ASTVผู้จัดการรายวัน - พรรคภูมิใจห้อยคนละมาตรฐานกับ ปชป. ยังอุ้ม "มานิต" นั่ง รมช.สาธารณสุขต่อ "เทือก" โดดช่วยอีกแรง อ้างขอโอกาสชี้แจงในสภา และรอผลสอบของป.ป.ช.ก่อน หากชี้ว่าผิดจึงจะออก "หมอชนบท" ไล่ส่งพ้น สธ. ด้าน ปชป.หาคนนั่ง รมว.สาธารณสุข แทน"วิทยา" วันนี้ จับตา"นิพิฐฏ์-ชินวรณ์" คู่แคนดิเดต
วานนี้ ( 5 ม.ค.) ที่พรรคภูมิใจไทย ได้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรค เพื่อหารือถึงกรณีนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข ถูกคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข ที่มี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ได้ชี้ว่ามีการส่อทุจริตจริง ซึ่งนายมานิต อยู่ในข่ายที่ต้องรับผิดชอบ ในฐานะรมช.สาธารณสุข โดยมีแกนนำพรรคเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง อาทิ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ นายศุภชัย โพธิ์สุ รวมทั้งนายมานิตด้วย
หลังการประชุม นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรค และนายมานิตได้ร่วมกันแถลงข่าว ว่า ที่ประชุมมีมติให้นายมานิต ยังคงดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุข ต่อไป โดยนายมานิต ชี้แจงว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาในการใช้งบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข และจะขอชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว เมื่อมีการเปิดสภาอภิปรายไม่ไว้วางใจ
" ผมได้ชี้แจงที่ประชุมพรรคว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้งบประมาณไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลงบ ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของผม และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกดดัน ล้วงลูก หรือจัดสรรงบลงในพื้นที่ตัวเอง อย่างไรก็ตาม หากเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และมีการชี้มูลความผิดแล้ว ผมก็พร้อมรับผิดชอบด้วยการลาออก รวมถึงหากมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา ก็พร้อมที่ชี้แจงในสภา" นายมานิตกล่าว
**"เทือก"ช่วยอุ้ม"มานิต"อีกแรง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย ยังคงให้นายมานิต อยู่ในตำแหน่งรมช.สาธารณสุขต่อไป ว่าได้ปรึกษากันแล้ว และตนได้ย้ำให้แกนนำพรรคภูมิใจไทยได้ทราบถึงกฎ 9 ข้อว่าจะใช้กับทุกคนที่เป็นรัฐมนตรี แต่เราก็เคารพ ระบบพรรคของแต่ละพรรคที่มีขั้นตอน มีกระบวนการในการตัดสินใจที่ไม่เหมือนกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลมีการพูดถึงการยึดกฎเหล็ก 9 ข้อ แต่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ที่ความผิดปรากฏขึ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่ลาออก จะมีคำตอบต่อเรื่องนี้อย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่าเรื่องของนายกอร์ปศักด์ พรรคได้ตัดสินใจกันไปแล้ว โดยให้ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกฯ และเลือกนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ไปดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจแทน ซึ่งดำเนินการไว้แล้ว แต่ขั้นตอนการปรับเปลี่ยน ต้องรอเวลานิดหน่อย
เมื่อถามว่า กรณีของนายมานิต หากจะยึดเช่นเดียวกับนายกอร์ปศักดิ์ ก็สามารถย้ายไปอยู่กระทรวงอื่นได้ ใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า นายกอร์ปศักดิ์ ไม่ได้ไปอยู่ในตำแหน่งครม.และบังเอิญเป็นช่วงจังหวะพอดีที่นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ลาออกจากเลขาฯนายกฯ ซึ่งจริงๆ แล้วนายกอร์ปศักดิ์ ก็คาดหวังมาตั้งแต่ตั้ง ครม.ใหม่ๆ แล้วว่าจะขอดำรงตำแหน่งเลขาฯนายกฯ มาก่อน
เมื่อถามว่าหากพรรคภูมิใจไทย แก้ปัญหาโดยโยกนายมานิต ไปกระทรวงอื่น พรรคประชาธิปัตย์รับได้หรือไม่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คิดว่าเขาคงไม่ทำ ส่วนเขาจะเอาออกหรือไม่ ตนไม่ขอพูดดีกว่า เพราะเป็นเรื่องภายในพรรคของเขา ที่มีขั้นตอน มีเวลาของเขา
"พรรคภูมิใจไทยเขาต้องกำหนดเอง เมื่อนายมานิต ถูกกล่าวหาพรรคภูมิใจไทย เขาก็คงจะคาดได้ว่า อาจจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เขาก็คงอาจจะคิดว่าให้ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปก่อน เพราะในทางการเมือง บางพรรคเขาอาจเห็นว่าเรื่องทั้งหมดของนักการเมือง อาจจะต้องมีบทพิสูจน์กันในสภาผู้แทนราษฎร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ ผมไม่กล้าเข้าไปก้าวล่วงว่าเขาจะตัดสินใจอย่างไรได้ แต่ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แต่บอกว่าเมื่อเกิดเหตุเป็นที่สงสัยของประชาชน เราก็ต้องทำให้ชัดเจน และพรรคประชาธิปัตย์ ก็ดำเนินการในส่วนของพรรคไปอย่างนี้" นายสุเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากรอจนถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คิดว่าความเสียหายจะตีกลับมาที่รัฐบาลหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า สมมติว่าถ้าเขาอยากจะให้มีการชี้แจงกันในสภา แน่นอนว่าก็อยู่ที่ผลของการชี้แจง อยู่ที่ผลของข้อเท็จจริง ซึ่งในอดีตในทางการเมืองมันก็มีปัญหาเหมือนกัน ตนก็เคยมีปัญหาเองเหมือนกัน ตอนที่ถูกโจมตีเรื่อง สปก. ตนลาออกไปก่อน แต่เมื่อถึงเวลาอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ไม่มีคนมาช่วยชี้แจงให้ ซึ่งตนคาดว่าพรรคภูมิใจไทย ต้องการเวลาช่วงนี้ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีคนชี้แจงแทน
