นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า หลังจากนี้คณะกรรมการยกร่างจะจัดทำรายงาน ส่งเลขาธิการสภาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นเสนอให้ประธานสภา เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.อีกครั้งว่า จะเดินหน้าในการทำประชามติหรือไม่
ขณะเดียวกันวิปทั้งสามฝ่าย ต้องแสวงหาความร่วมมือในการเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป ระหว่างนี้ตนจะได้ประสานกับพรรคฝ่ายค้านและวุฒิสภา โดยได้ส่งมอบรายงานประเด็นการแก้ไขให้ทุกฝ่ายเรียบร้อยแล้ว เพื่อแสวงหาความร่วมมือ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการเมือง และเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ทุกฝ่ายต้องลงชื่อร่วมกันและผ่านการทำประชามติ
ส่วนกรณีฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชินวรณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องกลับมาทบทวน หากต้องการแก้ไขปัญหาจริง ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และแปลกใจเหมือนกันว่า เพราะเหตุใดฝ่ายค้านจึงออกมาเรียกร้องให้มีการยุบสภา ดังนั้นก่อนที่จะมีการยุบสภาทุกฝ่ายก็ต้องมาสร้างกติกาที่ชอบธรรมและนำไปสู่การเลือกตั้งที่เป็นสันติวิธี หากไม่สามารถแก้ไขกติการ่วมกันได้ แล้วจะมีการเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายยอมรับได้อย่างไร หากเป็นเช่นนี้การเมืองก็ย้อนกลับไปสู่จุดเดิม จึงอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันให้การเมืองเดินหน้าต่อไปได้
นายชินวรณ์ กล่าวว่า การเข้าชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องใช้มติถึง 312 เสียง นั่นหมายความว่า ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกฝ่าย จึงอยากให้ทุกฝ่ายได้ร่วมแสดงความรับผิดชอบ เพราะท้ายที่สุด เมื่อถึงขั้นตอนทำประชามติ ต้องลงทุนถึง 2 พันล้านบาท และกระบวนการแก้ไข ต้องใช้เวลา เพื่อให้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่าย
เมื่อถามว่าพรรคฝ่ายค้านมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ใช่ประเด็นที่พรรคฝ่ายค้านเสนอให้แก้ และไม่เป็นประโยชน์ นายชินวรณ์ กล่าวว่า ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นคนเริ่มต้นที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งความจริงเกิดจากข้อเสนอของฝ่ายค้าน ที่เสนอให้แก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยการเมือง ยังจำคำพูดของประธานวิปฝ่ายค้านว่า ที่เคยบอกว่าเราต้องร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราต้องช่วยกันทุกสี หากเราไม่ช่วยกันแล้วจะให้สีไหนมาช่วยแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐบาลก็ยินดี เพราะเป็นแนวทางนำไปสู่สันติวิธี
"หากแก้ไขเรียบร้อยแล้ว เป้าหมายของฝ่ายค้านคือ ต้องการให้ยุบสภา ก็สามารถที่จะเขียนในบทเฉพาะกาลได้ แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาทั้งหมด แล้วจะนำไปสู่การเขียนบทเฉพาะกาลได้อย่างไร ปัญหาก็กลับไปวนใจจุดเดิม หากไม่ร่วมกันแก้จะไปสู่เป้าหมายที่ต้องการไม่ได้ หากฝ่ายค้านต้องการโค่นรัฐบาล ให้โค่นตามแนวทางรัฐธรรมนูญจะดีกว่า ด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการมาต่อสู่ให้มีบทเฉพาะกาลว่าหลังจากแก้รัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องยุบสภาภายในกี่วัน จะดีกว่า" นายชินวรณ์กล่าว
ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า รัฐบาลโดยการนำประชาธิปัตย์ ไม่ได้มีส่วนไหนในการยื้อเวลาหรือขัดขวางกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่สาระ หรือกระบวนการทำประชามติ แต่ปัญหาการแก้ไขต้องกลับมายังสมาชิกรัฐสภาที่ต้องร่วมกันเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากรัฐสภาไม่เห็นร่วมกัน ก็แสดงว่ากระบวนการที่ร่วมทำกันมาล้มเหลวทั้งหมด เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากพรรคฝ่ายค้านไม่เอาด้วยแล้ว ยังมี ส.ว.บางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายค้านยืนยันว่าจะไม่เข้ามามีส่วนร่วมว่า ตนคิดว่าคณะกรรมการประสานงานวิปทั้งหลาย เขาได้ดำเนินการมาครบถ้วนแล้ว ต่อไปนี้สภาฯ ก็ส่งมาให้รัฐบาล และสิ่งที่รัฐบาลจะพิจารณาต่อไปคือ เราได้ประกาศชัดเจนว่า การจะแก้ไขต้องถามประชาชน เพราะฉะนั้นก็ควรนำร่างที่ทำมาเสร็จแล้วไปทำประชามติ ถามประชาชน ประชาชนเห็นชอบให้แก้ไขในประเด็นไหน ก็ดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่าการที่ฝ่ายค้านไม่ร่วมด้วยจะเป็นการทำอยู่ฝ่ายเดียวหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ถ้าเราเป็นเคารพในหลักการประชาธิปไตย เราก็ต้องให้ความสำคัญกับประชาชน เมื่อประชาชนเห็นว่าควรทำอย่างไร จะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล ก็จะต้องดำเนินการตามนั้น
อย่างไรก็ตามการทำประชามติแก้ 6 ประเด็น ก็ถามประชาชนทั้ง 6 ประเด็น ก็เหมือนให้ทำข้อสอบปรนัย ส่วนที่มองว่าการทำประชามติ ไม่ควรยืดยาวเพราะจะระบุแค่ว่ารับ หรือไม่รับเท่านั้น ว่า ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะของเราก็ทำให้ละเอียดขึ้นมาได้ เพราะประชาชนเข้าใจดี
เมื่อถามว่าได้ประสานกับพรรคร่วมหรือยัง หลังจากมีเสียงบ่นมาเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว นายสุเทพ กล่าวว่า ยัง และเขายังไม่บ่นอะไรกับตนเลย ไม่มีใครบ่นอะไร และยังไม่ประสานอะไรกัน ทั้งนี้ตนจะได้มีการพูดคุยกับเขาในช่วงที่ทำงานเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เพราะได้พบกันอยู่เรื่อยๆ แต่ทั้งนี้ก็คงจะได้นัดกัน ส่วนจะนัดเมื่อไรนั้น คงไม่ใช่ช่วงนี้เพราะตนยุ่งอยู่และยังไม่ใช่เรื่องรีบร้อน
ขณะเดียวกันวิปทั้งสามฝ่าย ต้องแสวงหาความร่วมมือในการเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป ระหว่างนี้ตนจะได้ประสานกับพรรคฝ่ายค้านและวุฒิสภา โดยได้ส่งมอบรายงานประเด็นการแก้ไขให้ทุกฝ่ายเรียบร้อยแล้ว เพื่อแสวงหาความร่วมมือ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการเมือง และเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ทุกฝ่ายต้องลงชื่อร่วมกันและผ่านการทำประชามติ
ส่วนกรณีฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชินวรณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องกลับมาทบทวน หากต้องการแก้ไขปัญหาจริง ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และแปลกใจเหมือนกันว่า เพราะเหตุใดฝ่ายค้านจึงออกมาเรียกร้องให้มีการยุบสภา ดังนั้นก่อนที่จะมีการยุบสภาทุกฝ่ายก็ต้องมาสร้างกติกาที่ชอบธรรมและนำไปสู่การเลือกตั้งที่เป็นสันติวิธี หากไม่สามารถแก้ไขกติการ่วมกันได้ แล้วจะมีการเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายยอมรับได้อย่างไร หากเป็นเช่นนี้การเมืองก็ย้อนกลับไปสู่จุดเดิม จึงอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันให้การเมืองเดินหน้าต่อไปได้
นายชินวรณ์ กล่าวว่า การเข้าชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องใช้มติถึง 312 เสียง นั่นหมายความว่า ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกฝ่าย จึงอยากให้ทุกฝ่ายได้ร่วมแสดงความรับผิดชอบ เพราะท้ายที่สุด เมื่อถึงขั้นตอนทำประชามติ ต้องลงทุนถึง 2 พันล้านบาท และกระบวนการแก้ไข ต้องใช้เวลา เพื่อให้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่าย
