ASTVผู้จัดการรายวัน - กสิกรไทยรับสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้แผ่ว โตต่ำกว่าเป้าที่้ตั้งไว้ 7-9% หวังไตรมาส4 ภาคเกษตรกระเตื้องช่วยหนุนให้โตได้ 5% ส่วนแผนปีหน้ายังไม่เสร็จ แต่พร้อมสนับสนุนทุกธุรกิจ
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มาหชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของธนาคารเติบโตได้เสมอตัวที่ 0% จากเป้าหมายเมื่อตอนต้นปี 2552 ที่ธนาคารตั้งไว้ว่าทั้งปีนี้สินเชื่อเอสเอ็มอีจะเติบโต 7-9% แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย จึงมองว่าในปีนี้ธนาคารจะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมาย แต่คาดว่าสิ้นปีนี้ยอดสินเชื่อน่าจะเติบโตที่ 5%
"ในปีนี้ธนาคารคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีคงค้างของธนาคารทั้งปีนี้เพิ่มจาก 3.5 แสนล้านบาท ในปัจจุบันเป็น 3.8 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศอยู่ประมาณ 2.5 หมื่นราย ซึ่งมีเพียง 1 ใน 3 รายเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ โดยสาเหตุหลักที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากเนื่องจากประสบการณ์น้อยกว่า 3 ปี ทั้งๆ ที่เอสเอ็มอีเป็นธุรกิจที่มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ” นายปกรณ์ กล่าว
ทั้งนี้ ในไตรมาส 4 เชื่อว่าจะมีปัจจัยบวกที่คาดว่าน่าจะทำให้สินเชื่อเอสเอ็มอีเติบโตได้ ซึ่งจะมาจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวและเก็บสต๊อกสินค้าเกษตร ประกอบกับยังมีปัจจัยบวกจากโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลที่จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการค้าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งสินเชื่อที่เติบโตได้น่าจะมาจากการที่ลูกค้านำเงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการ มากกว่าเป็นการขอสินเชื่อระยะยาว
“อีก 2 เดือนที่เหลือ มองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เพราะฉะนั้นจึงต้องจับตามองอุปสรรคที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อ เช่น เสถียรภาพทางการเมือง หากยังไม่ชัดเจนก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศด้วย ส่วนจุดบอดของเอสเอ็มอี คือ ยังเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก จึงหันไปกู้เงินจากนอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยแพง นอกจากนี้ ยังขาดความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ และยังไม่มีระบบการจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยเฉพาะการทำตามเพื่อนที่ประสบความสำเร็จทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้ หรือไม่ก็เป็นเจ้าของคนเดียวต้องทำทุกอย่างเองทั้งหมด และ อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย”นายปกรณ์ กล่าว
สำหรับแผนธุรกิจทางด้านสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปี 2553 ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ธนาคารจะทำการแถลงข่าวถึงเป้าหมายสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีหน้า แต่อย่างไรก็ดี โดยส่วนตัวเชื่อว่าธุรกิจน่าจะดีขึ้น ตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ที่ 2.5-3.5% โดยหลักได้รับอานิสงส์จากโครงการไทยเข้มแข็ง ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าก็น่าจะฟื้นตัวได้ดีขึ้น
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มาหชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของธนาคารเติบโตได้เสมอตัวที่ 0% จากเป้าหมายเมื่อตอนต้นปี 2552 ที่ธนาคารตั้งไว้ว่าทั้งปีนี้สินเชื่อเอสเอ็มอีจะเติบโต 7-9% แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย จึงมองว่าในปีนี้ธนาคารจะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมาย แต่คาดว่าสิ้นปีนี้ยอดสินเชื่อน่าจะเติบโตที่ 5%
"ในปีนี้ธนาคารคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีคงค้างของธนาคารทั้งปีนี้เพิ่มจาก 3.5 แสนล้านบาท ในปัจจุบันเป็น 3.8 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศอยู่ประมาณ 2.5 หมื่นราย ซึ่งมีเพียง 1 ใน 3 รายเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ โดยสาเหตุหลักที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากเนื่องจากประสบการณ์น้อยกว่า 3 ปี ทั้งๆ ที่เอสเอ็มอีเป็นธุรกิจที่มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ” นายปกรณ์ กล่าว
ทั้งนี้ ในไตรมาส 4 เชื่อว่าจะมีปัจจัยบวกที่คาดว่าน่าจะทำให้สินเชื่อเอสเอ็มอีเติบโตได้ ซึ่งจะมาจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวและเก็บสต๊อกสินค้าเกษตร ประกอบกับยังมีปัจจัยบวกจากโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลที่จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการค้าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งสินเชื่อที่เติบโตได้น่าจะมาจากการที่ลูกค้านำเงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการ มากกว่าเป็นการขอสินเชื่อระยะยาว
“อีก 2 เดือนที่เหลือ มองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เพราะฉะนั้นจึงต้องจับตามองอุปสรรคที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อ เช่น เสถียรภาพทางการเมือง หากยังไม่ชัดเจนก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศด้วย ส่วนจุดบอดของเอสเอ็มอี คือ ยังเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก จึงหันไปกู้เงินจากนอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยแพง นอกจากนี้ ยังขาดความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ และยังไม่มีระบบการจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยเฉพาะการทำตามเพื่อนที่ประสบความสำเร็จทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้ หรือไม่ก็เป็นเจ้าของคนเดียวต้องทำทุกอย่างเองทั้งหมด และ อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย”นายปกรณ์ กล่าว
สำหรับแผนธุรกิจทางด้านสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปี 2553 ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ธนาคารจะทำการแถลงข่าวถึงเป้าหมายสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีหน้า แต่อย่างไรก็ดี โดยส่วนตัวเชื่อว่าธุรกิจน่าจะดีขึ้น ตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ที่ 2.5-3.5% โดยหลักได้รับอานิสงส์จากโครงการไทยเข้มแข็ง ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าก็น่าจะฟื้นตัวได้ดีขึ้น