เมื่อถามว่า หัวหน้ารัฐบาลยังอยู่ ก็น่าจะชี้แจงได้ นายสุเทพ กล่าวว่า หัวหน้ารัฐบาลก็อาจจะไปชี้แจงแทนรัฐมนตรีสาธารณสุขไม่ได้ แต่ทั้งหมดนี้ก็คงต้องให้เป็นเรื่องของพรรคภูมิใจไทย เขาอาจจะตัดสินใจลาออก โดยยอมไม่ชี้แจงก็ได้ ก็แล้วแต่เขา แต่ที่คุยกันเมื่อคืน คือตนก็บอกแนวทางของรัฐบาล ของนายกฯ ส่วนการปรึกษาหารือ การตัดสินใจ ก็เป็นเรื่องภายในของพรรคภูมิใจไทย ที่จะไปกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเอาเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นไปตามนี้แสดงว่าความรับผิดชอบทางการเมืองของนายมานิต ก็ไม่ได้สูงกว่าคนอื่น นายสุเทพ กล่าวว่า ใครสูง ใครต่ำ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ตนจะไปตัดสินใจ เขาก็ต้องมีความรับผิดชอบของเขาอยู่แล้ว พรรคก็ต้องรับผิดชอบต่อสังคม
**ปชป.ถกหาคนแทน"วิทยา"วันนี้
นายสุเทพยังกล่าวถึงการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ (6 ม.ค.) จะได้ข้อยุติ เรื่องคนที่จะมาแทนนายวิทยาหรือไม่ว่า ขึ้นอยู่ที่การประชุมกรรมการบริหารพรรค และการประชุมร่วม ระหว่างกรรมการบริหาร และส.ส. ซึ่งพรรคก็มีขั้นตอนเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า ประชุมเสร็จวันนี้แล้ว จะปรับครม.ได้ทันที ต้องมีเวลา และขั้นตอน
"คงไม่ต้องมีการแสดงวิสัยทัศน์ เพราะคนในพรรคก็รู้จักกันหมด แต่ละคนก็มีอยู่ในใจแล้วว่า ใครทำอะไรได้ อย่างไร มีการแสดงให้เห็นกันมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว"
เมื่อถามว่า มั่นใจใช่หรือไม่ว่าจะไม่มีสมาชิกในพรรคออกมาเรียกร้องตำแหน่งเหมือนกับที่ผ่านมาอีก ไม่ว่าเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง หรือเรื่องนายทุนพรรค เหมือนที่นายนิพิฐฎ์ อินทรสมบัติ ออกมาเรียกร้อง นายสุเทพ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง
เมื่อถามว่าจะมีการเคลียร์ใจกับนาย นิพิฐฎ์ หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า “ผมไม่มีอะไรต้องไปเคลียร์ใจ เพราะผมไม่มีปัญหาอะไรกับคุณนิพิฐฎ์”
เมื่อถามว่า ที่มีข่าวว่าไม่ถูกกับนายนิพิฐฎ์ จริงหรือไม่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า " คงไม่จริงมั๊งครับ ไม่จริงหรอก ผมเป็นเลขาธิการพรรค ก็ต้องถูกกับส.ส.ทุกคน จะไม่ถูกกับส.ส.ได้อย่างไร ผมก็ต้องดูแลส.ส.ทุกคน"
**"นิพิฐฏ์-ชินวรณ์" คู่แคนดิเดท
เมื่อถามว่าจะมั่นใจได้อย่างไรว่า การคัดเลือกในพรรคจะไม่เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิมในกระทรวงสาธารณสุขอีก นายสุเทพ กล่าวว่า ที่จริงแล้วนายวิทยา ไม่ได้ทุจริต คอร์รัปชันเลย และไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้เลย แต่เมื่อสังคมต้องการคนที่รับผิดชอบ นายวิทยา ก็แสดงความรับผิดชอบต่อประชาชน ในฐานะที่เป็นรมว.สาธารณสุข เกิดอะไรขึ้นในกระทรวง และทำให้สังคมรู้สึกไม่ชอบใจ ผิดหวัง ก็เลยรับผิดชอบโดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ถือเป็นสปิริต เป็นน้ำใจของนายวิทยา ในฐานะนักการเมืองของประชาชน เพราะฉะนั้นเมื่อคนใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ เข้าไปอยู่ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องไปซ้ำรอยเดิม เมื่อเข้าไปก็เข้าไปแก้ปัญหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คู่แคนดิเดทของพรรคที่จะเป็นรมว.สาธารณสุข คือนายนิพิธฏ์ อินทรสมบัติ กับนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
**ภท.ขอโอกาส"มานิต"ชี้แจง
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ เสนอความคิดเห็นให้มีการปรับ นายมานิต ออกจากตำแหน่งหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพื่อให้นายมานิต ได้มีโอกาสชี้แจงเหตุผลว่า ตนได้พูดคุยกับนายมานิต เมื่อเช้าวันที่ 5 ม.ค. ท่านก็บอกว่า ไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ตอนนี้ท่านต้องการขอโอกาสทำความเข้าใจกับสังคม วันนี้มีคำพูดที่ว่า ต้องฟังกระแสสังคม และเมื่อมีกระแสสังคมที่จะต้องตัดสินใจไปทางใด ก็อยากให้สังคมได้ฟังความรอบด้าน และได้รับรู้ข้อเท็จจริง เพราะนายมานิต ได้ตกเป็นจำเลยของสังคม โดยไม่มีโอกาสได้อธิบายว่า สิ่งที่ถูกกล่าวหานั้น แท้จริงได้ทำหรือไม่ได้ทำ อย่างไร
"เมื่อท่านรองสุเทพ มีความเห็นอย่างนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่ท่านมานิต จะได้พิสูจน์ตัวเอง หรือบอกกล่าวกับสังคมว่า แท้จริงแล้วเรื่องราวที่เกิดขึ้นท่านมานิต เข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร" นายศุภชัย กล่าว
**หมอชนบทจี้ ภท.ยึดกฏเหล็ก
นพ.วิชัย โชควิวัฒน เลขานุการและคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็งฯ กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย มีมติให้นายมานิต ดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุขต่อไป และให้รอผลการตรวจสอบของคณะกรรมการป.ป.ช. ว่า ขอปล่อยให้เป็นเรื่องของทางรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งต่อไปสังคมต้องร่วมกันช่วยตรวจสอบ เพราะทางคณะกรรมการตรวจสอบได้ทำหน้าที่ของตนเสร็จสิ้นแล้ว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.โรงพยาบาลชุมแพ ในฐานะประธานชมรมแพทยชนบท กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยจะต้องสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองให้เหมาะสมเหมือนพรรคประชาธิปัตย์
"ส่วนตัวเห็นว่านายมานิตไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็น รมช.สาธารณสุขอีกต่อไป แต่ถ้าจะไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงอื่น ไม่มีปัญหา ขอให้ไปจาก สธ.เป็นพอ แต่สังคมจะรู้และตัดสินได้ว่า จะต้องทำอย่างไรต่อไป ซึ่งพรรคภูมิใจไทยควรยึดกฎเหล็กเหมือน ปชป.” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
