ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนประชุมทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (อ.ก.บ.ก.) ปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ใน 3 ยุทธศาสตร์ ซึ่งมีงบประมาณกว่า 300 ล้าน เผย สศช.อนุมัติ 81 ล้านใน 2 ยุทธศาสตร์ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟใต้และเพิ่มขีดความสามารถเพื่อการส่งออก ส่วนยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีสร้างคลัสเตอร์เพิ่มมูลค่ายางพารากว่า 200 ล้านยังไม่อนุมัติ ด้านกลุ่ม 5 จว.ลุ้นผ่านพิจารณา 12 โครงการงบไทยเข้มแข็ง 2553 ด้วยงบประมาณ 123, 882,700 บาท ขีดเส้นเสนอโครงการภายใน 20 พ.ย.
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องประชุม CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน หรือ OSM (The Officer of the Strategies Management) ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (อ.ก.บ.ก.) และยกร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ อันได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ยะลา นราธิวาส และปัตตานี
นายสุกิตติ ธนพิทักษ์ หัวหน้าสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน อนุกรรมการและเลขานุการทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เปิดเผยว่า แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน พ.ศ.2553-2556 ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ตามประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประการ จำนวน 22 โครงการ วงเงินรวม 309,870,000 บาท ได้แก่ 1.ส่งเสริมสนับสนุนภาคการผลิตให้สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ มี 1 โครงการ งบประมาณ 5,000,000 บาท สนับสนุนและส่งเสริมภาคการผลิตอยู่ในเขตพื้นชายแดนภาคใต้ให้คงอยู่ได้ อันเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุความไม่สงบจนเกิดการถอนทุนจากผู้ประกอบกิจการ
2.พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อการส่งออก มี 12 โครงการ ด้วยงบประมาณ 76,300,000 บาท เพื่อเพิ่มปริมาณหรือมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์จากการเกษตรและสินค้าฮาลาล และ3.เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา มี 9 โครงการ ด้วยงบประมาณ 228,570,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สามารถพิจารณาอนุมัติแผนงานโครงการในปีงบประมาณ 2554 ได้เพียง 2 ประเด็นยุทธศาสตร์เท่านั้น คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่1 โดยมีการใช้กลยุทธ์เข้าประสาน คือ1.การส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรให้สอดคล้องกับหลักของผังเมืองที่รัฐบาลให้หลักประกันคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการ 2.เพื่อสร้างความน่าเชื่อด้านความปลอดภัยในการประกอบธุรกิจการผลิต 3.ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงทุนด้านเกษตรอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 4.รณรงค์ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ปลอดภัยทำการผลิตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเกษตร 5.เร่งรัดการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 6.ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ที่จะต้องมีการใช้กลยุทธ์คือ 1.พัฒนาเครือข่ายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ 2. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต องค์ความรู้ และสมรรถนะด้านการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ การตลาดแบบครบวงจร และการบริหารจัดการ 3.พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงกับตลาดโลก 4.สร้างเสริมแนวคิดด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
ส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ที่เป็นนโยบายพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา โดยการสร้างกลุ่มเครือข่ายและโครงข่ายผลิตยางพาราในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในกระบวนการผลิตยางพารา จำนวน 22 โครงการนั้น จะต้องอาศัยงบประมาณถึง 228,570,000 บาท ในการขับเคลื่อน ดังนั้น จึงยังเป็นโครงการที่จะต้องนำมาพิจารณาอนุมัติในลำดับต่อไป
สำหรับโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ประจำปีงบประมาณ 2553 นั้น กลุ่ม 5 จังหวัด ได้นำเสนอเรียกร้องให้ภาครัฐพิจารณา 12 โครงการ งบประมาณ 123,882,700 บาท โดยมีการลงมติในที่ประชุมถึงการจัดสรรและบริหารงบประมาณผ่านเลขานุการพิจารณาถึงความเหมาะสม เพื่อหาเจ้าภาพหลักรับผิดชอบแต่ละโครงการ พิจารณาจากความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามนโยบาย และตามศักยภาพในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ จึงจะมีสิทธิ์ได้รับงบประมาณจากทางภาครัฐ
