ASTVผู้จัดการรายวัน-“เกียรติ” รับใบสั่ง “มาร์ค” เผยร่างกฎหมายค้าปลีกฉบับปชป. ถล่ม “เจ๊วา” ย้ำชัด ผู้ให้ใบอนุญาตตั้งห้างค้าปลีกยักษ์ในชุมชน ไม่ควรมีฝ่ายการเมือง-ผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนนั่งกรรมการ ชี้ 2 ร่างมีความแตกต่างกันที่ต้องแก้ไขย้ำการบังคับเวลาเปิด-ปิดเป็นทางออกสุดท้าย เผยเคยนัดเคลียร์ “รมว.พาณิชย์” แต่เวลาไม่ตรงกัน
นายเกียรติ สิทธิอมร ประธานคณะผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ... ที่ยกร่างโดยคณะผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) จากที่สมาชิกวุฒิสภาได้สอบถามนายอภิสิทธ์ เวชาชีวาะ นายกรัฐมนตรีถึงความคืบหน้าของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ในคราวเดินทางไปประชุมนอกรอบร่วมกับสมาชิกวุฒิ โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ ทีทีอาร์ร่วมยกร่าง เนื่องจากยังไม่เห็นว่า หน่วยงานในบ้างที่ได้มาดำเนินการ แต่ต่อมาก็ทราบว่า กระทรวงพาณิชย์ก็ได้ยกร่างฉบับนี้ขึ้นมาเช่นกัน ซึ่งร่างของกระทรวงพาณิชย์ก็ยกร่างขึ้นมาตั้งแต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีการทำประชาพิจารณ์กับผู้เกี่ยวข้องในระดับหนึ่ง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง ที่สำคัญมากกว่า คือสิ่งที่ได้รับทราบจากการทำประชาพิจารณ์มีการนำมาปรับในกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์หรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้ ตนเป็นที่ปรึกษาและจัดเรื่องนี้มากว่า 10 ปี ได้พยายามผลักดันให้ออกกฎหมายมาโดยตลอด ในสมัยที่เป็นฝ่ายค้านและเป็นรัฐมนตรีเงาพาณิชย์ โดยไดติดตามข้อปัญหามาตลอด สมัยเป็นที่ปรึกษา สนช.ได้รับความเห็นจากทุกกลุ่ม โดยเห็นว่า ร่างฉบับดังกล่าวของกระทรวพาณิชย์ยังเป็นที่น่าเป็นห่วง
สำหรับการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ซึ่งนายกฯก็อนุญาตให้เผยแพร่ได้ และไม่เกี่ยวว่า เป็นเรื่องที่ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกของ กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ถึง 2 ครั้ง โดยนายกฯเห็นชอบให้นำเสนอร่างฉบับนี้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อควบคู่กับร่างของกระทรวงพาณิชย์ คาดว่า จะเป็นวันที่ 2 ธ.ค.นี้ ถึงแม้จะยังไมได้ทำประชาพิจารณ์กฎหมายฉบับนี้ แต่ได้บรรจุข้อเป็นห่วงของกลุ่มต่าง ๆที่มีส่วนได้เสียที่ปรากฏในการจัดทำประชาพิจารณ์ลงไปในร่างฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ไม่เชื่อว่า ร่างกฎหมาย 2 ฉบับนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งของพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง พรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย
ย้ำ 2 ร่างกฎกติกามีความแตกต่างกัน
ขณะที่การยกร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้ศึกษากฎหมายลักษณะนี้ในประเทศต่าง ๆมีการระบุถึงข้อกฎหมาย เงื่อนไข รายละเอียด กติกาที่เขียนไว้อะไรบ้าง เพราะข้อเป็นห่วงมากที่สุดจากทุกฝ่าย ซึ่งได้ยกร่างในมาตรา 20 และ 21 ขึ้นมา ในเรื่องของการตั้ง “คณะกรรมการการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง” และให้อำนาจกรรมการ ที่มาจากข้าราชการประจำ 6 คน ภาคเอกชนและ ภาคประชาชน 6 คน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คนที่กระทรวงพาณิชย์เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ไม่มีกรรมการระดับจังหวัด มีเพียงกรรมการส่วนกลางที่จะพิจารณา ขณะที่ผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนก็ไม่สามารถเป็นกรรมการได้
นายเกียรติ กล่าวว่า หลักการการพิจารณาของกรรมการฯจะใช้เหตุผลใดเป็นหลักในการตัดสินใจ และเป็นตัวตั้ง ดังนั้นจึงดูปัญหาทั้งในและนอกประเทศมาเป็นโจทย์ เพื่อตั้งกติกาให้มีความชัดเจนที่สุด เพื่อที่จะให้ผู้ที่เข้ามาเป็นกรรมการภาครัฐและเอกชนสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเข้ามาเป็นหลักยึดที่ชัดเจนและประกาศเป็นการทั่วไป
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับร่างของกระทรวงพาณิชย์แล้วแม้จะไม่ต่างกันมาก แต่ในเรื่องของกฎกติกามีความแตกต่างกัน โดยหลักของร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้อยู่ร่วมกันได้ระหว่างค้าปลีกสมัยใหม่ กับร้านค้าปลีกดั้งเดิม(ร้านโชว์ห่วย) ร้านค่าปลีกรายใหญ่และรายย่อย ให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ผลิตสินค้าที่เข้าไปขายในห้างค้าปลีกรายใหญ่ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคและความเป็นธรรมในการแข่งขั้น ดังนั้นหลักของกฎหมายคือไม่ได้เลือกข้างหรือคุ้มครองผู้หนึ่งผู้ใดจนเกิดความเสียหายและได้ผลกระทบดังนั้นกรรมการที่จะพิจารณาอนุญาติจะต้องคำนึงถึง
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า ในร่างกฎหมายยังระบุว่า โดยทั่วไปแล้วถ้าในพื้นที่หรือชุมชนใดที่ยังไม่มีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ต้องการที่จะให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่อยู่ภายนอกชุมชน ซึ่งเป็นหลักการที่นำตัวอย่างมาจากต่างประเทศ จะมีผลดีคือไม่กระทบการจราจรในชุมชน ไม่กระทบกับร้านโชว์ห่วยในพื้นที่ และร้านโชว์ห่วยยังสามารถไปซื้อสินค้าจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่มาขายได้
ทั้งนี้ หากถามว่าหากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ จะขออนุญาตตั้งในชุมชนจะได้หรือไม่ ตอบว่าได้ แต่เราขียนไว้ว่า ก่อนที่จะอนุมัติ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ประการแรกต้องไปถามผู้ประกอบการที่เขาอยู่กันเดิม ๆว่า ในชุมชนนั้นมีใครบ้าง เขาค้าขายอะไรบ้าง เขามีพื้นที่ค้าขายอย่างไรบ้าง เพื่อเทียบกับจำนวนประชากรตัวจริงในพื้นที่ ก็คือหลักการหาความหน้าแน่นในพื้นที่ และเมื่อมีผลกระทบก็จะต้องศึกษาเพิ่มเติมว่าผู้ที่ขออนุญาตจะมีข้อเสนออะไรกลับมาหรือไม่ หรือกรรมการจะมีหลักอะไรให้ผู้ขออนุญาตกลับไปทำหรือไม่เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้
ชี้บังคับเปิด-ปิดห้างเป็นคำตอบสุดท้าย
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า ในเรื่องของความหนาแน่นของร้านค้าปลีกชุมชน จากที่ได้ไปดูตัวอย่างจากหลายประเทศ และศึกษาเรื่องของเวลาการเปิด-ปิดห้างที่มีปัญหา ได้ระบุในร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า หากจะไปกำกับดูแลการควบคุม ระยะเวลาทำการ ต้องให้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อหาคำตอบร่วมกันคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจะสามารถเข้าไปคุยกันห้างรายใหญ่ว่าได้รับผลกระทบอย่างไร และรายใหญ่ก็ต้องเปิดรายย่อยเข้ามาคุยกัน เช่น ในออสเตรเลียก็มีตัวอย่างว่า ห้างรายใหญ่จะเปิดปิดในเวลาหรือวันที่กำหนดเช่น ปิดในเวลา 17.00น-19.00น.และมาเปิดในอีกระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ร้านค้ารายย่อยสามารถเปิดทำการได้ หรือเปิดในบางวันหรือสัปดาห์นั้น ๆ แต่เราระบุไว้ว่า หากจะไปกำหนดเวลาเปิด-ปิดก็จะเป็นมาตรการสุดท้ายหากไม่มีหนทางอื่น ก็จะนำมาใช้ไม่ใช่ใช้อย่างพร่ำเพื่อ
ขณะที่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูงมาก ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือชุมชนใด กรรมการก็จะมีหน้าที่ ไปรับฟังความเห็นประชาชน หรือจัดทำโพลล์ว่ากลุ่มสนับสนุนและคัดค้านมีสัดส่วนเท่าไร หากผลลัพธ์ออกมาเกินร้อยละ 40 ในด้านใดด้านหนึ่งให้จัดทำประชามติหรือให้สิทธิกลับไปอยู่ชุมชนให้เลือกว่าต้องการห้างใหญ่ที่ทันสมัยหรือไม่ ซึ่งถือเป็นสิทธิต่อชุมชน ซึ่งจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตราสิทธิของชุมชน และจะไม่ใช่สิทธิของกรรมการที่จะให้เลือกข้างใด
ให้กรอบ 60 วันต้องชี้แจงคนเดือดร้อน
นายเกียรติ กล่าวว่า หลักการในเรื่องที่ได้รับร้องเรียนถึงความไม่เป็นธรรม ได้มีการยกร่างระบุว่า ผู้ผลิตสินค้าในพื้นที่ หรือผู้ผลิตสินค้ารายย่อย รายเล็กว่ามีกรณีสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ก็ให้อำนาจกรรมการในการเรียกเอกสารมาตรวจสอบ ไกล่เกลี่ย ปรับปรุง ถ้าไม่สำเร็จก็ยังมีอำนาจเข้ามาควบคุมได้ ขณะเดียวกันเมื่อมีอำนาจก็จะต้องมีความรับผิดชอบ โดยทุกคำร้องที่เสนอเข้ามากรรมการจะต้องพิจารณให้เสร็จภายในกรอบเวลา 60 วัน ณ วันที่ผู้ร้องยื่นเข้ามา ทั้งนี้มีกฎหมายรองรับเช่น กฎกมายการทำธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ...
อย่างไรก็ตามได้ระบุไว้ว่า ในบางพื้นที่ที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม และต้องใช้เวลามากกว่า 60 วัน เช่นพื้นที่ชุมชนทีมีร้านค้าปลีกความหนาแน่นอยู่แล้ว ก็สามารถเพิ่มการพิจารณาได้อีก 60 วัน
นายเกียรติ กล่าวด้วยว่า ขณะที่โครงสร้างกรรมการฯ ที่ร่างเดิม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน มีรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ รวมทั้งปลัดกกระทรวง อธิบดีกรมต่าง ๆมากเกินไป ปัญหามีว่า หากรัฐมนตรีไม่เรียกประชุมก็ไม่สามารถประชุมได้ ขณะที่ปลัดกระทรวงฯก็ต้องประชุมในกรรมการอีกหลายชุด เรื่องนี้จึงต้องมาดูว่าฝ่ายการเมือง ควรจะกำหนดเพียงเรื่องของนโยบาย กำกับกฎหมายให้มีความชัดเจน และผู้ปฏิบัติก็ควรจะเป็นฝ่ายราชการประจำ ที่น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า และผู้ปฏิบัติจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีฝ่ายการเมือง ดังนั้นประธานก็ควรจะเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ และมีองค์ประกอบ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมดูปลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น นอกจากนั้นยังระบุว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ ที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนหรือช่วยส่งออกสินค้าไทย กรรมการฯก็จะมีคะแนนพิเศษเข้ามา พิจารณาในการให้สิทธิในการให้อนุญาต
ส่วนการแบ่งพื้นที่ถือเป็นเรื่องที่น่าห่วง คือหากมีการกำหนดเขตพื้นที่ในกฎหมายและหากผู้ประกอบการหลบกฎหมายโดยการลดขนาดพื้นที่ ขณะที่การบังคับกฎหมายก็เป็นเรื่องยากที่ต้องใช้เวลา หรือจะขยับพื้นที่ก็ต้องแก้ไขกฎหมาย เช่น ถ้ากำหนด 1,000 ตร.ม. และมีการแก้เป็น 950 ตร.ม. เราจะให้แก้กฎหมายตามก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นจึงจะกำหนดพื้นที่เป็นกฎกระทรวง สามารถปรับและบังคับใช้ได้
เคยนัดคุย แต่เวลาไม่ตรงกัน
นายเกียรติ กล่าวด้วยว่า กรณีที่รมว.พาณิชย์ระบุว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่จำเป็นที่จะนำกฎหมายฉบับนี้มารวมกับร่างกฎหมายของรัฐบาล ถือว่าถูกต้องเพราะร่างกฎหมายบางฉบับก็เสนอมาคู่กัน หรือมากกว่า 3 ฉบับก็เคยมี แต่ประเด็นแต่ละร่างช่วยตอบปัญหาหรือตอบโจทย์ และปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ขณะเดียวกันยอมรับว่า ยังไม่ได้หารือกับรมว.พาณิชย์เพราะเวลาไม่ตรงกัน แม้จะเคยนัดขอทานข้าวกันมาแล้วก็ตาม
นายเกียรติ สิทธิอมร ประธานคณะผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง พ.ศ... ที่ยกร่างโดยคณะผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) จากที่สมาชิกวุฒิสภาได้สอบถามนายอภิสิทธ์ เวชาชีวาะ นายกรัฐมนตรีถึงความคืบหน้าของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ในคราวเดินทางไปประชุมนอกรอบร่วมกับสมาชิกวุฒิ โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ ทีทีอาร์ร่วมยกร่าง เนื่องจากยังไม่เห็นว่า หน่วยงานในบ้างที่ได้มาดำเนินการ แต่ต่อมาก็ทราบว่า กระทรวงพาณิชย์ก็ได้ยกร่างฉบับนี้ขึ้นมาเช่นกัน ซึ่งร่างของกระทรวงพาณิชย์ก็ยกร่างขึ้นมาตั้งแต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีการทำประชาพิจารณ์กับผู้เกี่ยวข้องในระดับหนึ่ง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง ที่สำคัญมากกว่า คือสิ่งที่ได้รับทราบจากการทำประชาพิจารณ์มีการนำมาปรับในกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์หรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้ ตนเป็นที่ปรึกษาและจัดเรื่องนี้มากว่า 10 ปี ได้พยายามผลักดันให้ออกกฎหมายมาโดยตลอด ในสมัยที่เป็นฝ่ายค้านและเป็นรัฐมนตรีเงาพาณิชย์ โดยไดติดตามข้อปัญหามาตลอด สมัยเป็นที่ปรึกษา สนช.ได้รับความเห็นจากทุกกลุ่ม โดยเห็นว่า ร่างฉบับดังกล่าวของกระทรวพาณิชย์ยังเป็นที่น่าเป็นห่วง
สำหรับการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ซึ่งนายกฯก็อนุญาตให้เผยแพร่ได้ และไม่เกี่ยวว่า เป็นเรื่องที่ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกของ กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ถึง 2 ครั้ง โดยนายกฯเห็นชอบให้นำเสนอร่างฉบับนี้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อควบคู่กับร่างของกระทรวงพาณิชย์ คาดว่า จะเป็นวันที่ 2 ธ.ค.นี้ ถึงแม้จะยังไมได้ทำประชาพิจารณ์กฎหมายฉบับนี้ แต่ได้บรรจุข้อเป็นห่วงของกลุ่มต่าง ๆที่มีส่วนได้เสียที่ปรากฏในการจัดทำประชาพิจารณ์ลงไปในร่างฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ไม่เชื่อว่า ร่างกฎหมาย 2 ฉบับนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งของพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง พรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย
ย้ำ 2 ร่างกฎกติกามีความแตกต่างกัน
ขณะที่การยกร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้ศึกษากฎหมายลักษณะนี้ในประเทศต่าง ๆมีการระบุถึงข้อกฎหมาย เงื่อนไข รายละเอียด กติกาที่เขียนไว้อะไรบ้าง เพราะข้อเป็นห่วงมากที่สุดจากทุกฝ่าย ซึ่งได้ยกร่างในมาตรา 20 และ 21 ขึ้นมา ในเรื่องของการตั้ง “คณะกรรมการการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง” และให้อำนาจกรรมการ ที่มาจากข้าราชการประจำ 6 คน ภาคเอกชนและ ภาคประชาชน 6 คน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คนที่กระทรวงพาณิชย์เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ไม่มีกรรมการระดับจังหวัด มีเพียงกรรมการส่วนกลางที่จะพิจารณา ขณะที่ผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนก็ไม่สามารถเป็นกรรมการได้
นายเกียรติ กล่าวว่า หลักการการพิจารณาของกรรมการฯจะใช้เหตุผลใดเป็นหลักในการตัดสินใจ และเป็นตัวตั้ง ดังนั้นจึงดูปัญหาทั้งในและนอกประเทศมาเป็นโจทย์ เพื่อตั้งกติกาให้มีความชัดเจนที่สุด เพื่อที่จะให้ผู้ที่เข้ามาเป็นกรรมการภาครัฐและเอกชนสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเข้ามาเป็นหลักยึดที่ชัดเจนและประกาศเป็นการทั่วไป
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับร่างของกระทรวงพาณิชย์แล้วแม้จะไม่ต่างกันมาก แต่ในเรื่องของกฎกติกามีความแตกต่างกัน โดยหลักของร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้อยู่ร่วมกันได้ระหว่างค้าปลีกสมัยใหม่ กับร้านค้าปลีกดั้งเดิม(ร้านโชว์ห่วย) ร้านค่าปลีกรายใหญ่และรายย่อย ให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ผลิตสินค้าที่เข้าไปขายในห้างค้าปลีกรายใหญ่ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคและความเป็นธรรมในการแข่งขั้น ดังนั้นหลักของกฎหมายคือไม่ได้เลือกข้างหรือคุ้มครองผู้หนึ่งผู้ใดจนเกิดความเสียหายและได้ผลกระทบดังนั้นกรรมการที่จะพิจารณาอนุญาติจะต้องคำนึงถึง
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า ในร่างกฎหมายยังระบุว่า โดยทั่วไปแล้วถ้าในพื้นที่หรือชุมชนใดที่ยังไม่มีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ต้องการที่จะให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่อยู่ภายนอกชุมชน ซึ่งเป็นหลักการที่นำตัวอย่างมาจากต่างประเทศ จะมีผลดีคือไม่กระทบการจราจรในชุมชน ไม่กระทบกับร้านโชว์ห่วยในพื้นที่ และร้านโชว์ห่วยยังสามารถไปซื้อสินค้าจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่มาขายได้
ทั้งนี้ หากถามว่าหากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ จะขออนุญาตตั้งในชุมชนจะได้หรือไม่ ตอบว่าได้ แต่เราขียนไว้ว่า ก่อนที่จะอนุมัติ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ประการแรกต้องไปถามผู้ประกอบการที่เขาอยู่กันเดิม ๆว่า ในชุมชนนั้นมีใครบ้าง เขาค้าขายอะไรบ้าง เขามีพื้นที่ค้าขายอย่างไรบ้าง เพื่อเทียบกับจำนวนประชากรตัวจริงในพื้นที่ ก็คือหลักการหาความหน้าแน่นในพื้นที่ และเมื่อมีผลกระทบก็จะต้องศึกษาเพิ่มเติมว่าผู้ที่ขออนุญาตจะมีข้อเสนออะไรกลับมาหรือไม่ หรือกรรมการจะมีหลักอะไรให้ผู้ขออนุญาตกลับไปทำหรือไม่เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้
ชี้บังคับเปิด-ปิดห้างเป็นคำตอบสุดท้าย
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า ในเรื่องของความหนาแน่นของร้านค้าปลีกชุมชน จากที่ได้ไปดูตัวอย่างจากหลายประเทศ และศึกษาเรื่องของเวลาการเปิด-ปิดห้างที่มีปัญหา ได้ระบุในร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า หากจะไปกำกับดูแลการควบคุม ระยะเวลาทำการ ต้องให้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อหาคำตอบร่วมกันคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจะสามารถเข้าไปคุยกันห้างรายใหญ่ว่าได้รับผลกระทบอย่างไร และรายใหญ่ก็ต้องเปิดรายย่อยเข้ามาคุยกัน เช่น ในออสเตรเลียก็มีตัวอย่างว่า ห้างรายใหญ่จะเปิดปิดในเวลาหรือวันที่กำหนดเช่น ปิดในเวลา 17.00น-19.00น.และมาเปิดในอีกระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ร้านค้ารายย่อยสามารถเปิดทำการได้ หรือเปิดในบางวันหรือสัปดาห์นั้น ๆ แต่เราระบุไว้ว่า หากจะไปกำหนดเวลาเปิด-ปิดก็จะเป็นมาตรการสุดท้ายหากไม่มีหนทางอื่น ก็จะนำมาใช้ไม่ใช่ใช้อย่างพร่ำเพื่อ
ขณะที่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูงมาก ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือชุมชนใด กรรมการก็จะมีหน้าที่ ไปรับฟังความเห็นประชาชน หรือจัดทำโพลล์ว่ากลุ่มสนับสนุนและคัดค้านมีสัดส่วนเท่าไร หากผลลัพธ์ออกมาเกินร้อยละ 40 ในด้านใดด้านหนึ่งให้จัดทำประชามติหรือให้สิทธิกลับไปอยู่ชุมชนให้เลือกว่าต้องการห้างใหญ่ที่ทันสมัยหรือไม่ ซึ่งถือเป็นสิทธิต่อชุมชน ซึ่งจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตราสิทธิของชุมชน และจะไม่ใช่สิทธิของกรรมการที่จะให้เลือกข้างใด
ให้กรอบ 60 วันต้องชี้แจงคนเดือดร้อน
นายเกียรติ กล่าวว่า หลักการในเรื่องที่ได้รับร้องเรียนถึงความไม่เป็นธรรม ได้มีการยกร่างระบุว่า ผู้ผลิตสินค้าในพื้นที่ หรือผู้ผลิตสินค้ารายย่อย รายเล็กว่ามีกรณีสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ก็ให้อำนาจกรรมการในการเรียกเอกสารมาตรวจสอบ ไกล่เกลี่ย ปรับปรุง ถ้าไม่สำเร็จก็ยังมีอำนาจเข้ามาควบคุมได้ ขณะเดียวกันเมื่อมีอำนาจก็จะต้องมีความรับผิดชอบ โดยทุกคำร้องที่เสนอเข้ามากรรมการจะต้องพิจารณให้เสร็จภายในกรอบเวลา 60 วัน ณ วันที่ผู้ร้องยื่นเข้ามา ทั้งนี้มีกฎหมายรองรับเช่น กฎกมายการทำธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ...
อย่างไรก็ตามได้ระบุไว้ว่า ในบางพื้นที่ที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม และต้องใช้เวลามากกว่า 60 วัน เช่นพื้นที่ชุมชนทีมีร้านค้าปลีกความหนาแน่นอยู่แล้ว ก็สามารถเพิ่มการพิจารณาได้อีก 60 วัน
นายเกียรติ กล่าวด้วยว่า ขณะที่โครงสร้างกรรมการฯ ที่ร่างเดิม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน มีรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ รวมทั้งปลัดกกระทรวง อธิบดีกรมต่าง ๆมากเกินไป ปัญหามีว่า หากรัฐมนตรีไม่เรียกประชุมก็ไม่สามารถประชุมได้ ขณะที่ปลัดกระทรวงฯก็ต้องประชุมในกรรมการอีกหลายชุด เรื่องนี้จึงต้องมาดูว่าฝ่ายการเมือง ควรจะกำหนดเพียงเรื่องของนโยบาย กำกับกฎหมายให้มีความชัดเจน และผู้ปฏิบัติก็ควรจะเป็นฝ่ายราชการประจำ ที่น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า และผู้ปฏิบัติจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีฝ่ายการเมือง ดังนั้นประธานก็ควรจะเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ และมีองค์ประกอบ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมดูปลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น นอกจากนั้นยังระบุว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ ที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนหรือช่วยส่งออกสินค้าไทย กรรมการฯก็จะมีคะแนนพิเศษเข้ามา พิจารณาในการให้สิทธิในการให้อนุญาต
ส่วนการแบ่งพื้นที่ถือเป็นเรื่องที่น่าห่วง คือหากมีการกำหนดเขตพื้นที่ในกฎหมายและหากผู้ประกอบการหลบกฎหมายโดยการลดขนาดพื้นที่ ขณะที่การบังคับกฎหมายก็เป็นเรื่องยากที่ต้องใช้เวลา หรือจะขยับพื้นที่ก็ต้องแก้ไขกฎหมาย เช่น ถ้ากำหนด 1,000 ตร.ม. และมีการแก้เป็น 950 ตร.ม. เราจะให้แก้กฎหมายตามก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นจึงจะกำหนดพื้นที่เป็นกฎกระทรวง สามารถปรับและบังคับใช้ได้
เคยนัดคุย แต่เวลาไม่ตรงกัน
นายเกียรติ กล่าวด้วยว่า กรณีที่รมว.พาณิชย์ระบุว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่จำเป็นที่จะนำกฎหมายฉบับนี้มารวมกับร่างกฎหมายของรัฐบาล ถือว่าถูกต้องเพราะร่างกฎหมายบางฉบับก็เสนอมาคู่กัน หรือมากกว่า 3 ฉบับก็เคยมี แต่ประเด็นแต่ละร่างช่วยตอบปัญหาหรือตอบโจทย์ และปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ขณะเดียวกันยอมรับว่า ยังไม่ได้หารือกับรมว.พาณิชย์เพราะเวลาไม่ตรงกัน แม้จะเคยนัดขอทานข้าวกันมาแล้วก็ตาม