ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยภาพรวมภาคธุรกิจมียอดเอ็นพีแอลลดลง 956 ล้านบาท ช่วงไตรมาส 3 แต่ก็มีธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหินกลับมีหนี้เพิ่มขึ้นสวนกระแส 7.42 พันล้านบาท และ327 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะเดียวกันธุรกิจการธนาคารและการเงินมีสัดส่วนลูกหนี้รายใหม่และรีเอ็นทรีลดลงมากที่สุดในระบบ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ซึ่งยังไม่ได้หักการกันสำรองตามประเภทธุรกิจล่าสุด ณ ไตรมาส 3 ของปีนี้ พบว่า ทั้งระบบมียอดเอ็นพีแอลคงค้างทั้งสิ้น 4.54 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 5.33%ต่อสินเชื่อรวม ลดลง 956 ล้านบาท หรือลดลง 0.24%
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ล้วนมีหนี้ลดลง มีเพียงธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหินกลับมียอดเพิ่มขึ้นสวนกระแส 7.42 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.87% และ327 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.68% ตามลำดับ จากปัจจุบันที่ธุรกิจอุตสาหกรรมมียอดเอ็นพีแอลคงค้างทั้งสิ้น 1.60 แสนล้านบาท ซึ่งมียอดคงค้างมากที่สุดในระบบ
ส่วนธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหินมียอดคงค้างเกือบ 2 พันล้านบาท
สำหรับภาคธุรกิจอื่นๆ มียอดเอ็นพีแอลลดลง ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีเอ็นพีแอลลดลงมากที่สุดในระบบ 2.35 พันล้านบาท รองลงมาเป็นการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 1.94 พันล้านบาท อันดับสาม คือ การบริการ 1.53 พันล้านบาท นอกจากนี้ธุรกิจการพาณิชย์ 998 ล้านบาท การธนาคารและธุรกิจการเงิน 749 ล้านบาท ก่อสร้าง 645 ล้านบาท การเกษตร ประมง และป่าไม้ 382 ล้านบาท การสาธารณูปโภค 102 ล้านบาท และธุรกิจอื่นๆ 2 ล้านบาท
หากพิจารณาเฉพาะสาเหตุการเพิ่มขึ้นที่สำคัญของเอ็นพีแอลในระบบ พบว่า ยอดเอ็นพีแอลที่เกิดจากลูกหนี้รายใหม่มียอดลดลง 6.22 พันล้านบาท ลดลง 16.82% โดยการธนาคารและธุรกิจการเงินมีสัดส่วนลูกหนี้รายใหม่ลดลงมากที่สุดถึง 87.92% รองลงมาเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 76.39% ธุรกิจก่อสร้าง 43.82% แต่ก็ยังมีธุรกิจบางประเภทที่มีกลับมีลูกหนี้รายใหม่เพิ่มขึ้นโดยธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหิน 158.82% ตามมาด้วยการบริการ 29.17% และธุรกิจการสาธารณูปโภค 21.93%
ขณะที่ลูกหนี้ที่เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่(รีเอ็นทรี) มียอดเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 2.09 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16.97% โดยธุรกิจที่มีรีเอ็นทรีเพิ่มขึ้น ได้แด่ ธุรกิจการธนาคารและธุรกิจการเงิน 1,050% อุตสาหกรรม 67.55% ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพยื 63.42% การสาธารณูปโภค 32.02% และธุรกิจการพาณิชย์ 5.43%
ส่วนหนี้ลดลงด้วยเหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากลูกหนี้รายใหม่หรือกลุ่มรีเอ็นทรี ลดลง 1.85 พันล้านบาท หรือลดลง 20.13% แต่ยังมีบางธุรกิจที่สวนทางภาพรวมที่มีหนี้เพิ่มขึ้นจากเหตุผลอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหินหนี้ 2,450% การธนาคารและธุรกิจการเงิน 875% การบริการ 111.62% ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 47.45% และการอุปโภคบริโภค 20.36%
นอกจากนี้ หากพิจารณาสาเหตุเอ็นพีแอลลดลงในทุกเหตุผลลดลง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้มียอดลดลง 1 พันล้านบาท หรือลดลง 7.78% โดยธุรกิจที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ลดลง ได้แก่ การธนาคารและธุรกิจการเงิน 85.71% การเหมืองแร่และย่อยหิน 83.44% การสาธารณูปโภค 46.64% อุตสาหกรรม 31.70% การพาณิชย์ 23.62%
ขณะที่เอ็นพีแอลลดลงด้วยเหตุผลอื่นๆ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน กรณีรับชำระหนี้หรือตัดหนี้สูญลดลง 1.33 หมื่นล้านบาท ลดลง 27.36% กรณีไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้โอนเป็นหนี้ปกติลดลง 4.54 พันล้านบาท ลดลง 42.10% นอกจากนี้ยังเป็น
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ซึ่งยังไม่ได้หักการกันสำรองตามประเภทธุรกิจล่าสุด ณ ไตรมาส 3 ของปีนี้ พบว่า ทั้งระบบมียอดเอ็นพีแอลคงค้างทั้งสิ้น 4.54 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 5.33%ต่อสินเชื่อรวม ลดลง 956 ล้านบาท หรือลดลง 0.24%
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ล้วนมีหนี้ลดลง มีเพียงธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหินกลับมียอดเพิ่มขึ้นสวนกระแส 7.42 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.87% และ327 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.68% ตามลำดับ จากปัจจุบันที่ธุรกิจอุตสาหกรรมมียอดเอ็นพีแอลคงค้างทั้งสิ้น 1.60 แสนล้านบาท ซึ่งมียอดคงค้างมากที่สุดในระบบ
ส่วนธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหินมียอดคงค้างเกือบ 2 พันล้านบาท
สำหรับภาคธุรกิจอื่นๆ มียอดเอ็นพีแอลลดลง ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีเอ็นพีแอลลดลงมากที่สุดในระบบ 2.35 พันล้านบาท รองลงมาเป็นการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 1.94 พันล้านบาท อันดับสาม คือ การบริการ 1.53 พันล้านบาท นอกจากนี้ธุรกิจการพาณิชย์ 998 ล้านบาท การธนาคารและธุรกิจการเงิน 749 ล้านบาท ก่อสร้าง 645 ล้านบาท การเกษตร ประมง และป่าไม้ 382 ล้านบาท การสาธารณูปโภค 102 ล้านบาท และธุรกิจอื่นๆ 2 ล้านบาท
หากพิจารณาเฉพาะสาเหตุการเพิ่มขึ้นที่สำคัญของเอ็นพีแอลในระบบ พบว่า ยอดเอ็นพีแอลที่เกิดจากลูกหนี้รายใหม่มียอดลดลง 6.22 พันล้านบาท ลดลง 16.82% โดยการธนาคารและธุรกิจการเงินมีสัดส่วนลูกหนี้รายใหม่ลดลงมากที่สุดถึง 87.92% รองลงมาเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 76.39% ธุรกิจก่อสร้าง 43.82% แต่ก็ยังมีธุรกิจบางประเภทที่มีกลับมีลูกหนี้รายใหม่เพิ่มขึ้นโดยธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหิน 158.82% ตามมาด้วยการบริการ 29.17% และธุรกิจการสาธารณูปโภค 21.93%
ขณะที่ลูกหนี้ที่เคยปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่(รีเอ็นทรี) มียอดเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 2.09 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16.97% โดยธุรกิจที่มีรีเอ็นทรีเพิ่มขึ้น ได้แด่ ธุรกิจการธนาคารและธุรกิจการเงิน 1,050% อุตสาหกรรม 67.55% ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพยื 63.42% การสาธารณูปโภค 32.02% และธุรกิจการพาณิชย์ 5.43%
ส่วนหนี้ลดลงด้วยเหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากลูกหนี้รายใหม่หรือกลุ่มรีเอ็นทรี ลดลง 1.85 พันล้านบาท หรือลดลง 20.13% แต่ยังมีบางธุรกิจที่สวนทางภาพรวมที่มีหนี้เพิ่มขึ้นจากเหตุผลอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจเหมืองแร่และย่อยหินหนี้ 2,450% การธนาคารและธุรกิจการเงิน 875% การบริการ 111.62% ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 47.45% และการอุปโภคบริโภค 20.36%
นอกจากนี้ หากพิจารณาสาเหตุเอ็นพีแอลลดลงในทุกเหตุผลลดลง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้มียอดลดลง 1 พันล้านบาท หรือลดลง 7.78% โดยธุรกิจที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ลดลง ได้แก่ การธนาคารและธุรกิจการเงิน 85.71% การเหมืองแร่และย่อยหิน 83.44% การสาธารณูปโภค 46.64% อุตสาหกรรม 31.70% การพาณิชย์ 23.62%
ขณะที่เอ็นพีแอลลดลงด้วยเหตุผลอื่นๆ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน กรณีรับชำระหนี้หรือตัดหนี้สูญลดลง 1.33 หมื่นล้านบาท ลดลง 27.36% กรณีไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้โอนเป็นหนี้ปกติลดลง 4.54 พันล้านบาท ลดลง 42.10% นอกจากนี้ยังเป็น