นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการแถลงผลงานของรัฐบาลว่า ตนให้เกรด B เพราะในแง่บวกอย่างน้อยก็สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้ และการทุจริต ก็ยังไม่ชัดเจนเท่าใดนักพอจะประคับประคองให้ประเทศไทยผ่านพ้นไปได้ แต่สิ่งที่ต้อง ปรับปรุงคือเรื่องความสมานฉันท์ และการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่เห็นเป็น รูปธรรม โดยเฉพาะความสมานฉันท์ตนอยากแนะนำว่าไม่ควรจะปิดประตู หรือพูดว่า ไม่รับ ไม่เอาเงื่อนไขของฝ่ายตรงข้าม เพราะรัฐบาลต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นของ ความสมานฉันท์ รวมถึงสื่อมวลชนต้องไม่สนใจเพียงแค่ข่าวที่หวือหวา ไม่มีประโยชน์ ต้องไม่ให้ความสำคัญกับข่าวเหล่านี้
นายเสรี วงศ์มณฑา ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวว่าผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาตนให้ B+ ที่ให้เช่นนี้ไม่ได้เอาใจและไม่ได้พิจารณาแง่ของผลงาน แต่พิจารณาในแง่ของบริบท ต้องดูพัฒนาการด้านการทำงานไปเรื่อยๆ เช่นงานชิ้นแรกอาจจะได้เกรด C แต่งานชิ้นต่อๆ ไป ถึงชิ้นสุดท้ายอาจจะได้เกรด A ก็ได้
นายเสรี กล่าวว่า เรื่องของเศรษฐกิจเป็นเรื่องระหว่างการได้แก้กับการไม่มีโอกาสได้แก้ ตนเห็นใจรัฐบาลชุดนี้ที่ไม่มีโอกาสได้แก้ อย่างเรื่องการท่องเที่ยวจะแก้ให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร ถ้าบรรยาการยังเป็นอย่างนี้ ลองไปถามคนจ.เชียงใหม่ก็ได้ว่าการท่องเที่ยว ในช่วงนี้เป็นอย่างไร ยอดการท่องเที่ยวก็ลดลงมากแล้วคะแนนจีดีพีจะขึ้นได้อย่างไร
นอกจากนี้รัฐบาลเข้ามาในช่วงแรกเงินก็ไม่มี ต้องรอจนกว่าเงินกู้ 8 แสนล้านว่า จะผ่านสภาฯหรือไม่ถึงจะทำงานได้ พอได้เงินมาแล้วก็ต้องใช้หนี้นอกระบบ ประกันราคาสินค้าเกษตร โปรเจคก็เกิด ตนเห็นจากตรงนี้ว่าเศรษฐกิจเพิ่งจะได้เริ่มเข้าที่เข้าทาง
นายเสรี กล่าวว่า ในเรื่องมาบตาพุดรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไรก็ตาม คนอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่มีทางแทรกแซงกระบวนการศาล แต่ตนยกย่องที่นายกฯ ระบุว่าโครงการใดที่คิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ตัวเองไม่ได้สร้างความเดือดร้อนสามารถยื่นหนังสือหรืออุธทรณ์ได้ ก็แสดงว่ารัฐบาลก็ยังดำเนินการตามกระบวนการศาล เพราะจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าไม่ได้