**บี้ปลด-สอบ ขรก.ที่เกี่ยวข้อง
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข พร้อมด้วยสมาชิกจากภูมิภาครวม 20 คน เข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อเช้าวานนี้ เพื่อยื่นข้อเสนอ และข้อเรียกร้องกรณีผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตามโครงการไทยเข้มแข็ง ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีการชี้มูลความผิดนักการเมือง 4 คน และข้าราชการประจำ 8 ราย ซึ่งนายวิทยา แก้วภราดัย ได้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ไปแล้วนั้น ทางสมาคมฯ ขอเรียกร้องนายกฯ 4 ประเด็น โดย 1. ขอให้ข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการไปก่อน จนกว่าผลการสอบสวนทางวินัยและผลสอบของ ป.ป.ช.จะเสร็จ
2. ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยทันที และเป็นที่ยอมรับของสังคม 3. แต่งตั้งบุคคลที่เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายไม่มีประวัติเสื่อมเสียแทนตำแหน่งทางการบริหารที่ว่างลง และ 4. ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ทบทวบรายการครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และสิ่งก่อสร้าง เพื่อเร่งดำเนินโครงการไทยเข้มแข็งให้เกิดผลสำเร็จด้วยความโปร่งใส
**"มาร์ค"เตรียมตั้ง กก.สอบ ขรก.
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในช่วงเช้า ก่อนที่จะทราบว่า นายมานิต จะลาออกจากตำแหน่งรมช.สาธารณสุขหรือไม่ว่า ว่า เป็นเรื่องของพรรคภูมิใจไทยที่จะพิจารณา รอให้เขาประชุมกันก่อน
เมื่อถามว่าสุดท้ายต้องใช้อำนาจนายกฯในการตัดสินใจเรื่องนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอให้ว่าไปทีละขั้น
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขเข้าพบ เพื่อเรียกร้องให้โยกย้ายข้าราชการระดับสูง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็ง ของกระทรวงสาธารณสุขว่า ตนได้อธิบายไปแล้ว และจะหารือกับเลขาธิการ กพ. ซึ่งประเด็นมีอยู่ว่า ข้าราชการประจำ จะต้องมีผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นที่ระบุอยู่ในกฎหมายว่าเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการทางวินัย ฉะนั้นส่วนใหญ่ปลัดกระทรวง จะต้องเป็นคนตั้ง แต่บังเอิญปลัด ถูกพาดพิงด้วย และคณะกรรมการสอบของนพ. บรรลุ ศิริพานิช เห็นว่า ปลัดต้องอยู่ภายใต้กรอบของการดำเนินการทางวินัยด้วย ดังนั้นจะต้องมีการสอบปลัดก่อน แต่การจะสอบปลัดก่อนบังเอิญ ทางคณะกรรมการ ระบุว่า ปลัดไม่ได้ทุจริต ตนต้องมาดูว่า การดำเนินการกับปลัด เป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่ ถ้านายมานิต ยังอยู่ ก็จะต้องเป็นคนตั้งกรรมการ ซึ่งตนกำลังดูอยู่ว่า เป็นเช่นนั้นได้หรือไม่ จากข้อกฎหมายเบื้องต้นตรงนี้
นอกจากนี้ การตั้งคณะกรรมการ ก็มีประเด็นอีกว่าในกฎหมาย กพ. ระหว่างการตั้งกรรมการเพื่อสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อกำหนดว่าเป็นวินัยร้ายแรง ไม่ร้ายแรง กับการตั้งคณะกรรมการวินัยไปเลย ต้องทำอย่างไร เชื่อว่าหลังพบเลขาธิการ กพ. จะได้ข้อยุติ เมื่อเสร็จเรื่องของปลัด ก็สามารถที่จะไปขยับตรงอื่นได้
เมื่อถามว่า โดยหลักนายมานิต โดนกล่าวหาด้วย สมควรเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการสอบคนอื่นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นี่คือเหตุผล ทุกอย่างต้องชัดเจนโดยลำดับ เมื่อถามว่า จะต้องรอให้มี รมต.คนใหม่เข้ามาดูตรงนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ตนกำลังจะดูว่าจำเป็นหรือไม่ ถึงได้เชิญเลขาธิการ กพ. มาดู
เมื่อถามว่า หมายถึงนายกฯ สามารถใช้อำนาจได้เลยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ใช่ กำลังดูอยู่ เมื่อถามว่าในส่วนของคณะกรรมการสอบ ชุดนพ.บรรลุ ถือเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นไปแล้วหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตรงนี้จะเป็นประเด็นที่กำลังจะคุยกับเลขาธิการ กพ. ด้วยว่าเป็นอย่างนั้นได้หรือไม่ตามกฎหมาย
เมื่อถามว่า ถ้าใช้เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นไม่ได้ แล้วผลสอบชุดนพ.บรรลุ จะมีความหมายอะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวชี้แจงว่า นั่นแหละ ตนกำลังจะบอกกับเลขาธิการ กพ. อย่างนี้ ตรงนี้ยังมีความเข้าใจไม่ตรงกัน หลังจากที่คุยกับเลขาธิการ กพ.ไปแล้ว 2-3 รอบ และคิดว่าเลขาธิการกพ. ยังไม่เห็นข้อเท็จจริงทั้งหมด
**เลขา กพ.ให้คำปรึกษานายกฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 12.30 น. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการสำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้เดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงาน ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาในการเข้าพบเป็นเวลา 30 นาที
นางเบญจวรรณ เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกันหลายประเด็น ส่วนประเด็นการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็ง ในกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เข้าข่ายว่ามีการทุจริตนั้น ตนไม่ได้สรุปใดๆให้นายกรัฐมนตรี เพียงแต่เสนอแนวทางไปว่า การตั้งคณะกรรมการดังกล่าว เป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีกฎหมายอยู่ 2 ฉบับ คือ เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ เป็นผู้มีอำนาจ
ส่วนอีกฉบับ เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน นายกฯ จะเป็นผู้มีอำนาจ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับ นายกฯจะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาเอง
**"มาร์ค"เร่งเจ้ากระทรวงสรุปผลงาน
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายลังการประชุมครม. ว่านายกรัฐมนตรี ได้ย้ำต่อที่ประชุมครม. ให้รัฐมนตรีทุกคนเตรียมส่งรายงานผลงานกระทรวงในรอบ 1 ปี ภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนม.ค.นี้ พร้อมทั้งให้กลับไปทบทวนรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบและไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่อการทำงานในแต่ละกระทรวง
"นายกฯ ได้ย้ำในที่ประชุมครม.ว่า อย่าลืมส่งผลงาน 2 หน้ากระดาษ กำหนดส่งภายใน 2 สัปดาห์ ที่บอกว่าให้ส่ง 2 หน้ากระดาษ เพราะต้องการผลงานที่คิดว่าเป็นผลงานของแต่ละกระทรวงจริงๆ ไม่จำเป็นต้องทำมา 30-40 หน้า" นายวัชระกล่าว
**แนะใช้กฎเหล็ก 9 ข้ออย่างเข้มงวด
แหล่งข่าวที่ประชุม ครม.เปิดเผยว่า ในที่ประชุม นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการครม. ได้นำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีมีเรื่องร้องเรียนการทุจริตในโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ของกระทรวงสาธารณสุข ที่มี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธานกรรมการฯ แจกจ่ายในที่ประชุมครม. และนายกฯ ได้กล่าวในที่ประชุมว่า อยากให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงนำรายงานนี้ไปดูเพื่อ เป็นแนวทางในการทำงานเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าว ได้มีการสรุปข้อเสนอด้วยว่า
1. ควรมีการทบทวนการพิจารณาโครงการใหม่ทั้งหมด ทั้งรายการสิ่งก่อสร้าง รายการครุภัณฑ์การแพทย์ และรายงานการซื้อรถพยาบาล ทั้งในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมอื่นๆ โดยเฉพาะกรมการแพทย์ รวมทั้งโครงการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะต้องได้สัดส่วนที่เหมาะสมกัน
ทั้งนี้ ควรดำเนินการโดยมุ่งคุณภาพ เพื่อให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งของประเทศอย่างแท้จริง มิใช่ทำให้ประเทศชาติอ่อนแอลง และสร้างปัญหาในระยะยาว โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะต้องลงมารับผิดชอบโดยตรง มีหลักเกณฑ์ และวิธีการอย่างสมเหตุสมผล โปร่งใส ใช้บุคลากร สธ. ที่มีคุณภาพซึ่งมีอยู่มากช่วยกันทำ เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน
2. ควรมีการสอบสวนข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ยังรับราชการ และเกษียณอายุไปแล้ว ในกรณีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่เข้าข่ายว่าเป็นความผิดที่ได้ทำมา เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป
3. ควรพิจารณาดำเนินการกับนักการเมืองที่เกี่ยวข้องตาม"กฎเหล็ก 9 ข้อ" ของนายกรัฐมนตรี ที่แถลงภายหลังการประชุมครม. ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.51 โดยเฉพาะในข้อ 2 ที่ "เน้นให้ยึดถือการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตอย่างเคร่งครัด" และข้อ 9 ที่ระบุว่า"ความรับผิดชอบทางการเมืองนั้น มีมาตรฐานที่สูงกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย"
**ตอก"เด็จพี่"งาช้างไม่งอกจากปากสุนัข
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมาพาดพิงกรณี นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ที่ประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองว่าเป็นแค่การสร้างภาพและนายกฯ ไม่สามารถนำกฎเหล็ก 9 ข้อมาใช้ได้นั้น ขอยืนยันว่า การลาออกของนายวิทยา เป็นการแสดงสปิริตที่ดีของนักการเมือง เป็นการตัดสินใจด้วยตัวเองเพื่อรักษามาตราฐานของพรรค และกฎเหล็กของนายกฯ ก็ไม่ใช้กับรัฐมนตรีของพรรคเท่านั้น แต่ใช้กับรัฐมนตรีทุกคนในรัฐบาล ซึ่งพรรคเพื่อไทย ไม่มีทางทราบว่ากฎเหล็กของพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างไร เพราะพรรคเพื่อไทยไม่มีกฎเหล็ก มีเพียงแต่กฎแห่งกรรม ที่คนในพรรคเพื่อไทย โดนไปหลายคนแล้ว
"หากจะถามหาสปิริตจากพรรคเพื่อไทย คงยากเหมือนสุภาษิตที่ว่า "งาช้างไม่ออกจากปากสุนัขฉันใด สปิริตก็ไม่ออกจากพรรคเพื่อไทยฉันนั้น" จึงอยากให้โฆษกพรรคเพื่อไทย ดูผลโพลการลาออกของนายวิทยา ว่าสูงเพียงใด ก่อนจะมาวิจารณในเรื่องนี้"
เมื่อถามว่า กฎเหล็กของนายกฯ ทั้ง9 ข้อ บังคับใช้กับรัฐมนตรีทุกคน แต่นายมานิต นพอมรบดี ยังไม่ลาออก นายเทพไท กล่าวว่า ต้องให้เวลากับนายมานิต เพราะเป็นคนของพรรคร่วม แต่เชื่อว่า นายมานิต จะทำตามกฎเหล็กของนายกฯ เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่านายมานิต คงไม่สามารถย้ายไปนั่งกระทรวงอื่นได้ นายเทพไท กล่าวว่า คิดว่าคงไม่มีการย้าย
เมื่อถามว่ากรณีของนายกรอปศักดิ์ สภาวสุ ที่มีเรื่องการทุจริต ยังสามารถย้ายตำแหน่งได้ นายเทพไท กล่าวว่า นายกอร์ปศักดิ์ มีใครชี้มูลแล้วหรือยัง มีแต่ทางพรรคเพื่อไทยชี้มูลเท่านั้น ถ้าเอาตามพรรคเพื่อไทย คงต้องออกกันหมด
วานนี้ ( 5 ม.ค.) ที่พรรคภูมิใจไทย ได้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรค เพื่อหารือถึงกรณีนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข ถูกคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข ที่มี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ได้ชี้ว่ามีการส่อทุจริตจริง ซึ่งนายมานิต อยู่ในข่ายที่ต้องรับผิดชอบ ในฐานะรมช.สาธารณสุข โดยมีแกนนำพรรคเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง อาทิ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ นายศุภชัย โพธิ์สุ รวมทั้งนายมานิตด้วย
