ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลปกครองกลางสั่ง ทอท.จ่ายชดเชย”พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์” 15.7 ล้านบาท เผยผลงานบอร์ดยุค”ศรีสุข” และ”สุริยะ” นั่งรมว.คมนาคม ปมข้ดแย้งช่วงก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งต้องต่อสู้ถึง 6 ปีครึ่ง ด้านทอท.รอศึกษารายละเอียด ก่อนยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอน
เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. เวลา 14.00 น. ที่ศาลปกครองกลาง ห้องพิจารณาคดีที่ 5 นายอาจินต์ ฟักทองพรรณ ตุลาการศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ 1129/2549 คดีหมายเลขแดงที่ 2003/2552 คดีระหว่าง พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์ ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองโดยความเดิมเกี่ยวกับคดีนี้นั้น เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2546 คณะกรรมการของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ซึ่งขณะนั้นมีนายศรีสุข จันทรางศุ เป็นประธานกรรมการ และมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลและควบคุมการบริหารกิจการของ ทอท. ได้มีมติเลิกจ้างผู้ฟ้องคดีก่อนกำหนดอายุของสัญญาจ้าง
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2546 พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ จึงได้นำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลปกครองกลางฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก ทอท.กับพวก และคดีได้มีการพิจารณากันทั้งที่ศาลปกครองกลาง, ศาลแพ่ง และท้ายสุดคดีได้ถูกโอนสำนวนจากศาลแพ่งมาพิจารณาที่ศาลปกครองกลาง ซึ่งนับแต่เกิดเหตุจนถึงวันที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา คดีได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 6 ปีครึ่ง
โดยศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีพิพาทดังกล่าว สรุปในประเด็นแรกว่า การที่ ทอท.เลิกจ้าง พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ ผู้ฟ้องคดีก่อนครบกำหนดสัญญาจ้างนั้น ทอท.เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะศาลเห็นว่าจากพยานหลักฐานต่างๆ ที่นำเข้าสู่กระบวนพิจารณาคดีนี้นั้น มีเหตุผลที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีเชื่อว่าตนถูกกลั่นแกล้ง กล่าวหา และไม่ได้รับความเป็นธรรม ประเด็นที่สอง การที่ ทอท.อ้างว่าผู้ฟ้องคดีปล่อยให้พนักงานจัดชุมนุมแต่งชุดดำและเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่กระทรวงคมนาคมและทำเนียบรัฐบาลเชื่อว่าผู้ฟ้องคดีได้พยายามห้ามปรามแล้ว ไม่ได้ปล่อยให้พนักงานจัดชุมนุมและเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องโดยที่ไม่ได้ห้ามปรามตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ทอท. และเห็นว่าเป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองให้ สร.ทอท.สามารถกระทำได้ภายในขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีไม่อาจสั่งห้ามได้ ดังนั้น เหตุผลในการเลิกจ้างของ ทอท. ในประเด็นข้อนี้จึงไม่ชอบ ประเด็นข้อสุดท้ายที่คณะกรรมการ ทอท.อ้างว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นเหตุให้ ทอท. คณะกรรมการ ทอท. และกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายฯ นั้น
ดังนั้น การที่ ทอท.เลิกจ้างผู้ฟ้องคดีเป็นผู้บริหารก่อนครบกำหนดสัญญาจ้าง จึงเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้าง ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำผิดสัญญาจ้างให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามกฎหมาย ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ทอท.จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจากการบอกเลิกสัญญาจ้างให้แก่ พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์ ผู้ฟ้องคดี เป็นเงิน 15,786,666.66 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พ.ย. 2548 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ยกฟ้องคณะกรรมการ ทอท. และกระทรวงการคลัง และยกคำขออื่นนอกจากนี้ของผู้ฟ้องคดีฯ
พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ กล่าวว่า พอใจในผลคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ตนถูกกล่าวหาและเลิกจ้างด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เพราะเท่ากับลบล้างข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ทอท.ทั้งหมดที่เลิกจ้างตน ทำให้ตนเองสามารถกอบกู้เกียติยศ ศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และวงศ์ตระกูลกลับคืนมาได้แม้จะต้องใช้เวลาต่อสู้คดีในศาลมาเป็นเวลานานถึง 6 ปีครึ่งก็ตาม และคดีนี้ไม่แน่ใจว่าจะมีการอุทธรณ์ต่อสู้คดีกันต่อไปในศาลปกครองสูงสุดหรือไม่ ซึ่งตนเองจะได้ปรึกษาหารือกับทนายความต่อไป