สำหรับงานด้านสมานฉันท์ นายเสรี กล่าวว่า ถ้าเรารู้ว่าเรากำลังสู้อยู่กับใคร เราจะเข้าใจ เพราะเจตนาอีกฝ่ายพูดชัดเจนว่าไม่คืนความเป็นธรรมให้กับเขา ถ้าเขาไม่พ้นผิดก็จะไม่สงบ ส่วนนายอภิสิทธิ์ก็พูดอยู่ตลอดว่าจะเจรจาอะไรก็ได้ จะปรองดองอย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่ละเมิดนิติธรรม ความเป็นนิติรัฐของไทยต้องดำรงอยู่
ทางโน้นบอกว่าต้องกลับไปที่ 19 ก.ย. 2549 นำรัฐธรรมนูญ2540 มาใช้ และยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ สิ่งที่ทางโน้นตั้งข้อแม้คือไม่ต้องการเจรจาแล้ว ถ้าไม่ได้ตามข้อเรียกร้อง ถ้าเป็นผมได้เงื่อนไขนี้ก็จะไม่เจรจาเลย บอกได้เลย ถ้าเป้าหมายนี้ต่อให้อดีตประธานาธิบดีทั้งหมดของสหรัฐฯ มาดำเนินการก็ทำไม่ได้ ในขณะเดียวกันเรื่องความสมานฉันท์นั้นถ้าจะให้เกิดผลอะไรแล้วจึงจะให้คะแนนรัฐบาล ผมมองเลยว่าชาตินี้ไม่มีทางให้คะแนนรัฐบาลได้ ซึ่งในภาวะอย่างนี้รัฐบาลประคับประครองไม่ให้เกิดเหตุการณสงครามประชานได้ ก็ให้คะแนนรัฐบาลได้
นายเสรี กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมารัฐบาลก็ทำอะไรได้พอสมควร ท่ามกลางกับดักของภาพลักษณ์นายกฯ ซึ่งนายกฯท่านนี้ติดกับดักภาพลักษณ์ อะไรที่ทำแล้วโดนวิพากษ์วิจารณ์จะไม่ทำ แต่พอถึงเวลาที่ต้องเด็ดขาด อย่างเหตุการณ์ ในช่วงเมษายนก็ทำหน้าที่ใช้ได้ หรือกรณีการตัดสินใจไม่เดินทางไปจ.เชียงใหม่ ไปจุดไฟ เป็นการตัดสินใจที่ใช้ได้ แต่ถ้าดื้อดึงจะไปเพราะเป็นนายกฯประเทศไทย ต้องไปให้ได้จะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ แต่ด้วยเงื่อนไขต่างๆ นายกฯก็ยังยืนกรานในเรื่องนิติธรรม
ถ้าจะปรับคะแนนที่ไม่ให้ถึง A เพราะว่ารัฐบาลขาดความเด็ดขาดและติดกับดักภาพลักษณ์ การตัดสินใจอะไรบางอย่างอาจจะถูกต้อง แต่จะโดนวิพากษ์ก็จะไม่ทำ กรณีเรื่อง ส.ต.ช.แต่งตั้ง ผบ.ตร.ที่ยังไม่คืบหน้า จะป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้รับคำชม แต่เป็นการตัดสินใจที่จำเป็น จะตัดคะแนนก็ตรงนี้
ส่วนผลงานด้านการปราบคอร์รัปชั่น นายเสรี กล่าวว่า ปัญหาเรื่องคอรัปชั่น ถึงแม้จะใช้วิธีการเตะถ่วงตั้งคณะกรรมการต่างๆ แต่ตนเห็นว่านายกฯเป็นคนที่จะไม่ยอมให้มันเกิดขึ้นอย่างกรณี เช่ารถเมล์ NGV 4,000 คัน ก็ไม่ยอมให้มันเกิดขึ้น แต่ทว่า นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯที่มีเจ้าหนี้ แต่การติดหนี้ก็ไม่ได้เห็นประโยชน์แก่ตำแหน่งของตน หรือที่เรียกว่าเกี่ยเซี้ยะ อาทิ ปัญหาทุจริตกระทรวงสาธารณสุขก็สั่งสอบ ทุจริตโครงการชุมชนพอเพียงก็สั่งสอบ คนก็วิจารณ์กันว่า ลูบหน้าปะจมูกหรือไม่ ตนว่าไม่ใช่ แต่นายกฯจะไม่หักพร้าด้วยด้าเข่าเพราะว่าเขาเป็นหนี้