หลังการประชุม นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรค และนายมานิตได้ร่วมกันแถลงข่าว ว่า ที่ประชุมมีมติให้นายมานิต ยังคงดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุข ต่อไป โดยนายมานิต ชี้แจงว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาในการใช้งบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข และจะขอชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว เมื่อมีการเปิดสภาอภิปรายไม่ไว้วางใจ
" ผมได้ชี้แจงที่ประชุมพรรคว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้งบประมาณไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลงบ ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของผม และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกดดัน ล้วงลูก หรือจัดสรรงบลงในพื้นที่ตัวเอง อย่างไรก็ตาม หากเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และมีการชี้มูลความผิดแล้ว ผมก็พร้อมรับผิดชอบด้วยการลาออก รวมถึงหากมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา ก็พร้อมที่ชี้แจงในสภา" นายมานิตกล่าว
**"เทือก"ช่วยอุ้ม"มานิต"อีกแรง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย ยังคงให้นายมานิต อยู่ในตำแหน่งรมช.สาธารณสุขต่อไป ว่าได้ปรึกษากันแล้ว และตนได้ย้ำให้แกนนำพรรคภูมิใจไทยได้ทราบถึงกฎ 9 ข้อว่าจะใช้กับทุกคนที่เป็นรัฐมนตรี แต่เราก็เคารพ ระบบพรรคของแต่ละพรรคที่มีขั้นตอน มีกระบวนการในการตัดสินใจที่ไม่เหมือนกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลมีการพูดถึงการยึดกฎเหล็ก 9 ข้อ แต่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ที่ความผิดปรากฏขึ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่ลาออก จะมีคำตอบต่อเรื่องนี้อย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่าเรื่องของนายกอร์ปศักด์ พรรคได้ตัดสินใจกันไปแล้ว โดยให้ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกฯ และเลือกนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ไปดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจแทน ซึ่งดำเนินการไว้แล้ว แต่ขั้นตอนการปรับเปลี่ยน ต้องรอเวลานิดหน่อย
เมื่อถามว่า กรณีของนายมานิต หากจะยึดเช่นเดียวกับนายกอร์ปศักดิ์ ก็สามารถย้ายไปอยู่กระทรวงอื่นได้ ใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า นายกอร์ปศักดิ์ ไม่ได้ไปอยู่ในตำแหน่งครม.และบังเอิญเป็นช่วงจังหวะพอดีที่นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ลาออกจากเลขาฯนายกฯ ซึ่งจริงๆ แล้วนายกอร์ปศักดิ์ ก็คาดหวังมาตั้งแต่ตั้ง ครม.ใหม่ๆ แล้วว่าจะขอดำรงตำแหน่งเลขาฯนายกฯ มาก่อน
เมื่อถามว่าหากพรรคภูมิใจไทย แก้ปัญหาโดยโยกนายมานิต ไปกระทรวงอื่น พรรคประชาธิปัตย์รับได้หรือไม่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คิดว่าเขาคงไม่ทำ ส่วนเขาจะเอาออกหรือไม่ ตนไม่ขอพูดดีกว่า เพราะเป็นเรื่องภายในพรรคของเขา ที่มีขั้นตอน มีเวลาของเขา
"พรรคภูมิใจไทยเขาต้องกำหนดเอง เมื่อนายมานิต ถูกกล่าวหาพรรคภูมิใจไทย เขาก็คงจะคาดได้ว่า อาจจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เขาก็คงอาจจะคิดว่าให้ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปก่อน เพราะในทางการเมือง บางพรรคเขาอาจเห็นว่าเรื่องทั้งหมดของนักการเมือง อาจจะต้องมีบทพิสูจน์กันในสภาผู้แทนราษฎร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ ผมไม่กล้าเข้าไปก้าวล่วงว่าเขาจะตัดสินใจอย่างไรได้ แต่ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แต่บอกว่าเมื่อเกิดเหตุเป็นที่สงสัยของประชาชน เราก็ต้องทำให้ชัดเจน และพรรคประชาธิปัตย์ ก็ดำเนินการในส่วนของพรรคไปอย่างนี้" นายสุเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากรอจนถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คิดว่าความเสียหายจะตีกลับมาที่รัฐบาลหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า สมมติว่าถ้าเขาอยากจะให้มีการชี้แจงกันในสภา แน่นอนว่าก็อยู่ที่ผลของการชี้แจง อยู่ที่ผลของข้อเท็จจริง ซึ่งในอดีตในทางการเมืองมันก็มีปัญหาเหมือนกัน ตนก็เคยมีปัญหาเองเหมือนกัน ตอนที่ถูกโจมตีเรื่อง สปก. ตนลาออกไปก่อน แต่เมื่อถึงเวลาอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ไม่มีคนมาช่วยชี้แจงให้ ซึ่งตนคาดว่าพรรคภูมิใจไทย ต้องการเวลาช่วงนี้ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีคนชี้แจงแทน
เมื่อถามว่า หัวหน้ารัฐบาลยังอยู่ ก็น่าจะชี้แจงได้ นายสุเทพ กล่าวว่า หัวหน้ารัฐบาลก็อาจจะไปชี้แจงแทนรัฐมนตรีสาธารณสุขไม่ได้ แต่ทั้งหมดนี้ก็คงต้องให้เป็นเรื่องของพรรคภูมิใจไทย เขาอาจจะตัดสินใจลาออก โดยยอมไม่ชี้แจงก็ได้ ก็แล้วแต่เขา แต่ที่คุยกันเมื่อคืน คือตนก็บอกแนวทางของรัฐบาล ของนายกฯ ส่วนการปรึกษาหารือ การตัดสินใจ ก็เป็นเรื่องภายในของพรรคภูมิใจไทย ที่จะไปกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเอาเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นไปตามนี้แสดงว่าความรับผิดชอบทางการเมืองของนายมานิต ก็ไม่ได้สูงกว่าคนอื่น นายสุเทพ กล่าวว่า ใครสูง ใครต่ำ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ตนจะไปตัดสินใจ เขาก็ต้องมีความรับผิดชอบของเขาอยู่แล้ว พรรคก็ต้องรับผิดชอบต่อสังคม
**ปชป.ถกหาคนแทน"วิทยา"วันนี้
นายสุเทพยังกล่าวถึงการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ (6 ม.ค.) จะได้ข้อยุติ เรื่องคนที่จะมาแทนนายวิทยาหรือไม่ว่า ขึ้นอยู่ที่การประชุมกรรมการบริหารพรรค และการประชุมร่วม ระหว่างกรรมการบริหาร และส.ส. ซึ่งพรรคก็มีขั้นตอนเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า ประชุมเสร็จวันนี้แล้ว จะปรับครม.ได้ทันที ต้องมีเวลา และขั้นตอน
"คงไม่ต้องมีการแสดงวิสัยทัศน์ เพราะคนในพรรคก็รู้จักกันหมด แต่ละคนก็มีอยู่ในใจแล้วว่า ใครทำอะไรได้ อย่างไร มีการแสดงให้เห็นกันมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว"
