สธ.เผยจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรการแพทย์แก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากร จงใจให้อยู่ในระบบนานขึ้น ที่จะเริ่ม ก.ค.52 นี้ แค่ใช้ชั่วคราว 15 เดือน ก่อนเตรียมปรับใหม่ทั้งระบบครอบคลุมทุกสาขาวิชาชีพ เริ่มใช้ทัน ต.ค.53
จากกรณี พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กล่าวถึงการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ว่า เป็นการบริหารงานที่ไม่เป็นธรรม โดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข โฆษกกระทรวง และยังมี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ นายแพทย์ อารักษ์ วงศ์วรชาติ ซึ่งเป็นแพทย์โรงพยาบาลชุมชน และประธานชมรมแพทย์ชนบท เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เป็นตัวแทนในการเจรจา โดยค่าตอบแทนนี้จะให้เฉพาะโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนโรงพยาบาลสังกัดกรมอื่นๆ ต้องไปเรียกร้องเอาเอง พร้อมระบุว่า ไม่พยายามแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรนั้น
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เจรจากับตัวแทนสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คือ ตน และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนแพทย์ชนบททั้ง 2 ท่านนั้น เป็นเพียงผู้เข้าร่วมประชุมกับหัวหน้าพยาบาล/รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป และผู้แทนพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนเท่านั้น ไม่ได้เป็นตัวแทนการเจรจาของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใด ผลการประชุมได้ข้อสรุป และปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบในหลักการแล้ว โดยจะประกาศหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนสำหรับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2552 เป็นต้นไป
“หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว พิจารณาจ่ายให้ 2 ส่วน ได้แก่ จ่ายตามอายุการปฏิบัติงาน และจ่ายตามภาระงาน การจ่ายตามอายุการปฏิบัติงาน ได้แก่ แพทย์/ทันตแพทย์ทำงานปีที่ 1-3 เดือนละ 10,000 บาท ปีที่ 4 ขึ้นไป 15,000 บาท เภสัชกรปีที่ 1-3 เดือนละ 3,000 บาท ปีที่ 4 ขึ้นไป 4,500 บาท พยาบาลวิชาชีพและสาขาอื่นๆ ระดับปริญญาตรี รับเท่ากัน คือ ปีที่ 1-3 เดือนละ 1,200 บาท ปีที่ 4 ขึ้นไป 1,800 บาท ส่วนบุคลากรต่ำกว่าปริญญาตรีปีที่ 1-3 เดือนละ 600 บาท ปีที่ 4 ขึ้นไป 900 บาท” นพ.สุพรรณ กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า ส่วนการจ่ายตามภาระงาน จะพิจารณาที่ความยุ่งยากซับซ้อนแตกต่างกัน ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเร่งพิจารณาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 เช่นกัน ทั้งนี้ ในส่วนของโรงพยาบาลสังกัดกรมวิชาการต่างๆ ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นนิติบุคคล สามารถนำหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าวนี้ไปใช้เป็นแนวทางจัดทำหลักเกณฑ์ของหน่วยงานได้ ตามระเบียบเงินบำรุงของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอธิบดีเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า อัตราค่าตอบแทนดังกล่าวนี้ จะใช้ชั่วคราวเพียง 15 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2553 หลังจากนั้นกระทรวงสาธารณสุข จะใช้แนวทางใหม่ ซึ่งจะจ่ายค่าตอบแทนครอบคลุมบุคลากรทุกคน ทั้งกลุ่มบริการ กลุ่มบริหาร และกลุ่มวิชาการ ที่ทำงานในส่วนกลาง ศูนย์วิชาการต่างๆ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย โดยจะยึดตามภาระงาน ความขาดแคลนบุคลากร ความยุ่งยากของงาน พื้นที่ในการทำงาน เป็นหลักในการพิจารณา เพื่อรักษาความสามัคคีในการทำงานร่วมกันของทีมสุขภาพในโรงพยาบาล และเป็นธรรมที่สุด
จากกรณี พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กล่าวถึงการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ว่า เป็นการบริหารงานที่ไม่เป็นธรรม โดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข โฆษกกระทรวง และยังมี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ นายแพทย์ อารักษ์ วงศ์วรชาติ ซึ่งเป็นแพทย์โรงพยาบาลชุมชน และประธานชมรมแพทย์ชนบท เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เป็นตัวแทนในการเจรจา โดยค่าตอบแทนนี้จะให้เฉพาะโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนโรงพยาบาลสังกัดกรมอื่นๆ ต้องไปเรียกร้องเอาเอง พร้อมระบุว่า ไม่พยายามแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรนั้น
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เจรจากับตัวแทนสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คือ ตน และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนแพทย์ชนบททั้ง 2 ท่านนั้น เป็นเพียงผู้เข้าร่วมประชุมกับหัวหน้าพยาบาล/รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป และผู้แทนพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนเท่านั้น ไม่ได้เป็นตัวแทนการเจรจาของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใด ผลการประชุมได้ข้อสรุป และปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบในหลักการแล้ว โดยจะประกาศหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนสำหรับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2552 เป็นต้นไป
“หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว พิจารณาจ่ายให้ 2 ส่วน ได้แก่ จ่ายตามอายุการปฏิบัติงาน และจ่ายตามภาระงาน การจ่ายตามอายุการปฏิบัติงาน ได้แก่ แพทย์/ทันตแพทย์ทำงานปีที่ 1-3 เดือนละ 10,000 บาท ปีที่ 4 ขึ้นไป 15,000 บาท เภสัชกรปีที่ 1-3 เดือนละ 3,000 บาท ปีที่ 4 ขึ้นไป 4,500 บาท พยาบาลวิชาชีพและสาขาอื่นๆ ระดับปริญญาตรี รับเท่ากัน คือ ปีที่ 1-3 เดือนละ 1,200 บาท ปีที่ 4 ขึ้นไป 1,800 บาท ส่วนบุคลากรต่ำกว่าปริญญาตรีปีที่ 1-3 เดือนละ 600 บาท ปีที่ 4 ขึ้นไป 900 บาท” นพ.สุพรรณ กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า ส่วนการจ่ายตามภาระงาน จะพิจารณาที่ความยุ่งยากซับซ้อนแตกต่างกัน ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเร่งพิจารณาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 เช่นกัน ทั้งนี้ ในส่วนของโรงพยาบาลสังกัดกรมวิชาการต่างๆ ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นนิติบุคคล สามารถนำหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าวนี้ไปใช้เป็นแนวทางจัดทำหลักเกณฑ์ของหน่วยงานได้ ตามระเบียบเงินบำรุงของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอธิบดีเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า อัตราค่าตอบแทนดังกล่าวนี้ จะใช้ชั่วคราวเพียง 15 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2553 หลังจากนั้นกระทรวงสาธารณสุข จะใช้แนวทางใหม่ ซึ่งจะจ่ายค่าตอบแทนครอบคลุมบุคลากรทุกคน ทั้งกลุ่มบริการ กลุ่มบริหาร และกลุ่มวิชาการ ที่ทำงานในส่วนกลาง ศูนย์วิชาการต่างๆ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย โดยจะยึดตามภาระงาน ความขาดแคลนบุคลากร ความยุ่งยากของงาน พื้นที่ในการทำงาน เป็นหลักในการพิจารณา เพื่อรักษาความสามัคคีในการทำงานร่วมกันของทีมสุขภาพในโรงพยาบาล และเป็นธรรมที่สุด