แต่ในความเป็นหนี้นายอภิสิทธิ์ก็ใช้ลีลาของเขาในการใช้หนี้ เขาไม่ทำลายประเทศ อย่างที่ นพ. ประเวศ วะสี ราษฎร อาวุโส บอกว่า 1ปีที่ผ่านมา ท่านเชื่อว่าไม่มีการทุจริต แต่ผมเติมให้ว่าแต่มีความพยายามที่จะทุจริตของคนบางคน และบางส่วน แต่ด้วยลีลาของคุณอภิสิทธิ์ การทุจริตจริงๆ ก็ไม่เกิดขึ้น แต่ความพยายาม มีอยู่ ทั้งภายในพรรคของนายกฯและภายในนอกพรรคเอง
นายเสรี กล่าวถึงการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า นี้เป็นเรื่องที่แย่ เป็นอีกส่วนที่ถูกตัดคะแนน เรื่องภาคใต้นั้นขยับช้าและผิดหวังที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีส.ส.ภาคใต้อยู่มาก แต่ยังทำอะไรไม่ได้ดีเท่าที่ควร ตัดคะแนนเพราะไม่มีการตัดสินใจในเรื่องบางเรื่องเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ ส่วนเรื่องของสถาบันนั้นรัฐบาลทำได้ดีมาก ถือว่าเป็นเรื่องที่ใช้ได้ที่รัฐบาลเดินมาไกลมาก
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายเสรี กล่าวว่า รัฐบาลก็เดินถูกทางมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งฝ่ายหนึ่งคิดขึ้นได้ว่าทางรัฐบาลอาจจะต้องอยู่อีกนาน จึงออกมายืนยันว่าจะเอารัฐธรรมนูญ 2540 แต่นายกฯพูดว่าบางเรื่องที่ไม่เป็นธรรมก็จะแก้ไขแล้วคืนความ เป็นธรรม หมายถึง มาตรา 190 กับ ม.237 และอะไรที่ไม่เป็นธรรมต้องคืนความ เป็นธรรม ฉะนั้นเห็นว่าเรื่องรัฐธรรมนูญนายอภิสิทธิ์ก็ได้ดำเนินการมา
ส่วนกรณีการยุบสภานายอภิสิทธิ์ก็พูดชัดเจน 3 ข้อ 1.เศรษฐกิจต้องดีขึ้น 2.คนต้องสมานฉันท์จนคนลงหาเสียงได้ทุกพื้นที่โดยไม่มีการขับไล่ 3.กติกาแก้ให้เกิด การยอมรับเช่นการแบ่งเขตเลือกตั้งจะเอาแบบ 3 คนหรือ 1 คนต่อแขต ตลอดจนที่มา ส.ว. จะมาอย่างไร ส.ส.สัดส่วนจะมาอย่างไร กติกาตอนนี้ดูเหมือนว่าจากที่มีการเลือกตั้งหลายคนไม่พอใจ เพราะฉะนั้นตนให้คะแนนรัฐบาลนี้ภายใต้เงื่อนไขอันจำกัด
ส่วนการประชาสัมพันธ์การทำงานของรัฐบาล นายเสรี กล่าวว่า คนที่อยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต้องไม่ขี้เกียจ บางคนเป็นงานแต่ก็ขี้เกียจ บางคนขี้เกียจ แต่ก็ไม่เป็นงาน ดังนั้นอันนี้จะไปวิพากษวิจารณ์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯคนเดียวไม่ได้ เพราะนายสาทิตย์นั้นเป็นคนที่ควบคุมสื่อ รับผิดชอบ ประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คือ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งโฆษกฯ ฝ่ายราชการและโฆษกการเมือง คนเหล่านั้นต่างหากที่ไม่เอาเราเป็นแนวร่วม ตนทำรายการอยู่ก็ไม่ได้มีใครมาขอความร่วมมือในการเอาข้อมูล มาให้ช่วยเผยแพร่
ส่วนข้อเสียของนายอภิสิทธิ์ นายเสรี กล่าวว่า คงเป็นการตอบโต้ต่อกรกันผ่านวอล์เปเปอร์ ตนอยากให้นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อย่าสรรหาคำมาเยอะมากนัก จะชี้เจงอะไรที่มันเป็นความจริงก็ได้ไม่จำเป็น ที่จะเล่นคำ สร้างคำ ควรจะใช้คำอธิบายแบบโฆษกพรรคประชาธิปัตย์เขาชี้แจง การอธิบายไม่ใช่ไปต่อความกับใคร อย่างไรก็ตามปัญหาของนายอภิสิทธิ์อีกประการคือ การฟังวอลเปเปอร์มากไป จนทำให้คนภายนอกส่งเสียงไปไม่ถึงนายกฯ
นายเสรี วงศ์มณฑา ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กล่าวว่าผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาตนให้ B+ ที่ให้เช่นนี้ไม่ได้เอาใจและไม่ได้พิจารณาแง่ของผลงาน แต่พิจารณาในแง่ของบริบท ต้องดูพัฒนาการด้านการทำงานไปเรื่อยๆ เช่นงานชิ้นแรกอาจจะได้เกรด C แต่งานชิ้นต่อๆ ไป ถึงชิ้นสุดท้ายอาจจะได้เกรด A ก็ได้
นายเสรี กล่าวว่า เรื่องของเศรษฐกิจเป็นเรื่องระหว่างการได้แก้กับการไม่มีโอกาสได้แก้ ตนเห็นใจรัฐบาลชุดนี้ที่ไม่มีโอกาสได้แก้ อย่างเรื่องการท่องเที่ยวจะแก้ให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร ถ้าบรรยาการยังเป็นอย่างนี้ ลองไปถามคนจ.เชียงใหม่ก็ได้ว่าการท่องเที่ยว ในช่วงนี้เป็นอย่างไร ยอดการท่องเที่ยวก็ลดลงมากแล้วคะแนนจีดีพีจะขึ้นได้อย่างไร
นอกจากนี้รัฐบาลเข้ามาในช่วงแรกเงินก็ไม่มี ต้องรอจนกว่าเงินกู้ 8 แสนล้านว่า จะผ่านสภาฯหรือไม่ถึงจะทำงานได้ พอได้เงินมาแล้วก็ต้องใช้หนี้นอกระบบ ประกันราคาสินค้าเกษตร โปรเจคก็เกิด ตนเห็นจากตรงนี้ว่าเศรษฐกิจเพิ่งจะได้เริ่มเข้าที่เข้าทาง
นายเสรี กล่าวว่า ในเรื่องมาบตาพุดรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไรก็ตาม คนอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่มีทางแทรกแซงกระบวนการศาล แต่ตนยกย่องที่นายกฯ ระบุว่าโครงการใดที่คิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ตัวเองไม่ได้สร้างความเดือดร้อนสามารถยื่นหนังสือหรืออุธทรณ์ได้ ก็แสดงว่ารัฐบาลก็ยังดำเนินการตามกระบวนการศาล เพราะจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าไม่ได้
สำหรับงานด้านสมานฉันท์ นายเสรี กล่าวว่า ถ้าเรารู้ว่าเรากำลังสู้อยู่กับใคร เราจะเข้าใจ เพราะเจตนาอีกฝ่ายพูดชัดเจนว่าไม่คืนความเป็นธรรมให้กับเขา ถ้าเขาไม่พ้นผิดก็จะไม่สงบ ส่วนนายอภิสิทธิ์ก็พูดอยู่ตลอดว่าจะเจรจาอะไรก็ได้ จะปรองดองอย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่ละเมิดนิติธรรม ความเป็นนิติรัฐของไทยต้องดำรงอยู่
ทางโน้นบอกว่าต้องกลับไปที่ 19 ก.ย. 2549 นำรัฐธรรมนูญ2540 มาใช้ และยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ สิ่งที่ทางโน้นตั้งข้อแม้คือไม่ต้องการเจรจาแล้ว ถ้าไม่ได้ตามข้อเรียกร้อง ถ้าเป็นผมได้เงื่อนไขนี้ก็จะไม่เจรจาเลย บอกได้เลย ถ้าเป้าหมายนี้ต่อให้อดีตประธานาธิบดีทั้งหมดของสหรัฐฯ มาดำเนินการก็ทำไม่ได้ ในขณะเดียวกันเรื่องความสมานฉันท์นั้นถ้าจะให้เกิดผลอะไรแล้วจึงจะให้คะแนนรัฐบาล ผมมองเลยว่าชาตินี้ไม่มีทางให้คะแนนรัฐบาลได้ ซึ่งในภาวะอย่างนี้รัฐบาลประคับประครองไม่ให้เกิดเหตุการณสงครามประชานได้ ก็ให้คะแนนรัฐบาลได้
นายเสรี กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมารัฐบาลก็ทำอะไรได้พอสมควร ท่ามกลางกับดักของภาพลักษณ์นายกฯ ซึ่งนายกฯท่านนี้ติดกับดักภาพลักษณ์ อะไรที่ทำแล้วโดนวิพากษ์วิจารณ์จะไม่ทำ แต่พอถึงเวลาที่ต้องเด็ดขาด อย่างเหตุการณ์ ในช่วงเมษายนก็ทำหน้าที่ใช้ได้ หรือกรณีการตัดสินใจไม่เดินทางไปจ.เชียงใหม่ ไปจุดไฟ เป็นการตัดสินใจที่ใช้ได้ แต่ถ้าดื้อดึงจะไปเพราะเป็นนายกฯประเทศไทย ต้องไปให้ได้จะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ แต่ด้วยเงื่อนไขต่างๆ นายกฯก็ยังยืนกรานในเรื่องนิติธรรม
ถ้าจะปรับคะแนนที่ไม่ให้ถึง A เพราะว่ารัฐบาลขาดความเด็ดขาดและติดกับดักภาพลักษณ์ การตัดสินใจอะไรบางอย่างอาจจะถูกต้อง แต่จะโดนวิพากษ์ก็จะไม่ทำ กรณีเรื่อง ส.ต.ช.แต่งตั้ง ผบ.ตร.ที่ยังไม่คืบหน้า จะป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้รับคำชม แต่เป็นการตัดสินใจที่จำเป็น จะตัดคะแนนก็ตรงนี้
ส่วนผลงานด้านการปราบคอร์รัปชั่น นายเสรี กล่าวว่า ปัญหาเรื่องคอรัปชั่น ถึงแม้จะใช้วิธีการเตะถ่วงตั้งคณะกรรมการต่างๆ แต่ตนเห็นว่านายกฯเป็นคนที่จะไม่ยอมให้มันเกิดขึ้นอย่างกรณี เช่ารถเมล์ NGV 4,000 คัน ก็ไม่ยอมให้มันเกิดขึ้น แต่ทว่า นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯที่มีเจ้าหนี้ แต่การติดหนี้ก็ไม่ได้เห็นประโยชน์แก่ตำแหน่งของตน หรือที่เรียกว่าเกี่ยเซี้ยะ อาทิ ปัญหาทุจริตกระทรวงสาธารณสุขก็สั่งสอบ ทุจริตโครงการชุมชนพอเพียงก็สั่งสอบ คนก็วิจารณ์กันว่า ลูบหน้าปะจมูกหรือไม่ ตนว่าไม่ใช่ แต่นายกฯจะไม่หักพร้าด้วยด้าเข่าเพราะว่าเขาเป็นหนี้
แต่ในความเป็นหนี้นายอภิสิทธิ์ก็ใช้ลีลาของเขาในการใช้หนี้ เขาไม่ทำลายประเทศ อย่างที่ นพ. ประเวศ วะสี ราษฎร อาวุโส บอกว่า 1ปีที่ผ่านมา ท่านเชื่อว่าไม่มีการทุจริต แต่ผมเติมให้ว่าแต่มีความพยายามที่จะทุจริตของคนบางคน และบางส่วน แต่ด้วยลีลาของคุณอภิสิทธิ์ การทุจริตจริงๆ ก็ไม่เกิดขึ้น แต่ความพยายาม มีอยู่ ทั้งภายในพรรคของนายกฯและภายในนอกพรรคเอง
นายเสรี กล่าวถึงการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า นี้เป็นเรื่องที่แย่ เป็นอีกส่วนที่ถูกตัดคะแนน เรื่องภาคใต้นั้นขยับช้าและผิดหวังที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีส.ส.ภาคใต้อยู่มาก แต่ยังทำอะไรไม่ได้ดีเท่าที่ควร ตัดคะแนนเพราะไม่มีการตัดสินใจในเรื่องบางเรื่องเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ ส่วนเรื่องของสถาบันนั้นรัฐบาลทำได้ดีมาก ถือว่าเป็นเรื่องที่ใช้ได้ที่รัฐบาลเดินมาไกลมาก
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายเสรี กล่าวว่า รัฐบาลก็เดินถูกทางมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งฝ่ายหนึ่งคิดขึ้นได้ว่าทางรัฐบาลอาจจะต้องอยู่อีกนาน จึงออกมายืนยันว่าจะเอารัฐธรรมนูญ 2540 แต่นายกฯพูดว่าบางเรื่องที่ไม่เป็นธรรมก็จะแก้ไขแล้วคืนความ เป็นธรรม หมายถึง มาตรา 190 กับ ม.237 และอะไรที่ไม่เป็นธรรมต้องคืนความ เป็นธรรม ฉะนั้นเห็นว่าเรื่องรัฐธรรมนูญนายอภิสิทธิ์ก็ได้ดำเนินการมา
ส่วนกรณีการยุบสภานายอภิสิทธิ์ก็พูดชัดเจน 3 ข้อ 1.เศรษฐกิจต้องดีขึ้น 2.คนต้องสมานฉันท์จนคนลงหาเสียงได้ทุกพื้นที่โดยไม่มีการขับไล่ 3.กติกาแก้ให้เกิด การยอมรับเช่นการแบ่งเขตเลือกตั้งจะเอาแบบ 3 คนหรือ 1 คนต่อแขต ตลอดจนที่มา ส.ว. จะมาอย่างไร ส.ส.สัดส่วนจะมาอย่างไร กติกาตอนนี้ดูเหมือนว่าจากที่มีการเลือกตั้งหลายคนไม่พอใจ เพราะฉะนั้นตนให้คะแนนรัฐบาลนี้ภายใต้เงื่อนไขอันจำกัด
ส่วนการประชาสัมพันธ์การทำงานของรัฐบาล นายเสรี กล่าวว่า คนที่อยู่ในกระทรวง ทบวง กรม ต้องไม่ขี้เกียจ บางคนเป็นงานแต่ก็ขี้เกียจ บางคนขี้เกียจ แต่ก็ไม่เป็นงาน ดังนั้นอันนี้จะไปวิพากษวิจารณ์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯคนเดียวไม่ได้ เพราะนายสาทิตย์นั้นเป็นคนที่ควบคุมสื่อ รับผิดชอบ ประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คือ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งโฆษกฯ ฝ่ายราชการและโฆษกการเมือง คนเหล่านั้นต่างหากที่ไม่เอาเราเป็นแนวร่วม ตนทำรายการอยู่ก็ไม่ได้มีใครมาขอความร่วมมือในการเอาข้อมูล มาให้ช่วยเผยแพร่
ส่วนข้อเสียของนายอภิสิทธิ์ นายเสรี กล่าวว่า คงเป็นการตอบโต้ต่อกรกันผ่านวอล์เปเปอร์ ตนอยากให้นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อย่าสรรหาคำมาเยอะมากนัก จะชี้เจงอะไรที่มันเป็นความจริงก็ได้ไม่จำเป็น ที่จะเล่นคำ สร้างคำ ควรจะใช้คำอธิบายแบบโฆษกพรรคประชาธิปัตย์เขาชี้แจง การอธิบายไม่ใช่ไปต่อความกับใคร อย่างไรก็ตามปัญหาของนายอภิสิทธิ์อีกประการคือ การฟังวอลเปเปอร์มากไป จนทำให้คนภายนอกส่งเสียงไปไม่ถึงนายกฯ