กระทรวงการคลังรายงานฐานะการคลังไตรมาส 3 รัฐบาลเกินดุลสูงถึง 1.61 แสนล้านบาท ระบุอยู่ในช่วงนิติบุคคลยื่นชำระภาษีประจำปี ส่งผล 9 เดือนแรกดุลการคลังภาครัฐบาลขาดดุลเพียง 38 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตได้ในระดับ 5.0 – 6.0% ในปี 51
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนะกงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบ สศค. (Government Finance Statistics: GFS) ว่า ผลการดำเนินงานของภาครัฐบาลในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2551 ดุลการคลังภาครัฐบาลเกินดุล 1.61 แสนล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลของรัฐบาล 1.43 แสนล้านบาท ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เกินดุล 17,959 ล้านบาท
โดยรัฐบาลมีรายได้ 5.18 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 12.8% โดยภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตราสูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีสุรา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้านรายจ่ายมีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 4.12 แสน ล้านบาท ลดลง 12,549 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า ดังนั้น หลังจากเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2550 จึงทำให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นมา
สำหรับดุลงบประมาณ ผลจากการที่รายได้รัฐบาลสูงกว่ารายจ่ายส่งผลให้ดุลงบประมาณในช่วงไตรมาสที่ 3 เกินดุล 1.05 แสนล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 3.42 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
ในขณะที่ดุลการคลังของรัฐบาล เมื่อรวมดุลงบประมาณและดุลบัญชีนอกงบประมาณและหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศออกแล้ว ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลเกินดุลทั้งสิ้น 1.43 แสนล้านบาท โดยดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2551 เกินดุลทั้งสิ้น 1.60 แสนล้านบาท เกินดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่เกินดุล 9.7 หมื่นล้านบาท ด้านดุลการคลังของ อปท. คาดว่าจะมีรายได้ทั้งสิ้น 97,042 ล้านบาท และมีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 79,083 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลัง อปท. เกินดุล 17,959 ล้านบาท
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ภาครัฐบาลขาดดุลเพียง 38 ล้านบาท เทียบกับปีที่แล้วที่เกินดุล 1.3 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลของรัฐบาลจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ อปท. เกินดุล 1.2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ดุลงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น 4.79 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลมีรายได้ 1.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.4% โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มขึ้น 18.8% ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้น 13.9% ในขณะที่มีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 1.22 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9%
ดุลการคลังของรัฐบาล จากดุลงบประมาณที่ขาดดุลและดุลบัญชีนอกงบประมาณที่เกินดุล เมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้ว ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 1.26 หมื่นล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 เกินดุล 5.5 หมื่นล้านบาท โดยเกินดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา 7,071 ล้านบาท ขณะที่ ดุลการคลังของ อปท. คาดว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 อปท. มีรายได้ทั้งสิ้น 2.53 แสนล้านบาท และรายจ่ายจำนวน 2.40 แสนล้านบาท ส่งผลให้เกินดุลการคลังจำนวน 1.25 หมื่นล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนะกงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบ สศค. (Government Finance Statistics: GFS) ว่า ผลการดำเนินงานของภาครัฐบาลในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2551 ดุลการคลังภาครัฐบาลเกินดุล 1.61 แสนล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลของรัฐบาล 1.43 แสนล้านบาท ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เกินดุล 17,959 ล้านบาท
โดยรัฐบาลมีรายได้ 5.18 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 12.8% โดยภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตราสูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีสุรา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้านรายจ่ายมีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 4.12 แสน ล้านบาท ลดลง 12,549 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า ดังนั้น หลังจากเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2550 จึงทำให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นมา
สำหรับดุลงบประมาณ ผลจากการที่รายได้รัฐบาลสูงกว่ารายจ่ายส่งผลให้ดุลงบประมาณในช่วงไตรมาสที่ 3 เกินดุล 1.05 แสนล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 3.42 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
ในขณะที่ดุลการคลังของรัฐบาล เมื่อรวมดุลงบประมาณและดุลบัญชีนอกงบประมาณและหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศออกแล้ว ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลเกินดุลทั้งสิ้น 1.43 แสนล้านบาท โดยดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2551 เกินดุลทั้งสิ้น 1.60 แสนล้านบาท เกินดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่เกินดุล 9.7 หมื่นล้านบาท ด้านดุลการคลังของ อปท. คาดว่าจะมีรายได้ทั้งสิ้น 97,042 ล้านบาท และมีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 79,083 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลัง อปท. เกินดุล 17,959 ล้านบาท
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ภาครัฐบาลขาดดุลเพียง 38 ล้านบาท เทียบกับปีที่แล้วที่เกินดุล 1.3 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลของรัฐบาลจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ อปท. เกินดุล 1.2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ดุลงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น 4.79 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลมีรายได้ 1.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.4% โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เพิ่มขึ้น 18.8% ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้น 13.9% ในขณะที่มีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 1.22 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9%
ดุลการคลังของรัฐบาล จากดุลงบประมาณที่ขาดดุลและดุลบัญชีนอกงบประมาณที่เกินดุล เมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้ว ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 1.26 หมื่นล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 เกินดุล 5.5 หมื่นล้านบาท โดยเกินดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา 7,071 ล้านบาท ขณะที่ ดุลการคลังของ อปท. คาดว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 อปท. มีรายได้ทั้งสิ้น 2.53 แสนล้านบาท และรายจ่ายจำนวน 2.40 แสนล้านบาท ส่งผลให้เกินดุลการคลังจำนวน 1.25 หมื่นล้านบาท