ธปท.เผย ธุรกิจบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ซบตามภาวะเศรษฐกิจ โดยปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนแค่ 6.4 พันล้านบาท ขณะที่ผู้ประกอบการทุกประเภทต่างมียอดเอ็นพีแอลลดลงกันถ้วนหน้า จากการที่เร่งตัดหนี้เสียออกจากบัญชี และเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้มากขึ้น หวังให้ได้หนี้กลับคืนมาเร็วขึ้น
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดสิ้นเดือน ธ.ค.หรือไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1.89 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ของปี 2551 จำนวน 7.84 พันล้านบาท คิดเป็น 4.32% และเพิ่มขึ้นจาก ธ.ค.2550 จำนวน 9.95 พันล้านบาท คิดเป็น 5.55% โดยธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น 7.78 พันล้านบาท นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 3.60 พันล้านบาท แต่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 1.42 พันล้านบาท
ขณะที่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีทั้งสิ้น 5.19 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 346 ล้านบาท คิดเป็น 6.25% และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนลดลง 659 ล้านบาท คิดเป็น 11.26% โดยธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างชาติ และนอนแบงก์ มีเอ็นพีแอลลดลง 7 ล้านบาท 417 ล้านบาท และ 235 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนปริมาณบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 12.99 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3.06 แสนใบ และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 9.84 แสนล้านใบ คิดเป็น 8.20%
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่มากนัก โดยสาเหตุเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตมีความระมัดระวังมากขึ้น โดยล่าสุดในระบบมีปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมมีทั้งสิ้น 8.65 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งรายไตรมาสและรายปี โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 1.21 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 16.31% และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน 6.74 พันล้านบาท คิดเป็น 8.45% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ 4.65 พันล้านบาท นอนแบงก์ 1.22 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 863 ล้านบาท
โดยหากแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 6.46 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 9.40 พันล้านบาท คิดเป็น 17.02% และเมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 6.19 พันล้านบาท คิดเป็น 10.47% ส่วนปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ 2.54 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 112 ล้านบาท ในสัดส่วน 4.62% และลดลงจากไตรมาสก่อน 399 ล้านบาท ลดลง 13.59% ซึ่งนอนแบงก์ลดลง 168 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ไทยลดลง 140 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 91 ล้านบาท
ขณะที่การเบิกเงินสดล่วงหน้า 1.93 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3.13 พันล้านบาท คิดเป็น 19.33% และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 501 ล้านบาท คิดเป็น 2.66% ซึ่งมีเพียงธนาคารพาณิชย์มียอดลดลง 56 ล้านบาท ขณะที่นอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติ เพิ่มขึ้นไม่มากนัก คือ 507 ล้านบาท และ 50 ล้านบาท ตามลำดับ
สายนโยบายสถาบันการเงิน แจ้งว่า สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.29 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 585 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.26% และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 1.73 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.18% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างชาติที่ลดลง 1.59 พันล้านบาท ส่วนธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นมากสุดในระบบ 1.69 หมื่นล้านบาท และนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 2 พันล้านบาท ขณะที่จำนวนบัญชีในระบบมีทั้งสิ้น 10.33 ล้านบัญชี ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 1.04 ล้านบัญชี และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนลดลง 5.13 แสนบัญชี
ทั้งนี้ การให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดังกล่าวมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 8.25 พันล้านบาท ลดลงไตรมาสก่อนก็ลดลง 1.06 พันล้านบาท หรือลดลง 11.41% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนลดลง 992 ล้านบาท หรือลดลง 10.73% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทมีเอ็นพีแอลลดลงถ้วนหน้า โดยธนาคารพาณิชย์ไทย ลดลง 303 ล้านบาท สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ 429 ล้านบาท และนอนแบงก์ 260 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลดลงของหนี้เอ็นพีแอลทั้งส่วนของบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น เกิดจากผู้ประกอบการต้องการตัดภาระหนี้เสียออกจากบัญชีทันทีแล้วส่งผ่านไปให้ฝ่ายติดตามหนี้ดำเนินการต่อ ซึ่งจะเป็นการติดตามทวงถาม หรือปรับโครงสร้างหนี้ตามแต่กรณี เพื่อไม่ให้เห็นตัวเลขหนี้เสียค้างอยู่จำนวนมาก และการติดตามทวงหนี้ที่เข้มข้นและรวดเร็ว จะทำให้มีโอกาสได้รับหนี้คืนมากขึ้น
