ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเตรียมเสนอ ครม.ขยายเวลาให้ทุกหน่วยงานส่งโครงการไทยเข้มแข็งให้สำนักงบฯอนุมัติภายในเดือนมกราคม 53 ขีดเส้นอย่างช้าต้องอนุมัติทั้ง 3.5 แสนล้าน ภายในเดือนมีนาคม 53 หลังล่าสุดพบอนุมัติได้พียง 38% พร้อมกู้เงินแบงก์อีก 3 หมื่นล้านบาทรองรับเร่งเบิกจ่าย
แหล่งข่าวจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการประชุมเร่งรัดการติดตามการเบิกจ่ายงบในโครงการไทยเข้มแข็งล่าสุด ที่ประชุมได้ขยายเวลาให้แต่ละหน่วยงานส่งข้อมูลให้สำนักงบประมาณพิจารณาเพื่อขอจัดสรรเงินให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2553 จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ หลังจากพบว่าที่ผ่านมาการส่งข้อมูลโครงการใช้เงินของแต่ละหน่วยงานมีความล่าช้ามากโดยมีเพียง 38% ของวงเงินทั้งหมด 2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ตามกรอบเวลาการส่งข้อมูลใหม่นี้ได้ขอให้สำนักงบประมาณอนุมัติโครงการอย่างเร็วสุดภายในเดือนมกราคม 2553 และอย่างช้าต้องอนุมัติได้ทั้งหมดในวงเงิน 3.5 แสนล้านบาทภายเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งจากการส่งข้อมูลเข้ามาล้าช้าทำให้การเบิกจ่ายเงินออกไปจริงมีความล่าช้าตามไปด้วย จากที่สำนักงบฯ อนุมัติไปแล้ว 7- 8 หมื่นล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายจริงไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาทและส่วนใหญ่เป็นเงินเพิ่มทุนของสถาบันการเงินของรัฐกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท
สำหรับปัญหาที่พบส่วนหนึ่งเป็นเพราะหน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอโครงการมาให้สำนักงบประมาณล่าช้าเพราะต้องมีการระบุรายละเอียดค่อนข้างมากและแต่ละหน่วยงานก็มีหลายโครงการรวมแล้วทำให้มีวงเงินสูง ซึ่งแต่ละหน่วยงานไม่เคยได้รับงบประมาณพิเศษเช่นนี้มาก่อนจึงค่อนข้างสับสนและทำให้ปริมาณงานมากเกินกว่าที่รับไหว เพราะส่วนหนึ่งต้องมีการเบิกจ่ายงบประมาณตามปกติด้วย จึงเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะต้องไปเร่งรัดแต่ละหน่วยงานให้เร่งเสนอโครงการเข้ามาโดยเร็ว ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีการติดตามทุกสัปดาห์อยู่แล้ว โดยหากโครงการใดเสนอมาล่าช้ากว่าที่กำหนดก็จะพิจารณาตัดทิ้งทันที
“ต้องยอมรับว่าการเบิกจ่ายงบไทยเข้มแข็งจนถึงวันนี้ถือว่าช้ามาก โดยเฉพาะโครงการในส่วนของ 2 แสนล้านบาทนั้นเตรียมการมาตั้งแต่เดือนเมษายน โดยขณะนี้มีการอนุมัติจากสำนักงบประมาณไปเพียง 38% เท่านั้น ซึ่งเดิมกำหนดว่าทุกหน่วยงานต้องส่งโครงการมาภายในวันที่ 30 พ.ย.นี้ แต่จากตัวเลขดังกล่าวคงไม่ทันการที่ประชุมจึงกำหนดเส้นตายให้สำนักงบฯ ต้องอนุมัติโครงการทั้งหมดภายในเดือนมกราคา 2553 แต่สำนักงบฯ อ้างว่าคงทำไม่ทันจึงขอยืดเวลาเป็นอย่างช้าสุดเดือนมีนาคม 2553 แทน”แหล่งข่าวกล่าวและว่า เมื่อสำนักงบฯส่งเรื่องมาให้สบน.และกรมบัญชีกลางก็จะสามารถอนุมัติการเบิกจ่ายเงินอออกไปได้เร็ว
ส่วนการจัดหาวงเงินรองรับการเบิกจ่ายนั้น สบน.ยืนยันว่าไม่มีปัญหา สามารถจัดหาเงินให้ได้ทันอย่างแน่นอน และไม่จำเป็นต้องเร่งรีบระดมเงินจากตลาดเงินแต่อย่างใด เพราะจะเป็นการส่งสัญญาณผิดว่ากระทรวงการคลังต้องการใช้เงินด่วน ซึ่งจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยให้ปรับสูงขึ้น เหมือนกรณีกู้เงิน 1.1 แสนล้านบาทจาก 4 แบงก์ก่อนหน้านี้ที่มีต้นทุนสูงถึง 4.95% จนทำให้ต้องมีการเจรจาต่อรองลดลงมาเหลือ 1.98% ในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างเรียกสถาบันการเงิน 34 แห่งให้มายื่นเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยการปล่อยกู้ให้กระทรวงการคลัง วงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท เพื่อเตรียมเงินไว้สำหรับการเร่งเบิกจ่ายในช่วง 2-3 เดือนนี้ โดยจะเลือกสถาบันการเงินที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเหมือนครั้งก่อนที่ระดมเงินเข้ามาแล้ว 3 หมื่นล้านบาท
“กระทรวงการคลังไม่อยากกู้เงินมากองไว้เพราะจะมีผลต่อภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้สถาบันการเงินในอนาคต ดูจากเงินก้อนแรกของงบไทยเข้มแข็งที่กู้มา 3 หมื่นล้านบาทจนถึงขณะนี้ก็ยังใช้ไม่หมด ส่วนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งนั้นยังมีแผนจะออกล็อต 2 วงเงิน 2 หมื่นล้านบาทแต่ต้องชะลอออกไปก่อนอาจเป็นภายในไตรมาสแรกปีหน้า เนื่องจากต้องรอใช้เงินส่วนที่กู้จากสถาบันการเงินให้หมดก่อน อีกทั้งมองว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตใหม่นี้อาจจะมีต้นทุนสูงกว่าเดิมที่จ่ายดอกเบี้ยเฉลี่ย 4% เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยในตลาดน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น หากออกพันธบัตรในวงเงินที่สูงก็จะเป็นภาระของรัฐบาลมากกว่าเกินไป” แหล่งข่าวกล่าว.
แหล่งข่าวจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการประชุมเร่งรัดการติดตามการเบิกจ่ายงบในโครงการไทยเข้มแข็งล่าสุด ที่ประชุมได้ขยายเวลาให้แต่ละหน่วยงานส่งข้อมูลให้สำนักงบประมาณพิจารณาเพื่อขอจัดสรรเงินให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2553 จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ หลังจากพบว่าที่ผ่านมาการส่งข้อมูลโครงการใช้เงินของแต่ละหน่วยงานมีความล่าช้ามากโดยมีเพียง 38% ของวงเงินทั้งหมด 2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ตามกรอบเวลาการส่งข้อมูลใหม่นี้ได้ขอให้สำนักงบประมาณอนุมัติโครงการอย่างเร็วสุดภายในเดือนมกราคม 2553 และอย่างช้าต้องอนุมัติได้ทั้งหมดในวงเงิน 3.5 แสนล้านบาทภายเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งจากการส่งข้อมูลเข้ามาล้าช้าทำให้การเบิกจ่ายเงินออกไปจริงมีความล่าช้าตามไปด้วย จากที่สำนักงบฯ อนุมัติไปแล้ว 7- 8 หมื่นล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายจริงไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาทและส่วนใหญ่เป็นเงินเพิ่มทุนของสถาบันการเงินของรัฐกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท
สำหรับปัญหาที่พบส่วนหนึ่งเป็นเพราะหน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอโครงการมาให้สำนักงบประมาณล่าช้าเพราะต้องมีการระบุรายละเอียดค่อนข้างมากและแต่ละหน่วยงานก็มีหลายโครงการรวมแล้วทำให้มีวงเงินสูง ซึ่งแต่ละหน่วยงานไม่เคยได้รับงบประมาณพิเศษเช่นนี้มาก่อนจึงค่อนข้างสับสนและทำให้ปริมาณงานมากเกินกว่าที่รับไหว เพราะส่วนหนึ่งต้องมีการเบิกจ่ายงบประมาณตามปกติด้วย จึงเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะต้องไปเร่งรัดแต่ละหน่วยงานให้เร่งเสนอโครงการเข้ามาโดยเร็ว ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีการติดตามทุกสัปดาห์อยู่แล้ว โดยหากโครงการใดเสนอมาล่าช้ากว่าที่กำหนดก็จะพิจารณาตัดทิ้งทันที
“ต้องยอมรับว่าการเบิกจ่ายงบไทยเข้มแข็งจนถึงวันนี้ถือว่าช้ามาก โดยเฉพาะโครงการในส่วนของ 2 แสนล้านบาทนั้นเตรียมการมาตั้งแต่เดือนเมษายน โดยขณะนี้มีการอนุมัติจากสำนักงบประมาณไปเพียง 38% เท่านั้น ซึ่งเดิมกำหนดว่าทุกหน่วยงานต้องส่งโครงการมาภายในวันที่ 30 พ.ย.นี้ แต่จากตัวเลขดังกล่าวคงไม่ทันการที่ประชุมจึงกำหนดเส้นตายให้สำนักงบฯ ต้องอนุมัติโครงการทั้งหมดภายในเดือนมกราคา 2553 แต่สำนักงบฯ อ้างว่าคงทำไม่ทันจึงขอยืดเวลาเป็นอย่างช้าสุดเดือนมีนาคม 2553 แทน”แหล่งข่าวกล่าวและว่า เมื่อสำนักงบฯส่งเรื่องมาให้สบน.และกรมบัญชีกลางก็จะสามารถอนุมัติการเบิกจ่ายเงินอออกไปได้เร็ว
ส่วนการจัดหาวงเงินรองรับการเบิกจ่ายนั้น สบน.ยืนยันว่าไม่มีปัญหา สามารถจัดหาเงินให้ได้ทันอย่างแน่นอน และไม่จำเป็นต้องเร่งรีบระดมเงินจากตลาดเงินแต่อย่างใด เพราะจะเป็นการส่งสัญญาณผิดว่ากระทรวงการคลังต้องการใช้เงินด่วน ซึ่งจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยให้ปรับสูงขึ้น เหมือนกรณีกู้เงิน 1.1 แสนล้านบาทจาก 4 แบงก์ก่อนหน้านี้ที่มีต้นทุนสูงถึง 4.95% จนทำให้ต้องมีการเจรจาต่อรองลดลงมาเหลือ 1.98% ในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างเรียกสถาบันการเงิน 34 แห่งให้มายื่นเงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยการปล่อยกู้ให้กระทรวงการคลัง วงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท เพื่อเตรียมเงินไว้สำหรับการเร่งเบิกจ่ายในช่วง 2-3 เดือนนี้ โดยจะเลือกสถาบันการเงินที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเหมือนครั้งก่อนที่ระดมเงินเข้ามาแล้ว 3 หมื่นล้านบาท
“กระทรวงการคลังไม่อยากกู้เงินมากองไว้เพราะจะมีผลต่อภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้สถาบันการเงินในอนาคต ดูจากเงินก้อนแรกของงบไทยเข้มแข็งที่กู้มา 3 หมื่นล้านบาทจนถึงขณะนี้ก็ยังใช้ไม่หมด ส่วนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งนั้นยังมีแผนจะออกล็อต 2 วงเงิน 2 หมื่นล้านบาทแต่ต้องชะลอออกไปก่อนอาจเป็นภายในไตรมาสแรกปีหน้า เนื่องจากต้องรอใช้เงินส่วนที่กู้จากสถาบันการเงินให้หมดก่อน อีกทั้งมองว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตใหม่นี้อาจจะมีต้นทุนสูงกว่าเดิมที่จ่ายดอกเบี้ยเฉลี่ย 4% เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยในตลาดน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น หากออกพันธบัตรในวงเงินที่สูงก็จะเป็นภาระของรัฐบาลมากกว่าเกินไป” แหล่งข่าวกล่าว.