ผมเป็นลูกค้าของบริษัทการบินไทย สายการบินแห่งชาติมาร่วม 20 ปี ตั้งแต่ยังมีคำนำหน้าเป็นเด็กชาย …
สมัยก่อนผมยังจำได้ว่า การบินไทยนั้นขึ้นชื่อมากในหลายๆ เรื่อง ตั้งแต่ฝีมือการขับเครื่องบินของนักบินที่สามารถนำเครื่องลงได้นิ่มนวลกว่าสายการบินไหนๆ สจ๊วตและแอร์โฮสเตสก็ขึ้นชื่อว่าหน้าตาดี ทั้งกิริยามารยาทก็สุภาพจนเด็กๆ จำนวนไม่น้อยถึงกับใฝ่ฝันว่าอยากจะประกอบอาชีพนี้เมื่อเติบใหญ่ขึ้น ส่วนบริการบนเครื่องการบินไทยก็ “รักคุณเท่าฟ้า” อย่างที่โฆษณาเอาไว้คือ อาหารอร่อย รสชาติถูกปาก แถมมีเครื่องดื่มหลากหลายชนิดให้บริการตลอดเที่ยวบิน
ความประทับใจในวัยเด็ก ทำให้ในเวลาต่อมาผมรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัทการบินไทยนับตั้งแต่วันเข้าตลาด 10 กว่าปีก่อน
ผมจำได้คร่าวๆ ว่าการซื้อหุ้นของการบินไทยนั้นต้องจองผ่านธนาคารและใช้วิธีสุ่มเลือก เหมือนกับจับสลากผู้โชคดีอย่างไรอย่างนั้น ตอนนั้นแม้ราคาหุ้นจะสูงถึงหุ้นละ 60 บาท แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยต่างก็ยินดีที่จะต่อคิวซื้อหุ้นสายการบินแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ผมเชื่อว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยที่จองซื้อตั้งแต่แรกต่างก็ไม่ได้หวังที่จะเก็งกำไรอะไรเพราะแต่ละคนได้รับการจัดสรรหุ้นกันเพียงคนละเล็กน้อยคิดเป็นมูลค่าเพียงหมื่นต้นๆ แต่ทุกคนก็มีความภูมิใจ เพราะอย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนกิจการแห่งชาติ ที่เปรียบเสมือนเป็นหน้าเป็นตาของประเทศให้สามารถเติบโต และสามารถแข่งขันกับสายการบินต่างชาติได้
เวลาล่วงเลยไปเกือบ 20 ปี ทุกวันนี้ ผมยังได้รับซองจดหมายจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD) และจดหมายเรียกประชุมผู้ถือหุ้นอยู่ทุกปี แม้ส่วนตัวจะไม่ได้ไปร่วมประชุม แต่ก็ยังคงใช้บริการและติดตามข่าวสารของการบินไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอ
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมก็เพิ่งใช้บริการของการบินไทยเพื่อบินไปยังกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนพูดตามตรง ผมไม่คิดว่าคุณภาพของกัปตัน นักบิน และการบริการจากพนักงานต้อนรับและอาหารบนเครื่องของการบินไทยนั้นด้อยกว่าสายการบินอื่นอย่างไร อีกทั้งการบินไทยยังมีตารางบินที่ได้เปรียบกว่าเขา ยกตัวอย่างเช่น เที่ยวบิน TG614 กรุงเทพฯ-ปักกิ่ง ออกเดินทาง 10.10 น. ถึงปักกิ่งประมาณ 15.30 น. และ TG615 ปักกิ่ง-กรุงเทพฯ ออกเดินทาง 17.05 น. ถึงกรุงเทพฯ เวลา 21.20 น. ซึ่งถือว่าได้เวลาดีกว่าสายการบินแอร์ไชน่า ซึ่งบินในเส้นทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของการบินไทยที่ผู้โดยสารจะสามารถสัมผัสและรับรู้ได้ชัดก็คือ ราคาตั๋วเครื่องบินที่สูงกว่าสายการบินอื่นๆ โดยบางครั้งสูงกว่าถึงเกือบเท่าตัว ระบบความบันเทิงที่ด้อยกว่าเครื่องบินของสายการบินอื่นอย่างเห็นได้ชัด จอหนังส่วนตัวก็ไม่มี เกมให้เด็กๆ เล่นก็ไม่มี นอกจากนี้สภาพของเครื่องบินก็ทรุดโทรม โดยครั้งหนึ่งที่ผมประสบก็คือ พลาสติกด้านข้างที่นั่งผู้โดยสารบริเวณติดกับทางเดินหลุดผลัวะออกมาบาดแขนบาดขาผู้โดยสาร จนพนักงานต้อนรับต้องรีบแก้ไขเฉพาะหน้าด้วยการนำสติกเกอร์มาติดไว้ชั่วคราวและกล่าวขอโทษผู้โดยสารท่านนั้นเป็นการใหญ่