เมื่อถามว่าพรรคฝ่ายค้านมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ใช่ประเด็นที่พรรคฝ่ายค้านเสนอให้แก้ และไม่เป็นประโยชน์ นายชินวรณ์ กล่าวว่า ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นคนเริ่มต้นที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งความจริงเกิดจากข้อเสนอของฝ่ายค้าน ที่เสนอให้แก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยการเมือง ยังจำคำพูดของประธานวิปฝ่ายค้านว่า ที่เคยบอกว่าเราต้องร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราต้องช่วยกันทุกสี หากเราไม่ช่วยกันแล้วจะให้สีไหนมาช่วยแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐบาลก็ยินดี เพราะเป็นแนวทางนำไปสู่สันติวิธี
"หากแก้ไขเรียบร้อยแล้ว เป้าหมายของฝ่ายค้านคือ ต้องการให้ยุบสภา ก็สามารถที่จะเขียนในบทเฉพาะกาลได้ แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาทั้งหมด แล้วจะนำไปสู่การเขียนบทเฉพาะกาลได้อย่างไร ปัญหาก็กลับไปวนใจจุดเดิม หากไม่ร่วมกันแก้จะไปสู่เป้าหมายที่ต้องการไม่ได้ หากฝ่ายค้านต้องการโค่นรัฐบาล ให้โค่นตามแนวทางรัฐธรรมนูญจะดีกว่า ด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการมาต่อสู่ให้มีบทเฉพาะกาลว่าหลังจากแก้รัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องยุบสภาภายในกี่วัน จะดีกว่า" นายชินวรณ์กล่าว
ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า รัฐบาลโดยการนำประชาธิปัตย์ ไม่ได้มีส่วนไหนในการยื้อเวลาหรือขัดขวางกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่สาระ หรือกระบวนการทำประชามติ แต่ปัญหาการแก้ไขต้องกลับมายังสมาชิกรัฐสภาที่ต้องร่วมกันเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากรัฐสภาไม่เห็นร่วมกัน ก็แสดงว่ากระบวนการที่ร่วมทำกันมาล้มเหลวทั้งหมด เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากพรรคฝ่ายค้านไม่เอาด้วยแล้ว ยังมี ส.ว.บางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายค้านยืนยันว่าจะไม่เข้ามามีส่วนร่วมว่า ตนคิดว่าคณะกรรมการประสานงานวิปทั้งหลาย เขาได้ดำเนินการมาครบถ้วนแล้ว ต่อไปนี้สภาฯ ก็ส่งมาให้รัฐบาล และสิ่งที่รัฐบาลจะพิจารณาต่อไปคือ เราได้ประกาศชัดเจนว่า การจะแก้ไขต้องถามประชาชน เพราะฉะนั้นก็ควรนำร่างที่ทำมาเสร็จแล้วไปทำประชามติ ถามประชาชน ประชาชนเห็นชอบให้แก้ไขในประเด็นไหน ก็ดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่าการที่ฝ่ายค้านไม่ร่วมด้วยจะเป็นการทำอยู่ฝ่ายเดียวหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ถ้าเราเป็นเคารพในหลักการประชาธิปไตย เราก็ต้องให้ความสำคัญกับประชาชน เมื่อประชาชนเห็นว่าควรทำอย่างไร จะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล ก็จะต้องดำเนินการตามนั้น
อย่างไรก็ตามการทำประชามติแก้ 6 ประเด็น ก็ถามประชาชนทั้ง 6 ประเด็น ก็เหมือนให้ทำข้อสอบปรนัย ส่วนที่มองว่าการทำประชามติ ไม่ควรยืดยาวเพราะจะระบุแค่ว่ารับ หรือไม่รับเท่านั้น ว่า ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะของเราก็ทำให้ละเอียดขึ้นมาได้ เพราะประชาชนเข้าใจดี
เมื่อถามว่าได้ประสานกับพรรคร่วมหรือยัง หลังจากมีเสียงบ่นมาเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว นายสุเทพ กล่าวว่า ยัง และเขายังไม่บ่นอะไรกับตนเลย ไม่มีใครบ่นอะไร และยังไม่ประสานอะไรกัน ทั้งนี้ตนจะได้มีการพูดคุยกับเขาในช่วงที่ทำงานเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เพราะได้พบกันอยู่เรื่อยๆ แต่ทั้งนี้ก็คงจะได้นัดกัน ส่วนจะนัดเมื่อไรนั้น คงไม่ใช่ช่วงนี้เพราะตนยุ่งอยู่และยังไม่ใช่เรื่องรีบร้อน