เมื่อถามว่า มั่นใจใช่หรือไม่ว่าจะไม่มีสมาชิกในพรรคออกมาเรียกร้องตำแหน่งเหมือนกับที่ผ่านมาอีก ไม่ว่าเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง หรือเรื่องนายทุนพรรค เหมือนที่นายนิพิฐฎ์ อินทรสมบัติ ออกมาเรียกร้อง นายสุเทพ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง
เมื่อถามว่าจะมีการเคลียร์ใจกับนาย นิพิฐฎ์ หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า “ผมไม่มีอะไรต้องไปเคลียร์ใจ เพราะผมไม่มีปัญหาอะไรกับคุณนิพิฐฎ์”
เมื่อถามว่า ที่มีข่าวว่าไม่ถูกกับนายนิพิฐฎ์ จริงหรือไม่ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า " คงไม่จริงมั๊งครับ ไม่จริงหรอก ผมเป็นเลขาธิการพรรค ก็ต้องถูกกับส.ส.ทุกคน จะไม่ถูกกับส.ส.ได้อย่างไร ผมก็ต้องดูแลส.ส.ทุกคน"
**"นิพิฐฏ์-ชินวรณ์" คู่แคนดิเดท
เมื่อถามว่าจะมั่นใจได้อย่างไรว่า การคัดเลือกในพรรคจะไม่เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิมในกระทรวงสาธารณสุขอีก นายสุเทพ กล่าวว่า ที่จริงแล้วนายวิทยา ไม่ได้ทุจริต คอร์รัปชันเลย และไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้เลย แต่เมื่อสังคมต้องการคนที่รับผิดชอบ นายวิทยา ก็แสดงความรับผิดชอบต่อประชาชน ในฐานะที่เป็นรมว.สาธารณสุข เกิดอะไรขึ้นในกระทรวง และทำให้สังคมรู้สึกไม่ชอบใจ ผิดหวัง ก็เลยรับผิดชอบโดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ถือเป็นสปิริต เป็นน้ำใจของนายวิทยา ในฐานะนักการเมืองของประชาชน เพราะฉะนั้นเมื่อคนใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ เข้าไปอยู่ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องไปซ้ำรอยเดิม เมื่อเข้าไปก็เข้าไปแก้ปัญหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คู่แคนดิเดทของพรรคที่จะเป็นรมว.สาธารณสุข คือนายนิพิธฏ์ อินทรสมบัติ กับนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
**ภท.ขอโอกาส"มานิต"ชี้แจง
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ เสนอความคิดเห็นให้มีการปรับ นายมานิต ออกจากตำแหน่งหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพื่อให้นายมานิต ได้มีโอกาสชี้แจงเหตุผลว่า ตนได้พูดคุยกับนายมานิต เมื่อเช้าวันที่ 5 ม.ค. ท่านก็บอกว่า ไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ตอนนี้ท่านต้องการขอโอกาสทำความเข้าใจกับสังคม วันนี้มีคำพูดที่ว่า ต้องฟังกระแสสังคม และเมื่อมีกระแสสังคมที่จะต้องตัดสินใจไปทางใด ก็อยากให้สังคมได้ฟังความรอบด้าน และได้รับรู้ข้อเท็จจริง เพราะนายมานิต ได้ตกเป็นจำเลยของสังคม โดยไม่มีโอกาสได้อธิบายว่า สิ่งที่ถูกกล่าวหานั้น แท้จริงได้ทำหรือไม่ได้ทำ อย่างไร
"เมื่อท่านรองสุเทพ มีความเห็นอย่างนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่ท่านมานิต จะได้พิสูจน์ตัวเอง หรือบอกกล่าวกับสังคมว่า แท้จริงแล้วเรื่องราวที่เกิดขึ้นท่านมานิต เข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร" นายศุภชัย กล่าว
**หมอชนบทจี้ ภท.ยึดกฏเหล็ก
นพ.วิชัย โชควิวัฒน เลขานุการและคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็งฯ กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย มีมติให้นายมานิต ดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุขต่อไป และให้รอผลการตรวจสอบของคณะกรรมการป.ป.ช. ว่า ขอปล่อยให้เป็นเรื่องของทางรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งต่อไปสังคมต้องร่วมกันช่วยตรวจสอบ เพราะทางคณะกรรมการตรวจสอบได้ทำหน้าที่ของตนเสร็จสิ้นแล้ว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.โรงพยาบาลชุมแพ ในฐานะประธานชมรมแพทยชนบท กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยจะต้องสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองให้เหมาะสมเหมือนพรรคประชาธิปัตย์
"ส่วนตัวเห็นว่านายมานิตไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็น รมช.สาธารณสุขอีกต่อไป แต่ถ้าจะไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงอื่น ไม่มีปัญหา ขอให้ไปจาก สธ.เป็นพอ แต่สังคมจะรู้และตัดสินได้ว่า จะต้องทำอย่างไรต่อไป ซึ่งพรรคภูมิใจไทยควรยึดกฎเหล็กเหมือน ปชป.” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
**บี้ปลด-สอบ ขรก.ที่เกี่ยวข้อง
นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข พร้อมด้วยสมาชิกจากภูมิภาครวม 20 คน เข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อเช้าวานนี้ เพื่อยื่นข้อเสนอ และข้อเรียกร้องกรณีผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตามโครงการไทยเข้มแข็ง ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีการชี้มูลความผิดนักการเมือง 4 คน และข้าราชการประจำ 8 ราย ซึ่งนายวิทยา แก้วภราดัย ได้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ไปแล้วนั้น ทางสมาคมฯ ขอเรียกร้องนายกฯ 4 ประเด็น โดย 1. ขอให้ข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการไปก่อน จนกว่าผลการสอบสวนทางวินัยและผลสอบของ ป.ป.ช.จะเสร็จ
2. ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยทันที และเป็นที่ยอมรับของสังคม 3. แต่งตั้งบุคคลที่เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายไม่มีประวัติเสื่อมเสียแทนตำแหน่งทางการบริหารที่ว่างลง และ 4. ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ทบทวบรายการครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และสิ่งก่อสร้าง เพื่อเร่งดำเนินโครงการไทยเข้มแข็งให้เกิดผลสำเร็จด้วยความโปร่งใส
**"มาร์ค"เตรียมตั้ง กก.สอบ ขรก.
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในช่วงเช้า ก่อนที่จะทราบว่า นายมานิต จะลาออกจากตำแหน่งรมช.สาธารณสุขหรือไม่ว่า ว่า เป็นเรื่องของพรรคภูมิใจไทยที่จะพิจารณา รอให้เขาประชุมกันก่อน
เมื่อถามว่าสุดท้ายต้องใช้อำนาจนายกฯในการตัดสินใจเรื่องนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอให้ว่าไปทีละขั้น
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขเข้าพบ เพื่อเรียกร้องให้โยกย้ายข้าราชการระดับสูง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็ง ของกระทรวงสาธารณสุขว่า ตนได้อธิบายไปแล้ว และจะหารือกับเลขาธิการ กพ. ซึ่งประเด็นมีอยู่ว่า ข้าราชการประจำ จะต้องมีผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นที่ระบุอยู่ในกฎหมายว่าเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการทางวินัย ฉะนั้นส่วนใหญ่ปลัดกระทรวง จะต้องเป็นคนตั้ง แต่บังเอิญปลัด ถูกพาดพิงด้วย และคณะกรรมการสอบของนพ. บรรลุ ศิริพานิช เห็นว่า ปลัดต้องอยู่ภายใต้กรอบของการดำเนินการทางวินัยด้วย ดังนั้นจะต้องมีการสอบปลัดก่อน แต่การจะสอบปลัดก่อนบังเอิญ ทางคณะกรรมการ ระบุว่า ปลัดไม่ได้ทุจริต ตนต้องมาดูว่า การดำเนินการกับปลัด เป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่ ถ้านายมานิต ยังอยู่ ก็จะต้องเป็นคนตั้งกรรมการ ซึ่งตนกำลังดูอยู่ว่า เป็นเช่นนั้นได้หรือไม่ จากข้อกฎหมายเบื้องต้นตรงนี้
นอกจากนี้ การตั้งคณะกรรมการ ก็มีประเด็นอีกว่าในกฎหมาย กพ. ระหว่างการตั้งกรรมการเพื่อสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อกำหนดว่าเป็นวินัยร้ายแรง ไม่ร้ายแรง กับการตั้งคณะกรรมการวินัยไปเลย ต้องทำอย่างไร เชื่อว่าหลังพบเลขาธิการ กพ. จะได้ข้อยุติ เมื่อเสร็จเรื่องของปลัด ก็สามารถที่จะไปขยับตรงอื่นได้
เมื่อถามว่า โดยหลักนายมานิต โดนกล่าวหาด้วย สมควรเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการสอบคนอื่นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นี่คือเหตุผล ทุกอย่างต้องชัดเจนโดยลำดับ เมื่อถามว่า จะต้องรอให้มี รมต.คนใหม่เข้ามาดูตรงนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ตนกำลังจะดูว่าจำเป็นหรือไม่ ถึงได้เชิญเลขาธิการ กพ. มาดู
เมื่อถามว่า หมายถึงนายกฯ สามารถใช้อำนาจได้เลยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ใช่ กำลังดูอยู่ เมื่อถามว่าในส่วนของคณะกรรมการสอบ ชุดนพ.บรรลุ ถือเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นไปแล้วหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตรงนี้จะเป็นประเด็นที่กำลังจะคุยกับเลขาธิการ กพ. ด้วยว่าเป็นอย่างนั้นได้หรือไม่ตามกฎหมาย
เมื่อถามว่า ถ้าใช้เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นไม่ได้ แล้วผลสอบชุดนพ.บรรลุ จะมีความหมายอะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวชี้แจงว่า นั่นแหละ ตนกำลังจะบอกกับเลขาธิการ กพ. อย่างนี้ ตรงนี้ยังมีความเข้าใจไม่ตรงกัน หลังจากที่คุยกับเลขาธิการ กพ.ไปแล้ว 2-3 รอบ และคิดว่าเลขาธิการกพ. ยังไม่เห็นข้อเท็จจริงทั้งหมด
**เลขา กพ.ให้คำปรึกษานายกฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 12.30 น. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการสำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้เดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงาน ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เวลาในการเข้าพบเป็นเวลา 30 นาที
นางเบญจวรรณ เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกันหลายประเด็น ส่วนประเด็นการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงโครงการไทยเข้มแข็ง ในกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เข้าข่ายว่ามีการทุจริตนั้น ตนไม่ได้สรุปใดๆให้นายกรัฐมนตรี เพียงแต่เสนอแนวทางไปว่า การตั้งคณะกรรมการดังกล่าว เป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีกฎหมายอยู่ 2 ฉบับ คือ เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ เป็นผู้มีอำนาจ
ส่วนอีกฉบับ เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน นายกฯ จะเป็นผู้มีอำนาจ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับ นายกฯจะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาเอง
**"มาร์ค"เร่งเจ้ากระทรวงสรุปผลงาน
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายลังการประชุมครม. ว่านายกรัฐมนตรี ได้ย้ำต่อที่ประชุมครม. ให้รัฐมนตรีทุกคนเตรียมส่งรายงานผลงานกระทรวงในรอบ 1 ปี ภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนม.ค.นี้ พร้อมทั้งให้กลับไปทบทวนรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบและไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่อการทำงานในแต่ละกระทรวง
"นายกฯ ได้ย้ำในที่ประชุมครม.ว่า อย่าลืมส่งผลงาน 2 หน้ากระดาษ กำหนดส่งภายใน 2 สัปดาห์ ที่บอกว่าให้ส่ง 2 หน้ากระดาษ เพราะต้องการผลงานที่คิดว่าเป็นผลงานของแต่ละกระทรวงจริงๆ ไม่จำเป็นต้องทำมา 30-40 หน้า" นายวัชระกล่าว
**แนะใช้กฎเหล็ก 9 ข้ออย่างเข้มงวด
แหล่งข่าวที่ประชุม ครม.เปิดเผยว่า ในที่ประชุม นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการครม. ได้นำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีมีเรื่องร้องเรียนการทุจริตในโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ของกระทรวงสาธารณสุข ที่มี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธานกรรมการฯ แจกจ่ายในที่ประชุมครม. และนายกฯ ได้กล่าวในที่ประชุมว่า อยากให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงนำรายงานนี้ไปดูเพื่อ เป็นแนวทางในการทำงานเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าว ได้มีการสรุปข้อเสนอด้วยว่า
1. ควรมีการทบทวนการพิจารณาโครงการใหม่ทั้งหมด ทั้งรายการสิ่งก่อสร้าง รายการครุภัณฑ์การแพทย์ และรายงานการซื้อรถพยาบาล ทั้งในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมอื่นๆ โดยเฉพาะกรมการแพทย์ รวมทั้งโครงการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะต้องได้สัดส่วนที่เหมาะสมกัน
ทั้งนี้ ควรดำเนินการโดยมุ่งคุณภาพ เพื่อให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งของประเทศอย่างแท้จริง มิใช่ทำให้ประเทศชาติอ่อนแอลง และสร้างปัญหาในระยะยาว โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะต้องลงมารับผิดชอบโดยตรง มีหลักเกณฑ์ และวิธีการอย่างสมเหตุสมผล โปร่งใส ใช้บุคลากร สธ. ที่มีคุณภาพซึ่งมีอยู่มากช่วยกันทำ เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน
2. ควรมีการสอบสวนข้าราชการประจำที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ยังรับราชการ และเกษียณอายุไปแล้ว ในกรณีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่เข้าข่ายว่าเป็นความผิดที่ได้ทำมา เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป
3. ควรพิจารณาดำเนินการกับนักการเมืองที่เกี่ยวข้องตาม"กฎเหล็ก 9 ข้อ" ของนายกรัฐมนตรี ที่แถลงภายหลังการประชุมครม. ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.51 โดยเฉพาะในข้อ 2 ที่ "เน้นให้ยึดถือการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตอย่างเคร่งครัด" และข้อ 9 ที่ระบุว่า"ความรับผิดชอบทางการเมืองนั้น มีมาตรฐานที่สูงกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย"
**ตอก"เด็จพี่"งาช้างไม่งอกจากปากสุนัข
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมาพาดพิงกรณี นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ที่ประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองว่าเป็นแค่การสร้างภาพและนายกฯ ไม่สามารถนำกฎเหล็ก 9 ข้อมาใช้ได้นั้น ขอยืนยันว่า การลาออกของนายวิทยา เป็นการแสดงสปิริตที่ดีของนักการเมือง เป็นการตัดสินใจด้วยตัวเองเพื่อรักษามาตราฐานของพรรค และกฎเหล็กของนายกฯ ก็ไม่ใช้กับรัฐมนตรีของพรรคเท่านั้น แต่ใช้กับรัฐมนตรีทุกคนในรัฐบาล ซึ่งพรรคเพื่อไทย ไม่มีทางทราบว่ากฎเหล็กของพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างไร เพราะพรรคเพื่อไทยไม่มีกฎเหล็ก มีเพียงแต่กฎแห่งกรรม ที่คนในพรรคเพื่อไทย โดนไปหลายคนแล้ว
"หากจะถามหาสปิริตจากพรรคเพื่อไทย คงยากเหมือนสุภาษิตที่ว่า "งาช้างไม่ออกจากปากสุนัขฉันใด สปิริตก็ไม่ออกจากพรรคเพื่อไทยฉันนั้น" จึงอยากให้โฆษกพรรคเพื่อไทย ดูผลโพลการลาออกของนายวิทยา ว่าสูงเพียงใด ก่อนจะมาวิจารณในเรื่องนี้"
เมื่อถามว่า กฎเหล็กของนายกฯ ทั้ง9 ข้อ บังคับใช้กับรัฐมนตรีทุกคน แต่นายมานิต นพอมรบดี ยังไม่ลาออก นายเทพไท กล่าวว่า ต้องให้เวลากับนายมานิต เพราะเป็นคนของพรรคร่วม แต่เชื่อว่า นายมานิต จะทำตามกฎเหล็กของนายกฯ เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่านายมานิต คงไม่สามารถย้ายไปนั่งกระทรวงอื่นได้ นายเทพไท กล่าวว่า คิดว่าคงไม่มีการย้าย
เมื่อถามว่ากรณีของนายกรอปศักดิ์ สภาวสุ ที่มีเรื่องการทุจริต ยังสามารถย้ายตำแหน่งได้ นายเทพไท กล่าวว่า นายกอร์ปศักดิ์ มีใครชี้มูลแล้วหรือยัง มีแต่ทางพรรคเพื่อไทยชี้มูลเท่านั้น ถ้าเอาตามพรรคเพื่อไทย คงต้องออกกันหมด