ปัญหาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ได้สะท้อนถึงความล้มเหลวของหน่วยราชการในประเทศต่างๆ ปัจจุบันจึงได้มีแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรการของรัฐ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากประชาชน
ปัจจุบันประชาชนมีการตื่นตัวในด้านสิ่งแวดล้อมไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่ในประเทศอื่นๆ ด้วย แม้แต่ประเทศจีนที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเข้มงวดอย่างมากในการชุมนุมประท้วง แต่ยังมีการประท้วงบ่อยครั้ง โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 มีการเดินขบวนของประชาชนมากถึง 20,000 คนที่นครเซียะเหมิน ประท้วงการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีมูลค่า 50,000 ล้านบาท เพื่อผลิตพาราไซลีน โดยตั้งที่เมือง Zhangzhou ใกล้กับนครแห่งนี้ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าหากสารพาราไซลีนรั่วไหลออกไป จะกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาการตั้งครรภ์ผิดปกติ ซึ่งการประท้วงทำให้การก่อสร้างโครงการนี้ต้องหยุดชะงักลง
ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 มีประชาชนประมาณ 500 คน เดินขบวนที่นครเฉิงตู ประท้วงโครงการของบริษัท PetroChina Sichuan Petrochem Industry จำกัด มูลค่า 200,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีเพื่อผลิตเอทิลีนขนาดกำลังผลิต 800,000 ตัน/ปี และโรงกลั่นน้ำมันขนาด 10 ล้านตัน/ปี กำหนดก่อสร้างที่เมือง Pengzhou ซึ่งอยู่ห่างจากนครเฉิงตูไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเพียง 30 กิโลเมตร และเป็นพื้นที่ต้นน้ำ หากโครงการนี้ก่อให้เกิดน้ำเสียแล้ว จะกระทบต่อคุณภาพน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคของนครแห่งนี้เป็นอย่างมาก
สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา นับเป็นบทเรียนราคาแพง สามารถนำมาศึกษาและสรุปเกี่ยวกับทิศทางสำคัญในอนาคตเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนในอนาคต ควรดำเนินการ ดังนี้
ประการแรก รัฐบาลต้องประกาศนโยบายและกำหนดเป้าหมายในด้านสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนและประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบโดยทั่วไป กรณีของประเทศจีน เมื่อนายหูจินเทาได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ โดยดำรงตำแหน่งทั้งประธานาธิบดีและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากและสั่งการให้แก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 ซึ่งใช้ในช่วงปี 2549 – 2553 ได้กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดอย่างชัดเจน โดยจะลดปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศลงร้อยละ 10
ประการที่สอง ส่งเสริมการเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านสิ่งแวดล้อม โดยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนับเป็น “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญของการปกครองรูปแบบนี้
นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้องในรูปของสมัชชาสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและจัดให้มีการใช้ระบบประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ประการที่สาม หน่วยราชการต้องมีมาตรการที่เข้มงวดและดำเนินการอย่างจริงจังในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ได้บัญญัติว่าจะบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังสำหรับผู้ก่อมลพิษที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เร่งแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ที่วิกฤตซ้ำซาก
ประการที่สี่ ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เพื่อสร้างระบบตรวจสอบและถ่วงดุล การทำงานของรัฐบาลและข้าราชการ ทำให้รัฐบาลบริหารประเทศได้โปร่งใสมากยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า กรณีของประเทศจีน เมื่อเดือนเมษายน 2550 กระทรวงสิ่งแวดล้อมของจีนได้ออกกฎระเบียบว่าหน่วยราชการควรเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม 17 รายการ ผ่านสื่อต่างๆ ว่า เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หรือเมื่อได้รับการร้องขอ ขณะเดียวกันกำหนดว่าบริษัทควรเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมโดยสมัครใจ 9 รายการ
