ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (วานนี้) ( 17 ธ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หลังการประชุม นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง แถลงว่าที่ประชุม กกต. ได้พิจารณารายงานผลการสอบสวน ของคณะกรรมการไต่สวนกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ขอให้ กกต. ตรวจสอบ การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ กรณี พรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาคจาก บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)ผ่านบริษัท เมสไซอะ จำกัด จำนวน 258 ล้านบาท โดยมีการทำสัญญาว่าจ้างจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นนิติกรรมอำพราง และถือว่า ผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 66 (2) และ (3) ประกอบมาตรา 94 (3) (4) (5) หรือไม่
และกรณีมีการกล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช้จ่ายเงินจากกองทุน เพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นไปตาม บทบัญัติของกฎหมาย และไม่ยื่นบัญชีต่อ กกต. ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 62 65 ประกอบมาตรา 82 และ 93 โดยมติเสียงข้างมากเห็นควร ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขคคานนท์ ประธาน กกต.) ไปดำเนินการตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 95 กล่าวคือให้นายทะเบียนพรรคการเมืองตรวจสอบ และทำความเห็น หากเห็นว่า มีความผิดก็ให้นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม กกต. เพื่อขอความเห็นชอบ ซึ่งหากที่ประชุมเห็นชอบด้วยกับความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองก็ให้เสนอเรื่อง ต่ออัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาใน 30 วัน หากอัยการสูงสุดเห็นสมควรก็ให้ยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณายุบพรรคต่อไป
นายสุทธิพล ปฏิเสธว่า มติดังกล่าวจะไปสรุปว่า เป็นการโยนภาระให้กับนายทะเบียนพรรคการเมือง คงไม่ได้ ซึ่งหากนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบและมีความเห็นว่า พรรคการเมืองกระทำผิดตาม มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองก็จะต้องส่งเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม กกต.อีกครั้ง แต่หากนายทะเบียนพรรคการเมือง เห็นควรให้ยุติเรื่องก็ไม่ต้องส่งเข้าที่ประชุมกกต.อีก
อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการทำงานของนายทะเบียนพรรคการเมืองเอาไว้ ซึ่งก็คิดว่านายทะเบียนพรรคการเมืองคงไม่ยื้อเวลา แต่ทั้งนี้นายทะเบียนพรรคการเมืองเองก็มีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ อีกครั้ง หรือจะใช้ความเห็นจาก คณะกรรมการไต่สวนของ กกต.ก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของ นายทะเบียนพรรคการเมือง
ส่วนเสียงข้างน้อยในกรณีนี้ได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาของรายงานผลการ สอบสวน และได้มีการลงมติโดยมติที่ออกมานั้นมีทั้ง 2 ทาง ซึ่งตนคงไม่สามารถ เปิดเผยได้ว่าใครเป็นเสียงข้างน้อย รวมทั้งไม่ขอเปิดเผยว่า ประธานกกต.ซึ่งมีฐานะเป็นนายทะเบียนฯด้วยนั้นลงมติอย่างไร
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการ ไต่สวนฯ ยังคงมีความเห็นเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 ให้ยกคำร้องทำให้ในการ พิจารณา ของ กกต.ตลอดทั้งวันค่อนข้างตรึงเครียด โดยเมื่อช่วงของการลงมติก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ ออกจากห้อง เพื่อพิจารณาลงมติลับแต่ กกต.ก็ไม่สามารถกระทำให้เสร็จสิ้นในห้องประชุมได้ โดยมีการขอไปกลับไปเขียนมติที่ห้องทำงาน และจัดให้ส่งให้สำนักการประชุมภายในวันเดียวกัน
โดยมติสุดท้ายส่งมาถึงในเวลา 18.00 น. ซึ่งมติ กกต. ที่ออกมาเสียงข้างมาก 3 เสียง คือนายประพันธ์ นัยโกวิท นางสดศรี สัตยธรรม และนายสมชัย จึงประเสริฐ ส่วนเสียงข้างน้อยแบ่งเป็น 2 ทาง โดยนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. เห็นควรให้ยกคำร้อง ส่วนนายวิสุทธิ โพธิแท่น เห็นว่า ควรเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณายุบพรรค
อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวจะเป็นปัญหากับนายอภิชาต ที่ต้องใช้อำนาจ ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็น เพราะมติคณะกรรมการไต่สวนและมติกกต.เสียงข้างน้อยที่ออกมานั้นมีทั้ง 2 ทาง อีกทั้งตนเองก็ได้ใช้อำนาจในฐานะกรรมการ กกต.มีมติเห็นควรให้ยกคำร้องไปแล้ว ซึ่งก็น่าสนใจว่านายอภิชาต จะมีมติแตกต่างจากที่ได้ลงไว้ก่อนแล้วหรือไม่ เนื่องจากหากนายทะเบียนพรรคการเมือง มีความเห็นให้เสนอศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กกต.ขอความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อก็เท่ากับว่ามติของนายอภิชาตในกรณีนี้จะเป็น 2 แนวทาง
แต่ถ้านายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยังยืนยันมติเดิม ของตนเองที่ลงไว้ก่อนแล้วคือเห็นควรให้ยกคำร้อง นายทะเบียนพรรคการเมือง อาจต้องเผชิญกับการถูกครหาว่าต้องการอุ้มรัฐบาล รวมทั้งอาจถูกพรรคเพื่อไทย ฟ้องร้องได้ ทำให้มติเสียงข้างมากที่ออกมาในครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเป็นการโยนเผือกร้อนให้นายทะเบียนพรรคการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และพรรคเพื่อไทยร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการตำรวจ
ทั้งนี้ก่อนการชี้แจงนายสุเทพ ให้สัมภาษณ์ว่า ทางประธานคณะกรรมการไต่สวน ได้มีหนังสือเชิญให้มาชี้แจงในวันที่ 11 ธ.ค. แต่ติดธุระ จึงเดินทางมาชี้แจงในวันนี้แทน ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้าย ตามที่มีการร้องนั้น ยืนยันว่าเป็นการปฏิบัติงานทางราชการตามอำนาจหน้าที่ๆ มีอยู่ โดยเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย และได้นำหนังสือคำสั่ง และรายงานการประชุม มาเป็นหลักฐานประกอบการชี้แจงให้กับทางคณะกรรมการไต่สวนทราบ จึงไม่รู้สึกหนักใจอะไร
ที่เขากล่าวหามันไม่จริง แม้ผมมีอำนาจในฐานะเป็นคณะกรรมการข้าราชการ ตำรวจ (ก.ตร.).แต่ช่วงที่เขาร้องนั้นผมไม่ได้ทำ
นายสุเทพ ยังปฏิเสธว่า ที่เลือกมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการไต่สวนในวันนี้ (17 ธ.ค.) ไม่ใช่เพราะต้องการมากดดันกกต.ที่มีกำหนดพิจารณาสำนวนกรณี เงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท ไม่ได้เป็นการกดดัน ถ้าเชื่อเดินตามผมไปดูได้เลย รองนายกฯ กล่าวย้ำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า โดยส่วนตัวอยากให้กกต.พิจารณาช้าหรือเร็ว นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่สามารถทำอะไรตามใจของตัวเองได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหาก กกต. มีมติเสนอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่กระทบต่อเสถียรภาพ รัฐบาล ทุกอย่างว่าไปตามกฎเกณฑ์กติกา และไม่ว่ากรณีดังกล่าวจะยุติเร็วหรือช้า ก็ไม่มีอะไรที่จะไปโยงกับเรื่องบ้านเมือง ส่วนที่มีการมาองว่า กกต.กำลังอุ้มพรรคประชาธิปัตย์ด้วยการจะยื้อการพิจารณาออกไป ตนไม่รู้ ให้เป็นตามข้อเท็จจริงไป
และกรณีมีการกล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช้จ่ายเงินจากกองทุน เพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นไปตาม บทบัญัติของกฎหมาย และไม่ยื่นบัญชีต่อ กกต. ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 62 65 ประกอบมาตรา 82 และ 93 โดยมติเสียงข้างมากเห็นควร ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง (นายอภิชาต สุขคคานนท์ ประธาน กกต.) ไปดำเนินการตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 95 กล่าวคือให้นายทะเบียนพรรคการเมืองตรวจสอบ และทำความเห็น หากเห็นว่า มีความผิดก็ให้นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม กกต. เพื่อขอความเห็นชอบ ซึ่งหากที่ประชุมเห็นชอบด้วยกับความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองก็ให้เสนอเรื่อง ต่ออัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาใน 30 วัน หากอัยการสูงสุดเห็นสมควรก็ให้ยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณายุบพรรคต่อไป
นายสุทธิพล ปฏิเสธว่า มติดังกล่าวจะไปสรุปว่า เป็นการโยนภาระให้กับนายทะเบียนพรรคการเมือง คงไม่ได้ ซึ่งหากนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบและมีความเห็นว่า พรรคการเมืองกระทำผิดตาม มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองก็จะต้องส่งเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม กกต.อีกครั้ง แต่หากนายทะเบียนพรรคการเมือง เห็นควรให้ยุติเรื่องก็ไม่ต้องส่งเข้าที่ประชุมกกต.อีก
อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการทำงานของนายทะเบียนพรรคการเมืองเอาไว้ ซึ่งก็คิดว่านายทะเบียนพรรคการเมืองคงไม่ยื้อเวลา แต่ทั้งนี้นายทะเบียนพรรคการเมืองเองก็มีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ อีกครั้ง หรือจะใช้ความเห็นจาก คณะกรรมการไต่สวนของ กกต.ก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของ นายทะเบียนพรรคการเมือง
ส่วนเสียงข้างน้อยในกรณีนี้ได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาของรายงานผลการ สอบสวน และได้มีการลงมติโดยมติที่ออกมานั้นมีทั้ง 2 ทาง ซึ่งตนคงไม่สามารถ เปิดเผยได้ว่าใครเป็นเสียงข้างน้อย รวมทั้งไม่ขอเปิดเผยว่า ประธานกกต.ซึ่งมีฐานะเป็นนายทะเบียนฯด้วยนั้นลงมติอย่างไร
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการ ไต่สวนฯ ยังคงมีความเห็นเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 ให้ยกคำร้องทำให้ในการ พิจารณา ของ กกต.ตลอดทั้งวันค่อนข้างตรึงเครียด โดยเมื่อช่วงของการลงมติก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ ออกจากห้อง เพื่อพิจารณาลงมติลับแต่ กกต.ก็ไม่สามารถกระทำให้เสร็จสิ้นในห้องประชุมได้ โดยมีการขอไปกลับไปเขียนมติที่ห้องทำงาน และจัดให้ส่งให้สำนักการประชุมภายในวันเดียวกัน
โดยมติสุดท้ายส่งมาถึงในเวลา 18.00 น. ซึ่งมติ กกต. ที่ออกมาเสียงข้างมาก 3 เสียง คือนายประพันธ์ นัยโกวิท นางสดศรี สัตยธรรม และนายสมชัย จึงประเสริฐ ส่วนเสียงข้างน้อยแบ่งเป็น 2 ทาง โดยนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. เห็นควรให้ยกคำร้อง ส่วนนายวิสุทธิ โพธิแท่น เห็นว่า ควรเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณายุบพรรค
อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวจะเป็นปัญหากับนายอภิชาต ที่ต้องใช้อำนาจ ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็น เพราะมติคณะกรรมการไต่สวนและมติกกต.เสียงข้างน้อยที่ออกมานั้นมีทั้ง 2 ทาง อีกทั้งตนเองก็ได้ใช้อำนาจในฐานะกรรมการ กกต.มีมติเห็นควรให้ยกคำร้องไปแล้ว ซึ่งก็น่าสนใจว่านายอภิชาต จะมีมติแตกต่างจากที่ได้ลงไว้ก่อนแล้วหรือไม่ เนื่องจากหากนายทะเบียนพรรคการเมือง มีความเห็นให้เสนอศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อนำเสนอต่อที่ประชุม กกต.ขอความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อก็เท่ากับว่ามติของนายอภิชาตในกรณีนี้จะเป็น 2 แนวทาง
แต่ถ้านายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยังยืนยันมติเดิม ของตนเองที่ลงไว้ก่อนแล้วคือเห็นควรให้ยกคำร้อง นายทะเบียนพรรคการเมือง อาจต้องเผชิญกับการถูกครหาว่าต้องการอุ้มรัฐบาล รวมทั้งอาจถูกพรรคเพื่อไทย ฟ้องร้องได้ ทำให้มติเสียงข้างมากที่ออกมาในครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเป็นการโยนเผือกร้อนให้นายทะเบียนพรรคการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และพรรคเพื่อไทยร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการตำรวจ
ทั้งนี้ก่อนการชี้แจงนายสุเทพ ให้สัมภาษณ์ว่า ทางประธานคณะกรรมการไต่สวน ได้มีหนังสือเชิญให้มาชี้แจงในวันที่ 11 ธ.ค. แต่ติดธุระ จึงเดินทางมาชี้แจงในวันนี้แทน ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้าย ตามที่มีการร้องนั้น ยืนยันว่าเป็นการปฏิบัติงานทางราชการตามอำนาจหน้าที่ๆ มีอยู่ โดยเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย และได้นำหนังสือคำสั่ง และรายงานการประชุม มาเป็นหลักฐานประกอบการชี้แจงให้กับทางคณะกรรมการไต่สวนทราบ จึงไม่รู้สึกหนักใจอะไร
ที่เขากล่าวหามันไม่จริง แม้ผมมีอำนาจในฐานะเป็นคณะกรรมการข้าราชการ ตำรวจ (ก.ตร.).แต่ช่วงที่เขาร้องนั้นผมไม่ได้ทำ
นายสุเทพ ยังปฏิเสธว่า ที่เลือกมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการไต่สวนในวันนี้ (17 ธ.ค.) ไม่ใช่เพราะต้องการมากดดันกกต.ที่มีกำหนดพิจารณาสำนวนกรณี เงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท ไม่ได้เป็นการกดดัน ถ้าเชื่อเดินตามผมไปดูได้เลย รองนายกฯ กล่าวย้ำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า โดยส่วนตัวอยากให้กกต.พิจารณาช้าหรือเร็ว นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่สามารถทำอะไรตามใจของตัวเองได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหาก กกต. มีมติเสนอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่กระทบต่อเสถียรภาพ รัฐบาล ทุกอย่างว่าไปตามกฎเกณฑ์กติกา และไม่ว่ากรณีดังกล่าวจะยุติเร็วหรือช้า ก็ไม่มีอะไรที่จะไปโยงกับเรื่องบ้านเมือง ส่วนที่มีการมาองว่า กกต.กำลังอุ้มพรรคประชาธิปัตย์ด้วยการจะยื้อการพิจารณาออกไป ตนไม่รู้ ให้เป็นตามข้อเท็จจริงไป