บังคับคดีจ.อุดรธานี ยอมรับอัตราการยึดทรัพย์พุ่งตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เผยกว่า 70% เป็นทรัพย์อสังหาฯ ที่ดินและที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง รับเป้าการผลักดันทรัพย์ปีงบ 52 กว่า 1,448 ล้านบาท ด้าน ซีดีจี ซิสเต็มส์ฯ เจ้าตลาดไอทีภาครัฐ คว้างานพัฒนาระบบงานบังคับคดีแพ่ง และระบบคลังข้อมูล
ภาวะเศรษฐกิจของไทยที่หดตัวอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการเกิดวิกฤตการเงินในประเทศสหรัฐฯ จนลุกลามกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงภาคการส่งออกของไทยถูกกระทบจากยอดคำสั่งสินค้าที่ลดลงอย่างมาก จนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงลูกหนี้รายย่อย ที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง
“ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้อัตราการยึดทรัพย์เพิ่มขึ้น ทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์เพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่อคิดอัตราส่วนยึดและขายแล้ว การขายจะลดลง สำหรับทรัพย์ที่ยึดในจังหวัดอุดร ส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วน 70% ส่วนที่เหลือเป็นสังหาริมทรัพย์ 30% โดยอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดิน และ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง” นายสาธิต ศุภเมธี ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดอุดรธานี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปี 2552 คาดว่าทางสำนักงานบังคับคดีจ.อุดรธานี จะสามารถผลักดันทรัพย์สินได้เกินเป้าที่ได้รับ และเพื่อให้การผลักดันทรัพย์ทอดตลาดบรรลุวัตถุประสงค์ สำนักงานบังคับคดีฯ ได้กำหนดการขายทอดตลาดทรัพย์อย่างต่อเนื่องทุกวันพุธ และทำการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น
สำหรับเป้าหมายการผลักดันทรัพย์ในปีงบประมาณ 2552 (1 ต.ค. 51 – 30 ก.ย. 52) สำนักงานบังคับคดีจ.อุดรธานี ได้รับมอบหมายให้ประมูลขายสินทรัพย์อยู่ที่กว่า 1,448 ล้านบาท โดยไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค. 51 – 31 ธ.ค. 51) สามารถประมูลขายสินทรัพย์ออกไปได้จำนวน 169,802,546 บาท ส่วนไตรมาสที่ 2 (1 ม.ค. – 31 มี.ค. 52) ประมูลขายสินทรัพย์ไปแล้ว 501,098,163 บาท และไตรมาสที่ 3 (1 เม.ย. – 31 มิ.ย. 52) ได้ประมูลสินทรัพย์ออกไปแล้ว 154,717626 บาท รวมแล้ว 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 52 ผลักดันทรัพย์ได้ 825,618,335 ล้านบาท
ขณะที่ในปีงบประมาณ 2551 (1 ต.ค.50-30 ก.ย.51) เป้าหมายที่ได้รับ 821 ล้านบาท แต่สามารถผลักดันทรัพย์ออกจากภาคการบังคับคดีได้กว่า 907 ล้านบาท สูงกว่าเป้า 86 ล้านบาท
ด้านนายสิรวัต อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า จากการที่ปริมาณคดีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ข้อมูลด้านการบังคับคดีแพ่งของกรมบังคับคดี ในส่วนของการยึดทรัพย์สิน การจำหน่ายทรัพย์สิน รวมถึงการจัดทำระบบบัญชีเงินในคดี มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น ทางกรมฯได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบงานบังคับคดีแพ่ง และระบบคลังข้อมูล ซึ่งระบบงานบังคับคดีแพ่งใหม่ที่พัฒนาขึ้นนั้นจะเป็นรูปแบบของ เว็บแอ๊ปปิเคชั่น โดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ การยึดทรัพย์ การอายัดทรัพย์สินซ้ำ ได้ทั่วประเทศ