ประการที่ห้า การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นภาษีที่จัดเก็บเพื่อให้กิจกรรมเป็นไปอย่างถูกต้อง โดยนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย มาประยุกต์ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า รัฐบาลจีนได้เก็บภาษีตามปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าหรือโรงงานในอัตรา 0.63 หยวน/ตัน หรือ 3 บาท/ตัน รวมถึงการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งในอัตราร้อยละ 5
ประการที่หก ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมให้บริษัทเอกชนก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังถ่านหินโดยใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ เช่น Supercritical Technology มีการผลิตไอน้ำที่ระดับอุณหภูมิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส แม้ว่าจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงมากถึงร้อยละ 10 และยังช่วยลดมลพิษทางอากาศอีกด้วย
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนได้กำหนดว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ก่อตั้งไปแล้ว จะต้องติดตั้งระบบกำจัดกำมะถันภายในปี 2553 ทั้งนี้ มาตรการข้างต้นได้ส่งผลทำให้ปัญหาอากาศเป็นพิษเริ่มมีแนวโน้มลดต่ำลง
ประการที่เจ็ด ลงโทษบริษัทที่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน เป็นต้นว่า กรณีบริษัท Vedan Viet Nam ซึ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตผงชูรสในเวียดนาม โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวไต้หวัน ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงานนับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา แต่ตรวจสอบพบและจับกุมได้ในปี 2551
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเวียดนามได้เปรียบเทียบปรับบริษัทแห่งนี้เป็นเงินประมาณ 270 ล้านบาท พร้อมกับสั่งให้รื้อท่อน้ำทิ้งที่ลักลอบก่อสร้างอย่างผิดกฎหมายนอกจากนี้ บริษัทยังต้องจ่ายค่าเสียหายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบและเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในแม่น้ำด้วย
สำหรับกรณีของสหรัฐฯ ศาลได้พิพากษาเมื่อเดือนเมษายน 2552 สั่งเปรียบเทียบปรับบริษัท Atlantic States Cast Iron Pipe Co เป็นเงินประมาณ 280 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ได้พิพากษาให้จำคุกผู้บริหารของบริษัทแห่งนี้ไปแล้ว 4 คน โดยจำคุกแตกต่างกันไป กล่าวคือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 70 เดือน เนื่องจากกระทำผิดกฎหมายหลายกระทง เป็นต้นว่า จัดทำเอกสารเท็จในการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ เผาสารอันตรายในเตาเผาโดยไม่ได้รับอนุญาต สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ปลอดภัย ฯลฯ
ประการที่แปด ลดการบิดเบือนที่ให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากเกินไป โดยนโยบายของรัฐบาลประเทศต่างๆ มักให้ความสำคัญต่อ GDP เป็นอย่างมาก มักหยิบยกอัตราการเติบโตของ GDP มาเป็นตัวชี้วัดถึงความสำเร็จของรัฐบาลชุดนั้นๆ แต่กลับคำนึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นนามธรรมและเป็นสิ่งที่วัดได้ยาก
สำหรับแนวทางลดการบิดเบือนเพื่อให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลบางประเทศจึงได้พยายามรวมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเข้าไปใน GDP เป็นต้นว่า กระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environmental Protection) และสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ได้เริ่มรณรงค์นับตั้งแต่ปี 2547 เกี่ยวกับแนวคิดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแบบสีเขียว (Green GDP) โดยเสนอว่าการคำนวณ GDP ของประเทศและมณฑลต่างๆ นั้น จะต้องหักผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมออกจากตัวเลข GDP ด้วย เป็นต้นว่า ผลกระทบจากปัญหาอากาศเป็นพิษ น้ำเสีย อุบัติเหตุต่อพนักงาน ฯลฯ
