เอเอฟพี/บีบีซีนิวส์ – ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงในกรุงโคเปนเฮเกนเกือบ 1,000 คนที่ก่อเหตุรุนแรงในระหว่างชุมนุมกดดันเพื่อให้ที่ประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) ดำเนินการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้น
ผู้คนจำนวนหลายหมื่นคนเข้าร่วมการประท้วงในกรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์กเมื่อวันเสาร์(12) ซึ่งมีการเดินขบวนไปยังศูนย์จัดการประชุมคราวนี้ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด นอกจากนั้นยังมีการจัดชุมนุมตามเมืองต่างๆ ทั่วโลกตั้งแต่ออสเตรเลียไปจนถึงบริเวณเส้นอาร์กติก
การชุมนุมในโคเปนเฮเกนส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสันติ ทว่าเจ้าหน้าที่ปราบจลาจลต้องเข้าไปจัดการเมื่อมีกลุ่มวัยรุ่นสวมชุดดำหลายร้อยคนขว้างปาก้อนอิฐและทุบทำลายกระจกหน้าต่างตามร้านและบ้านเรือนต่างๆ เจ้าหน้าที่ได้เข้าล้อมกลุ่มผู้ก่อเหตุและบังคับให้นั่งลงกับพื้น ก่อนนำตัวขึ้นรถบัสออกจากจุดเกิดเหตุ
ผู้ถูกจับกุมตัวมีทั้งหมด 968 คน โดยส่วนมากป็นคนของกลุ่มต่อต้านที่ใช้กำลังชื่อ “แบล็ค บล็อก” ราว 400 คน เวลาต่อมา โฆษกตำรวจแถลงว่าได้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมไปเกือบหมดแล้ว ยกเว้นไม่กี่คนที่ถูกตั้งข้อหากระทำความผิด อย่างไรก็ตาม กลุ่มเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่มออกมาแถลงวิจารณ์ตำหนิติเตียนตำรวจเดนมาร์กว่า กระทำการรุนแรงเกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะการให้ผู้ถูกจับกุมนั่งกับพื้นเป็นเวลาหลายชั่วโมง ท่ามกลางอากาศอันหนาวยะเยือก
นอกจากโคเปนเฮเกนแล้ว ยังมีการชุมนุมเพื่อกดดันการประชุมว่าด้วยสภาพภูมิอากาศโลก ตามเมืองใหญ่ราว 130 แห่งทั่วโลก รวมทั้งกรุงวอชิงตัน ซึ่งพวกผู้ประท้วงได้จัดทำแบบจำลองเรือโนอาห์เพื่อเตือนใจพวกผู้นำโลกว่าโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ที่รุนแรงระดับเดียวกับที่เคยเกิดน้ำท่วมโลกตามที่ระบุในไบเบิลทีเดียว
สำหรับการประชุมที่โคเปนเฮเกนซึ่งย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 โดยมีกำหนดสิ้นสุดในวันศุกร์(18) บรรดาผู้แทนระดับรัฐมนตรีเริ่มเดินทางมาถึง เพื่อเข้าร่วมการหารือต่อรองกับพวกผู้แทนอื่นๆ โดยในช่วงท้ายของการประชุม ก็จะเป็นรอบของระดับผู้นำประเทศ ซึ่งที่ประกาศจะเข้าร่วมแล้วมีกว่า 110 ประเทศ เป็นต้นว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ ประธานาธิบดี ดมิทรีเมดเวเดฟแห่งรัสเซีย นายกรัฐมนตรีเหวินเจียเป่าของจีน นายกรัฐมนตรีมันโมหัน ซิงห์แห่งอินเดีย ประธานาธิบดีลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา แห่งบราซิล นายกรัฐมนตรียูคิโอะ ฮาโตยามะแห่งญี่ปุ่น และพวกผู้นำของสหภาพยุโรป
คอนนี เฮเดการ์ด อดีตรัฐมนตรีกระทรวงภูมิอากาศของเดนมาร์ก ซึ่งเป็นประธานการประชุมสุดยอดครั้งนี้กล่าวว่า พวกผู้นำโลกต้องไม่ต่อต้านเสียงเรียกร้องจากทั่วโลก “เราใช้เวลาหลายปีทีเดียวในการสร้างแรงกดดันอย่างที่เราเห็นอยู่ทั่วโลก และยังได้เห็นในเมืองหลวงอีกหลายแห่งในขณะนี้ด้วย”
อย่างไรก็ตาม พวกตัวแทนที่เข้าประชุมก็บ่นกันว่าเท่าที่ผ่านมายังมีความคืบหน้าไปน้อยมาก โดยในร่างข้อตกลงความยาว 7 หน้าที่นำเสนอที่ประชุมเมื่อวันศุกร์ (11) มีปัญหาเกือบจะในทันทีที่ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ขนาดใหญ่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปพิจารณา
กล่าวคือ พวกประเทศยากจนกล่าวว่าร่างดังกล่าวไม่ได้ระบุเรื่องพันธสัญญาความช่วยเหลือทางการเงิน ส่วนสหรัฐฯ ทักท้วงว่าร่างดังกล่าวไม่ได้ดึงเอาจีนและประเทศที่มีประชากรมหาศาลและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เข้ามาร่วมให้คำมั่นในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย
ด้านสหภาพยุโรปบอกว่าร่างดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสอย่างหนักแน่นเพียงพอ ทั้งๆ ที่เป็นเป้าหมายที่หลายประเทศได้ลงนามรับรองไว้
“เราอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถมองเห็นแล้วว่าเรายังไม่บรรลุเป้าหมายได้มากพอ” แอนเดรียส์ คาร์ลเกร็น รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของสวีเดนกล่าว
ผู้คนจำนวนหลายหมื่นคนเข้าร่วมการประท้วงในกรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์กเมื่อวันเสาร์(12) ซึ่งมีการเดินขบวนไปยังศูนย์จัดการประชุมคราวนี้ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด นอกจากนั้นยังมีการจัดชุมนุมตามเมืองต่างๆ ทั่วโลกตั้งแต่ออสเตรเลียไปจนถึงบริเวณเส้นอาร์กติก
การชุมนุมในโคเปนเฮเกนส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสันติ ทว่าเจ้าหน้าที่ปราบจลาจลต้องเข้าไปจัดการเมื่อมีกลุ่มวัยรุ่นสวมชุดดำหลายร้อยคนขว้างปาก้อนอิฐและทุบทำลายกระจกหน้าต่างตามร้านและบ้านเรือนต่างๆ เจ้าหน้าที่ได้เข้าล้อมกลุ่มผู้ก่อเหตุและบังคับให้นั่งลงกับพื้น ก่อนนำตัวขึ้นรถบัสออกจากจุดเกิดเหตุ
ผู้ถูกจับกุมตัวมีทั้งหมด 968 คน โดยส่วนมากป็นคนของกลุ่มต่อต้านที่ใช้กำลังชื่อ “แบล็ค บล็อก” ราว 400 คน เวลาต่อมา โฆษกตำรวจแถลงว่าได้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมไปเกือบหมดแล้ว ยกเว้นไม่กี่คนที่ถูกตั้งข้อหากระทำความผิด อย่างไรก็ตาม กลุ่มเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่มออกมาแถลงวิจารณ์ตำหนิติเตียนตำรวจเดนมาร์กว่า กระทำการรุนแรงเกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะการให้ผู้ถูกจับกุมนั่งกับพื้นเป็นเวลาหลายชั่วโมง ท่ามกลางอากาศอันหนาวยะเยือก
นอกจากโคเปนเฮเกนแล้ว ยังมีการชุมนุมเพื่อกดดันการประชุมว่าด้วยสภาพภูมิอากาศโลก ตามเมืองใหญ่ราว 130 แห่งทั่วโลก รวมทั้งกรุงวอชิงตัน ซึ่งพวกผู้ประท้วงได้จัดทำแบบจำลองเรือโนอาห์เพื่อเตือนใจพวกผู้นำโลกว่าโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ที่รุนแรงระดับเดียวกับที่เคยเกิดน้ำท่วมโลกตามที่ระบุในไบเบิลทีเดียว
สำหรับการประชุมที่โคเปนเฮเกนซึ่งย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 โดยมีกำหนดสิ้นสุดในวันศุกร์(18) บรรดาผู้แทนระดับรัฐมนตรีเริ่มเดินทางมาถึง เพื่อเข้าร่วมการหารือต่อรองกับพวกผู้แทนอื่นๆ โดยในช่วงท้ายของการประชุม ก็จะเป็นรอบของระดับผู้นำประเทศ ซึ่งที่ประกาศจะเข้าร่วมแล้วมีกว่า 110 ประเทศ เป็นต้นว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ ประธานาธิบดี ดมิทรีเมดเวเดฟแห่งรัสเซีย นายกรัฐมนตรีเหวินเจียเป่าของจีน นายกรัฐมนตรีมันโมหัน ซิงห์แห่งอินเดีย ประธานาธิบดีลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา แห่งบราซิล นายกรัฐมนตรียูคิโอะ ฮาโตยามะแห่งญี่ปุ่น และพวกผู้นำของสหภาพยุโรป
คอนนี เฮเดการ์ด อดีตรัฐมนตรีกระทรวงภูมิอากาศของเดนมาร์ก ซึ่งเป็นประธานการประชุมสุดยอดครั้งนี้กล่าวว่า พวกผู้นำโลกต้องไม่ต่อต้านเสียงเรียกร้องจากทั่วโลก “เราใช้เวลาหลายปีทีเดียวในการสร้างแรงกดดันอย่างที่เราเห็นอยู่ทั่วโลก และยังได้เห็นในเมืองหลวงอีกหลายแห่งในขณะนี้ด้วย”
อย่างไรก็ตาม พวกตัวแทนที่เข้าประชุมก็บ่นกันว่าเท่าที่ผ่านมายังมีความคืบหน้าไปน้อยมาก โดยในร่างข้อตกลงความยาว 7 หน้าที่นำเสนอที่ประชุมเมื่อวันศุกร์ (11) มีปัญหาเกือบจะในทันทีที่ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ขนาดใหญ่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปพิจารณา
กล่าวคือ พวกประเทศยากจนกล่าวว่าร่างดังกล่าวไม่ได้ระบุเรื่องพันธสัญญาความช่วยเหลือทางการเงิน ส่วนสหรัฐฯ ทักท้วงว่าร่างดังกล่าวไม่ได้ดึงเอาจีนและประเทศที่มีประชากรมหาศาลและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เข้ามาร่วมให้คำมั่นในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย
ด้านสหภาพยุโรปบอกว่าร่างดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสอย่างหนักแน่นเพียงพอ ทั้งๆ ที่เป็นเป้าหมายที่หลายประเทศได้ลงนามรับรองไว้
“เราอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถมองเห็นแล้วว่าเรายังไม่บรรลุเป้าหมายได้มากพอ” แอนเดรียส์ คาร์ลเกร็น รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของสวีเดนกล่าว