โดยปัจจุบันโครงการพัฒนาระบบงานบังคับคดีแพ่งอยู่ระหว่างการออกแบบระบบ โดยบริษัท CDG ซิสเต็มส์ จำกัด (บริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าในตลาดไอทีภาครัฐมาเกือบ 40 ปี มีนายนาถ ลิ่วเจริญ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทฯ) และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2553
ภาวะเศรษฐกิจของไทยที่หดตัวอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการเกิดวิกฤตการเงินในประเทศสหรัฐฯ จนลุกลามกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงภาคการส่งออกของไทยถูกกระทบจากยอดคำสั่งสินค้าที่ลดลงอย่างมาก จนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงลูกหนี้รายย่อย ที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง
“ จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้อัตราการยึดทรัพย์เพิ่มขึ้น ทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์เพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่อคิดอัตราส่วนยึดและขายแล้ว การขายจะลดลง สำหรับทรัพย์ที่ยึดในจังหวัดอุดร ส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วน 70% ส่วนที่เหลือเป็นสังหาริมทรัพย์ 30% โดยอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดิน และ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง” นายสาธิต ศุภเมธี ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดอุดรธานี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปี 2552 คาดว่าทางสำนักงานบังคับคดีจ.อุดรธานี จะสามารถผลักดันทรัพย์สินได้เกินเป้าที่ได้รับ และเพื่อให้การผลักดันทรัพย์ทอดตลาดบรรลุวัตถุประสงค์ สำนักงานบังคับคดีฯ ได้กำหนดการขายทอดตลาดทรัพย์อย่างต่อเนื่องทุกวันพุธ และทำการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น
สำหรับเป้าหมายการผลักดันทรัพย์ในปีงบประมาณ 2552 (1 ต.ค. 51 – 30 ก.ย. 52) สำนักงานบังคับคดีจ.อุดรธานี ได้รับมอบหมายให้ประมูลขายสินทรัพย์อยู่ที่กว่า 1,448 ล้านบาท โดยไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค. 51 – 31 ธ.ค. 51) สามารถประมูลขายสินทรัพย์ออกไปได้จำนวน 169,802,546 บาท ส่วนไตรมาสที่ 2 (1 ม.ค. – 31 มี.ค. 52) ประมูลขายสินทรัพย์ไปแล้ว 501,098,163 บาท และไตรมาสที่ 3 (1 เม.ย. – 31 มิ.ย. 52) ได้ประมูลสินทรัพย์ออกไปแล้ว 154,717626 บาท รวมแล้ว 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 52 ผลักดันทรัพย์ได้ 825,618,335 ล้านบาท
ขณะที่ในปีงบประมาณ 2551 (1 ต.ค.50-30 ก.ย.51) เป้าหมายที่ได้รับ 821 ล้านบาท แต่สามารถผลักดันทรัพย์ออกจากภาคการบังคับคดีได้กว่า 907 ล้านบาท สูงกว่าเป้า 86 ล้านบาท
ด้านนายสิรวัต อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า จากการที่ปริมาณคดีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ข้อมูลด้านการบังคับคดีแพ่งของกรมบังคับคดี ในส่วนของการยึดทรัพย์สิน การจำหน่ายทรัพย์สิน รวมถึงการจัดทำระบบบัญชีเงินในคดี มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น ทางกรมฯได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบงานบังคับคดีแพ่ง และระบบคลังข้อมูล ซึ่งระบบงานบังคับคดีแพ่งใหม่ที่พัฒนาขึ้นนั้นจะเป็นรูปแบบของ เว็บแอ๊ปปิเคชั่น โดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ การยึดทรัพย์ การอายัดทรัพย์สินซ้ำ ได้ทั่วประเทศ
โดยปัจจุบันโครงการพัฒนาระบบงานบังคับคดีแพ่งอยู่ระหว่างการออกแบบระบบ โดยบริษัท CDG ซิสเต็มส์ จำกัด (บริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าในตลาดไอทีภาครัฐมาเกือบ 40 ปี มีนายนาถ ลิ่วเจริญ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทฯ) และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2553