ประการที่เก้า ลดหรือเลิกการผลิตที่ก่อมลพิษสูง โดยแทนที่จะผลิตในประเทศของตนเอง อาจจะส่งเสริมให้ลดหรือเลิกการผลิต อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วได้ใช้กลยุทธ์ในการส่งออกปัญหามลพิษไปยังประเทศกำลังพัฒนา
ตัวอย่างหนึ่ง คือ จากการที่สหรัฐฯ และยุโรปได้เข้มงวดเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ โดยรวมถึงการผลิตถ่านโค้กจากถ่านหินซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ ทำให้โรงงานถลุงเหล็กในสหรัฐฯ และยุโรปหันไปสั่งซื้อถ่านโค้กจากประเทศจีน ซึ่งการผลิตถ่านโค้กได้ส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศในประเทศจีนเป็นอย่างมาก ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงได้กำหนดโควตาส่งออกถ่านโค้กและเก็บภาษีส่งออกด้วย เพื่อจำกัดให้ผลิตเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น สร้างความไม่พอใจแก่สหรัฐฯ และยุโรปเป็นอย่างมาก และยังได้ยื่นฟ้องร้องต่อองค์การการค้าโลกว่าจีนใช้มาตรการกีดกันทางการค้า
ประการที่สิบ ต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคน มิใช่เป็นหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งนี้ ปัจจุบันภาคธุรกิจได้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับมาตรฐาน Corporate Social Responsibility (CSR) กล่าวคือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรม และการกำกับที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
CSR จึงนับเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพิ่มเข้ามานอกเหนือจากต้นทุนและกำไรทางธุรกิจ โดย ศ.ดร. สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ให้ทัศนะว่า
CSR ที่ดีนั้น ต้องมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่และรู้ว่าหน้าที่ของตนที่ถูกต้องคืออะไร เป็นต้นว่า กรณีเป็นโรงงาน การดำเนินการตามหลักในด้าน CSR คือ ต้องพยายามลดมลพิษที่เกิดขึ้น ลดผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน ไม่ใช่ดำเนินการแบบผิดๆ โดยเป็นการทุ่มโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าบริษัทช่วยเหลือสังคมอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งความจริงแล้ว CSR รูปแบบนี้เป็นเพียงบทบาทเสริมเท่านั้น
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ปัจจุบันประชาชนมีการตื่นตัวในด้านสิ่งแวดล้อมไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่ในประเทศอื่นๆ ด้วย แม้แต่ประเทศจีนที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเข้มงวดอย่างมากในการชุมนุมประท้วง แต่ยังมีการประท้วงบ่อยครั้ง โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 มีการเดินขบวนของประชาชนมากถึง 20,000 คนที่นครเซียะเหมิน ประท้วงการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีมูลค่า 50,000 ล้านบาท เพื่อผลิตพาราไซลีน โดยตั้งที่เมือง Zhangzhou ใกล้กับนครแห่งนี้ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าหากสารพาราไซลีนรั่วไหลออกไป จะกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาการตั้งครรภ์ผิดปกติ ซึ่งการประท้วงทำให้การก่อสร้างโครงการนี้ต้องหยุดชะงักลง
ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 มีประชาชนประมาณ 500 คน เดินขบวนที่นครเฉิงตู ประท้วงโครงการของบริษัท PetroChina Sichuan Petrochem Industry จำกัด มูลค่า 200,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีเพื่อผลิตเอทิลีนขนาดกำลังผลิต 800,000 ตัน/ปี และโรงกลั่นน้ำมันขนาด 10 ล้านตัน/ปี กำหนดก่อสร้างที่เมือง Pengzhou ซึ่งอยู่ห่างจากนครเฉิงตูไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเพียง 30 กิโลเมตร และเป็นพื้นที่ต้นน้ำ หากโครงการนี้ก่อให้เกิดน้ำเสียแล้ว จะกระทบต่อคุณภาพน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคของนครแห่งนี้เป็นอย่างมาก
สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา นับเป็นบทเรียนราคาแพง สามารถนำมาศึกษาและสรุปเกี่ยวกับทิศทางสำคัญในอนาคตเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนในอนาคต ควรดำเนินการ ดังนี้
