ASTVผู้จัดการรายวัน- บอร์ดสิ่งแวดล้อมคลอดเกณฑ์ปฏิบัติการจัดทำEIA – HIA แล้ว หวังเป็นแนวทางให้เอกชนดำเนินการรับปี 2553 ส่วนองค์กรอิสระพร้อมเร่งสรุปม.ค. นายกฯยอมรับมีอีก 5-6 กิจการส่อลุ้นหลุดเหมือนสยามยามาโตะ “สุวิทย์”สั่งสผ.เรียกเอกชน-บ.ที่ปรึกษาแจงรายละเอียดสัปดาห์หน้า ขณะที่ก.อุตฯสั่งกนอ.ศึกษากิจการอื่นๆเข้าข่ายสยามยามาโตะ ด้านส.อ.ท.ชี้ข่าวดีลุ้นกิจการเว้นระงับกิจการเพิ่ม ปี’53จี้รัฐหามาตรการเยียวยากิจการที่ถูกระงับ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยการประชุมการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมวานนี้(24ธ.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพหลังจากนั้นจะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อนำไปประกาศและลงในราชกิจการนุเบกษาต่อไป เพื่อให้เอกชนดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าวได้ทันทีรับปี 2553
“ ความเห็นคณะกรรมการ 4 ฝ่ายในส่วนขององค์กรอิสระนั้นยังไม่ลงตัวแต่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายจะเร่งสรุปและคงจะหาข้อยุติได้ในไม่เกินเดือนม.ค. 53 และเมื่อมีการจัดตั้งเสร็จก็จะไปทันพอดีกับกระบวนการที่เอกชนจัดทำ EIA –HIA ซึ่งขั้นตอนปฏิบัติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเชิญผู้ประกอบการทั้งหมดมาทำความเข้าใจกับขั้นตอนการทำงานตรงนี้ ก็น่าจะดีขึ้น“นายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้โครงการผลิตเหล็กรูปพรรณของบริษัท สยามยามาโตะสามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากเป็นโครงการที่ได้รับอีไอเอก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใข้ปี 2550นั้น จากการตรวจสอบเบื้องต้นน่าจะมีอีก 5-6 โครงการซึ่งเข้าข่ายตามเกณฑ์นี้ และส่วนที่เอกชนจะมีการยื่นขอยกเว้นการระงับกิจการเพิ่มเติมจากนี้ก็เป็นเรื่องที่เอกชนจะดำเนินการเอง เพราะข้อเท็จจริงของแต่ละโครงการอาจจะไม่เหมือนกัน ศาลจะต้องดูข้อเท็จจริงของแต่ละโครงการ ไม่ใช่ภาพรวมที่จะบอกว่ากลุ่มนั้นกลุ่มนี้ออกมาได้
**เรียกเอกชน-บ.ที่ปรึกษาแจงสัปดาห์หน้า
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าว คาดว่าจะสามารถลงนามในประกาศทส.ได้ทันก่อนสิ้นเดือนธ.ค.นี้เพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่ สำหรับผู้ประกอบการที่จะสามารถเดินหน้าโครงการต่อไปได้ ทั้งนี้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เตรียมเชิญผู้ประกอบ การ รวมทั้งบริษัทที่ปรึกษามาชี้แจงทำความเข้าใจในสัปดาห์หน้าแล้ว
ส่วนการตั้งองค์การอิสระด้านสิงแวดล้อมที่ต้องออกเป็นกฎมายรองรับในระยะยาว ทส.ได้ส่งเนื้อหาที่ปรับแก้ในมาตรา 51 ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ...พ.ศ...เข้าสภาไปแล้ว แต่ขณะนี้ต้องรอข้อสรุปและรายละเอียดทั้งรูปแบบ กระบวนการตั้งองค์การอิสระจากคณะกรรมการ 4 ฝ่ายก่อน เพื่อให้ครอบคลุมในรายละเอียด
**4 ฝ่ายเร่งสรุปองค์กรอิสระโดยเร็ว
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ได้ทำหนังสือสรุปผลการดำเนินงานระยะแรก ของคณะกรรมการฯเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยระยะที่สอง จะครอบคลุมเรื่ององค์การอิสระ (ชั่วคราว) ตามมาตรา 67 วรรคที่สองของรัฐธรรมนูญฯ เพื่อพิจารณาประกาศเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะกรรมการ จะได้นำไปเสนอเป็นลำดับต่อไปโดยเร็ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ จะได้นำเสนอกลไกลและแนวทางอื่นๆ ที่จะสนับสนุนการปฎิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรคสอง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดระยอง อาทิ แผนปฎิบัติการลดและขจัดมลพิษที่ปฎิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม แนวทางที่จะสนับสนุนให้โรงงานและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การผังเมือง ฯลฯ รวมทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ มาเพื่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาเพิ่มเติมภายหลัง
**กองทุนประกันสังคมยันมีกำไรจากหุ้นปูน-ปตท.
รายงานจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่าข้อมูลการลงทุนในหุ้นกลุ่มปตท. และปูนซิเมนต์ไทย ของกองทุนประกันสังคม ว่า มีมูลค่าลดลงประมาณ 5 %หลังจากมีผลการตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ที่มีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว 65 โครงการ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่ถือว่าเป็นการขาดทุนกำไร เนื่องจากราคาหุ้นในปัจจุบันยังมีราคาสูงกว่าราคาขณะที่ลงทุนซื้อหุ้น โดยขณะนี้กองทุนประกันสังคมยังมีกำไรจากหุ้นทั้ง 2 กลุ่ม มากกว่า 3,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังแสดงความเชื่อมั่นในมาตรการของรัฐว่า จะสามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัย บริษัท หลักทรัพย์นครหลวงไทย เปิดเผยว่า ปัจจัยภายในประเทศ ทั้งปัญหามาบตาพุดและการเมืองจะกระทบต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะหากปัญหามาบตาพุดยืดเยื้อเกิน 1 ปี จะทำให้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ เช่น ปตท. มีกำไรลดลงอีก 10-20%
**สั่ง กนอ.ศึกษากิจการเข้าข่ายสยามยามาโตะ
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ไปจัดทำสรุปกิจการที่เข้าข่ายกับกรณีของสยามยามาโตะ ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองการระงับกิจการชั่วคราวเพื่อที่จะให้เป็นฐานข้อมูลในการประกอบการนำเสนอยื่นต่อศาลฯเพื่อขอให้ยกเว้นการระงับกิจการกับภาคเอกชนทั้งหมด
ทั้งนี้จาก 19 กิจการที่เข้าข่ายในการยื่นต่อศาลฯเพื่อขอยกเว้นการระงับกิจการนั้นหากเอกชนรายอื่นๆเห็นว่ามีเหตุผลพอที่จะอธิบายต่อศาลฯก็สามารถยื่นเรื่องไปได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามยอมรับว่าหากพิจารณารายชื่อ 19 กิจการดังกล่าวแล้วแม้ว่าโอกาสไม่ถูกระงับกิจการจะมีสูงแต่หากกิจการต้นน้ำและกลางน้ำที่จะมีส่วนในการป้อนวัตถุดิบในกระบวนการผลิตติดอยู่ใน 64 กิจการที่ถูกระงับด้วยและไม่สามารถหลุดจากการระงับกิจการก็อาจจะไม่มีประโยชน์ที่จะเดินหน้าต่อไป
“เราก็ยังกังวลประเด็นเรื่องการถูกระงับกิจการเพราะหากกิจการต้นน้ำเช่น โรงแยกก๊าซที่ 6 จะเกี่ยวกับปิโตรเคมีขั้นต้น กลางและปลายน้ำต่อเนื่องกันไป เช่นเดียวกับส่วนขยายโอเลฟินส์ แครกเกอร์ และยังมีระบบท่อ เหล่านี้จะมีผลกระทบกิจการกลางน้ำ ปลายน้ำ หากกิจการใดกิจการหนึ่งถูกระงับก็จะกระทบอีกกิจการที่เหลือได้เช่นกัน”นายสรยุทธกล่าว
**เอกชนชี้ข่าวดีปี’53 ลุ้นเว้นระงับเพิ่ม
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า กรอบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน EIA และ HIA ที่ผ่านบอร์ดสิ่งแวดล้อมแล้ว รวมถึงกรณีสยามยาโมะโตะหลุดจากคำสั่งระงับกิจการถือเป็นภาพบวกต่อความเชื่อมั่นการลงทุนไทยมากขึ้นและเป็นข่าวดีรับปี 2553 เพราะถือเป็นทางออกที่ดีและมีแนวโน้มว่ากิจการอื่นๆ จะมีการทยอยยื่นต่อศาลฯเพื่อขอยกเว้นการระงับกิจการ
**ชี้ปี’53 ผลกระทบเห็นชัดจี้รัฐเยียวยา
ทั้งนี้ปี 2553 ช่วงต้นปีอาจจะเห็นภาพชัดเจนถึงความเสียหายเนื่องจากต้องยอมรับว่ากิจการที่ถูกระงับดำเนินการไปแล้วตามคำสั่งศาลฯบางกิจการมีภาระผูกพันกับลูกค้าที่มีระยะเวลาส่งมอบสินค้าไปแล้ว มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องจ่าย มีปัญหาการถูกฟ้องร้องจากผู้รับเหมา ฯลฯ ซึ่งถึงเวลานั้นรัฐบาลจะต้องออกมาตรการเยียวยา โดยก่อนหน้านี้เอกชนเคยเสนอตั้งกองทุนขึ้นมาบรรเทาผลกระทบแสนล้านบาท
“ มาตรการเยียวยานั้นก็คงขึ้นกับรัฐบาลว่าจะมีในรูปแบบใดแต่หากไม่ช่วยเหลือเอกชนจะมีปัญหาแน่โดยเฉพาะกิจการที่ก่อสร้างอยู่และก่อสร้างเสร็จแล้ว”นายสันติกล่าว
ด้านนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในปีหน้าจะมีรายได้โต 20 % โดยคิดผลกระทบจากโครงการมาบตาพุด หากไม่สามารถดำเนินกิจการได้ แต่ถ้าโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 สามารถเปิดดำเนินการได้จะทำให้รายได้บริษัทเติบโตกว่านี้ โดยความเห็นส่วนตัวอยากจะเห็นโรงแยก 6 เปิดดำเนินการ เพราะจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานปิโตรเคมี ทั้งนี้ ปตท.จะยื่นคำร้องขอยกเลิกระงับคำสั่งศาลเป็นรายกิจการ หลังจากเห็นสัญญานที่ดีของบริษัท เหล็กสยามยามาโตะ ที่ศาลอนุมัติให้ดำเนินการได้ ซึ่งพบว่ามีโครงการในเครือ ปตท.เคมีคอล 8-9 โครงการที่เข้าข่ายที่เข้าข่ายเช่นเดียวกับสยามยามาโตะ แต่ขึ้นอยู่กับดุยลพินิจของศาล โดยบริษัทจะยื่นศาลให้เร็วที่สุด คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยการประชุมการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมวานนี้(24ธ.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพหลังจากนั้นจะนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อนำไปประกาศและลงในราชกิจการนุเบกษาต่อไป เพื่อให้เอกชนดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าวได้ทันทีรับปี 2553
“ ความเห็นคณะกรรมการ 4 ฝ่ายในส่วนขององค์กรอิสระนั้นยังไม่ลงตัวแต่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายจะเร่งสรุปและคงจะหาข้อยุติได้ในไม่เกินเดือนม.ค. 53 และเมื่อมีการจัดตั้งเสร็จก็จะไปทันพอดีกับกระบวนการที่เอกชนจัดทำ EIA –HIA ซึ่งขั้นตอนปฏิบัติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเชิญผู้ประกอบการทั้งหมดมาทำความเข้าใจกับขั้นตอนการทำงานตรงนี้ ก็น่าจะดีขึ้น“นายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้โครงการผลิตเหล็กรูปพรรณของบริษัท สยามยามาโตะสามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากเป็นโครงการที่ได้รับอีไอเอก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใข้ปี 2550นั้น จากการตรวจสอบเบื้องต้นน่าจะมีอีก 5-6 โครงการซึ่งเข้าข่ายตามเกณฑ์นี้ และส่วนที่เอกชนจะมีการยื่นขอยกเว้นการระงับกิจการเพิ่มเติมจากนี้ก็เป็นเรื่องที่เอกชนจะดำเนินการเอง เพราะข้อเท็จจริงของแต่ละโครงการอาจจะไม่เหมือนกัน ศาลจะต้องดูข้อเท็จจริงของแต่ละโครงการ ไม่ใช่ภาพรวมที่จะบอกว่ากลุ่มนั้นกลุ่มนี้ออกมาได้
**เรียกเอกชน-บ.ที่ปรึกษาแจงสัปดาห์หน้า
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าว คาดว่าจะสามารถลงนามในประกาศทส.ได้ทันก่อนสิ้นเดือนธ.ค.นี้เพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่ สำหรับผู้ประกอบการที่จะสามารถเดินหน้าโครงการต่อไปได้ ทั้งนี้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เตรียมเชิญผู้ประกอบ การ รวมทั้งบริษัทที่ปรึกษามาชี้แจงทำความเข้าใจในสัปดาห์หน้าแล้ว
ส่วนการตั้งองค์การอิสระด้านสิงแวดล้อมที่ต้องออกเป็นกฎมายรองรับในระยะยาว ทส.ได้ส่งเนื้อหาที่ปรับแก้ในมาตรา 51 ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ...พ.ศ...เข้าสภาไปแล้ว แต่ขณะนี้ต้องรอข้อสรุปและรายละเอียดทั้งรูปแบบ กระบวนการตั้งองค์การอิสระจากคณะกรรมการ 4 ฝ่ายก่อน เพื่อให้ครอบคลุมในรายละเอียด
**4 ฝ่ายเร่งสรุปองค์กรอิสระโดยเร็ว
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ได้ทำหนังสือสรุปผลการดำเนินงานระยะแรก ของคณะกรรมการฯเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยระยะที่สอง จะครอบคลุมเรื่ององค์การอิสระ (ชั่วคราว) ตามมาตรา 67 วรรคที่สองของรัฐธรรมนูญฯ เพื่อพิจารณาประกาศเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะกรรมการ จะได้นำไปเสนอเป็นลำดับต่อไปโดยเร็ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ จะได้นำเสนอกลไกลและแนวทางอื่นๆ ที่จะสนับสนุนการปฎิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรคสอง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดระยอง อาทิ แผนปฎิบัติการลดและขจัดมลพิษที่ปฎิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม แนวทางที่จะสนับสนุนให้โรงงานและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การผังเมือง ฯลฯ รวมทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ มาเพื่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาเพิ่มเติมภายหลัง
**กองทุนประกันสังคมยันมีกำไรจากหุ้นปูน-ปตท.
รายงานจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่าข้อมูลการลงทุนในหุ้นกลุ่มปตท. และปูนซิเมนต์ไทย ของกองทุนประกันสังคม ว่า มีมูลค่าลดลงประมาณ 5 %หลังจากมีผลการตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ที่มีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว 65 โครงการ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่ถือว่าเป็นการขาดทุนกำไร เนื่องจากราคาหุ้นในปัจจุบันยังมีราคาสูงกว่าราคาขณะที่ลงทุนซื้อหุ้น โดยขณะนี้กองทุนประกันสังคมยังมีกำไรจากหุ้นทั้ง 2 กลุ่ม มากกว่า 3,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังแสดงความเชื่อมั่นในมาตรการของรัฐว่า จะสามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัย บริษัท หลักทรัพย์นครหลวงไทย เปิดเผยว่า ปัจจัยภายในประเทศ ทั้งปัญหามาบตาพุดและการเมืองจะกระทบต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะหากปัญหามาบตาพุดยืดเยื้อเกิน 1 ปี จะทำให้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ เช่น ปตท. มีกำไรลดลงอีก 10-20%
**สั่ง กนอ.ศึกษากิจการเข้าข่ายสยามยามาโตะ
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ไปจัดทำสรุปกิจการที่เข้าข่ายกับกรณีของสยามยามาโตะ ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองการระงับกิจการชั่วคราวเพื่อที่จะให้เป็นฐานข้อมูลในการประกอบการนำเสนอยื่นต่อศาลฯเพื่อขอให้ยกเว้นการระงับกิจการกับภาคเอกชนทั้งหมด
ทั้งนี้จาก 19 กิจการที่เข้าข่ายในการยื่นต่อศาลฯเพื่อขอยกเว้นการระงับกิจการนั้นหากเอกชนรายอื่นๆเห็นว่ามีเหตุผลพอที่จะอธิบายต่อศาลฯก็สามารถยื่นเรื่องไปได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามยอมรับว่าหากพิจารณารายชื่อ 19 กิจการดังกล่าวแล้วแม้ว่าโอกาสไม่ถูกระงับกิจการจะมีสูงแต่หากกิจการต้นน้ำและกลางน้ำที่จะมีส่วนในการป้อนวัตถุดิบในกระบวนการผลิตติดอยู่ใน 64 กิจการที่ถูกระงับด้วยและไม่สามารถหลุดจากการระงับกิจการก็อาจจะไม่มีประโยชน์ที่จะเดินหน้าต่อไป
“เราก็ยังกังวลประเด็นเรื่องการถูกระงับกิจการเพราะหากกิจการต้นน้ำเช่น โรงแยกก๊าซที่ 6 จะเกี่ยวกับปิโตรเคมีขั้นต้น กลางและปลายน้ำต่อเนื่องกันไป เช่นเดียวกับส่วนขยายโอเลฟินส์ แครกเกอร์ และยังมีระบบท่อ เหล่านี้จะมีผลกระทบกิจการกลางน้ำ ปลายน้ำ หากกิจการใดกิจการหนึ่งถูกระงับก็จะกระทบอีกกิจการที่เหลือได้เช่นกัน”นายสรยุทธกล่าว
**เอกชนชี้ข่าวดีปี’53 ลุ้นเว้นระงับเพิ่ม
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า กรอบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน EIA และ HIA ที่ผ่านบอร์ดสิ่งแวดล้อมแล้ว รวมถึงกรณีสยามยาโมะโตะหลุดจากคำสั่งระงับกิจการถือเป็นภาพบวกต่อความเชื่อมั่นการลงทุนไทยมากขึ้นและเป็นข่าวดีรับปี 2553 เพราะถือเป็นทางออกที่ดีและมีแนวโน้มว่ากิจการอื่นๆ จะมีการทยอยยื่นต่อศาลฯเพื่อขอยกเว้นการระงับกิจการ
**ชี้ปี’53 ผลกระทบเห็นชัดจี้รัฐเยียวยา
ทั้งนี้ปี 2553 ช่วงต้นปีอาจจะเห็นภาพชัดเจนถึงความเสียหายเนื่องจากต้องยอมรับว่ากิจการที่ถูกระงับดำเนินการไปแล้วตามคำสั่งศาลฯบางกิจการมีภาระผูกพันกับลูกค้าที่มีระยะเวลาส่งมอบสินค้าไปแล้ว มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องจ่าย มีปัญหาการถูกฟ้องร้องจากผู้รับเหมา ฯลฯ ซึ่งถึงเวลานั้นรัฐบาลจะต้องออกมาตรการเยียวยา โดยก่อนหน้านี้เอกชนเคยเสนอตั้งกองทุนขึ้นมาบรรเทาผลกระทบแสนล้านบาท
“ มาตรการเยียวยานั้นก็คงขึ้นกับรัฐบาลว่าจะมีในรูปแบบใดแต่หากไม่ช่วยเหลือเอกชนจะมีปัญหาแน่โดยเฉพาะกิจการที่ก่อสร้างอยู่และก่อสร้างเสร็จแล้ว”นายสันติกล่าว
ด้านนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในปีหน้าจะมีรายได้โต 20 % โดยคิดผลกระทบจากโครงการมาบตาพุด หากไม่สามารถดำเนินกิจการได้ แต่ถ้าโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 สามารถเปิดดำเนินการได้จะทำให้รายได้บริษัทเติบโตกว่านี้ โดยความเห็นส่วนตัวอยากจะเห็นโรงแยก 6 เปิดดำเนินการ เพราะจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานปิโตรเคมี ทั้งนี้ ปตท.จะยื่นคำร้องขอยกเลิกระงับคำสั่งศาลเป็นรายกิจการ หลังจากเห็นสัญญานที่ดีของบริษัท เหล็กสยามยามาโตะ ที่ศาลอนุมัติให้ดำเนินการได้ ซึ่งพบว่ามีโครงการในเครือ ปตท.เคมีคอล 8-9 โครงการที่เข้าข่ายที่เข้าข่ายเช่นเดียวกับสยามยามาโตะ แต่ขึ้นอยู่กับดุยลพินิจของศาล โดยบริษัทจะยื่นศาลให้เร็วที่สุด คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น