ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.รับทราบโทลล์เวย์ขึ้นค่าผ่านทางรวดเดียว 55 เป็น 85 บาท ตามเงื่อนไขสัญญา เริ่ม 22 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป และหมดสิทธิ์เบรก เหตุเป็นไปตามเงื่อนไขสัมปทาน คมนาคมเตรียมประสานตำรวจจัดจราจรบนถนนวิภาวดี หลังประเมินจะมีรถเพิ่มขึ้น ด้านโทลเวลล์เตรียมโกยรายได้โป๊ะหนี้
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (15 ธ.ค.) รับทราบการปรับขึ้นค่าผ่านทาง โครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ตามที่กระทรวงคมนาคมรายงาน จากอัตรา 55 บาท เป็น 85 บาท ตลอดสาย (สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ) ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ วันที่ 22 ธ.ค.2552 เป็นต้นไป โดยการปรับค่าผ่านทางดังกล่าวเป็นไป ตามข้อตกลงระหว่างบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานกับกรมทางหลวง ซึ่งรัฐบาลคงไม่สามารถยับยั้งได้ อย่างไรก็ตามประชาชนมีทางเลือกที่จะใช้เส้นทางถนนปกติอยู่แล้ว
นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า กรมทางหลวงได้เสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมรายงานต่อครม. เพื่อรับทราบถึงการปรับขึ้นค่าผ่านทางดอนเมืองโทลล์เวย์ ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2552 นี้ โดยปรับขึ้นตามระยะทางช่วงดินแดง-ดอนเมือง จะปรับจาก 35 บาท เป็น 60 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถานปรับจาก 20 บาทเป็น 25 บาท โดยเป็นการปรับขึ้นค่าผ่านทางตามข้อตกลงในสัญญาสัมปทาน ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ ในช่วงแรกที่มีการปรับขึ้นค่าผ่านทาง คาดว่ารถส่วนหนึ่งจะลงมาใช้ถนนวิภาวดีรังสิตแทนดอนเมืองโทลล์เวย์ ซึ่งจะปริมาณจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตเพิ่มมากขึ้น จึงได้ประสานกับตำรวจจราจรเพื่อจัดทำแผนการจราจรในช่วงดังกล่าว เพื่อดูแลไม่ให้เกิดปัญหาจราจร
ก่อนหน้านี้ นายสมบัติ พาณิชย์ชีวะ ประธานกรรมการบริหารดอนเมืองโทลล์เวย์ ได้เคยยืนยันการปรับขึ้นค่าผ่านทางในวันที่ 22 ธ.ค.2552 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ รวมถึงการให้ส่วนลด โดยยืนยันว่า เป็นการปรับขึ้นตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ระหว่าง บริษัทกับ กรมทางหลวง ซึ่งจากการประเมินคาดว่า ในช่วงแรกจะมีปริมาณรถลดลงประมาณ 30-40% จากปริมาณรถปัจจุบัน ประมาณ 1 แสนคันต่อวัน ซึ่งปริมาณจราจรจะลดลงแต่ก็ไม่กระทบต่อรายได้ของบริษัท เนื่องจากค่าผ่านทางที่ปรับเพิ่มขึ้นจะมาชดเชยปริมาณรถที่หายไป โดยปัจจุบัน มีรายได้ประมาณ 4 ล้านบาทต่อวันมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3 ล้านบาท แต่หากปรับขึ้นค่าผ่านทางคาดว่า จะมีรายได้เพิ่มเป็น 4.5-5 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่บริษัทมีหนี้เงินกู้ประมาณ 7,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 6% หรือประมาณ 400 ล้านบาทต่อปี
สำหรับการปรับขึ้นค่าผ่านทางของดอนเมืองโทลล์เวย์ครั้งนี้ เป็นผลมาจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานเมื่อปี 2550 ระหว่างกรมทางหลวงกับบริษัททางยกระดับดอนเมือง ผู้รับสัมปทานโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ซึ่งมีการขยายอายุสัมปทานโครงการออกไปอีก 11 ปี ทำให้มีอายุสัญญาสัมปทานใหม่เป็น 27 ปี จากเดิมที่เหลืออยู่ 16 ปี โดยจะครบอายุสัมปทานในปี 2577 เพื่อชดเชยการขาดทุนของบริษัท ที่มีหนี้สูงถึง 1.4 พันล้านบาท เนื่องจากมีการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟ (Local Road) และจากการขาดทุนที่รัฐบาลให้เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ทำให้บริษัทต้องประสบภาวะขาดทุน
อย่างไรก็ตาม โทลล์เวย์ได้เคยฟ้องกรมทางหลวง เรียกค่าเสียหายมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท โดยระบุว่ากรมทางหลวงผิดสัญญาที่ได้มีการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟไม่อนุมัติปรับขึ้นค่าผ่านทางในอดีต การก่อสร้างทางเบี่ยงบนถนนวิภาวดี-รังสิต การก่อสร้างสะพานลอยที่แยกสุทธิสารบนถนนวิภาวดี-รังสิต การย้ายสนามบินดอนเมืองไปสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (15 ธ.ค.) รับทราบการปรับขึ้นค่าผ่านทาง โครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ตามที่กระทรวงคมนาคมรายงาน จากอัตรา 55 บาท เป็น 85 บาท ตลอดสาย (สำหรับรถยนต์ 4 ล้อ) ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ วันที่ 22 ธ.ค.2552 เป็นต้นไป โดยการปรับค่าผ่านทางดังกล่าวเป็นไป ตามข้อตกลงระหว่างบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานกับกรมทางหลวง ซึ่งรัฐบาลคงไม่สามารถยับยั้งได้ อย่างไรก็ตามประชาชนมีทางเลือกที่จะใช้เส้นทางถนนปกติอยู่แล้ว
นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า กรมทางหลวงได้เสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมรายงานต่อครม. เพื่อรับทราบถึงการปรับขึ้นค่าผ่านทางดอนเมืองโทลล์เวย์ ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2552 นี้ โดยปรับขึ้นตามระยะทางช่วงดินแดง-ดอนเมือง จะปรับจาก 35 บาท เป็น 60 บาท และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถานปรับจาก 20 บาทเป็น 25 บาท โดยเป็นการปรับขึ้นค่าผ่านทางตามข้อตกลงในสัญญาสัมปทาน ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ ในช่วงแรกที่มีการปรับขึ้นค่าผ่านทาง คาดว่ารถส่วนหนึ่งจะลงมาใช้ถนนวิภาวดีรังสิตแทนดอนเมืองโทลล์เวย์ ซึ่งจะปริมาณจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตเพิ่มมากขึ้น จึงได้ประสานกับตำรวจจราจรเพื่อจัดทำแผนการจราจรในช่วงดังกล่าว เพื่อดูแลไม่ให้เกิดปัญหาจราจร
ก่อนหน้านี้ นายสมบัติ พาณิชย์ชีวะ ประธานกรรมการบริหารดอนเมืองโทลล์เวย์ ได้เคยยืนยันการปรับขึ้นค่าผ่านทางในวันที่ 22 ธ.ค.2552 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ รวมถึงการให้ส่วนลด โดยยืนยันว่า เป็นการปรับขึ้นตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ระหว่าง บริษัทกับ กรมทางหลวง ซึ่งจากการประเมินคาดว่า ในช่วงแรกจะมีปริมาณรถลดลงประมาณ 30-40% จากปริมาณรถปัจจุบัน ประมาณ 1 แสนคันต่อวัน ซึ่งปริมาณจราจรจะลดลงแต่ก็ไม่กระทบต่อรายได้ของบริษัท เนื่องจากค่าผ่านทางที่ปรับเพิ่มขึ้นจะมาชดเชยปริมาณรถที่หายไป โดยปัจจุบัน มีรายได้ประมาณ 4 ล้านบาทต่อวันมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3 ล้านบาท แต่หากปรับขึ้นค่าผ่านทางคาดว่า จะมีรายได้เพิ่มเป็น 4.5-5 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่บริษัทมีหนี้เงินกู้ประมาณ 7,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 6% หรือประมาณ 400 ล้านบาทต่อปี
สำหรับการปรับขึ้นค่าผ่านทางของดอนเมืองโทลล์เวย์ครั้งนี้ เป็นผลมาจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานเมื่อปี 2550 ระหว่างกรมทางหลวงกับบริษัททางยกระดับดอนเมือง ผู้รับสัมปทานโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ซึ่งมีการขยายอายุสัมปทานโครงการออกไปอีก 11 ปี ทำให้มีอายุสัญญาสัมปทานใหม่เป็น 27 ปี จากเดิมที่เหลืออยู่ 16 ปี โดยจะครบอายุสัมปทานในปี 2577 เพื่อชดเชยการขาดทุนของบริษัท ที่มีหนี้สูงถึง 1.4 พันล้านบาท เนื่องจากมีการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟ (Local Road) และจากการขาดทุนที่รัฐบาลให้เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ทำให้บริษัทต้องประสบภาวะขาดทุน
อย่างไรก็ตาม โทลล์เวย์ได้เคยฟ้องกรมทางหลวง เรียกค่าเสียหายมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท โดยระบุว่ากรมทางหลวงผิดสัญญาที่ได้มีการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟไม่อนุมัติปรับขึ้นค่าผ่านทางในอดีต การก่อสร้างทางเบี่ยงบนถนนวิภาวดี-รังสิต การก่อสร้างสะพานลอยที่แยกสุทธิสารบนถนนวิภาวดี-รังสิต การย้ายสนามบินดอนเมืองไปสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น