ประการแรก รัฐบาลต้องประกาศนโยบายและกำหนดเป้าหมายในด้านสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนและประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบโดยทั่วไป กรณีของประเทศจีน เมื่อนายหูจินเทาได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ โดยดำรงตำแหน่งทั้งประธานาธิบดีและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากและสั่งการให้แก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 ซึ่งใช้ในช่วงปี 2549 – 2553 ได้กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดอย่างชัดเจน โดยจะลดปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศลงร้อยละ 10
ประการที่สอง ส่งเสริมการเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านสิ่งแวดล้อม โดยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนับเป็น “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญของการปกครองรูปแบบนี้
นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้องในรูปของสมัชชาสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและจัดให้มีการใช้ระบบประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ประการที่สาม หน่วยราชการต้องมีมาตรการที่เข้มงวดและดำเนินการอย่างจริงจังในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ได้บัญญัติว่าจะบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังสำหรับผู้ก่อมลพิษที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เร่งแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ที่วิกฤตซ้ำซาก
ประการที่สี่ ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เพื่อสร้างระบบตรวจสอบและถ่วงดุล การทำงานของรัฐบาลและข้าราชการ ทำให้รัฐบาลบริหารประเทศได้โปร่งใสมากยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า กรณีของประเทศจีน เมื่อเดือนเมษายน 2550 กระทรวงสิ่งแวดล้อมของจีนได้ออกกฎระเบียบว่าหน่วยราชการควรเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม 17 รายการ ผ่านสื่อต่างๆ ว่า เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หรือเมื่อได้รับการร้องขอ ขณะเดียวกันกำหนดว่าบริษัทควรเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมโดยสมัครใจ 9 รายการ
ประการที่ห้า การเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นภาษีที่จัดเก็บเพื่อให้กิจกรรมเป็นไปอย่างถูกต้อง โดยนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย มาประยุกต์ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า รัฐบาลจีนได้เก็บภาษีตามปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าหรือโรงงานในอัตรา 0.63 หยวน/ตัน หรือ 3 บาท/ตัน รวมถึงการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งในอัตราร้อยละ 5
ประการที่หก ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมให้บริษัทเอกชนก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังถ่านหินโดยใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ เช่น Supercritical Technology มีการผลิตไอน้ำที่ระดับอุณหภูมิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส แม้ว่าจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงมากถึงร้อยละ 10 และยังช่วยลดมลพิษทางอากาศอีกด้วย
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนได้กำหนดว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ก่อตั้งไปแล้ว จะต้องติดตั้งระบบกำจัดกำมะถันภายในปี 2553 ทั้งนี้ มาตรการข้างต้นได้ส่งผลทำให้ปัญหาอากาศเป็นพิษเริ่มมีแนวโน้มลดต่ำลง
ประการที่เจ็ด ลงโทษบริษัทที่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน เป็นต้นว่า กรณีบริษัท Vedan Viet Nam ซึ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตผงชูรสในเวียดนาม โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวไต้หวัน ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงานนับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา แต่ตรวจสอบพบและจับกุมได้ในปี 2551
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเวียดนามได้เปรียบเทียบปรับบริษัทแห่งนี้เป็นเงินประมาณ 270 ล้านบาท พร้อมกับสั่งให้รื้อท่อน้ำทิ้งที่ลักลอบก่อสร้างอย่างผิดกฎหมายนอกจากนี้ บริษัทยังต้องจ่ายค่าเสียหายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบและเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในแม่น้ำด้วย