ทั้งนี้ กลุ่ม 5 จังหวัดชายแดนใต้จะต้องนำเสนอโครงการของแต่ละจังหวัด ถึงสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ภายในวันที่ 20 พ.ย.นี้ ซึ่งคณะทำงานจะต้องทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองโครงการและจัดลำดับความสำคัญตามความสำคัญของโครงการให้ชัดเจน เพื่อนำเข้าสู่การประชุมพิจารณาอนุมัติจาก ก.บ.ก. ตามร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการต่อไป
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องประชุม CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน หรือ OSM (The Officer of the Strategies Management) ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (อ.ก.บ.ก.) และยกร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ อันได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ยะลา นราธิวาส และปัตตานี
นายสุกิตติ ธนพิทักษ์ หัวหน้าสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน อนุกรรมการและเลขานุการทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เปิดเผยว่า แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน พ.ศ.2553-2556 ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ตามประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประการ จำนวน 22 โครงการ วงเงินรวม 309,870,000 บาท ได้แก่ 1.ส่งเสริมสนับสนุนภาคการผลิตให้สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ มี 1 โครงการ งบประมาณ 5,000,000 บาท สนับสนุนและส่งเสริมภาคการผลิตอยู่ในเขตพื้นชายแดนภาคใต้ให้คงอยู่ได้ อันเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุความไม่สงบจนเกิดการถอนทุนจากผู้ประกอบกิจการ
2.พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อการส่งออก มี 12 โครงการ ด้วยงบประมาณ 76,300,000 บาท เพื่อเพิ่มปริมาณหรือมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์จากการเกษตรและสินค้าฮาลาล และ3.เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา มี 9 โครงการ ด้วยงบประมาณ 228,570,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สามารถพิจารณาอนุมัติแผนงานโครงการในปีงบประมาณ 2554 ได้เพียง 2 ประเด็นยุทธศาสตร์เท่านั้น คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่1 โดยมีการใช้กลยุทธ์เข้าประสาน คือ1.การส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรให้สอดคล้องกับหลักของผังเมืองที่รัฐบาลให้หลักประกันคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการ 2.เพื่อสร้างความน่าเชื่อด้านความปลอดภัยในการประกอบธุรกิจการผลิต 3.ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงทุนด้านเกษตรอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 4.รณรงค์ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ปลอดภัยทำการผลิตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเกษตร 5.เร่งรัดการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 6.ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ที่จะต้องมีการใช้กลยุทธ์คือ 1.พัฒนาเครือข่ายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ 2. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต องค์ความรู้ และสมรรถนะด้านการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ การตลาดแบบครบวงจร และการบริหารจัดการ 3.พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงกับตลาดโลก 4.สร้างเสริมแนวคิดด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
ส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ที่เป็นนโยบายพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา โดยการสร้างกลุ่มเครือข่ายและโครงข่ายผลิตยางพาราในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในกระบวนการผลิตยางพารา จำนวน 22 โครงการนั้น จะต้องอาศัยงบประมาณถึง 228,570,000 บาท ในการขับเคลื่อน ดังนั้น จึงยังเป็นโครงการที่จะต้องนำมาพิจารณาอนุมัติในลำดับต่อไป
สำหรับโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ประจำปีงบประมาณ 2553 นั้น กลุ่ม 5 จังหวัด ได้นำเสนอเรียกร้องให้ภาครัฐพิจารณา 12 โครงการ งบประมาณ 123,882,700 บาท โดยมีการลงมติในที่ประชุมถึงการจัดสรรและบริหารงบประมาณผ่านเลขานุการพิจารณาถึงความเหมาะสม เพื่อหาเจ้าภาพหลักรับผิดชอบแต่ละโครงการ พิจารณาจากความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามนโยบาย และตามศักยภาพในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ จึงจะมีสิทธิ์ได้รับงบประมาณจากทางภาครัฐ
ทั้งนี้ กลุ่ม 5 จังหวัดชายแดนใต้จะต้องนำเสนอโครงการของแต่ละจังหวัด ถึงสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ภายในวันที่ 20 พ.ย.นี้ ซึ่งคณะทำงานจะต้องทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองโครงการและจัดลำดับความสำคัญตามความสำคัญของโครงการให้ชัดเจน เพื่อนำเข้าสู่การประชุมพิจารณาอนุมัติจาก ก.บ.ก. ตามร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการต่อไป