ด้านนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ทอท.น้อมรับคำตัดสินของศาล โดยขั้นตอนจากนี้ ฝ่ายกฎหมายจะศึกษารายละเอียดทั้งหมด เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่มีต่อไป ซึ่ง ทอท.ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีก
เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. เวลา 14.00 น. ที่ศาลปกครองกลาง ห้องพิจารณาคดีที่ 5 นายอาจินต์ ฟักทองพรรณ ตุลาการศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ 1129/2549 คดีหมายเลขแดงที่ 2003/2552 คดีระหว่าง พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์ ผู้ฟ้องคดี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองโดยความเดิมเกี่ยวกับคดีนี้นั้น เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2546 คณะกรรมการของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ซึ่งขณะนั้นมีนายศรีสุข จันทรางศุ เป็นประธานกรรมการ และมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลและควบคุมการบริหารกิจการของ ทอท. ได้มีมติเลิกจ้างผู้ฟ้องคดีก่อนกำหนดอายุของสัญญาจ้าง
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2546 พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ จึงได้นำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลปกครองกลางฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก ทอท.กับพวก และคดีได้มีการพิจารณากันทั้งที่ศาลปกครองกลาง, ศาลแพ่ง และท้ายสุดคดีได้ถูกโอนสำนวนจากศาลแพ่งมาพิจารณาที่ศาลปกครองกลาง ซึ่งนับแต่เกิดเหตุจนถึงวันที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา คดีได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 6 ปีครึ่ง
โดยศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีพิพาทดังกล่าว สรุปในประเด็นแรกว่า การที่ ทอท.เลิกจ้าง พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ ผู้ฟ้องคดีก่อนครบกำหนดสัญญาจ้างนั้น ทอท.เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะศาลเห็นว่าจากพยานหลักฐานต่างๆ ที่นำเข้าสู่กระบวนพิจารณาคดีนี้นั้น มีเหตุผลที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีเชื่อว่าตนถูกกลั่นแกล้ง กล่าวหา และไม่ได้รับความเป็นธรรม ประเด็นที่สอง การที่ ทอท.อ้างว่าผู้ฟ้องคดีปล่อยให้พนักงานจัดชุมนุมแต่งชุดดำและเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่กระทรวงคมนาคมและทำเนียบรัฐบาลเชื่อว่าผู้ฟ้องคดีได้พยายามห้ามปรามแล้ว ไม่ได้ปล่อยให้พนักงานจัดชุมนุมและเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องโดยที่ไม่ได้ห้ามปรามตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ทอท. และเห็นว่าเป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองให้ สร.ทอท.สามารถกระทำได้ภายในขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีไม่อาจสั่งห้ามได้ ดังนั้น เหตุผลในการเลิกจ้างของ ทอท. ในประเด็นข้อนี้จึงไม่ชอบ ประเด็นข้อสุดท้ายที่คณะกรรมการ ทอท.อ้างว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นเหตุให้ ทอท. คณะกรรมการ ทอท. และกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายฯ นั้น
ดังนั้น การที่ ทอท.เลิกจ้างผู้ฟ้องคดีเป็นผู้บริหารก่อนครบกำหนดสัญญาจ้าง จึงเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้าง ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำผิดสัญญาจ้างให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามกฎหมาย ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ ทอท.จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจากการบอกเลิกสัญญาจ้างให้แก่ พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์ ผู้ฟ้องคดี เป็นเงิน 15,786,666.66 บาทพร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พ.ย. 2548 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ยกฟ้องคณะกรรมการ ทอท. และกระทรวงการคลัง และยกคำขออื่นนอกจากนี้ของผู้ฟ้องคดีฯ
พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ กล่าวว่า พอใจในผลคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ตนถูกกล่าวหาและเลิกจ้างด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เพราะเท่ากับลบล้างข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ทอท.ทั้งหมดที่เลิกจ้างตน ทำให้ตนเองสามารถกอบกู้เกียติยศ ศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และวงศ์ตระกูลกลับคืนมาได้แม้จะต้องใช้เวลาต่อสู้คดีในศาลมาเป็นเวลานานถึง 6 ปีครึ่งก็ตาม และคดีนี้ไม่แน่ใจว่าจะมีการอุทธรณ์ต่อสู้คดีกันต่อไปในศาลปกครองสูงสุดหรือไม่ ซึ่งตนเองจะได้ปรึกษาหารือกับทนายความต่อไป
ด้านนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ทอท.น้อมรับคำตัดสินของศาล โดยขั้นตอนจากนี้ ฝ่ายกฎหมายจะศึกษารายละเอียดทั้งหมด เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่มีต่อไป ซึ่ง ทอท.ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีก