ASTVผู้จัดการรายวัน - ”อุตสาหกรรม” สั่ง กรอ.-กนอ.ส่งหนังสือถึง 65 กิจการ หยุดดำเนินกิจการตามคำสั่งศาลฯ วันนี้ เม็ดเงินลงทุน 2.5 แสนล้าน ชะงัก
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดวานนี้ (8ธ.ค.) ว่า ได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการทั้ง 65 กิจการ มูลค่าประมาณ 2.3-2.5 แสนล้านบาทให้หยุดการดำเนินกิจการใดๆ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นการชั่วคราวภายในวันนี้ (9ธ.ค.) พร้อมกับให้ทั้ง 2 หน่วยงานเร่งตรวจสอบผลกระทบในทุกมิติ ทั้งการเงิน การจ้างงาน สัญญากับลูกค้า การตลาด ให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารหน้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมต้องการให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานเร่งออกระเบียบให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ใน 3 เรื่องหลัก คือ กำหนดกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรุนแรง การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียภายในเดือนนี้
“ทางคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้ยืนยันว่าจะเสร็จในเดือนนี้ เราก็อยากเห็นความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เพราะจะทำให้เอกชนได้มีแนวทางปฏิบัติ ส่วนกรณีของการจัดตั้งองค์กรอิสระให้แยกออกมาต่างหาก”นายสรยุทธกล่าว
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานคณะกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ดกนอ.) กล่าวหลังการหารือกับเอกชนเพื่อให้ดำเนินงานตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดวานนี้ (8ธ.ค.) ว่า กนอ.ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง 53 ผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้การดูแลของกนอ.ให้ระงับกิจการตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดแล้ว คาดว่าหนังสือจะถึงวันนี้ (9ธ.ค.) หลังจากนั้น เอกชนคงจะทยอยหยุดดำเนินงานและการก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังได้ส่งแบบสำรวจข้อมูลให้เอกชนประเมินความเสียหายต่อโครงการ ผลกระทบต่อเนื่อง เพื่อให้ส่งกลับภายใน 7 วันเพื่อส่งให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป
“เอกชนสอบถามว่าเมื่อถูกระงับ หากต้องมีการซ่อมบำรุงเครื่องจักรไม่ให้ทรุดโทรมถือเป็นความผิดด้วยหรือไม่ เรื่องนี้คงจะต้องมีการสอบถามไปยังอัยการ หรือสอบถามไปยังศาลปกครองกลางเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง”นายประสานกล่าว
ทั้งนี้ จากการหารือพบว่า 53 กิจการที่อยู่ในนิคมฯ ภายใต้กำกับดูแลจากกนอ.มี 5 โครงการที่ประกอบกิจการแล้วมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 27 รายมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างการยื่นคำขอการใช้ที่ดิน 17 รายมูลค่าลงทุน 2.5 หมื่นล้านบาท ยังไม่มีการยื่นคำขอ 4 รายมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท รวม 53 กิจการมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 2.23 แสนล้านบาท โดยทั้งหมดจะก่อให้เกิดรายได้ 2.25 แสนล้านบาทต่อปี ช่วงก่อสร้างจะก่อให้เกิดการจ้างงาน 2.9 หมื่นคน และช่วงดำเนินการอีกประมาณ 9 พันคน
อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาโอกาสที่จะมีการยื่นขอปลดล็อคจากคำสั่งศาลเพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้นั้น พบว่ามีโอกาส 20-30 กิจการ เนื่องจากได้ผ่าน EIA แล้ว และบางส่วนมีการทำ HIAระดับหนึ่งแล้ว หากมีการต่อยอดจากส่วนนี้ได้ก็จะมีโอกาสยื่นขอศาลฯพิจารณาให้หลุดจากการระงับกิจการได้
**กกร.หวังรัฐต่อยอด EIA-HIA เดิม
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีมติเสนอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหามาบตาพุด 3 แนวทางอย่างเร่งด่วน ประกอบด้วย 1. หามาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาเพื่อให้เสร็จสิ้นภายใน 4-5 เดือน จากเดิมที่ทำงานปกติใช้เวลาแก้ปัญหา 13-14 เดือน 2.วางหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนในการกำหนดการจัดทำHIA เพื่อให้สอคคล้องกับ มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ 3.แนวทางการทำEIAและ HIA ควรดำเนินในลักษณะเดิมในลักษณะต่อยอด เพราะหากเริ่มต้นใหม่จะทำให้ประเทศได้รับความเสียหาย
**แนะตั้งเจ้าภาพดู HIA
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า เอกชนต้องการให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเร่งสรุปHIA ให้เร็วที่สุดโดยควรจะมีเจ้าภาพที่ชัดเจนขึ้นมารับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะขณะนี้มีหลายส่วนเกินไปจะมีผลทำให้มีความล่าช้าได้
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น กล่าวว่า ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งจากกนอ.ที่จะให้หยุดโครงการ แต่หากได้รับแล้วจะมีการขอความชัดเจนของคำสั่งศาลฯ กรณีที่กิจการที่ได้รับ EIA ก่อนบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 จะเดินหน้าต่อหรือไม่อย่างไร
**ยัน กนอ.ยันแก้ปัญหาก๊าซรั่วเร็ว
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานคณะกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ดกนอ.) กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาก๊าซรั่วที่ท่าเรือมาบตาพุด แท๊งค์ เทอร์มินัล เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า ได้มีการเร่งแก้ไขภายใน 3 ชั่วโมงและได้สั่งหยุดการดำเนินงานจนถึงขณะนี้ โดยยืนยันการดำเนินงานของกนอ.มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยการันตีจากการที่กนอ.ได้เป็นรัฐวิสาหกิจดีเด่นต่อเนื่องมาหลายปี
**เอสซีจีพร้อมให้ความช่วยเหลือ
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ กล่าวว่า บริษัท มาบตาพุดแทงค์ เทอร์มินอล จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการท่าเรือ ขนถ่ายสินค้า พร้อมร่วมรับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าว รวมทั้งดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างดีที่สุด โดยที่ผ่านมา ได้นำผู้ที่มีอาการวิงเวียนส่งโรงพยาบาลทันที ซึ่งขณะนี้แพทย์ได้ชี้แจงหลังการตรวจว่าชาวบ้านทุกคนปกติดี และจะมีการส่งทีมแพทย์ออกตรวจอาการชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ประสานงานไปยังบริษัทเจ้าของเรือ ซึ่งได้เดินทางมาจากต่างประเทศในทันที เพื่อที่จะดูแลรับผิดชอบและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันอย่างเต็มที่ โดยบริษัทได้เปิดสายด่วนสำหรับรับแจ้งเหตุ หากชุมชนยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ กรุณาติดต่อสายด่วน Tel : 038-912-222 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
**“มาร์ค”จี้หน่วยงานรัฐร่วมมือทำงาน
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับว่าในส่วนของราชการต้องมีการทำงานประสานกันอย่างเป็นเอกภาพ โดยเรื่องสารเคมีที่รั่วออกมา แต่แพทย์รักษาไม่ถูก เพราะไม่ทราบว่าเป็นสารอะไร เพราะบางทีมันเป็นเรื่องความลับทางการค้าของเอกชนที่ไม่สามารถก้าวล่วงไปรับทราบได้ จึงเป็นปัญหา ดังนั้น แนวทางเหล่านี้ต้องมีการพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเป้าหมายในการป้องกัน
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งการไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ให้เพิ่มมาตรการในการดูแลในกรณีดังกล่าวให้เข้มข้นมากขึ้น รวมถึงตรวจสอบความบกพร่องของกรณีที่เกิดขึ้นด้วยว่า เกิดจากระบบที่ไม่ดี หรือความไม่รับผิดชอบของบุคคลกันแน่
**“สุทธิ”ร้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยขอให้ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หากพบใครผิดให้ดำเนินการตามกฎหมาย ขอให้มีการปฏิรูประบบบริหารจัดการท่าเทียบเรือ จ่ายชดเชยค่าเสียหายให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดวานนี้ (8ธ.ค.) ว่า ได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการทั้ง 65 กิจการ มูลค่าประมาณ 2.3-2.5 แสนล้านบาทให้หยุดการดำเนินกิจการใดๆ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นการชั่วคราวภายในวันนี้ (9ธ.ค.) พร้อมกับให้ทั้ง 2 หน่วยงานเร่งตรวจสอบผลกระทบในทุกมิติ ทั้งการเงิน การจ้างงาน สัญญากับลูกค้า การตลาด ให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารหน้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมต้องการให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานเร่งออกระเบียบให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 ใน 3 เรื่องหลัก คือ กำหนดกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรุนแรง การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียภายในเดือนนี้
“ทางคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้ยืนยันว่าจะเสร็จในเดือนนี้ เราก็อยากเห็นความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เพราะจะทำให้เอกชนได้มีแนวทางปฏิบัติ ส่วนกรณีของการจัดตั้งองค์กรอิสระให้แยกออกมาต่างหาก”นายสรยุทธกล่าว
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานคณะกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ดกนอ.) กล่าวหลังการหารือกับเอกชนเพื่อให้ดำเนินงานตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดวานนี้ (8ธ.ค.) ว่า กนอ.ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง 53 ผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้การดูแลของกนอ.ให้ระงับกิจการตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดแล้ว คาดว่าหนังสือจะถึงวันนี้ (9ธ.ค.) หลังจากนั้น เอกชนคงจะทยอยหยุดดำเนินงานและการก่อสร้าง นอกจากนี้ ยังได้ส่งแบบสำรวจข้อมูลให้เอกชนประเมินความเสียหายต่อโครงการ ผลกระทบต่อเนื่อง เพื่อให้ส่งกลับภายใน 7 วันเพื่อส่งให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป
“เอกชนสอบถามว่าเมื่อถูกระงับ หากต้องมีการซ่อมบำรุงเครื่องจักรไม่ให้ทรุดโทรมถือเป็นความผิดด้วยหรือไม่ เรื่องนี้คงจะต้องมีการสอบถามไปยังอัยการ หรือสอบถามไปยังศาลปกครองกลางเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง”นายประสานกล่าว
ทั้งนี้ จากการหารือพบว่า 53 กิจการที่อยู่ในนิคมฯ ภายใต้กำกับดูแลจากกนอ.มี 5 โครงการที่ประกอบกิจการแล้วมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 27 รายมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างการยื่นคำขอการใช้ที่ดิน 17 รายมูลค่าลงทุน 2.5 หมื่นล้านบาท ยังไม่มีการยื่นคำขอ 4 รายมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท รวม 53 กิจการมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 2.23 แสนล้านบาท โดยทั้งหมดจะก่อให้เกิดรายได้ 2.25 แสนล้านบาทต่อปี ช่วงก่อสร้างจะก่อให้เกิดการจ้างงาน 2.9 หมื่นคน และช่วงดำเนินการอีกประมาณ 9 พันคน
อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาโอกาสที่จะมีการยื่นขอปลดล็อคจากคำสั่งศาลเพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้นั้น พบว่ามีโอกาส 20-30 กิจการ เนื่องจากได้ผ่าน EIA แล้ว และบางส่วนมีการทำ HIAระดับหนึ่งแล้ว หากมีการต่อยอดจากส่วนนี้ได้ก็จะมีโอกาสยื่นขอศาลฯพิจารณาให้หลุดจากการระงับกิจการได้
**กกร.หวังรัฐต่อยอด EIA-HIA เดิม
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีมติเสนอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหามาบตาพุด 3 แนวทางอย่างเร่งด่วน ประกอบด้วย 1. หามาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาเพื่อให้เสร็จสิ้นภายใน 4-5 เดือน จากเดิมที่ทำงานปกติใช้เวลาแก้ปัญหา 13-14 เดือน 2.วางหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนในการกำหนดการจัดทำHIA เพื่อให้สอคคล้องกับ มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ 3.แนวทางการทำEIAและ HIA ควรดำเนินในลักษณะเดิมในลักษณะต่อยอด เพราะหากเริ่มต้นใหม่จะทำให้ประเทศได้รับความเสียหาย
**แนะตั้งเจ้าภาพดู HIA
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า เอกชนต้องการให้คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเร่งสรุปHIA ให้เร็วที่สุดโดยควรจะมีเจ้าภาพที่ชัดเจนขึ้นมารับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะขณะนี้มีหลายส่วนเกินไปจะมีผลทำให้มีความล่าช้าได้
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น กล่าวว่า ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งจากกนอ.ที่จะให้หยุดโครงการ แต่หากได้รับแล้วจะมีการขอความชัดเจนของคำสั่งศาลฯ กรณีที่กิจการที่ได้รับ EIA ก่อนบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 จะเดินหน้าต่อหรือไม่อย่างไร
**ยัน กนอ.ยันแก้ปัญหาก๊าซรั่วเร็ว
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานคณะกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ดกนอ.) กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาก๊าซรั่วที่ท่าเรือมาบตาพุด แท๊งค์ เทอร์มินัล เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า ได้มีการเร่งแก้ไขภายใน 3 ชั่วโมงและได้สั่งหยุดการดำเนินงานจนถึงขณะนี้ โดยยืนยันการดำเนินงานของกนอ.มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยการันตีจากการที่กนอ.ได้เป็นรัฐวิสาหกิจดีเด่นต่อเนื่องมาหลายปี
**เอสซีจีพร้อมให้ความช่วยเหลือ
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ กล่าวว่า บริษัท มาบตาพุดแทงค์ เทอร์มินอล จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการท่าเรือ ขนถ่ายสินค้า พร้อมร่วมรับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าว รวมทั้งดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างดีที่สุด โดยที่ผ่านมา ได้นำผู้ที่มีอาการวิงเวียนส่งโรงพยาบาลทันที ซึ่งขณะนี้แพทย์ได้ชี้แจงหลังการตรวจว่าชาวบ้านทุกคนปกติดี และจะมีการส่งทีมแพทย์ออกตรวจอาการชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ประสานงานไปยังบริษัทเจ้าของเรือ ซึ่งได้เดินทางมาจากต่างประเทศในทันที เพื่อที่จะดูแลรับผิดชอบและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันอย่างเต็มที่ โดยบริษัทได้เปิดสายด่วนสำหรับรับแจ้งเหตุ หากชุมชนยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ กรุณาติดต่อสายด่วน Tel : 038-912-222 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
**“มาร์ค”จี้หน่วยงานรัฐร่วมมือทำงาน
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับว่าในส่วนของราชการต้องมีการทำงานประสานกันอย่างเป็นเอกภาพ โดยเรื่องสารเคมีที่รั่วออกมา แต่แพทย์รักษาไม่ถูก เพราะไม่ทราบว่าเป็นสารอะไร เพราะบางทีมันเป็นเรื่องความลับทางการค้าของเอกชนที่ไม่สามารถก้าวล่วงไปรับทราบได้ จึงเป็นปัญหา ดังนั้น แนวทางเหล่านี้ต้องมีการพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเป้าหมายในการป้องกัน
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งการไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ให้เพิ่มมาตรการในการดูแลในกรณีดังกล่าวให้เข้มข้นมากขึ้น รวมถึงตรวจสอบความบกพร่องของกรณีที่เกิดขึ้นด้วยว่า เกิดจากระบบที่ไม่ดี หรือความไม่รับผิดชอบของบุคคลกันแน่
**“สุทธิ”ร้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวว่า ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยขอให้ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หากพบใครผิดให้ดำเนินการตามกฎหมาย ขอให้มีการปฏิรูประบบบริหารจัดการท่าเทียบเรือ จ่ายชดเชยค่าเสียหายให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง