ASTVผู้จัดการรายวัน - “มาร์ค” เซ็ง! ส่วนราชการเบิกงบไทยเข้มแข็งอืด ไม่เหมือนตอนขอ ทำกระตุ้นเศรษฐกิจสะดุด เผยเบิกได้แค่ 2.6 หมื่นล้าน ทั้งๆ ที่อนุมัติไปแล้ว 1.4 แสนล้าน ครม.ไฟเขียวงบไทยเข้มแข็งอีก 1.3 หมื่นล้าน ให้พรรคภูมิใจไทยลงทุนประปาภูมิภาค ด้าน สธ.ปลดล๊อก 4 โครงการไทยเข้มแข็ง วงเงิน 1.5 พันล้าน สั่งเดินหน้าจัดซื้อจัดจ้างได้เลย พร้อมตั้งคณะกรรมการทบทวนฯ ชุดใหม่ ไล่ดูทั้งหมด
วานนี้ (5 ม.ค.) นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยขอให้ ครม.ทุกคนเร่งรัดเบิกจ่ายเงินจากโครงการไทยเข้มแข็งกว่า 1.99 แสนล้านบาทโดยเร็ว หลังจากที่พบว่ามีการเบิกจ่ายที่ล่าช้ามาก ไม่เหมือนกับตอนที่เสนอโครงการมาขอเงินที่เสนอกันมาเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อได้รับการจัดสรรเงินไปแล้ว แต่ไม่มีการเร่งรัดเบิกจ่ายให้ได้ตามที่เสนอขอโครงการมา เพราะวัตถุประสงค์ของโครงการไทยเข้มแข็งก็เพื่อต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงต้องการให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญและเร่งรัดเบิกจ่ายให้ได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานให้ครม.ทราบถึงความคืบหน้าโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งพบว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2553 ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินได้เพียง 26,340.01 ล้านบาท จาก 5,076 โครงการเท่านั้น จากที่ได้รับเงินไปกว่า 1.99 แสนล้านบาท จำนวน 21,897 โครงการ และทั้ง5,076 โครงการ มีโครงการที่เบิกจ่ายเสร็จสมบูรณ์จริงๆ เพียง 154 โครงการ วงเงิน 15,458.96 ล้านบาท ที่เหลืออีก 4,922 โครงการ วงเงิน 10,881.05 ล้านบาท เบิกจ่ายได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
สำหรับเงินจากโครงการไทยเข้มแข็งทั้ง 1.99 แสนล้านบาท ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณแล้วจำนวน 16,404 โครงการ วงเงิน 1.46 แสนล้านบาท รอการจัดสรร 5,493 โครงการ วงเงิน 52,728.64 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ยังมีส่วนราชการที่ยังไม่ขอจัดสรรวงเงิน 40,489.11 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดสรร 12,239.53 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลได้วางเป้าหมายให้เบิกจ่ายเงินจากโครงการไทยเข้มแข็ง 100%
**ไฟเขียว 1.3 หมื่นล้านทำประปาภูมิภาค
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบกรอบลงทุนโครงการเพื่อพัฒนาประจำปี 2553-2555 (แผนแม่บทการให้บริการน้ำประปา) ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 13.705.037 ล้านบาท ตามที่นายสุเทพ เทือกสุรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับกระทรวงมหาดไทย และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ที่กำกับดูแลการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เสนอ โดยเป็นโครงการเพื่อช่วยสร้างขีดความสามารถในการให้บริการเพื่อรองรับความต้องการน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนในส่วนภูมิภาค และสอดคล้องกับนโยบายยกระดับคุณภาพชีวิต
ขณะเดียวกัน ยังเห็นชอบการดำเนินโครงการประจำปี 2553 จำนวน 12โครงการวงเงินลงทุน 4,238.009 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่ใช้เงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการขยายประปาปราณบุรี-หัวหิน ประปาเลย และประปาแม่สาย วงเงินลงทุนรวม 992.695 ล้านบาท และโครงการที่ใช้เงินกู้พันธบัตรโดยมีกระทรวงการคลัง ค้ำประกันเงินกู้ของ กปภ. จำนวน 9 โครงการ เช่น ประปาขอนแก่น (ระระยะ 3) ประปาฉะเชิงเทรา (น.เทพราช) ประปาอุดรธานี (ระยะที่ 2) ประปาโชคชัย (นครราชสีมา) ประปาร้อยเอ็ด ประปาบุรีรัมย์ ประปาปากท่อ ประปาปราจีนบุรี และประปาอรัญประเทศ วงเงินลงทุน 3,245.314 ล้านบาท
**สธ.ปลดล็อก 4 โครงการ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการประชุมพิจารณาโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในส่วนที่ได้รับวงเงินในปีงบประมาณ 2553 ตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) จำนวน 11,500 ล้านบาท ซึ่งมีการจัดกลุ่มรายการครุภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่ม สำหรับกลุ่มที่ 1 ที่มีความเหมาะสมทั้งราคาและการกระจายตัว วงเงิน 3,199.752 ล้านบาท เบื้องต้นเห็นชอบให้ดำเนินการได้ 4 รายการ รวม 1,572 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 2 รายการ วงเงิน 1,534 ล้านบาทเศษ ประกอบด้วย รถพยาบาลพร้อมเครื่องช่วยหายใจและเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างการส่งต่อ 829 คัน คันละ 1.8 ล้านบาท รวม 1,492.2 ล้านบาท 2.รถพยาบาลฉุกเฉินเป็นรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1 ตัน ต่อเติมหลังคาไฟเบอร์กล๊าสพร้อมอุปกรณ์การแพทย์ จำนวน 63 คัน ราคาคันละ 669,800 บาท รวม 42.195 ล้านบาท
3.งบบริหารจัดการโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเครือข่ายบริการทุกระดับ 20 ล้านบาท และ 4.รถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตของโรงพยาบาลชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ในโครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลเพื่อการจัดบริการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งหมด 10 คัน คันละ 1.8 ล้านบาท วงเงิน 18 ล้านบาท โดยในวันที่ 6 ม.ค.นี้ สธ.จะทำหนังสือปลดล็อค แจ้งให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดทราบ เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่ต่อไป
ส่วนโครงการอื่นที่เหลืออีกราว 2,000 ล้านบาท ได้มอบหมายให้ นพ.สุรเชษฐ์ สถินิรามัย รักษาการผู้อำนวยการสำนักบริการสาธารณสุขภูมิภาค (สบภ.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ และฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท นพ.ประทีป เมฆประสาน นพ.วีระพงษ์ เพ่งวาณิชย์ เจ้าหน้าที่ สบภ. และเจ้าหน้าที่กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ร่วมพิจารณาความเหมาะสมด้านราคาสิ่งก่อสร้าง และครุภัณฑ์ให้ชัดเจนอีกครั้งก่อน
สำหรับรายการอีก 2 กลุ่มที่เหลือ คือ กลุ่มที่ 2 รายการ สถานที่คงเดิม แต่ปรับราคาลงตามการถอดแบบประเมินราคาปริมาณวัสดุของกองแบบแผน หรือบีโอคิว (Bill of Quality) มีการปรับรายการที่ไม่จำเป็นออกเล็กน้อย วงเงินเดิม 4,077.743 ล้านบาท และปรับลดวงเงินเหลือ 3,544.457 ล้านบาท ลดลงประมาณ 500 ล้านบาท เมื่อได้ข้อยุติจะเดินหน้าต่อไปในสัปดาห์หน้า และในกลุ่มที่ 3 มีการเปลี่ยนชื่อรายการ สถานที่ หรือราคาลดลง แต่ไม่ใช้บีโอคิว ต้องมีการพิจารณา รวบรวมเสนอ ครม.ต่อไป เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ
ทั้งนี้ รายการที่ต้องพิจารณาแก้ไขราคาใหม่ ประกอบด้วย รายการสิ่งก่อสร้างในโรงพยาบาลชุมชน เช่น อาคารผู้ป่วย โรงครัว โรงซักฟอก ระบบบำบัดน้ำเสีย รวม 21 รายการ วงเงิน 712.015 ล้านบาท สิ่งก่อสร้างโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ เช่น อาคารผู้ป่วย อาคารโภชนาการ อาคารทันตกรรม รวม 11 รายการ วงเงิน 194.912 ล้านบาท และสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของกรมการแพทย์ รวม 10 รายการ วงเงิน 61.36 ล้านบาท
**ตั้ง กก.ทบทวนไทยเข้มแข็งชุดใหม่
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ได้ลงนามในคำสั่ง สธ.ที่ 2/2553 แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนความเหมาะสมและแก้ไขโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ชุดใหม่ โดยยกเลิกคำสั่ง สธ.เดิมที่ 1588/2552 เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2552 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคณะกรรมการชุดใหม่มีหน้าที่พิจารณาทบทวนความเหมาะสมรายละเอียดของโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 ของกระทรวงสาธารณสุข แก้ไขปัญหาอุปสรรคของโครงการ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