สำหรับกรณีของสหรัฐฯ ศาลได้พิพากษาเมื่อเดือนเมษายน 2552 สั่งเปรียบเทียบปรับบริษัท Atlantic States Cast Iron Pipe Co เป็นเงินประมาณ 280 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ได้พิพากษาให้จำคุกผู้บริหารของบริษัทแห่งนี้ไปแล้ว 4 คน โดยจำคุกแตกต่างกันไป กล่าวคือ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 70 เดือน เนื่องจากกระทำผิดกฎหมายหลายกระทง เป็นต้นว่า จัดทำเอกสารเท็จในการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ เผาสารอันตรายในเตาเผาโดยไม่ได้รับอนุญาต สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ปลอดภัย ฯลฯ
ประการที่แปด ลดการบิดเบือนที่ให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากเกินไป โดยนโยบายของรัฐบาลประเทศต่างๆ มักให้ความสำคัญต่อ GDP เป็นอย่างมาก มักหยิบยกอัตราการเติบโตของ GDP มาเป็นตัวชี้วัดถึงความสำเร็จของรัฐบาลชุดนั้นๆ แต่กลับคำนึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นนามธรรมและเป็นสิ่งที่วัดได้ยาก
สำหรับแนวทางลดการบิดเบือนเพื่อให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลบางประเทศจึงได้พยายามรวมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเข้าไปใน GDP เป็นต้นว่า กระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environmental Protection) และสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ได้เริ่มรณรงค์นับตั้งแต่ปี 2547 เกี่ยวกับแนวคิดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแบบสีเขียว (Green GDP) โดยเสนอว่าการคำนวณ GDP ของประเทศและมณฑลต่างๆ นั้น จะต้องหักผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมออกจากตัวเลข GDP ด้วย เป็นต้นว่า ผลกระทบจากปัญหาอากาศเป็นพิษ น้ำเสีย อุบัติเหตุต่อพนักงาน ฯลฯ
ประการที่เก้า ลดหรือเลิกการผลิตที่ก่อมลพิษสูง โดยแทนที่จะผลิตในประเทศของตนเอง อาจจะส่งเสริมให้ลดหรือเลิกการผลิต อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วได้ใช้กลยุทธ์ในการส่งออกปัญหามลพิษไปยังประเทศกำลังพัฒนา
ตัวอย่างหนึ่ง คือ จากการที่สหรัฐฯ และยุโรปได้เข้มงวดเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ โดยรวมถึงการผลิตถ่านโค้กจากถ่านหินซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ ทำให้โรงงานถลุงเหล็กในสหรัฐฯ และยุโรปหันไปสั่งซื้อถ่านโค้กจากประเทศจีน ซึ่งการผลิตถ่านโค้กได้ส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศในประเทศจีนเป็นอย่างมาก ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงได้กำหนดโควตาส่งออกถ่านโค้กและเก็บภาษีส่งออกด้วย เพื่อจำกัดให้ผลิตเพื่อใช้ในประเทศเท่านั้น สร้างความไม่พอใจแก่สหรัฐฯ และยุโรปเป็นอย่างมาก และยังได้ยื่นฟ้องร้องต่อองค์การการค้าโลกว่าจีนใช้มาตรการกีดกันทางการค้า
ประการที่สิบ ต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคน มิใช่เป็นหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งนี้ ปัจจุบันภาคธุรกิจได้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับมาตรฐาน Corporate Social Responsibility (CSR) กล่าวคือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรม และการกำกับที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
CSR จึงนับเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพิ่มเข้ามานอกเหนือจากต้นทุนและกำไรทางธุรกิจ โดย ศ.ดร. สนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ให้ทัศนะว่า
CSR ที่ดีนั้น ต้องมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่และรู้ว่าหน้าที่ของตนที่ถูกต้องคืออะไร เป็นต้นว่า กรณีเป็นโรงงาน การดำเนินการตามหลักในด้าน CSR คือ ต้องพยายามลดมลพิษที่เกิดขึ้น ลดผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน ไม่ใช่ดำเนินการแบบผิดๆ โดยเป็นการทุ่มโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าบริษัทช่วยเหลือสังคมอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งความจริงแล้ว CSR รูปแบบนี้เป็นเพียงบทบาทเสริมเท่านั้น
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th