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดสิ้นเดือน ธ.ค.หรือไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1.89 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ของปี 2551 จำนวน 7.84 พันล้านบาท คิดเป็น 4.32% และเพิ่มขึ้นจาก ธ.ค.2550 จำนวน 9.95 พันล้านบาท คิดเป็น 5.55% โดยธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น 7.78 พันล้านบาท นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 3.60 พันล้านบาท แต่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 1.42 พันล้านบาท
ขณะที่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีทั้งสิ้น 5.19 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 346 ล้านบาท คิดเป็น 6.25% และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนลดลง 659 ล้านบาท คิดเป็น 11.26% โดยธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างชาติ และนอนแบงก์ มีเอ็นพีแอลลดลง 7 ล้านบาท 417 ล้านบาท และ 235 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนปริมาณบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 12.99 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3.06 แสนใบ และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 9.84 แสนล้านใบ คิดเป็น 8.20%
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไม่มากนัก โดยสาเหตุเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตมีความระมัดระวังมากขึ้น โดยล่าสุดในระบบมีปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมมีทั้งสิ้น 8.65 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งรายไตรมาสและรายปี โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 1.21 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 16.31% และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน 6.74 พันล้านบาท คิดเป็น 8.45% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ 4.65 พันล้านบาท นอนแบงก์ 1.22 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 863 ล้านบาท
โดยหากแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 6.46 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 9.40 พันล้านบาท คิดเป็น 17.02% และเมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 6.19 พันล้านบาท คิดเป็น 10.47% ส่วนปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ 2.54 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 112 ล้านบาท ในสัดส่วน 4.62% และลดลงจากไตรมาสก่อน 399 ล้านบาท ลดลง 13.59% ซึ่งนอนแบงก์ลดลง 168 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ไทยลดลง 140 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 91 ล้านบาท
ขณะที่การเบิกเงินสดล่วงหน้า 1.93 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3.13 พันล้านบาท คิดเป็น 19.33% และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 501 ล้านบาท คิดเป็น 2.66% ซึ่งมีเพียงธนาคารพาณิชย์มียอดลดลง 56 ล้านบาท ขณะที่นอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติ เพิ่มขึ้นไม่มากนัก คือ 507 ล้านบาท และ 50 ล้านบาท ตามลำดับ
สายนโยบายสถาบันการเงิน แจ้งว่า สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.29 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 585 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.26% และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 1.73 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.18% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างชาติที่ลดลง 1.59 พันล้านบาท ส่วนธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นมากสุดในระบบ 1.69 หมื่นล้านบาท และนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 2 พันล้านบาท ขณะที่จำนวนบัญชีในระบบมีทั้งสิ้น 10.33 ล้านบัญชี ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 1.04 ล้านบัญชี และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนลดลง 5.13 แสนบัญชี
ทั้งนี้ การให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดังกล่าวมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 8.25 พันล้านบาท ลดลงไตรมาสก่อนก็ลดลง 1.06 พันล้านบาท หรือลดลง 11.41% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนลดลง 992 ล้านบาท หรือลดลง 10.73% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทมีเอ็นพีแอลลดลงถ้วนหน้า โดยธนาคารพาณิชย์ไทย ลดลง 303 ล้านบาท สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ 429 ล้านบาท และนอนแบงก์ 260 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลดลงของหนี้เอ็นพีแอลทั้งส่วนของบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น เกิดจากผู้ประกอบการต้องการตัดภาระหนี้เสียออกจากบัญชีทันทีแล้วส่งผ่านไปให้ฝ่ายติดตามหนี้ดำเนินการต่อ ซึ่งจะเป็นการติดตามทวงถาม หรือปรับโครงสร้างหนี้ตามแต่กรณี เพื่อไม่ให้เห็นตัวเลขหนี้เสียค้างอยู่จำนวนมาก และการติดตามทวงหนี้ที่เข้มข้นและรวดเร็ว จะทำให้มีโอกาสได้รับหนี้คืนมากขึ้น