วานนี้ (5 ม.ค.) นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยขอให้ ครม.ทุกคนเร่งรัดเบิกจ่ายเงินจากโครงการไทยเข้มแข็งกว่า 1.99 แสนล้านบาทโดยเร็ว หลังจากที่พบว่ามีการเบิกจ่ายที่ล่าช้ามาก ไม่เหมือนกับตอนที่เสนอโครงการมาขอเงินที่เสนอกันมาเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อได้รับการจัดสรรเงินไปแล้ว แต่ไม่มีการเร่งรัดเบิกจ่ายให้ได้ตามที่เสนอขอโครงการมา เพราะวัตถุประสงค์ของโครงการไทยเข้มแข็งก็เพื่อต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงต้องการให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญและเร่งรัดเบิกจ่ายให้ได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานให้ครม.ทราบถึงความคืบหน้าโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งพบว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2553 ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินได้เพียง 26,340.01 ล้านบาท จาก 5,076 โครงการเท่านั้น จากที่ได้รับเงินไปกว่า 1.99 แสนล้านบาท จำนวน 21,897 โครงการ และทั้ง5,076 โครงการ มีโครงการที่เบิกจ่ายเสร็จสมบูรณ์จริงๆ เพียง 154 โครงการ วงเงิน 15,458.96 ล้านบาท ที่เหลืออีก 4,922 โครงการ วงเงิน 10,881.05 ล้านบาท เบิกจ่ายได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
สำหรับเงินจากโครงการไทยเข้มแข็งทั้ง 1.99 แสนล้านบาท ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณแล้วจำนวน 16,404 โครงการ วงเงิน 1.46 แสนล้านบาท รอการจัดสรร 5,493 โครงการ วงเงิน 52,728.64 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ยังมีส่วนราชการที่ยังไม่ขอจัดสรรวงเงิน 40,489.11 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดสรร 12,239.53 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลได้วางเป้าหมายให้เบิกจ่ายเงินจากโครงการไทยเข้มแข็ง 100%
**ไฟเขียว 1.3 หมื่นล้านทำประปาภูมิภาค
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบกรอบลงทุนโครงการเพื่อพัฒนาประจำปี 2553-2555 (แผนแม่บทการให้บริการน้ำประปา) ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จำนวน 59 โครงการ วงเงิน 13.705.037 ล้านบาท ตามที่นายสุเทพ เทือกสุรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับกระทรวงมหาดไทย และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ที่กำกับดูแลการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เสนอ โดยเป็นโครงการเพื่อช่วยสร้างขีดความสามารถในการให้บริการเพื่อรองรับความต้องการน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนในส่วนภูมิภาค และสอดคล้องกับนโยบายยกระดับคุณภาพชีวิต
ขณะเดียวกัน ยังเห็นชอบการดำเนินโครงการประจำปี 2553 จำนวน 12โครงการวงเงินลงทุน 4,238.009 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่ใช้เงินตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการขยายประปาปราณบุรี-หัวหิน ประปาเลย และประปาแม่สาย วงเงินลงทุนรวม 992.695 ล้านบาท และโครงการที่ใช้เงินกู้พันธบัตรโดยมีกระทรวงการคลัง ค้ำประกันเงินกู้ของ กปภ. จำนวน 9 โครงการ เช่น ประปาขอนแก่น (ระระยะ 3) ประปาฉะเชิงเทรา (น.เทพราช) ประปาอุดรธานี (ระยะที่ 2) ประปาโชคชัย (นครราชสีมา) ประปาร้อยเอ็ด ประปาบุรีรัมย์ ประปาปากท่อ ประปาปราจีนบุรี และประปาอรัญประเทศ วงเงินลงทุน 3,245.314 ล้านบาท