ทั้งนี้ ไม่นับรวมกับการต้องประสบกับปัญหาการใช้เส้นสายของนักการเมืองและผู้มีอำนาจ จนทำให้เกิดปัญหาการเช็กอินล่าช้า การจองที่นั่ง และการดีเลย์ของเครื่องบินทั้งลำเพื่อรอผู้ยิ่งใหญ่และครอบครัวนวยนาดมาขึ้นเครื่อง
ในความรู้สึกของผู้ใช้บริการ สิ่งเหล่านี้เองที่ฉุดรั้งให้การบินไทยไม่สามารถที่จะแข่งขันกับสายการบินในภูมิภาคนี้ได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์แอร์ไลน์ มาเลเซียแอร์ไลน์ คาเธย์แปซิฟิค (ฮ่องกง) ไชน่าแอร์ไลน์ (ไต้หวัน) อีวาแอร์ (ไต้หวัน) และนับวันเราจะยิ่งถูกทิ้งห่างมากขึ้นทุกที จะเหลือคู่แข่งที่เราดีกว่าเขาหน่อยก็เพียง สายการบินจากจีนแผ่นดินใหญ่อย่าง แอร์ไชน่า ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ หรือโลว์คอสแอร์ไลน์ และสายการบินจากตะวันตกที่ไม่เน้นคุณภาพการบริการบนเครื่องเท่าใดนัก
ประกอบเข้ากับข่าวคราวการใช้อำนาจโดยมิชอบของคณะกรรมการบริษัทการบินไทยผู้หนึ่งซึ่งใช้ตั๋วฟรีพาตัวเองและภรรยาไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังถืออภิสิทธิ์ขนสัมภาระกลับมามากกว่า 600 กิโลกรัมโดยไม่เสียภาษี ที่ถูกปูดออกมาโดยพนักงาน สหภาพการบินไทยและสื่อมวลชนอย่างเอเอสทีวีผู้จัดการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าทำไม “การบินไทย” ถึงด้อยคุณภาพลงทุกวันๆ และบ่งชี้ว่าทำไมผลประกอบการประจำปีบัญชี 2551 สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 51 บริษัทแห่งนี้ถึงขาดทุนสุทธิกว่า 21,314 ล้านบาท จนต้องเสนอแผนฟื้นฟูให้รัฐใช้เงินภาษีประชาชนเข้าอุ้มชูอีกครั้ง แม้ไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 จะกลับมามีกำไรสุทธิคือ 426 ล้านบาท แต่ก็ยังถือว่าเป็นกำไรที่น้อยมาก หากเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานขาดทุนในปีก่อนหน้า
หากจะว่าไป ความเน่าเฟะ เละเทะที่เกิดขึ้นกับสายการบินแห่งชาติแห่งนี้ ก็ไม่แตกต่างอะไรกับที่ประเทศชาติและประชาชนไทยต้องประสบ ณ ปัจจุบัน
การบินไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็เหมือนกับประเทศไทย ที่ถูกนักการเมืองและผู้บริหารแทรกแซง ล้วงลูก คอร์รัปชัน หาผลประโยชน์ใส่ตัวมาโดยตลอด มีการสืบทอดตำแหน่ง ฝากลูกท่านหลานเธอเข้าทำงาน จนสายการบินแห่งชาติที่ประชาชนไทยทั้งหมดเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในนามกระทรวงการคลัง แทบจะกลายเป็นบริษัทส่วนตัว เป็นมรดกตกทอดในครอบครัวของนักการเมืองและผู้บริหารบางคนเพื่อใช้หากินไปชั่วลูกชั่วหลานไปแล้ว
ยกตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุด คือ การจัดซื้อเครื่องบินที่ไม่โปร่งใสอย่าง เครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 ในเส้นทางบินตรง กรุงเทพฯ-นิวยอร์ก และกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าในช่วงปี 2548-2551 สร้างความฉิบหายให้กับบริษัทการบินไทยอย่างมหาศาล ไม่โปร่งใสตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการเลือกซื้อเครื่องบินที่ผู้บริหารจงใจซื้อเครื่องบิน “ผิด” เพราะตัวเลขระบุอย่างชัดเจนว่า แอร์บัส เอ340-500 นั้นกินน้ำมันมาก และภายใต้สภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูง-ค่าเงินบาทที่ลดลง บริษัทการบินไทยจะต้องขายตั๋วให้ได้ร้อยละ 120 ของที่นั่งที่มี เส้นทางบินนี้จึงจะสามารถดำเนินการไปได้อย่างคุ้มทุน (Break Even)
กล่าวง่ายๆ คือ ในเส้นทางบินกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก หากการบินไทยจะทำธุรกิจโดยไม่ขาดทุน ถ้าเครื่องบินมีที่นั่งอยู่ 100 ที่ บริษัทก็ต้องขายที่นั่งให้ได้ 120 ที่ นั่นหมายความว่า อาจจะต้องมีผู้โดยสารไปนั่งในห้องน้ำ นอนในห้องเก็บสัมภาระ อีก 20 คน
สอง ทั้งๆ ที่รู้ว่าเปิดเส้นทางบินไปก็ขาดทุน แต่ผู้บริหารก็ยังดันทุรังซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 จำนวน 4 ลำมูลค่ารวมเกือบ 16,800 ล้านบาท เพียงเพื่อว่านักการเมืองในยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย และผู้บริหารบางคนจะได้รับอานิสงส์จากค่านายหน้า
สาม จากรายงานการประชุมบอร์ดการบินไทยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ซึ่งนำมาสู่การตัดสินใจยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าวในวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ระบุชัดเจนว่า ในห้วงระยะเวลาประมาณ 3 ปีกว่าของการดำเนินการเที่ยวบินดังกล่าวก่อให้เกิดภาระขาดทุนแก่บริษัทถึงเกือบ 7,000 ล้านบาท และถ้าดำเนินการต่อก็จะขาดทุกอีกราวเดือนละ 400 ล้านบาท
สี่ เอาเข้าจริงแผนการยกเลิกเที่ยวบินตรง กรุงเทพฯ-นิวยอร์ก และประกาศขายเครื่องบินทั้ง 4 ลำภายในปี 2552 กลับไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าประสงค์เพราะเครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 สี่ลำดังกล่าว เป็นเครื่องบินที่ตลาดการบินพาณิชย์ไม่ต้องการ และทั่วโลกก็มีใช้งานอยู่เพียง 26 ลำ อีกทั้งหากขายไปจริงก็จะทำรายได้ให้บริษัทการบินไทยเพียง 12,553.2 ล้านเท่านั้น จากมูลค่าทางบัญชีจริง 16,796.6 ล้านบาท หรือเท่ากับการบินไทยต้อง “เสียค่าโง่” สูงถึง 4,237.4 ล้านบาท!
ห้า เมื่อแผนการขายทอดตลาดเครื่องบินไม่สำเร็จ การบินไทยจึงต้องหันมาโปรโมตเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ออสโล (ประเทศนอร์เวย์) ในช่วงปี 2552 โดยนำเครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 ดังกล่าวมาบินแก้ขัด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีก จนกระทั่งล่าสุด เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นายวัลลภ พุกกะณะสุต กรรมการและประธานกรรมการบริหารบริษัทฯ และผู้บริหารที่ตกเป็นข่าวฉาวโฉ่ ได้ออกมาเปิดเผยเองว่า การบินไทยมีแนวโน้มจะเปิดให้บริการเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-นิวยอร์กอีกครั้ง โดยคราวนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนสนามบินให้เครื่องบินขึ้นลงจากสนามบินนวร์ก (Newark) ในนิวเจอร์ซีย์ แทนสนามบินเจเอฟเคในนิวยอร์กที่ใช้อยู่เดิม
วิธีการหากิน การคอร์รัปชันตั้งแต่หัวจรดหางแบบนี้ ทำเอาผมรู้สึกสะทกสะท้อนใจ และอดมิได้ที่จะนำบริษัทการบินไทยมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย เปรียบผู้บริหารการบินไทยกับนักการเมืองไทย เปรียบพนักงานบริษัทการบินไทยกับข้าราชการ-พนักงานรัฐวิสาหกิจไทย เปรียบผู้ถือหุ้นกับประชาชน เปรียบลูกค้ากับคนไทยทั้งมวล
จะว่าไปการบินไทย ก็คือกระจกสะท้อนภาพประเทศไทยดีๆ นี่เอง
สมัยก่อนผมยังจำได้ว่า การบินไทยนั้นขึ้นชื่อมากในหลายๆ เรื่อง ตั้งแต่ฝีมือการขับเครื่องบินของนักบินที่สามารถนำเครื่องลงได้นิ่มนวลกว่าสายการบินไหนๆ สจ๊วตและแอร์โฮสเตสก็ขึ้นชื่อว่าหน้าตาดี ทั้งกิริยามารยาทก็สุภาพจนเด็กๆ จำนวนไม่น้อยถึงกับใฝ่ฝันว่าอยากจะประกอบอาชีพนี้เมื่อเติบใหญ่ขึ้น ส่วนบริการบนเครื่องการบินไทยก็ “รักคุณเท่าฟ้า” อย่างที่โฆษณาเอาไว้คือ อาหารอร่อย รสชาติถูกปาก แถมมีเครื่องดื่มหลากหลายชนิดให้บริการตลอดเที่ยวบิน
ความประทับใจในวัยเด็ก ทำให้ในเวลาต่อมาผมรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัทการบินไทยนับตั้งแต่วันเข้าตลาด 10 กว่าปีก่อน
ผมจำได้คร่าวๆ ว่าการซื้อหุ้นของการบินไทยนั้นต้องจองผ่านธนาคารและใช้วิธีสุ่มเลือก เหมือนกับจับสลากผู้โชคดีอย่างไรอย่างนั้น ตอนนั้นแม้ราคาหุ้นจะสูงถึงหุ้นละ 60 บาท แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยต่างก็ยินดีที่จะต่อคิวซื้อหุ้นสายการบินแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ผมเชื่อว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยที่จองซื้อตั้งแต่แรกต่างก็ไม่ได้หวังที่จะเก็งกำไรอะไรเพราะแต่ละคนได้รับการจัดสรรหุ้นกันเพียงคนละเล็กน้อยคิดเป็นมูลค่าเพียงหมื่นต้นๆ แต่ทุกคนก็มีความภูมิใจ เพราะอย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนกิจการแห่งชาติ ที่เปรียบเสมือนเป็นหน้าเป็นตาของประเทศให้สามารถเติบโต และสามารถแข่งขันกับสายการบินต่างชาติได้
เวลาล่วงเลยไปเกือบ 20 ปี ทุกวันนี้ ผมยังได้รับซองจดหมายจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD) และจดหมายเรียกประชุมผู้ถือหุ้นอยู่ทุกปี แม้ส่วนตัวจะไม่ได้ไปร่วมประชุม แต่ก็ยังคงใช้บริการและติดตามข่าวสารของการบินไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอ
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมก็เพิ่งใช้บริการของการบินไทยเพื่อบินไปยังกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนพูดตามตรง ผมไม่คิดว่าคุณภาพของกัปตัน นักบิน และการบริการจากพนักงานต้อนรับและอาหารบนเครื่องของการบินไทยนั้นด้อยกว่าสายการบินอื่นอย่างไร อีกทั้งการบินไทยยังมีตารางบินที่ได้เปรียบกว่าเขา ยกตัวอย่างเช่น เที่ยวบิน TG614 กรุงเทพฯ-ปักกิ่ง ออกเดินทาง 10.10 น. ถึงปักกิ่งประมาณ 15.30 น. และ TG615 ปักกิ่ง-กรุงเทพฯ ออกเดินทาง 17.05 น. ถึงกรุงเทพฯ เวลา 21.20 น. ซึ่งถือว่าได้เวลาดีกว่าสายการบินแอร์ไชน่า ซึ่งบินในเส้นทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของการบินไทยที่ผู้โดยสารจะสามารถสัมผัสและรับรู้ได้ชัดก็คือ ราคาตั๋วเครื่องบินที่สูงกว่าสายการบินอื่นๆ โดยบางครั้งสูงกว่าถึงเกือบเท่าตัว ระบบความบันเทิงที่ด้อยกว่าเครื่องบินของสายการบินอื่นอย่างเห็นได้ชัด จอหนังส่วนตัวก็ไม่มี เกมให้เด็กๆ เล่นก็ไม่มี นอกจากนี้สภาพของเครื่องบินก็ทรุดโทรม โดยครั้งหนึ่งที่ผมประสบก็คือ พลาสติกด้านข้างที่นั่งผู้โดยสารบริเวณติดกับทางเดินหลุดผลัวะออกมาบาดแขนบาดขาผู้โดยสาร จนพนักงานต้อนรับต้องรีบแก้ไขเฉพาะหน้าด้วยการนำสติกเกอร์มาติดไว้ชั่วคราวและกล่าวขอโทษผู้โดยสารท่านนั้นเป็นการใหญ่
ทั้งนี้ ไม่นับรวมกับการต้องประสบกับปัญหาการใช้เส้นสายของนักการเมืองและผู้มีอำนาจ จนทำให้เกิดปัญหาการเช็กอินล่าช้า การจองที่นั่ง และการดีเลย์ของเครื่องบินทั้งลำเพื่อรอผู้ยิ่งใหญ่และครอบครัวนวยนาดมาขึ้นเครื่อง
ในความรู้สึกของผู้ใช้บริการ สิ่งเหล่านี้เองที่ฉุดรั้งให้การบินไทยไม่สามารถที่จะแข่งขันกับสายการบินในภูมิภาคนี้ได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์แอร์ไลน์ มาเลเซียแอร์ไลน์ คาเธย์แปซิฟิค (ฮ่องกง) ไชน่าแอร์ไลน์ (ไต้หวัน) อีวาแอร์ (ไต้หวัน) และนับวันเราจะยิ่งถูกทิ้งห่างมากขึ้นทุกที จะเหลือคู่แข่งที่เราดีกว่าเขาหน่อยก็เพียง สายการบินจากจีนแผ่นดินใหญ่อย่าง แอร์ไชน่า ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ หรือโลว์คอสแอร์ไลน์ และสายการบินจากตะวันตกที่ไม่เน้นคุณภาพการบริการบนเครื่องเท่าใดนัก
ประกอบเข้ากับข่าวคราวการใช้อำนาจโดยมิชอบของคณะกรรมการบริษัทการบินไทยผู้หนึ่งซึ่งใช้ตั๋วฟรีพาตัวเองและภรรยาไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังถืออภิสิทธิ์ขนสัมภาระกลับมามากกว่า 600 กิโลกรัมโดยไม่เสียภาษี ที่ถูกปูดออกมาโดยพนักงาน สหภาพการบินไทยและสื่อมวลชนอย่างเอเอสทีวีผู้จัดการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าทำไม “การบินไทย” ถึงด้อยคุณภาพลงทุกวันๆ และบ่งชี้ว่าทำไมผลประกอบการประจำปีบัญชี 2551 สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 51 บริษัทแห่งนี้ถึงขาดทุนสุทธิกว่า 21,314 ล้านบาท จนต้องเสนอแผนฟื้นฟูให้รัฐใช้เงินภาษีประชาชนเข้าอุ้มชูอีกครั้ง แม้ไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 จะกลับมามีกำไรสุทธิคือ 426 ล้านบาท แต่ก็ยังถือว่าเป็นกำไรที่น้อยมาก หากเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานขาดทุนในปีก่อนหน้า
หากจะว่าไป ความเน่าเฟะ เละเทะที่เกิดขึ้นกับสายการบินแห่งชาติแห่งนี้ ก็ไม่แตกต่างอะไรกับที่ประเทศชาติและประชาชนไทยต้องประสบ ณ ปัจจุบัน
การบินไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็เหมือนกับประเทศไทย ที่ถูกนักการเมืองและผู้บริหารแทรกแซง ล้วงลูก คอร์รัปชัน หาผลประโยชน์ใส่ตัวมาโดยตลอด มีการสืบทอดตำแหน่ง ฝากลูกท่านหลานเธอเข้าทำงาน จนสายการบินแห่งชาติที่ประชาชนไทยทั้งหมดเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในนามกระทรวงการคลัง แทบจะกลายเป็นบริษัทส่วนตัว เป็นมรดกตกทอดในครอบครัวของนักการเมืองและผู้บริหารบางคนเพื่อใช้หากินไปชั่วลูกชั่วหลานไปแล้ว
ยกตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุด คือ การจัดซื้อเครื่องบินที่ไม่โปร่งใสอย่าง เครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 ในเส้นทางบินตรง กรุงเทพฯ-นิวยอร์ก และกรุงเทพฯ-ลอสแองเจลิส ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าในช่วงปี 2548-2551 สร้างความฉิบหายให้กับบริษัทการบินไทยอย่างมหาศาล ไม่โปร่งใสตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการเลือกซื้อเครื่องบินที่ผู้บริหารจงใจซื้อเครื่องบิน “ผิด” เพราะตัวเลขระบุอย่างชัดเจนว่า แอร์บัส เอ340-500 นั้นกินน้ำมันมาก และภายใต้สภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูง-ค่าเงินบาทที่ลดลง บริษัทการบินไทยจะต้องขายตั๋วให้ได้ร้อยละ 120 ของที่นั่งที่มี เส้นทางบินนี้จึงจะสามารถดำเนินการไปได้อย่างคุ้มทุน (Break Even)
กล่าวง่ายๆ คือ ในเส้นทางบินกรุงเทพฯ-นิวยอร์ก หากการบินไทยจะทำธุรกิจโดยไม่ขาดทุน ถ้าเครื่องบินมีที่นั่งอยู่ 100 ที่ บริษัทก็ต้องขายที่นั่งให้ได้ 120 ที่ นั่นหมายความว่า อาจจะต้องมีผู้โดยสารไปนั่งในห้องน้ำ นอนในห้องเก็บสัมภาระ อีก 20 คน
สอง ทั้งๆ ที่รู้ว่าเปิดเส้นทางบินไปก็ขาดทุน แต่ผู้บริหารก็ยังดันทุรังซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 จำนวน 4 ลำมูลค่ารวมเกือบ 16,800 ล้านบาท เพียงเพื่อว่านักการเมืองในยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย และผู้บริหารบางคนจะได้รับอานิสงส์จากค่านายหน้า
สาม จากรายงานการประชุมบอร์ดการบินไทยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ซึ่งนำมาสู่การตัดสินใจยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าวในวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ระบุชัดเจนว่า ในห้วงระยะเวลาประมาณ 3 ปีกว่าของการดำเนินการเที่ยวบินดังกล่าวก่อให้เกิดภาระขาดทุนแก่บริษัทถึงเกือบ 7,000 ล้านบาท และถ้าดำเนินการต่อก็จะขาดทุกอีกราวเดือนละ 400 ล้านบาท
สี่ เอาเข้าจริงแผนการยกเลิกเที่ยวบินตรง กรุงเทพฯ-นิวยอร์ก และประกาศขายเครื่องบินทั้ง 4 ลำภายในปี 2552 กลับไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าประสงค์เพราะเครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 สี่ลำดังกล่าว เป็นเครื่องบินที่ตลาดการบินพาณิชย์ไม่ต้องการ และทั่วโลกก็มีใช้งานอยู่เพียง 26 ลำ อีกทั้งหากขายไปจริงก็จะทำรายได้ให้บริษัทการบินไทยเพียง 12,553.2 ล้านเท่านั้น จากมูลค่าทางบัญชีจริง 16,796.6 ล้านบาท หรือเท่ากับการบินไทยต้อง “เสียค่าโง่” สูงถึง 4,237.4 ล้านบาท!
ห้า เมื่อแผนการขายทอดตลาดเครื่องบินไม่สำเร็จ การบินไทยจึงต้องหันมาโปรโมตเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ออสโล (ประเทศนอร์เวย์) ในช่วงปี 2552 โดยนำเครื่องบินแอร์บัส เอ340-500 ดังกล่าวมาบินแก้ขัด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีก จนกระทั่งล่าสุด เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นายวัลลภ พุกกะณะสุต กรรมการและประธานกรรมการบริหารบริษัทฯ และผู้บริหารที่ตกเป็นข่าวฉาวโฉ่ ได้ออกมาเปิดเผยเองว่า การบินไทยมีแนวโน้มจะเปิดให้บริการเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ-นิวยอร์กอีกครั้ง โดยคราวนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนสนามบินให้เครื่องบินขึ้นลงจากสนามบินนวร์ก (Newark) ในนิวเจอร์ซีย์ แทนสนามบินเจเอฟเคในนิวยอร์กที่ใช้อยู่เดิม
วิธีการหากิน การคอร์รัปชันตั้งแต่หัวจรดหางแบบนี้ ทำเอาผมรู้สึกสะทกสะท้อนใจ และอดมิได้ที่จะนำบริษัทการบินไทยมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย เปรียบผู้บริหารการบินไทยกับนักการเมืองไทย เปรียบพนักงานบริษัทการบินไทยกับข้าราชการ-พนักงานรัฐวิสาหกิจไทย เปรียบผู้ถือหุ้นกับประชาชน เปรียบลูกค้ากับคนไทยทั้งมวล
จะว่าไปการบินไทย ก็คือกระจกสะท้อนภาพประเทศไทยดีๆ นี่เอง