ASTVผู้จัดการรายวัน - “อานันท์” เตรียมเสนอกรอบความชัดเจนการจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)และผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA)ให้รัฐบาลในปลายสัปดาห์หน้า แบะท่าการทำHIA ใช้เวลาแค่ 5-6 เดือนเท่านั้นยันไม่ยืดเยื้อ 14 เดือนเหมือนที่เอกชนวิตก โดยจะต้องทำใหม่หมด ขณะที่ EIA อาจยื่นของเก่าได้หากสมบูรณ์แต่ต้องให้คณะผู้ชำนาญการวินิจฉัยก่อน ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมขู่ 65 กิจการหากไม่ระงับตามคำสั่งศาลฯอาจเพิกถอนใบอนุญาตได้แนะทางรอดคือการบังคับใช้กฏหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านแรงงานภาคอีสานในนิคมฯทยอยกลับบ้าน สังเวย 65โครงการหยุดกิจการตามคำสั่งศาลฯ “ปูนใหญ่”หยุดแล้ว 18 โครงการเร่งประเมินความเสียหาย
นายอานันท์ ปัญยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุด เปิดเผยหลังการหารือวานนี้ (9ธ.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA) โดยในส่วนEIAพิจารณาเรียบร้อยหมดแล้ว ส่วนHIAยังมีประเด็นที่ต้องหารือรายละเอียดให้ตกผลึก 1-2 ประเด็นอีกครั้ง ซึ่งเห็นว่ากรอบการจัดทำรายงานดังกล่าวโดยเฉพาะ HIA เมื่อวางกรอบรายละเอียดและให้คำจำกัดความที่ถูกต้องแล้วกระบวนการดำเนินงานคงจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือนก็จะแล้วเสร็จคงไม่ยืดเยื้อไปถึง 14 เดือนตามที่ภาคเอกชนวิตกอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ การกำหนดรายละเอียดทั้งหมดจะสามารถจัดทำและเสนอให้รัฐบาลพิจารณาได้ปลายสัปดาห์หน้า ซึ่งขั้นตอนการนำเสนอประกอบด้วย การออกประกาศกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งเรื่องEIAและHIA และ มีเรื่องแนบ 3 เรื่อง คือ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร สุขภาพ และประชาพิจารณ์ ซึ่งหลังจากนั้น คาดว่ารัฐจะนำไปใช้ประกอบการนำเสนอกฎหมายเพื่อใช้อย่างถาวรต่อไป
“การหารือในเรื่องการจัดทำ EIA และHIA ครั้งนี้ยังมีข้อถกเพียงบางประเด็นโดยเฉพาะจะใช้อีไอเอเก่าได้หรือไม่ ซึ่งตามกระบวนการของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายออกแบบใหม่ก็คือจะต้องเสนอเข้ามาใหม่ทั้งหมด แต่หากเอกชนเห็นว่า EIAเก่าสมบูรณ์แล้วก็เสนอของเก่าก็ได้ แต่ทั้งหมดก็จะต้องส่งไปให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการวินิจฉัยอีกทีว่าทำไว้เพียงพอหรือไม่ แต่สำหรับHIAจะต้องทำใหม่ทั้งหมดซึ่งจากการหารือเอกชนเองก็พร้อมที่จะทำ”นายอานันท์กล่าว
นายอานันท์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้หารือการเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิเศษ โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ส่วนข้อเรียกร้องผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ที่ตนพบระหว่างลงพื้นที่มาบตาพุดที่ต้องการร่วมในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายด้วย คงต้องไปถามนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถตอบได้ ด้านการจัดตั้งองค์กรอิสระทำพิมพ์เขียวเพื่อการจัดตั้งคืบหน้าไปเกือบเสร็จแล้ว เหลือเพียงแค่เรื่องงบประมาณการและจัดตั้งสำนักงาน โดยในส่วนของงบประมาณ ไม่อยากให้ได้รับจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล เพราะเกรงว่าจะทำงานไม่เป็นอิสระ และต้องการให้รัฐบาลหางบจากกองทุนไหนมาอุดหนุนให้รัฐบาลพิจารณาอีกครั้ง
**ขู่ถอนใบอนุญาตหากไม่ระงับดำเนินงาน
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง”ทางออกวิกฤต อุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมวานนี้ (9ธ.ค.)ว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)ได้แจ้งไปยัง 65กิจการระงับกิจการตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดไว้เป็นการชั่วคราวแล้ววานนี้ (9ธ.ค.) ดังนั้นหากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการจึงขอความร่วมมือให้เอกชนดำเนินการตามกฎหมาย
ส่วนการฟ้องร้องจากภาคเอกชนหากจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐ เพราะได้รับผลกระทบหลังจากนี้คงเป็นสิทธิที่เอกชนจะดำเนินการแต่คงไม่ใช่ทางออก เพราะยิ่งจะกระทบบรรยากาศของการลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในไทย เพราะมองว่ากฎหมายของไทยไม่มีความต่อเนื่องและไม่สามารถคาดการณ์ได้ทำให้การทำธุรกิจมีความเสี่ยง
สำหรับทางออกของปัญหานั้นเห็นว่าสิ่งที่สำคัญสุดคือ การเร่งแก้ไขกลไกที่จะทำอย่างไรให้การปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสิ่งที่น่ากลัวสุดไม่ใช่การออกแบบกฎหมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ฝ่ายรัฐได้ใช้มากน้อยเพียงใด เมื่อฝ่ายชุมชนไม่เชื่อถือในสิ่งที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะเป็นทางออกได้ ดังนั้น จะต้องออกกฎหมายและบังคับใช้ที่ทุกฝ่ายเกิดการยอมรับได้
**เอกชนรับทุกฝ่ายทำหน้าที่บกพร่อง
นายรังษี เหลืองวารินกุล ประธานคณะกรรมการผังเมืองและนิคมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า โชคดีที่ปัญหามาบตาพุดไม่ได้มีที่มาจากความโกรธหรือเกลียดกันเพื่อต้องการทำลายล้าง แต่เกิดขึ้นมาจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในพื้นฐานที่ต่างกัน ซึ่งเชื่อว่าหากทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างครบถ้วนปัญหาจะถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าทุกฝ่ายต่างทำหน้าที่บกพร่อง
“เรื่องนี้เอกชนเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากกว่าทุกฝ่ายหากไม่ได้รับการแก้ไขโดยทันทีจะกระทบเป็นวงกว้างจึงเห็นว่าเรื่องนี้รัฐจะต้องเร่งหาทางออกเพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่ากนอ.กล่าวว่า กนอ.ไม่โต้แย้งว่าอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่างๆ ในมาบตาพุดได้สืบทอดตกกันมาจนถึงปัจจุบันซึ่งหากพิจารณา 10 กิจการที่เกี่ยวข้องกับแผนลดและขจัดมลพิษ รวมถึงกิจการที่ผ่านEIA ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2550 บังคับใช้แล้วก็น่าจะมีโอกาสที่จะขออุทธรณ์
**ปูนใหญ่หยุด 18 โครงการ
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เข้าร่วมประชุมกับการนิคมแห่งประเทศไทย (กนอ.)เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา และได้รับแจ้งจากกนอ.สั่งให้โครงการของกลุ่มเอสซีจี เคมิคอลส์หยุดกิจกรรมทั้งหมด 118 โครงการเป็นการชั่วคราวตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าความเสียหายโครงการและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