**สธ.ปลดล็อก 4 โครงการ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการประชุมพิจารณาโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในส่วนที่ได้รับวงเงินในปีงบประมาณ 2553 ตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) จำนวน 11,500 ล้านบาท ซึ่งมีการจัดกลุ่มรายการครุภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่ม สำหรับกลุ่มที่ 1 ที่มีความเหมาะสมทั้งราคาและการกระจายตัว วงเงิน 3,199.752 ล้านบาท เบื้องต้นเห็นชอบให้ดำเนินการได้ 4 รายการ รวม 1,572 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 2 รายการ วงเงิน 1,534 ล้านบาทเศษ ประกอบด้วย รถพยาบาลพร้อมเครื่องช่วยหายใจและเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างการส่งต่อ 829 คัน คันละ 1.8 ล้านบาท รวม 1,492.2 ล้านบาท 2.รถพยาบาลฉุกเฉินเป็นรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1 ตัน ต่อเติมหลังคาไฟเบอร์กล๊าสพร้อมอุปกรณ์การแพทย์ จำนวน 63 คัน ราคาคันละ 669,800 บาท รวม 42.195 ล้านบาท
3.งบบริหารจัดการโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเครือข่ายบริการทุกระดับ 20 ล้านบาท และ 4.รถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตของโรงพยาบาลชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ในโครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลเพื่อการจัดบริการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งหมด 10 คัน คันละ 1.8 ล้านบาท วงเงิน 18 ล้านบาท โดยในวันที่ 6 ม.ค.นี้ สธ.จะทำหนังสือปลดล็อค แจ้งให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดทราบ เพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่ต่อไป
ส่วนโครงการอื่นที่เหลืออีกราว 2,000 ล้านบาท ได้มอบหมายให้ นพ.สุรเชษฐ์ สถินิรามัย รักษาการผู้อำนวยการสำนักบริการสาธารณสุขภูมิภาค (สบภ.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ และฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท นพ.ประทีป เมฆประสาน นพ.วีระพงษ์ เพ่งวาณิชย์ เจ้าหน้าที่ สบภ. และเจ้าหน้าที่กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ร่วมพิจารณาความเหมาะสมด้านราคาสิ่งก่อสร้าง และครุภัณฑ์ให้ชัดเจนอีกครั้งก่อน
สำหรับรายการอีก 2 กลุ่มที่เหลือ คือ กลุ่มที่ 2 รายการ สถานที่คงเดิม แต่ปรับราคาลงตามการถอดแบบประเมินราคาปริมาณวัสดุของกองแบบแผน หรือบีโอคิว (Bill of Quality) มีการปรับรายการที่ไม่จำเป็นออกเล็กน้อย วงเงินเดิม 4,077.743 ล้านบาท และปรับลดวงเงินเหลือ 3,544.457 ล้านบาท ลดลงประมาณ 500 ล้านบาท เมื่อได้ข้อยุติจะเดินหน้าต่อไปในสัปดาห์หน้า และในกลุ่มที่ 3 มีการเปลี่ยนชื่อรายการ สถานที่ หรือราคาลดลง แต่ไม่ใช้บีโอคิว ต้องมีการพิจารณา รวบรวมเสนอ ครม.ต่อไป เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ
ทั้งนี้ รายการที่ต้องพิจารณาแก้ไขราคาใหม่ ประกอบด้วย รายการสิ่งก่อสร้างในโรงพยาบาลชุมชน เช่น อาคารผู้ป่วย โรงครัว โรงซักฟอก ระบบบำบัดน้ำเสีย รวม 21 รายการ วงเงิน 712.015 ล้านบาท สิ่งก่อสร้างโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ เช่น อาคารผู้ป่วย อาคารโภชนาการ อาคารทันตกรรม รวม 11 รายการ วงเงิน 194.912 ล้านบาท และสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของกรมการแพทย์ รวม 10 รายการ วงเงิน 61.36 ล้านบาท
**ตั้ง กก.ทบทวนไทยเข้มแข็งชุดใหม่
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ได้ลงนามในคำสั่ง สธ.ที่ 2/2553 แต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนความเหมาะสมและแก้ไขโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ชุดใหม่ โดยยกเลิกคำสั่ง สธ.เดิมที่ 1588/2552 เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2552 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคณะกรรมการชุดใหม่มีหน้าที่พิจารณาทบทวนความเหมาะสมรายละเอียดของโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 ของกระทรวงสาธารณสุข แก้ไขปัญหาอุปสรรคของโครงการ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม