นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้มีการแก้เกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสุทธิ (NCR)ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เพื่อเป็นการดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ฯมีฐานะทางการเงินที่แข็งแรงมากขึ้น แม้ปัจจุบันบล.ไทยจะมี NCR ที่แข็งแรงอยู่แล้ว หลังจากปีที่ผ่านมาสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาและยุโรปประสบปัญหาทางการเงินและเพื่อที่จะให้มั่นใจว่าโบรกเกอร์จะไม่สร้างหนี้ที่เกินตัว
ทั้งนี้ การเกณฑ์ดำรงNCRจะอยู่ที่ 7% ของหนี้สินทั่วไป โดยจะคำนวนจากหนี้สินทั่วไปหักด้วยหนี้สินพิเศษที่มีอายุเกิน 1 ปี แต่เกณฑ์ใหม่นี้กำหนดให้การหักหนี้สินพิเศษอายุเกิน 1 ปีนั้นจะต้องวางหลักประกันทั้งจำนวน ซึ่งหลักประกันนั้นจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง เช่น เงินสด เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้โดยหากหักหนี้สินพิเศษออกจำนวนมากก็จะทำให้หนี้สินทั่วไปน้อยลง และเมื่อหนี้สินทั่วไปมีจำนวนน้อยลงนั้นนั้นก็จะทำให้NCR ของโบรกเกอร์เพิ่มขึ้น
สำหรับ เกณฑ์ใหม่นี้จากการตรวจสอบฐานะทางการเงินของบล.ทั้งหมดจำนวน 39 แห่งนั้นพบว่า บล.ทั้งหมดมีฐานะทางการเงินที่แข็งแรงมาก โดยบล.ที่มี NCR ต่ำที่สุดอยู่ที่ 60-70% ส่วนบล.ที่มากสุดประมาณ 1,000% ซึ่งเรื่องแก้เกณฑ์ดังกล่าวนั้น คณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้เห็นชอบแล้ว และอยู่ระหว่างการร่างประกาศบังคับใช้ โดยคาดว่าจะประกาศบังคับใช้ได้ต้นปี 2553
นายประเวช กล่าวว่า จากการที่NCR ของบล.มีความแข็งแรงนั้นจะทำให้บล.เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างรายได้ในเรื่องการลง
ทุนมากขึ้น และบอร์ด ก.ล.ต. ยังมีมติอนุญาตให้โบรกเกอร์ต่างประเทศสามารถเผยแพร่บทวิเคราะห์หรือการให้เจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) มาให้คำแนะนำผู้ลงทุนไทยได้แต่ต้องดำเนินการผ่านโบรกเกอร์ไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่คัดเลือกโบรกเกอร์ต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ มีความสามารถและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรกำกับดูแลในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ IOSCO
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่นักลงทุนทั่วไปเกี่ยวกับหุ้นในต่างประเทศ ทำให้สามารถที่จะไปลงทุนต่างประเทศได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ( บลจ.) ที่นักลงทุนต้องเสียค่าธรรมเนียมและยังเป็นการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี หรือความรู้แก่
บล.ไทยและบล.ต่างประเทศเช่นกัน
ทั้งนี้ การเกณฑ์ดำรงNCRจะอยู่ที่ 7% ของหนี้สินทั่วไป โดยจะคำนวนจากหนี้สินทั่วไปหักด้วยหนี้สินพิเศษที่มีอายุเกิน 1 ปี แต่เกณฑ์ใหม่นี้กำหนดให้การหักหนี้สินพิเศษอายุเกิน 1 ปีนั้นจะต้องวางหลักประกันทั้งจำนวน ซึ่งหลักประกันนั้นจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง เช่น เงินสด เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้โดยหากหักหนี้สินพิเศษออกจำนวนมากก็จะทำให้หนี้สินทั่วไปน้อยลง และเมื่อหนี้สินทั่วไปมีจำนวนน้อยลงนั้นนั้นก็จะทำให้NCR ของโบรกเกอร์เพิ่มขึ้น
สำหรับ เกณฑ์ใหม่นี้จากการตรวจสอบฐานะทางการเงินของบล.ทั้งหมดจำนวน 39 แห่งนั้นพบว่า บล.ทั้งหมดมีฐานะทางการเงินที่แข็งแรงมาก โดยบล.ที่มี NCR ต่ำที่สุดอยู่ที่ 60-70% ส่วนบล.ที่มากสุดประมาณ 1,000% ซึ่งเรื่องแก้เกณฑ์ดังกล่าวนั้น คณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้เห็นชอบแล้ว และอยู่ระหว่างการร่างประกาศบังคับใช้ โดยคาดว่าจะประกาศบังคับใช้ได้ต้นปี 2553
นายประเวช กล่าวว่า จากการที่NCR ของบล.มีความแข็งแรงนั้นจะทำให้บล.เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างรายได้ในเรื่องการลง
ทุนมากขึ้น และบอร์ด ก.ล.ต. ยังมีมติอนุญาตให้โบรกเกอร์ต่างประเทศสามารถเผยแพร่บทวิเคราะห์หรือการให้เจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) มาให้คำแนะนำผู้ลงทุนไทยได้แต่ต้องดำเนินการผ่านโบรกเกอร์ไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่คัดเลือกโบรกเกอร์ต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ มีความสามารถและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรกำกับดูแลในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ IOSCO
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่นักลงทุนทั่วไปเกี่ยวกับหุ้นในต่างประเทศ ทำให้สามารถที่จะไปลงทุนต่างประเทศได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ( บลจ.) ที่นักลงทุนต้องเสียค่าธรรมเนียมและยังเป็นการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี หรือความรู้แก่
บล.ไทยและบล.ต่างประเทศเช่นกัน