การหยุดโครงการของเอสซีจี เคมิคอลส์ ทั้ง 18 โครงการมีเงินลงทุนรวม ทั้งสิ้นประมาณ 57,500 ล้านบาท ทำให้เกิดผลกระทบทางการเงินซึ่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายผู้รับเหมาก่อสร้างออกจากโครงการ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อรักษาสภาพงานก่อสร้างให้มีความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้โดยไม่เสียหาย ค่าใช้จ่ายจากการยกเลิกสัญญา ดอกเบี้ย ค่าจ้างพนักงาน และค่าสูญเสียโอกาสในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความล่าช้าของแต่ละโครงการ
**แรงงานอีสานกลับบ้านสังเวยปิด 65 รง.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากหมู่บ้านกลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวอีสาน ซอยประปา 1 ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ซึ่งเป็นบ้านเช่าหลายร้อยหลังคาเรือน บรรยากาศเหงียบเหงามาก บ้านปิดจำนวนหลายห้อง สาเหตุจากโรงงานถูกระงับการก่อสร้าง ผู้ใช้แรงงานตกงาน เริ่มทยอยอพยพกลับบ้าน
นายธีรพล ธรรมใจ อาชีพขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง กล่าวว่า ตนและภรรยามาทำงานเป็นช่างทาสีในโรงงาน เช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาท หลังหมดงาน ก็ไปหางานโรงงานอื่น แต่ขณะนี้โรงงานถูกระงับก่อสร้างชั่วคราว ผู้ใช้แรงงานต้องตกงานกันหมด ขณะนี้กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ตกงานเดินทางกลับบ้านจำนวนมาก เพราะอยู่ไปก็ยังไม่มีงานทำ ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน เงินจะส่งไปให้ทางบ้านก็ไม่มีต้องให้ภรรยากลับไปอยู่บ้านก่อน ส่วนตนหันมาขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างได้วันละ 200บาทยังไม่ได้หักค่าน้ำมัน ก็ต้องทนทำไปก่อน
นายจิคต์ต้า มะโยธี ช่างปูน ทำงานโรงงานพีทีที ฟีนอล กล่าวว่าขณะนี้งานก็ไม่มีอะไรแล้ว ได้แต่เก็บงานที่ยังไม่เรียบร้อย หากโรงงานยังไม่สามารถเปิดดำเนินการ ผู้ใช้แรงงานลำบากแน่ ขณะนี้เพื่อนชาวอีสานที่มาใช้แรงงาน ต้องเดินทางกลับบ้านไปทำนา เพราะไม่มีงานทำ โรงงานถูกระงับสร้างผลกระทบผู้ใช้แรงงานจำนวนมาก ร้านค้าก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตระเวนดูโรงงานนิคมเหมราชราชตะวันออก ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง โรงงานพีทีที อาซาฮี เคมีคอล เป็นโรงงานขนาดใหญ่มีใช้แรงงานหลายพันคน ยังคงก่อสร้างตามปกติ ทราบว่าอยู่ระหว่างรอคำสั่ง แต่คำสั่งหยุดยังไม่มาก็ยังคงดำเนินการตามปกติ
** “มาร์ค” เร่งปรับปรุงระบบข้อมูล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวเหตุการณ์ก๊าซรั่วบนเรือขนถ่ายสินค้าที่บริเวณท่าเรือมาบตาพุดแทงค์ รวมถึงการปิดบังในอุตสาหกรรมมาบตาพุด จนทำให้ประชาชนได้รับความผลกระทบว่า สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ ระบบของข้อมูล ไม่ใช่ในแง่เฉพาะฝ่ายปกครอง แต่ในเรื่องสาธารณสุข โดยรัฐบาลกำลังจะลงทุนในเรื่องการบริการสาธารณสุข ถ้าบุคลากรสาธารณสุขยังไม่ได้รับข้อมูลทั้งหมด การเข้าไปป้องกัน และช่วยเหลือก็ยากขึ้น ซึ่งตรงนี้ยังมีประเด็นในแง่ของข้อมูล ซึ่งบางทีภาคเอกชนอาจมองว่าเป็นความลับทางการค้า ก็ต้องมีการวางระบบในการใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยไม่กระทบกระเทือน
“เพื่อไทย” เสนอยื่นถอดถอนนายกฯ
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าผลการศึกษาของคณะทำงานติดตามการดำเนินงานของรัฐบาล กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับ 65 โครงการในเขตมาบตาพุด พบว่ารัฐบาลขาดการติดตามแก้ไขปัญหา การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และกำกับให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตลอดระยะเวลา 1 ปีรัฐบาลปล่อยวาง ไม่ใส่ใจแก้ไขปัญหา ไม่มีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 ว่าจะป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชน ดังนั้น เมื่อรัฐบาลละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้นจะเสนอคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีต่อไป
นายอานันท์ ปัญยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุด เปิดเผยหลังการหารือวานนี้ (9ธ.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA) โดยในส่วนEIAพิจารณาเรียบร้อยหมดแล้ว ส่วนHIAยังมีประเด็นที่ต้องหารือรายละเอียดให้ตกผลึก 1-2 ประเด็นอีกครั้ง ซึ่งเห็นว่ากรอบการจัดทำรายงานดังกล่าวโดยเฉพาะ HIA เมื่อวางกรอบรายละเอียดและให้คำจำกัดความที่ถูกต้องแล้วกระบวนการดำเนินงานคงจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือนก็จะแล้วเสร็จคงไม่ยืดเยื้อไปถึง 14 เดือนตามที่ภาคเอกชนวิตกอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ การกำหนดรายละเอียดทั้งหมดจะสามารถจัดทำและเสนอให้รัฐบาลพิจารณาได้ปลายสัปดาห์หน้า ซึ่งขั้นตอนการนำเสนอประกอบด้วย การออกประกาศกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งเรื่องEIAและHIA และ มีเรื่องแนบ 3 เรื่อง คือ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร สุขภาพ และประชาพิจารณ์ ซึ่งหลังจากนั้น คาดว่ารัฐจะนำไปใช้ประกอบการนำเสนอกฎหมายเพื่อใช้อย่างถาวรต่อไป
“การหารือในเรื่องการจัดทำ EIA และHIA ครั้งนี้ยังมีข้อถกเพียงบางประเด็นโดยเฉพาะจะใช้อีไอเอเก่าได้หรือไม่ ซึ่งตามกระบวนการของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายออกแบบใหม่ก็คือจะต้องเสนอเข้ามาใหม่ทั้งหมด แต่หากเอกชนเห็นว่า EIAเก่าสมบูรณ์แล้วก็เสนอของเก่าก็ได้ แต่ทั้งหมดก็จะต้องส่งไปให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการวินิจฉัยอีกทีว่าทำไว้เพียงพอหรือไม่ แต่สำหรับHIAจะต้องทำใหม่ทั้งหมดซึ่งจากการหารือเอกชนเองก็พร้อมที่จะทำ”นายอานันท์กล่าว
นายอานันท์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้หารือการเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิเศษ โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ส่วนข้อเรียกร้องผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ที่ตนพบระหว่างลงพื้นที่มาบตาพุดที่ต้องการร่วมในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายด้วย คงต้องไปถามนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถตอบได้ ด้านการจัดตั้งองค์กรอิสระทำพิมพ์เขียวเพื่อการจัดตั้งคืบหน้าไปเกือบเสร็จแล้ว เหลือเพียงแค่เรื่องงบประมาณการและจัดตั้งสำนักงาน โดยในส่วนของงบประมาณ ไม่อยากให้ได้รับจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล เพราะเกรงว่าจะทำงานไม่เป็นอิสระ และต้องการให้รัฐบาลหางบจากกองทุนไหนมาอุดหนุนให้รัฐบาลพิจารณาอีกครั้ง
**ขู่ถอนใบอนุญาตหากไม่ระงับดำเนินงาน
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง”ทางออกวิกฤต อุตสาหกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมวานนี้ (9ธ.ค.)ว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)ได้แจ้งไปยัง 65กิจการระงับกิจการตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดไว้เป็นการชั่วคราวแล้ววานนี้ (9ธ.ค.) ดังนั้นหากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการจึงขอความร่วมมือให้เอกชนดำเนินการตามกฎหมาย
