจากก่อนหน้านี้จะใช้พื้นที่สำนักงานเขตบางเขน แต่กรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า ผู้ที่อนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวไม่มีอำนาจ จึงต้องเปลี่ยนมาใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลางถนนแทน รวมทั้งพื้นที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ที่เดิมจะใช้พื้นที่ของกองทัพอากาศ
โดย รฟม.จะแจ้งไปยังสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างออกแบบสายสีเขียวเพื่อให้โอนอำนาจในการประสานงานกับบริษัทออกแบบให้รฟม.เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดยคาดว่าจะปรับแบบแล้วเสร็จในเดือนเม.ย. 53 จากนั้น รฟม.จะเดิน หน้าการเปิดประมูลต่อไป
สบน.ฟุ้งแหล่งเงินพร้อมสร้างรถไฟฟ้าสีน้ำเงินและสีเขียว
ด้านนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดหาแหล่งเงินกู้ในประเทศเพื่อใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ว่าจะใช้แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ โดยช่วงแรกจะกู้จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ปีละประมาณ 10,000 ล้านบาทประมาณ 5 ปี ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมกับการลงทุนโครงการและสอดคล้องกับที่รฟม.รายงานว่าจะทยอยใช้เงินก่อสร้างเฉลี่ยปีละประมาณ 10,000 ล้านบาทประมาณ 5 ปี และเมื่อวงเงินกู้เป็นก้อนใหญ่ รฟม.ค่อยทำการรีไฟแนนซ์ออกพันธบัตรระยะยาวอายุ 10-30 ปี โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน
ขณะนี้มีวงเงินระยะสั้นที่กระทรวงการคลังเตรียมไว้ประมาณ 2 แสนล้านบาทสำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีความจำเป็นในการใช้จ่ายเร่งด่วน สามารถกู้ระยะสั้น 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยประมาณ 1% กว่าเท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมาก
โดยในส่วนของรฟม.จะต้องทำตารางแผนการเบิกจ่ายเงินที่ชัดเจนก่อน เพื่อจัดรูปแบบด้านการเงิน ซึ่งหากเสนอมาก็สามารถจัดหาให้รฟม.ได้ทันที ซึ่งรูปแบบดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่สบน.นำมาใช้ในการจัดหาแหล่งเงินให้รัฐวิสาหกิจใช้ในการดำเนินโครงการ โดยเป็นวิธีที่ลดภาระดอกเบี้ยลงได้มาก ซึ่งเหมาะสมกับโครงการขนาดใหญ่และมีระยะเวลายาวนาน
ส่วนแหล่งเงินลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น ทาง สบน.เตรียมเงินกู้จาก , ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ซึ่งมีวงเงินประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้ประมาณเดือนมี.ค.-เม.ย. 2553
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวงในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วง บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. ว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กรมบัญชีกลางพิจารณา กรณีที่ รฟม.ขอยกเลิกการประกวดราคาแบบอี-อ๊อคชั่น และใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bid) ยื่นเอกสารประกวดราคา 3 ซองคือซองคุณสมบัติ ซองเทคนิคและราคา เช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
โดยให้บริษัทที่ปรึกษาทบทวนราคากลางโครงการใหม่ในทุกรายการเพื่อให้เป็นราคาปัจจุบัน เนื่องจากกรอบค่าก่อสร้างงานโยธาไม่รวมงานระบบและเดินรถที่วงเงิน 48,821 ล้านบาทนั้น เป็นกรอบที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตั้งแต่ปี 2550 โดยคาดว่าจะทบทวนราคากลางแล้วเสร็จในเดือนก.ย. และหากกรอบค่างานโยธาที่ปรับใหม่ไม่เกินจากที่ได้รับอนุมัติไว้ ก็จะสรุปเสนอครม.เพื่อขออนุมัติดำเนินการประกวดราคาได้ประมาณปลายเดือนต.ค.และเปิดประกวดราคาก่อสร้างโครงการได้ในเดือนพ.ย.52 แต่หากวงเงินที่ทบทวนใหม่เกินกรอบก็จะเสนอขอขยายวงเงิน
ไม่สนกทม.เดินหน้าประมูลสายสีเขียวกลางปี53
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กม. ค่าก่อสร้างงานโยธา 14,000 ล้านบาท และสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 11.4 กม. ค่าก่อสร้างงานโยธา 16,000 ล้านบาท นั้นนายสุพจน์กล่าวว่า ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างปรับแบบก่อสร้างในบางช่วงของเส้นทางเนื่องจากก่อนหน้านี้จะใช้พื้นที่สำนักงานเขตบางเขน แต่กรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า ผู้ที่อนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวไม่มีอำนาจ จึงต้องเปลี่ยนมาใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลางถนนแทน รวมทั้งพื้นที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ที่เดิมจะใช้พื้นที่ของกองทัพอากาศ
โดย รฟม.จะแจ้งไปยังสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างออกแบบสายสีเขียวเพื่อให้โอนอำนาจในการประสานงานกับบริษัทออกแบบให้รฟม.เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดยคาดว่าจะปรับแบบแล้วเสร็จในเดือนเม.ย. 53 จากนั้น รฟม.จะเดิน หน้าการเปิดประมูลต่อไป
สบน.ฟุ้งแหล่งเงินพร้อมสร้างรถไฟฟ้าสีน้ำเงินและสีเขียว
ด้านนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดหาแหล่งเงินกู้ในประเทศเพื่อใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ว่าจะใช้แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ โดยช่วงแรกจะกู้จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ปีละประมาณ 10,000 ล้านบาทประมาณ 5 ปี ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมกับการลงทุนโครงการและสอดคล้องกับที่รฟม.รายงานว่าจะทยอยใช้เงินก่อสร้างเฉลี่ยปีละประมาณ 10,000 ล้านบาทประมาณ 5 ปี และเมื่อวงเงินกู้เป็นก้อนใหญ่ รฟม.ค่อยทำการรีไฟแนนซ์ออกพันธบัตรระยะยาวอายุ 10-30 ปี โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน
ขณะนี้มีวงเงินระยะสั้นที่กระทรวงการคลังเตรียมไว้ประมาณ 2 แสนล้านบาทสำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีความจำเป็นในการใช้จ่ายเร่งด่วน สามารถกู้ระยะสั้น 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยประมาณ 1% กว่าเท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมาก
โดยในส่วนของรฟม.จะต้องทำตารางแผนการเบิกจ่ายเงินที่ชัดเจนก่อน เพื่อจัดรูปแบบด้านการเงิน ซึ่งหากเสนอมาก็สามารถจัดหาให้รฟม.ได้ทันที ซึ่งรูปแบบดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่สบน.นำมาใช้ในการจัดหาแหล่งเงินให้รัฐวิสาหกิจใช้ในการดำเนินโครงการ โดยเป็นวิธีที่ลดภาระดอกเบี้ยลงได้มาก ซึ่งเหมาะสมกับโครงการขนาดใหญ่และมีระยะเวลายาวนาน
ส่วนแหล่งเงินลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น ทาง สบน.เตรียมเงินกู้จาก , ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ซึ่งมีวงเงินประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้ประมาณเดือนมี.ค.-เม.ย. 2553