ธปท.เผยแม้ประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น แต่ด้วยราคาสินค้าที่แพงขึ้น ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตมียอดใช้จ่ายโดยรวมทั้งสิ้น 7.81 หมื่นล้านบาทในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.73 พันล้านบาท ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างรวม 1.79 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 246 ล้านบาท แบงก์พาณิชย์ไทยมียอดคงค้าง 6.21 หมื่นล้านบาท แต่สาขาธนาคารต่างชาติยอดสินเชื่อลดลง 586 ล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า การให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 พบว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้พฤติกรรมของผู้ถือบัตรเครดิตมีการใช้จ่ายระมัดระวังมากขึ้น เพื่อไม่ให้ก่อหนี้เกินตัว แต่ด้วยปัจจัยที่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูง ทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้น จึงมีผลให้ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตดูเหมือนยังเพิ่มขึ้นอยู่ โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 9.78 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 14.32% และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้น 2.73 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่มีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 7.81 หมื่นล้านบาท
โดยแบ่งเป็นปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ 5.75 หมื่นล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ 3.25 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 7.29 พันล้านบาท คิดเป็น 14.50% และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.53 พันล้านบาท ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้า 1.73 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีเพียงบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ประเภทเดียวที่มีการเบิกจ่ายเงินสดล่วงหน้าลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 20 ล้านบาท
ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตในเดือนนี้มีทั้งสิ้น 1.79 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.7 พันล้านบาท คิดเป็น 5.71% และเพิ่มขึ้น 246 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 6.21 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 8.26 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 3.46 หมื่นล้านบาท ซึ่งสาขาธนาคารต่างชาติเป็นสถาบันการเงินเดียวที่มียอดสินเชื่อลดลงถึง 586 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ขณะที่ปริมาณบัตรเครดิตในระบบยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 1.18 ล้านใบ คิดเป็น 10.43% และเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1.21 แสนใบ จากปัจจุบันที่มีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 12.48 ล้านใบ ซึ่งแบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 4.76 ล้านใบ นอนแบงก์ 6.36 ล้านใบ และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.35 ล้านใบ
สายนโยบายสถาบันการเงินยังได้แจ้งยอดสินเชื่อส่วนบุคคลล่าสุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 เช่นกัน ซึ่งสถาบันการเงินในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งสิ้น 2.16 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 1.75 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.81% และเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 2.42 พันล้านบาท โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไทยยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 1.01 แสนล้านบาท นอนแบงก์ 9.37 หมื่นล้านบาท และอีก 2.18 หมื่นล้านบาทเป็นยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลของสาขาธนาคารต่างชาติ ซึ่งเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนหน้ามียอดคงค้างลดลง 1.50 พันล้านบาท 246 ล้านบาท
ขณะเดียวกันในระบบมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 11.20 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 6.47 แสนบัญชี คิดเป็น 6.14% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 8.56 หมื่นบัญชี โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไทยมีจำนวน 1.95 ล้านบัญชี นอนแบงก์ 8.47 ล้านบัญชี และสาขาต่างชาติ 7.7 แสนบัญชี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า การให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 พบว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้พฤติกรรมของผู้ถือบัตรเครดิตมีการใช้จ่ายระมัดระวังมากขึ้น เพื่อไม่ให้ก่อหนี้เกินตัว แต่ด้วยปัจจัยที่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูง ทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้น จึงมีผลให้ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตดูเหมือนยังเพิ่มขึ้นอยู่ โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 9.78 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 14.32% และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้น 2.73 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่มีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 7.81 หมื่นล้านบาท
โดยแบ่งเป็นปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ 5.75 หมื่นล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ 3.25 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 7.29 พันล้านบาท คิดเป็น 14.50% และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.53 พันล้านบาท ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้า 1.73 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีเพียงบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ประเภทเดียวที่มีการเบิกจ่ายเงินสดล่วงหน้าลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 20 ล้านบาท
ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตในเดือนนี้มีทั้งสิ้น 1.79 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.7 พันล้านบาท คิดเป็น 5.71% และเพิ่มขึ้น 246 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยธนาคารพาณิชย์ไทยมียอดคงค้างสินเชื่อทั้งสิ้น 6.21 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 8.26 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 3.46 หมื่นล้านบาท ซึ่งสาขาธนาคารต่างชาติเป็นสถาบันการเงินเดียวที่มียอดสินเชื่อลดลงถึง 586 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ขณะที่ปริมาณบัตรเครดิตในระบบยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 1.18 ล้านใบ คิดเป็น 10.43% และเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1.21 แสนใบ จากปัจจุบันที่มีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 12.48 ล้านใบ ซึ่งแบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 4.76 ล้านใบ นอนแบงก์ 6.36 ล้านใบ และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.35 ล้านใบ
สายนโยบายสถาบันการเงินยังได้แจ้งยอดสินเชื่อส่วนบุคคลล่าสุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 เช่นกัน ซึ่งสถาบันการเงินในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งสิ้น 2.16 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 1.75 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.81% และเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 2.42 พันล้านบาท โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไทยยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 1.01 แสนล้านบาท นอนแบงก์ 9.37 หมื่นล้านบาท และอีก 2.18 หมื่นล้านบาทเป็นยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลของสาขาธนาคารต่างชาติ ซึ่งเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนหน้ามียอดคงค้างลดลง 1.50 พันล้านบาท 246 ล้านบาท
ขณะเดียวกันในระบบมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 11.20 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 6.47 แสนบัญชี คิดเป็น 6.14% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 8.56 หมื่นบัญชี โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไทยมีจำนวน 1.95 ล้านบัญชี นอนแบงก์ 8.47 ล้านบัญชี และสาขาต่างชาติ 7.7 แสนบัญชี