นางชูจิรา กองแก้ว อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยถึงแนวทางการบริหารงานประจำปีงบประมาณ 2553 (ก.ย.52-ต.ค.53) ว่า จากวิสัยทัศน์ของกรมฯที่ว่า จะเป็นองค์กรนำ ด้านการบังคับคดีภายใต้ระบบคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ ด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ภายในปี 2555 และกำหนดค่านิยมร่วมไว้ว่า ด้วยจิตบริการ วิทยาการ ล้ำเลิศ ชูเชิดธรรมาภิบาล เชี่ยวชาญบังคับคดี ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารราชการยุคใหม่ที่จะต้องบริหารงานแบบ GG (Good Governance) คือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีคุณภาพการบริการ มีเจ้าภาพชัดเจน แข่งขันได้ สามารถประเมินและวัดผลได้ มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานและมีการมุ่งผลสัมฤทธิ์
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการตามภารกิจของกรมฯที่ผ่านมา ยังไม่สามารถบรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ตามหลักการต่างๆ เนื่องจากปริมาณงานการบังคับคดีแพ่ง งานบังคับคดีล้มละลาย งานฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ และวางทรัพย์ เพิ่มหลายเท่าตัว หากเทียบกับทรัพยากรที่มีอยู่จะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน โดยนิติกรหนึ่งคนรับผิดชอบสำนวนถึงกว่าคนละ 200 คดี ขณะที่มาตรฐานไม่ควรเกิน 50 คดี จากปริมาณงานที่มาก ทำให้ไม่สามารถคิดพัฒนาระบบการทำงานได้ เพราะงานเฉพาะหน้ามีมาก ประกอบกับคู่ความและผู้เกี่ยวข้อง จะไปรอติดต่อตั้งแต่ 6-7 โมงเช้าเพื่อสอบถามความคืบหน้าของงานในสำนวน
"จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้จ่ายเงินล่วงหน้าขาดวินัยการเงิน ทำให้มีคดีแพ่งและล้มละลายขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมสูงมาก จากสถิติคดีล้มละลายในปี 2548 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด4,194 เรื่อง ขณะที่ปี 2550 มีจำนวน 13,454 เรื่อง และปี 2552 มีถึง 14,691 เรื่อง สองเท่าของเมื่อ 4 ปีที่แล้ว "
ดังนั้น ทางกรมฯได้วางแผนการทำงานเพื่อลดอุปสรรค โดย 1. จัดทำกระบวนการทำงานทุกขั้นตอน เพื่อจะได้กำหนดลักษณะงานและแบ่งแยกงานว่า งานไหนถ่ายโอนให้คนอื่น หรือหน่วยงานอื่นช่วยทำได้ 2. สะสางสำนวนที่คั่งค้าง จัดระบบสำนวนใหม่ให้เป็นระบบ และจัดลำดับความสำคัญของงาน เพื่อป้องกันสำนวนหมดอายุความระหว่างดำเนินการ 3. หาพันธมิตรช่วยงานเป็นการชั่วคราวเพื่อจัดสรรบุคลากรเข้าไปช่วยในด้านการไต่สวน สอบสวน ตรวจสภาพทรัพย์สิน 4.จัดมหกรรมชำระสะสางงานให้แก่หน่วยงานที่มีปริมาณงานค้างมากและนาน
5.แก้ปัญหาการลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากงานที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความล่าช้าและเกิดผลกระทบต่อคู่ความที่ไม่สามารถลงประกาศได้ทัน ปัจจุบันค้างพิมพ์ถึง 13,708 และกำลังอยู่ระหว่างการแก้ไขโดยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอรับเรื่องไปหารือกองประกาศิตก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้ กรมจะได้เสนอเรื่องให้ครม.เป็นผู้แก้ไข โดยจะขอแยกเล่มพิเศษ
6.การแก้ไขปัญหาส่งเงินค่าอากรแสตมป์การขาย ในกรณีขายทอดตลาดอสังหาฯในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้นำเงินค่าอากรแสตมป์ส่งสรรพากรพื้นที่สาขาภายในกำหนด มิฉะนั้นจะมีการชำระค่าปรับ ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีผลต่อการทำงานของกรมฯ และในเรื่องนี้ได้หารือกับอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว คาดจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้
อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวถึงในเรื่องนโยบายด้านกฎหมายและระเบียบว่า อาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ลูกหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ไม่เข้าใจกฎหมาย และไม่ยอมรับรู้ จึงมีการร้องต่อศาล การใช้ดุลพินิจของศาลที่ต่างกันทำให้เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ทางรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมฯ ได้ให้นโยบายแก้ปัญหาด้านการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกร้องเรียนมาก คือ การกำหนดราคาประเมินทรัพย์สินซึ่งกำหนดไว้ต่ำมาก ไม่สอดคล้องกับราคาที่แท้จริง การวางเงินประกันเข้าประมูลทรัพย์ จำนวน 50,000 บาท เป็นราคาที่ต่ำ ทำให้เกิดการกีดกันการประมูล ทำให้ผู้ต้องการไม่มีโอกาสได้ซื้อ เพราะผู้ประมูลที่กีดกันให้ราคาสูงกว่าเป็นผู้ซื้อได้แต่ให้ยึดเงินประกันภายหลัง เพราะมีการกำหนดการเริ่มต้นขานราคาครั้งแรกที่ 80% และ 50% ในครั้งที่สอง ทำให้ผู้ประมูลไปรอซื้อครั้งถัดไป และปัญหาการขายที่ดินผิดแปลง โดยเฉพาะน.ส.3 ก. แม้จะเป็นภาระหน้าที่ของเจ้าหนี้นำชี้ แต่เมื่อผิดแปลง เจ้าหน้าที่ก็จะถูกฟ้องร้องไปด้วย
" ทางเจ้าหนี้ได้มีการหารือกับกลุ่มสถาบันการเงินการธนาคารไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็ไม่อยากให้กำหนดเพดานสูง เพราะขายยาก ขายนาน ช้า และอยากให้มีการปรับราคาประเมินให้บ่อยๆ ขณะที่ในอนาคต จะมีการศึกษาถึงผลกระทบต่อการใช้กฎหมายล้มละลายที่กำหนดหนี้ไว้ต่ำ และการทำแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ที่ปัจจุบันเป็นการเพิ่มหนี้ให้แก่ลูกหนี้สูงขึ้นมากในการทำแผน"
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการตามภารกิจของกรมฯที่ผ่านมา ยังไม่สามารถบรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ตามหลักการต่างๆ เนื่องจากปริมาณงานการบังคับคดีแพ่ง งานบังคับคดีล้มละลาย งานฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ และวางทรัพย์ เพิ่มหลายเท่าตัว หากเทียบกับทรัพยากรที่มีอยู่จะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน โดยนิติกรหนึ่งคนรับผิดชอบสำนวนถึงกว่าคนละ 200 คดี ขณะที่มาตรฐานไม่ควรเกิน 50 คดี จากปริมาณงานที่มาก ทำให้ไม่สามารถคิดพัฒนาระบบการทำงานได้ เพราะงานเฉพาะหน้ามีมาก ประกอบกับคู่ความและผู้เกี่ยวข้อง จะไปรอติดต่อตั้งแต่ 6-7 โมงเช้าเพื่อสอบถามความคืบหน้าของงานในสำนวน
"จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้จ่ายเงินล่วงหน้าขาดวินัยการเงิน ทำให้มีคดีแพ่งและล้มละลายขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมสูงมาก จากสถิติคดีล้มละลายในปี 2548 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด4,194 เรื่อง ขณะที่ปี 2550 มีจำนวน 13,454 เรื่อง และปี 2552 มีถึง 14,691 เรื่อง สองเท่าของเมื่อ 4 ปีที่แล้ว "
ดังนั้น ทางกรมฯได้วางแผนการทำงานเพื่อลดอุปสรรค โดย 1. จัดทำกระบวนการทำงานทุกขั้นตอน เพื่อจะได้กำหนดลักษณะงานและแบ่งแยกงานว่า งานไหนถ่ายโอนให้คนอื่น หรือหน่วยงานอื่นช่วยทำได้ 2. สะสางสำนวนที่คั่งค้าง จัดระบบสำนวนใหม่ให้เป็นระบบ และจัดลำดับความสำคัญของงาน เพื่อป้องกันสำนวนหมดอายุความระหว่างดำเนินการ 3. หาพันธมิตรช่วยงานเป็นการชั่วคราวเพื่อจัดสรรบุคลากรเข้าไปช่วยในด้านการไต่สวน สอบสวน ตรวจสภาพทรัพย์สิน 4.จัดมหกรรมชำระสะสางงานให้แก่หน่วยงานที่มีปริมาณงานค้างมากและนาน
5.แก้ปัญหาการลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากงานที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความล่าช้าและเกิดผลกระทบต่อคู่ความที่ไม่สามารถลงประกาศได้ทัน ปัจจุบันค้างพิมพ์ถึง 13,708 และกำลังอยู่ระหว่างการแก้ไขโดยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอรับเรื่องไปหารือกองประกาศิตก่อน หากไม่สามารถแก้ไขได้ กรมจะได้เสนอเรื่องให้ครม.เป็นผู้แก้ไข โดยจะขอแยกเล่มพิเศษ
6.การแก้ไขปัญหาส่งเงินค่าอากรแสตมป์การขาย ในกรณีขายทอดตลาดอสังหาฯในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้นำเงินค่าอากรแสตมป์ส่งสรรพากรพื้นที่สาขาภายในกำหนด มิฉะนั้นจะมีการชำระค่าปรับ ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีผลต่อการทำงานของกรมฯ และในเรื่องนี้ได้หารือกับอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว คาดจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้
อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวถึงในเรื่องนโยบายด้านกฎหมายและระเบียบว่า อาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ลูกหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ไม่เข้าใจกฎหมาย และไม่ยอมรับรู้ จึงมีการร้องต่อศาล การใช้ดุลพินิจของศาลที่ต่างกันทำให้เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ทางรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมฯ ได้ให้นโยบายแก้ปัญหาด้านการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกร้องเรียนมาก คือ การกำหนดราคาประเมินทรัพย์สินซึ่งกำหนดไว้ต่ำมาก ไม่สอดคล้องกับราคาที่แท้จริง การวางเงินประกันเข้าประมูลทรัพย์ จำนวน 50,000 บาท เป็นราคาที่ต่ำ ทำให้เกิดการกีดกันการประมูล ทำให้ผู้ต้องการไม่มีโอกาสได้ซื้อ เพราะผู้ประมูลที่กีดกันให้ราคาสูงกว่าเป็นผู้ซื้อได้แต่ให้ยึดเงินประกันภายหลัง เพราะมีการกำหนดการเริ่มต้นขานราคาครั้งแรกที่ 80% และ 50% ในครั้งที่สอง ทำให้ผู้ประมูลไปรอซื้อครั้งถัดไป และปัญหาการขายที่ดินผิดแปลง โดยเฉพาะน.ส.3 ก. แม้จะเป็นภาระหน้าที่ของเจ้าหนี้นำชี้ แต่เมื่อผิดแปลง เจ้าหน้าที่ก็จะถูกฟ้องร้องไปด้วย
" ทางเจ้าหนี้ได้มีการหารือกับกลุ่มสถาบันการเงินการธนาคารไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็ไม่อยากให้กำหนดเพดานสูง เพราะขายยาก ขายนาน ช้า และอยากให้มีการปรับราคาประเมินให้บ่อยๆ ขณะที่ในอนาคต จะมีการศึกษาถึงผลกระทบต่อการใช้กฎหมายล้มละลายที่กำหนดหนี้ไว้ต่ำ และการทำแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ที่ปัจจุบันเป็นการเพิ่มหนี้ให้แก่ลูกหนี้สูงขึ้นมากในการทำแผน"