สธ.เร่งพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ผ่านมัสยิด โรงเรียนปอเนาะ และวัด รวม 3,232 แห่ง ให้เป็นต้นแบบของสถานที่สุขภาพดี ทั้งด้านความสะอาด ถูกสุขลักษณะ ตามยุทธศาสตร์ใช้ศาสนานำการพัฒนา เผยขณะนี้ผ่านเกณฑ์แล้วร้อยละ 20 โดยสนุนงบประมาณปีละ 10 ล้านบาท
วันที่ 12 ธันวาคม นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ ติดตามการดำเนินงานโครงการ “พัฒนาศาสนสถานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ” ที่ มัสยิดนูรูอิฮ์ซาน และวัดบ้านเก่า ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
นายวิทยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีประมาณ 2 ล้านคน ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดโครงการพัฒนาศาสนสถานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มัสยิด โรงเรียนปอเนาะ และวัด ซึ่งเป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม ตั้งเป้าดำเนินการให้ครบทั้ง 3,232 แห่ง ให้เป็นต้นแบบของศาสนสถานและโรงเรียนปอเนาะส่งเสริมสุขภาพ ดำเนินการร่วมกันระหว่างศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) สำนักงานสาธารณสุขเขต 8 ศูนย์อนามัยที่ 12 และสำนักงานสาธารณสุข 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการ จะพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ สธ.จะจัดสรรงบประมาณปีละ 10 ล้านบาท ตั้งเป้าดำเนินการในวัดและมัสยิดให้ได้ร้อยละ 10 ของแต่ละจังหวัดต่อปี และโรงเรียนปอเนาะจังหวัดละ 2 แห่งต่อปี โดยให้คณะกรรมการประจำศาสนสถาน รวมทั้งผู้บริหารของโรงเรียนปอเนาะ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหารจัดการด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่มากที่สุด
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน มีศาสนสถานผ่านเกณฑ์เป็นศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพแล้ว 645 แห่งจากทั้งหมด 3,232 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20 โดยเป็นมัสยิด 500 แห่งจาก 2,266 แห่ง วัด 132 แห่งจาก 615 แห่ง และสถาบันการศึกษาปอเนาะ 13 แห่งจาก 351 แห่ง ที่สำคัญ นอกจากจะได้รับการพัฒนาด้านโครงสร้างและสิ่งแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะแล้ว ตัวผู้นำศาสนาเองจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมทางสุขภาพของประชาชน นักเรียน ชมรมต่างๆ ชาวไทยพุทธ และมุสลิม มีโอกาสแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
วันที่ 12 ธันวาคม นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ ติดตามการดำเนินงานโครงการ “พัฒนาศาสนสถานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ” ที่ มัสยิดนูรูอิฮ์ซาน และวัดบ้านเก่า ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
นายวิทยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีประมาณ 2 ล้านคน ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชน เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดโครงการพัฒนาศาสนสถานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มัสยิด โรงเรียนปอเนาะ และวัด ซึ่งเป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิม ตั้งเป้าดำเนินการให้ครบทั้ง 3,232 แห่ง ให้เป็นต้นแบบของศาสนสถานและโรงเรียนปอเนาะส่งเสริมสุขภาพ ดำเนินการร่วมกันระหว่างศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) สำนักงานสาธารณสุขเขต 8 ศูนย์อนามัยที่ 12 และสำนักงานสาธารณสุข 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการ จะพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะ สธ.จะจัดสรรงบประมาณปีละ 10 ล้านบาท ตั้งเป้าดำเนินการในวัดและมัสยิดให้ได้ร้อยละ 10 ของแต่ละจังหวัดต่อปี และโรงเรียนปอเนาะจังหวัดละ 2 แห่งต่อปี โดยให้คณะกรรมการประจำศาสนสถาน รวมทั้งผู้บริหารของโรงเรียนปอเนาะ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหารจัดการด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่มากที่สุด
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน มีศาสนสถานผ่านเกณฑ์เป็นศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพแล้ว 645 แห่งจากทั้งหมด 3,232 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20 โดยเป็นมัสยิด 500 แห่งจาก 2,266 แห่ง วัด 132 แห่งจาก 615 แห่ง และสถาบันการศึกษาปอเนาะ 13 แห่งจาก 351 แห่ง ที่สำคัญ นอกจากจะได้รับการพัฒนาด้านโครงสร้างและสิ่งแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะแล้ว ตัวผู้นำศาสนาเองจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมทางสุขภาพของประชาชน นักเรียน ชมรมต่างๆ ชาวไทยพุทธ และมุสลิม มีโอกาสแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข