ผมเป็นศิษย์ทางตัวอักษรของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตั้งแต่เรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย ...
จำได้ว่าตำราเล่มแรกของ อ.นิธิ ที่ได้อ่านอย่างจริงๆ จังๆ คือ หนังสือปากไก่และใบเรือ ซึ่งเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาในวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต ของ อ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
หลังได้อ่าน “ปากไก่และใบเรือ” ผมก็รู้สึกหลงใหลกับงานเขียน ความเฉียบแหลมและภูมิความรู้ทางประวัติศาสตร์ของ อ.นิธิ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นปรมาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ไทยชนิดที่เรียกว่า ต้องตามอ่านงานของท่านเกือบทุกชิ้นและหาซื้องานคลาสสิกอย่างเช่น การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ สองหน้าสังคมไทยมาเก็บเอาไว้ โดยเล่มไหนที่เก่าจนหาซื้อหาเก็บตามท้องตลาดไม่ได้แล้วก็ใช้วิธีหาต้นฉบับในห้องสมุดของสถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ เพื่อถ่ายเอกสาร-เย็บเล่มเก็บเอาไว้แทน
ขณะที่ในช่วงท้ายของชีวิตนักศึกษา อ.นิธิ ถือเป็น 1 ใน 4 อรหันต์คอลัมนิสต์/นักวิชาการในดวงใจ ที่ผมต้องติดตามทั้งหนังสือและบทความชนิดติดงอมแงม เช่นเดียวกันกับที่ติดตามงานเขียนของ อ.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ และ อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
เมื่อก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน แม้จะมีเวลาอ่านหนังสือของ อ.นิธิ น้อยลง แต่ในการเขียนบทความหลายชิ้นผมก็ยังคงได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ อ.นิธิ อย่างสม่ำเสมอ เช่น จากหนังสือรวมบทความนอกรั้วโรงเรียน และจากบทความในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ทว่า แม้ในอดีตผมจะเป็นศิษย์ทางตัวอักษรและชื่นชอบผลงานทางประวัติศาสตร์ของ อ.นิธิ มากเพียงใด แต่เมื่อได้อ่านบทความเรื่อง ฮุนเซนและสื่อไทย ที่ อ.นิธิ เขียนเผยแพร่ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2552 ผมก็อดที่จะรู้สึกผิดหวังกับนักวิชาการอาวุโสผู้นี้มิได้
เพราะบทความเรื่อง ฮุนเซน และสื่อไทย ที่กลั่นมาจากสมองของ อ.นิธิ แทบจะไม่ปรากฏเค้าลางความเฉียบแหลมของนักประวัติศาสตร์ระดับปรมาจารย์เลยแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม บทความชิ้นนี้ซึ่งหยิบยกเอากรณีที่นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรไทยซึ่งถูกทางการกัมพูชาจับข้อหาจารกรรมข้อมูลอันเป็นความลับ (ซึ่งหมายถึงข้อมูลตารางการบินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ขึ้นมาสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเมืองและสื่อมวลชนไทย กลับขาดแคลนข้อมูลข้อเท็จจริงและหลักวิชาที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์เหตุการณ์ เช่น การขุดค้นประวัติและพฤติกรรมในอดีตของนายฮุนเซน ว่าเป็นอย่างไร ค้นหาคำตอบว่าในทางสากลว่าข้อมูลตารางบินนั้นเป็นความลับทางราชการจริงหรือไม่ ชี้ให้เห็นว่าหลักปฏิบัติของการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกรณีเกิดปัญหาเช่นนี้เป็นอย่างไร
นอกจากนี้ บทความชิ้นดังกล่าว ยังเพียบพูนไปด้วย อคติส่วนตัว ความชิงชัง และน้ำเสียงของการเหน็บแนม คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รวมถึง คุณกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่ตลอด โดยในที่นี้ผมขออนุญาตหยิบยกตัวอย่างจากบทความดังกล่าวขึ้นมาบางท่อนบางตอน คือ
“ฉะนั้นการจับกุมคุณศิวรักษ์จึงเป็น ‘แผน’ แน่ แต่เป็น ‘แผน’ ของฮุนเซน เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับไทย ผมออกจะเชื่อว่าหากคุณศิวรักษ์ส่งตารางการบินของเครื่องบินที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้เดินทางให้แก่สื่อไทย บางทีคุณศิวรักษ์อาจไม่โดนหนักเท่านี้ เพราะไม่เข้าล็อกที่จะเพิ่มอำนาจต่อรองของกัมพูชาบนโต๊ะเจรจา
“แต่คุณศิวรักษ์ส่งข้อมูลนี้แก่เลขานุการเอกสถานทูตไทย ตามคำร้องขอของเลขานุการฯ เอง จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะตั้งข้อหาร้ายแรงคือ บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติให้แก่คุณศิวรักษ์ แต่ข้อหานี้เกี่ยวพันกับเจ้าหน้าที่ทางการทูตของไทยจึงเป็นข้อหาที่ตั้งแก่ประเทศไทยเสียยิ่งกว่าแก่คุณศิวรักษ์
“แทนที่กระทรวงการต่างประเทศไทยจะเตรียมการเผชิญกับ ‘แผน’ ของฮุนเซน เพื่อรักษาอำนาจต่อรองของประเทศเอาไว้ในภายหน้า กต.กลับรีบประกาศว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเปิดเผยอยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับยอมรับโดยปริยายว่าเจ้าหน้าที่ไทยได้ขอข้อมูลนั้นจากคุณศิวรักษ์จริง อีกทั้งเป็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น เพราะถ้าเปิดเผยและเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วจะขอข้อมูลนั้นจากคุณศิวรักษ์ทำไม
“ในความเป็นจริง เลขานุการเอกประจำสถานทูตไทยจะได้ขอข้อมูลนี้จากคุณศิวรักษ์หรือไม่ก็ตาม แต่คำสารภาพของคุณศิวรักษ์ในกัมพูชายืนยันชัดเจนว่า ให้ข้อมูลตามคำร้องขอของเจ้าหน้าที่ทางการทูตไทย โดยยังไม่จำเป็นต้องพูดถึงแผนการที่จะใช้ เอฟ 16 สกัดเครื่องบินนั้นเพื่อนำลงจอดในไทย เพียงแค่นี้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยก็เสียหายไปมากแล้ว (ขอย้ำภาพลักษณ์ของประเทศไทยนะครับ ไม่ใช่ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือคุณกษิต ภิรมย์) แต่ดูเหมือนสื่อและนักการเมืองไทยไม่ได้ห่วงใยอะไรในข้อนี้เอาเลย ......
“ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ากรณีการจับกุมคุณศิวรักษ์นั้นเป็นแผน แต่ไม่ใช่แผนทักษิณหรือเพื่อไทย หากเป็นแผนของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ฮุนเซน จัดขึ้นอย่างชาญฉลาด แน่นอนโดยอาศัยจังหวะพลาดของคู่ขัดแย้งด้วย แผนนี้ทำความเสียหายแก่ไทยในปัจจุบัน และคงทำความเสียหายมากกว่านี้ในอนาคต แต่ผู้บริหารไทยรับมือกับแผนนี้เหมือนเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างผู้มีอำนาจกับคุณทักษิณ ไม่ได้คิดถึงประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศไทยเลย
“เหตุใดเมืองไทยจึงกลายเป็นสนามสำหรับเด็กเล่นขายของเช่นนี้ ผมกล่าวโทษนักการเมืองและสื่อมาแต่ต้น ......”
เพียงแค่อ่านบทความสองท่อนนี้ ผู้อ่านทั่วไปที่ติดตามข่าวสารเรื่องการจับกุมคุณศิวรักษ์มาตั้งแต่ต้นก็สามารถเห็นข้อบกพร่องและความมีอคติในการวิเคราะห์ของ อ.นิธิ ได้อย่างชัดเจน จนแทบจะหมดอารมณ์อ่านต่อเลยทีเดียว เพราะ ประการแรก เห็นได้ชัดว่า อ.นิธิ ด่วนสรุปเลยว่า ข้อมูลตารางการบินของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้นเป็นความลับ, การกระทำของคุณศิวรักษ์นั้นเป็นการกระทำที่บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ (กัมพูชา) และ ฮุนเซน ทำถูกแล้วที่จับคนไทยขังคุกโดยปราศจากการสืบสวนสอบสวนอย่างสิ้นเชิง (ซึ่งข้อสรุปของ อ.นิธิ ไปตรงกับข้อสรุปของนักการเมืองพรรคเพื่อไทยชนิดบังเอิญอย่างเหลือเชื่อ)
ประการต่อมา อ.นิธิ จงใจที่จะตัดตอนภาพรวมของเรื่องราวทั้งหมด โดยเพียงกล่าวอย่างรวบรัดว่า เกมการเมืองเรื่องการจับกุมคุณศิวรักษ์ครั้งนี้นั้น ไม่มีนักการเมืองไทยคนใดอยู่เบื้องหลังและเป็นแผนของผู้นำกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงและในข้อเท็จจริงแล้ว “ละครฉากใหญ่” ที่ อ.นิธิ เรียกสั้นๆ ว่า “แผน” นั้นมี พ.ต.ท.ทักษิณ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นักการเมืองพรรคเพื่อไทย และครอบครัวของคุณศิวรักษ์ (ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ) ร่วมด้วยอยู่ในทุกขั้นตอน อีกทั้งยังมีบทบาทเป็นตัวละครระดับ พระเอก-พระรอง-ตัวประกอบ-แม่ตัวประกอบ เสียด้วย
เรียนถาม อ.นิธิ ว่า ถ้าแผนนี้เป็นแผนของฮุนเซน แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่พลพรรคทักษิณไม่รู้เห็นเป็นใจ ไม่เล่นด้วย หรือเพียงเล่นไปตามเกมแล้ว ฮุนเซน จะสามารถกำกับเกมการเมืองระหว่างประเทศครั้งนี้ให้ดำเนินไปได้และมีบทสรุปอย่างที่เห็นหรือ?
ทั้งนี้ ยิ่งเมื่อนำบทความของ อ.นิธิ ไปเปรียบเทียบกับ บทความของนักวิชาการระดับปรมาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกท่านหนึ่ง คือ อ.เขียน ธีระวิทย์ ซึ่งเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวออกมา 2 ชิ้น คือ “ศิวรักษ์ ชุติพงษ์ : เหยื่อการเมืองของคนป่าเถื่อน” (15 ธ.ค. 52) และ “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการพระราชทานอภัยโทษศิวรักษ์ ชุติพงษ์” (17 ธ.ค. 52) ก็จะยิ่งเห็นข้อบกพร่องและความมีอคติของบทวิเคราะห์แบบฉาบฉวยของนักวิชาการท่านแรกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับสานุศิษย์หรือสาวกของ อ.นิธิ ที่เผอิญผ่านมาอ่านบทความชิ้นนี้ หากรู้สึกโกรธเคืองกับสิ่งที่ผมกล่าวถึงอาจารย์ของท่าน ผมก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ และได้โปรดถือว่าผมหลับหูหลับตาเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นด้วยอคติส่วนตัวและความโง่เขลาส่วนบุคคลก็แล้วกัน
จำได้ว่าตำราเล่มแรกของ อ.นิธิ ที่ได้อ่านอย่างจริงๆ จังๆ คือ หนังสือปากไก่และใบเรือ ซึ่งเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาในวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต ของ อ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
หลังได้อ่าน “ปากไก่และใบเรือ” ผมก็รู้สึกหลงใหลกับงานเขียน ความเฉียบแหลมและภูมิความรู้ทางประวัติศาสตร์ของ อ.นิธิ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นปรมาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ไทยชนิดที่เรียกว่า ต้องตามอ่านงานของท่านเกือบทุกชิ้นและหาซื้องานคลาสสิกอย่างเช่น การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ สองหน้าสังคมไทยมาเก็บเอาไว้ โดยเล่มไหนที่เก่าจนหาซื้อหาเก็บตามท้องตลาดไม่ได้แล้วก็ใช้วิธีหาต้นฉบับในห้องสมุดของสถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ เพื่อถ่ายเอกสาร-เย็บเล่มเก็บเอาไว้แทน
ขณะที่ในช่วงท้ายของชีวิตนักศึกษา อ.นิธิ ถือเป็น 1 ใน 4 อรหันต์คอลัมนิสต์/นักวิชาการในดวงใจ ที่ผมต้องติดตามทั้งหนังสือและบทความชนิดติดงอมแงม เช่นเดียวกันกับที่ติดตามงานเขียนของ อ.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ และ อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
เมื่อก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน แม้จะมีเวลาอ่านหนังสือของ อ.นิธิ น้อยลง แต่ในการเขียนบทความหลายชิ้นผมก็ยังคงได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ อ.นิธิ อย่างสม่ำเสมอ เช่น จากหนังสือรวมบทความนอกรั้วโรงเรียน และจากบทความในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ทว่า แม้ในอดีตผมจะเป็นศิษย์ทางตัวอักษรและชื่นชอบผลงานทางประวัติศาสตร์ของ อ.นิธิ มากเพียงใด แต่เมื่อได้อ่านบทความเรื่อง ฮุนเซนและสื่อไทย ที่ อ.นิธิ เขียนเผยแพร่ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2552 ผมก็อดที่จะรู้สึกผิดหวังกับนักวิชาการอาวุโสผู้นี้มิได้
เพราะบทความเรื่อง ฮุนเซน และสื่อไทย ที่กลั่นมาจากสมองของ อ.นิธิ แทบจะไม่ปรากฏเค้าลางความเฉียบแหลมของนักประวัติศาสตร์ระดับปรมาจารย์เลยแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม บทความชิ้นนี้ซึ่งหยิบยกเอากรณีที่นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรไทยซึ่งถูกทางการกัมพูชาจับข้อหาจารกรรมข้อมูลอันเป็นความลับ (ซึ่งหมายถึงข้อมูลตารางการบินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ขึ้นมาสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเมืองและสื่อมวลชนไทย กลับขาดแคลนข้อมูลข้อเท็จจริงและหลักวิชาที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์เหตุการณ์ เช่น การขุดค้นประวัติและพฤติกรรมในอดีตของนายฮุนเซน ว่าเป็นอย่างไร ค้นหาคำตอบว่าในทางสากลว่าข้อมูลตารางบินนั้นเป็นความลับทางราชการจริงหรือไม่ ชี้ให้เห็นว่าหลักปฏิบัติของการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกรณีเกิดปัญหาเช่นนี้เป็นอย่างไร
นอกจากนี้ บทความชิ้นดังกล่าว ยังเพียบพูนไปด้วย อคติส่วนตัว ความชิงชัง และน้ำเสียงของการเหน็บแนม คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รวมถึง คุณกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่ตลอด โดยในที่นี้ผมขออนุญาตหยิบยกตัวอย่างจากบทความดังกล่าวขึ้นมาบางท่อนบางตอน คือ
“ฉะนั้นการจับกุมคุณศิวรักษ์จึงเป็น ‘แผน’ แน่ แต่เป็น ‘แผน’ ของฮุนเซน เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับไทย ผมออกจะเชื่อว่าหากคุณศิวรักษ์ส่งตารางการบินของเครื่องบินที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้เดินทางให้แก่สื่อไทย บางทีคุณศิวรักษ์อาจไม่โดนหนักเท่านี้ เพราะไม่เข้าล็อกที่จะเพิ่มอำนาจต่อรองของกัมพูชาบนโต๊ะเจรจา
“แต่คุณศิวรักษ์ส่งข้อมูลนี้แก่เลขานุการเอกสถานทูตไทย ตามคำร้องขอของเลขานุการฯ เอง จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะตั้งข้อหาร้ายแรงคือ บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติให้แก่คุณศิวรักษ์ แต่ข้อหานี้เกี่ยวพันกับเจ้าหน้าที่ทางการทูตของไทยจึงเป็นข้อหาที่ตั้งแก่ประเทศไทยเสียยิ่งกว่าแก่คุณศิวรักษ์
“แทนที่กระทรวงการต่างประเทศไทยจะเตรียมการเผชิญกับ ‘แผน’ ของฮุนเซน เพื่อรักษาอำนาจต่อรองของประเทศเอาไว้ในภายหน้า กต.กลับรีบประกาศว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเปิดเผยอยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับยอมรับโดยปริยายว่าเจ้าหน้าที่ไทยได้ขอข้อมูลนั้นจากคุณศิวรักษ์จริง อีกทั้งเป็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น เพราะถ้าเปิดเผยและเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วจะขอข้อมูลนั้นจากคุณศิวรักษ์ทำไม
“ในความเป็นจริง เลขานุการเอกประจำสถานทูตไทยจะได้ขอข้อมูลนี้จากคุณศิวรักษ์หรือไม่ก็ตาม แต่คำสารภาพของคุณศิวรักษ์ในกัมพูชายืนยันชัดเจนว่า ให้ข้อมูลตามคำร้องขอของเจ้าหน้าที่ทางการทูตไทย โดยยังไม่จำเป็นต้องพูดถึงแผนการที่จะใช้ เอฟ 16 สกัดเครื่องบินนั้นเพื่อนำลงจอดในไทย เพียงแค่นี้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยก็เสียหายไปมากแล้ว (ขอย้ำภาพลักษณ์ของประเทศไทยนะครับ ไม่ใช่ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือคุณกษิต ภิรมย์) แต่ดูเหมือนสื่อและนักการเมืองไทยไม่ได้ห่วงใยอะไรในข้อนี้เอาเลย ......
“ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ากรณีการจับกุมคุณศิวรักษ์นั้นเป็นแผน แต่ไม่ใช่แผนทักษิณหรือเพื่อไทย หากเป็นแผนของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ฮุนเซน จัดขึ้นอย่างชาญฉลาด แน่นอนโดยอาศัยจังหวะพลาดของคู่ขัดแย้งด้วย แผนนี้ทำความเสียหายแก่ไทยในปัจจุบัน และคงทำความเสียหายมากกว่านี้ในอนาคต แต่ผู้บริหารไทยรับมือกับแผนนี้เหมือนเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างผู้มีอำนาจกับคุณทักษิณ ไม่ได้คิดถึงประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศไทยเลย
“เหตุใดเมืองไทยจึงกลายเป็นสนามสำหรับเด็กเล่นขายของเช่นนี้ ผมกล่าวโทษนักการเมืองและสื่อมาแต่ต้น ......”
เพียงแค่อ่านบทความสองท่อนนี้ ผู้อ่านทั่วไปที่ติดตามข่าวสารเรื่องการจับกุมคุณศิวรักษ์มาตั้งแต่ต้นก็สามารถเห็นข้อบกพร่องและความมีอคติในการวิเคราะห์ของ อ.นิธิ ได้อย่างชัดเจน จนแทบจะหมดอารมณ์อ่านต่อเลยทีเดียว เพราะ ประการแรก เห็นได้ชัดว่า อ.นิธิ ด่วนสรุปเลยว่า ข้อมูลตารางการบินของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้นเป็นความลับ, การกระทำของคุณศิวรักษ์นั้นเป็นการกระทำที่บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ (กัมพูชา) และ ฮุนเซน ทำถูกแล้วที่จับคนไทยขังคุกโดยปราศจากการสืบสวนสอบสวนอย่างสิ้นเชิง (ซึ่งข้อสรุปของ อ.นิธิ ไปตรงกับข้อสรุปของนักการเมืองพรรคเพื่อไทยชนิดบังเอิญอย่างเหลือเชื่อ)
ประการต่อมา อ.นิธิ จงใจที่จะตัดตอนภาพรวมของเรื่องราวทั้งหมด โดยเพียงกล่าวอย่างรวบรัดว่า เกมการเมืองเรื่องการจับกุมคุณศิวรักษ์ครั้งนี้นั้น ไม่มีนักการเมืองไทยคนใดอยู่เบื้องหลังและเป็นแผนของผู้นำกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงและในข้อเท็จจริงแล้ว “ละครฉากใหญ่” ที่ อ.นิธิ เรียกสั้นๆ ว่า “แผน” นั้นมี พ.ต.ท.ทักษิณ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นักการเมืองพรรคเพื่อไทย และครอบครัวของคุณศิวรักษ์ (ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ) ร่วมด้วยอยู่ในทุกขั้นตอน อีกทั้งยังมีบทบาทเป็นตัวละครระดับ พระเอก-พระรอง-ตัวประกอบ-แม่ตัวประกอบ เสียด้วย
เรียนถาม อ.นิธิ ว่า ถ้าแผนนี้เป็นแผนของฮุนเซน แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่พลพรรคทักษิณไม่รู้เห็นเป็นใจ ไม่เล่นด้วย หรือเพียงเล่นไปตามเกมแล้ว ฮุนเซน จะสามารถกำกับเกมการเมืองระหว่างประเทศครั้งนี้ให้ดำเนินไปได้และมีบทสรุปอย่างที่เห็นหรือ?
ทั้งนี้ ยิ่งเมื่อนำบทความของ อ.นิธิ ไปเปรียบเทียบกับ บทความของนักวิชาการระดับปรมาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกท่านหนึ่ง คือ อ.เขียน ธีระวิทย์ ซึ่งเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวออกมา 2 ชิ้น คือ “ศิวรักษ์ ชุติพงษ์ : เหยื่อการเมืองของคนป่าเถื่อน” (15 ธ.ค. 52) และ “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการพระราชทานอภัยโทษศิวรักษ์ ชุติพงษ์” (17 ธ.ค. 52) ก็จะยิ่งเห็นข้อบกพร่องและความมีอคติของบทวิเคราะห์แบบฉาบฉวยของนักวิชาการท่านแรกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับสานุศิษย์หรือสาวกของ อ.นิธิ ที่เผอิญผ่านมาอ่านบทความชิ้นนี้ หากรู้สึกโกรธเคืองกับสิ่งที่ผมกล่าวถึงอาจารย์ของท่าน ผมก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ และได้โปรดถือว่าผมหลับหูหลับตาเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นด้วยอคติส่วนตัวและความโง่เขลาส่วนบุคคลก็แล้วกัน