ส่วนการฟ้องร้องจากภาคเอกชนหากจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐ เพราะได้รับผลกระทบหลังจากนี้คงเป็นสิทธิที่เอกชนจะดำเนินการแต่คงไม่ใช่ทางออก เพราะยิ่งจะกระทบบรรยากาศของการลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในไทย เพราะมองว่ากฎหมายของไทยไม่มีความต่อเนื่องและไม่สามารถคาดการณ์ได้ทำให้การทำธุรกิจมีความเสี่ยง
สำหรับทางออกของปัญหานั้นเห็นว่าสิ่งที่สำคัญสุดคือ การเร่งแก้ไขกลไกที่จะทำอย่างไรให้การปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสิ่งที่น่ากลัวสุดไม่ใช่การออกแบบกฎหมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ฝ่ายรัฐได้ใช้มากน้อยเพียงใด เมื่อฝ่ายชุมชนไม่เชื่อถือในสิ่งที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะเป็นทางออกได้ ดังนั้น จะต้องออกกฎหมายและบังคับใช้ที่ทุกฝ่ายเกิดการยอมรับได้
**เอกชนรับทุกฝ่ายทำหน้าที่บกพร่อง
นายรังษี เหลืองวารินกุล ประธานคณะกรรมการผังเมืองและนิคมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า โชคดีที่ปัญหามาบตาพุดไม่ได้มีที่มาจากความโกรธหรือเกลียดกันเพื่อต้องการทำลายล้าง แต่เกิดขึ้นมาจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในพื้นฐานที่ต่างกัน ซึ่งเชื่อว่าหากทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างครบถ้วนปัญหาจะถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าทุกฝ่ายต่างทำหน้าที่บกพร่อง
“เรื่องนี้เอกชนเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากกว่าทุกฝ่ายหากไม่ได้รับการแก้ไขโดยทันทีจะกระทบเป็นวงกว้างจึงเห็นว่าเรื่องนี้รัฐจะต้องเร่งหาทางออกเพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”
นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่ากนอ.กล่าวว่า กนอ.ไม่โต้แย้งว่าอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่างๆ ในมาบตาพุดได้สืบทอดตกกันมาจนถึงปัจจุบันซึ่งหากพิจารณา 10 กิจการที่เกี่ยวข้องกับแผนลดและขจัดมลพิษ รวมถึงกิจการที่ผ่านEIA ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2550 บังคับใช้แล้วก็น่าจะมีโอกาสที่จะขออุทธรณ์
**ปูนใหญ่หยุด 18 โครงการ
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เข้าร่วมประชุมกับการนิคมแห่งประเทศไทย (กนอ.)เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา และได้รับแจ้งจากกนอ.สั่งให้โครงการของกลุ่มเอสซีจี เคมิคอลส์หยุดกิจกรรมทั้งหมด 118 โครงการเป็นการชั่วคราวตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าความเสียหายโครงการและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
การหยุดโครงการของเอสซีจี เคมิคอลส์ ทั้ง 18 โครงการมีเงินลงทุนรวม ทั้งสิ้นประมาณ 57,500 ล้านบาท ทำให้เกิดผลกระทบทางการเงินซึ่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายผู้รับเหมาก่อสร้างออกจากโครงการ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อรักษาสภาพงานก่อสร้างให้มีความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้โดยไม่เสียหาย ค่าใช้จ่ายจากการยกเลิกสัญญา ดอกเบี้ย ค่าจ้างพนักงาน และค่าสูญเสียโอกาสในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความล่าช้าของแต่ละโครงการ
**แรงงานอีสานกลับบ้านสังเวยปิด 65 รง.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากหมู่บ้านกลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวอีสาน ซอยประปา 1 ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ซึ่งเป็นบ้านเช่าหลายร้อยหลังคาเรือน บรรยากาศเหงียบเหงามาก บ้านปิดจำนวนหลายห้อง สาเหตุจากโรงงานถูกระงับการก่อสร้าง ผู้ใช้แรงงานตกงาน เริ่มทยอยอพยพกลับบ้าน
นายธีรพล ธรรมใจ อาชีพขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง กล่าวว่า ตนและภรรยามาทำงานเป็นช่างทาสีในโรงงาน เช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาท หลังหมดงาน ก็ไปหางานโรงงานอื่น แต่ขณะนี้โรงงานถูกระงับก่อสร้างชั่วคราว ผู้ใช้แรงงานต้องตกงานกันหมด ขณะนี้กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ตกงานเดินทางกลับบ้านจำนวนมาก เพราะอยู่ไปก็ยังไม่มีงานทำ ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน เงินจะส่งไปให้ทางบ้านก็ไม่มีต้องให้ภรรยากลับไปอยู่บ้านก่อน ส่วนตนหันมาขับมอเตอร์ไซด์รับจ้างได้วันละ 200บาทยังไม่ได้หักค่าน้ำมัน ก็ต้องทนทำไปก่อน
นายจิคต์ต้า มะโยธี ช่างปูน ทำงานโรงงานพีทีที ฟีนอล กล่าวว่าขณะนี้งานก็ไม่มีอะไรแล้ว ได้แต่เก็บงานที่ยังไม่เรียบร้อย หากโรงงานยังไม่สามารถเปิดดำเนินการ ผู้ใช้แรงงานลำบากแน่ ขณะนี้เพื่อนชาวอีสานที่มาใช้แรงงาน ต้องเดินทางกลับบ้านไปทำนา เพราะไม่มีงานทำ โรงงานถูกระงับสร้างผลกระทบผู้ใช้แรงงานจำนวนมาก ร้านค้าก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตระเวนดูโรงงานนิคมเหมราชราชตะวันออก ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง โรงงานพีทีที อาซาฮี เคมีคอล เป็นโรงงานขนาดใหญ่มีใช้แรงงานหลายพันคน ยังคงก่อสร้างตามปกติ ทราบว่าอยู่ระหว่างรอคำสั่ง แต่คำสั่งหยุดยังไม่มาก็ยังคงดำเนินการตามปกติ
** “มาร์ค” เร่งปรับปรุงระบบข้อมูล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวเหตุการณ์ก๊าซรั่วบนเรือขนถ่ายสินค้าที่บริเวณท่าเรือมาบตาพุดแทงค์ รวมถึงการปิดบังในอุตสาหกรรมมาบตาพุด จนทำให้ประชาชนได้รับความผลกระทบว่า สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ ระบบของข้อมูล ไม่ใช่ในแง่เฉพาะฝ่ายปกครอง แต่ในเรื่องสาธารณสุข โดยรัฐบาลกำลังจะลงทุนในเรื่องการบริการสาธารณสุข ถ้าบุคลากรสาธารณสุขยังไม่ได้รับข้อมูลทั้งหมด การเข้าไปป้องกัน และช่วยเหลือก็ยากขึ้น ซึ่งตรงนี้ยังมีประเด็นในแง่ของข้อมูล ซึ่งบางทีภาคเอกชนอาจมองว่าเป็นความลับทางการค้า ก็ต้องมีการวางระบบในการใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยไม่กระทบกระเทือน
“เพื่อไทย” เสนอยื่นถอดถอนนายกฯ
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าผลการศึกษาของคณะทำงานติดตามการดำเนินงานของรัฐบาล กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับ 65 โครงการในเขตมาบตาพุด พบว่ารัฐบาลขาดการติดตามแก้ไขปัญหา การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และกำกับให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตลอดระยะเวลา 1 ปีรัฐบาลปล่อยวาง ไม่ใส่ใจแก้ไขปัญหา ไม่มีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 ว่าจะป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชน ดังนั้น เมื่อรัฐบาลละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้นจะเสนอคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีต่อไป