กระทรวงการคลังเผยระบบกระแสเงินสดรัฐ เดือน มี.ค. ขาดดุล 2.4 หมื่นล้าน เป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐที่ต้องการเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้โตไม่ต่ำกว่า 5%
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมีนาคม 2551ว่า รัฐบาลขาดดุลเงินสด 24,198 ล้านบาท มีผลทำให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 173,387 ล้านบาท ต่ำกว่าการขาดดุลช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.5 โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 168,133 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 5,254 ล้านบาท
"การขาดดุลดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตในระดับร้อยละ 5.0 ในปี 2551" นายสมชัยระบุ
สำหรับฐานะการคลังเดือนมีนาคม 2551 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 87,142 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 19,573 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.3 เป็นผลมาจากในเดือนเดียวกันปีที่แล้วมีรายได้จากส่วนเกินพันธบัตรจำนวน 3,537 ล้านบาท ในขณะที่ปีปัจจุบันไม่มีรายได้ส่วนนี้เข้ามา นอกจากนั้นในเดือนนี้ยังมีการจัดสรรเงินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พรบ. กำหนดแผนฯ (งวดที่ 2) จำนวน 11,233 ล้านบาท (ปีที่ผ่านมาจัดสรรงวดที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม)
รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 125,147 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.5 โดยรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 6.0 และร้อยละ 37.5 ตามลำดับ เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า ดังนั้น หลังจากเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2550 ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นมา และจากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมีนาคม 2551 ขาดดุล 38,005 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 13,807 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการออกตั๋วเงินคลังสุทธิ ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลลดลงเหลือ 24,198 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินด้วยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 11,178 ล้านบาทเพื่อชดเชยการขาดดุลดังกล่าว
ส่วนฐานะการคลังในช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 – มีนาคม 2551) รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 627,348 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียง 21,426 ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ เนื่องจากในปีนี้ได้จัดสรรเงินให้แก่ อปท. ตาม พรบ กำหนดแผนฯ ไปแล้ว 2 งวด จำนวน 21,248 ล้านบาท ในขณะที่ปีที่แล้วได้จัดสรรงวดแรกในเดือนเมษายน 2550 สำหรับการจัดเก็บภาษีหลัก ๆ ของรัฐบาลยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอากรขาเข้า เป็นต้น
ขณะที่รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 795,481 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 58,034 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 726,978 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 43.8 ของวงเงินงบประมาณ (1,660,000 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 42.4 ของวงเงินงบประมาณ (1,566,200 ล้านบาท) และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 68,503 ล้านบาท
"รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 168,133 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 5,254 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 173,387 ล้านบาท รัฐบาลชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินรวม 85,448 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 87,939 ล้านบาท" นายสมชัยกล่าว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมีนาคม 2551ว่า รัฐบาลขาดดุลเงินสด 24,198 ล้านบาท มีผลทำให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 173,387 ล้านบาท ต่ำกว่าการขาดดุลช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.5 โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 168,133 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 5,254 ล้านบาท
"การขาดดุลดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตในระดับร้อยละ 5.0 ในปี 2551" นายสมชัยระบุ
สำหรับฐานะการคลังเดือนมีนาคม 2551 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 87,142 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 19,573 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.3 เป็นผลมาจากในเดือนเดียวกันปีที่แล้วมีรายได้จากส่วนเกินพันธบัตรจำนวน 3,537 ล้านบาท ในขณะที่ปีปัจจุบันไม่มีรายได้ส่วนนี้เข้ามา นอกจากนั้นในเดือนนี้ยังมีการจัดสรรเงินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พรบ. กำหนดแผนฯ (งวดที่ 2) จำนวน 11,233 ล้านบาท (ปีที่ผ่านมาจัดสรรงวดที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม)
รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 125,147 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.5 โดยรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 6.0 และร้อยละ 37.5 ตามลำดับ เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า ดังนั้น หลังจากเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2550 ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นมา และจากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมีนาคม 2551 ขาดดุล 38,005 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 13,807 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการออกตั๋วเงินคลังสุทธิ ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลลดลงเหลือ 24,198 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินด้วยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 11,178 ล้านบาทเพื่อชดเชยการขาดดุลดังกล่าว
ส่วนฐานะการคลังในช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 – มีนาคม 2551) รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 627,348 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียง 21,426 ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ เนื่องจากในปีนี้ได้จัดสรรเงินให้แก่ อปท. ตาม พรบ กำหนดแผนฯ ไปแล้ว 2 งวด จำนวน 21,248 ล้านบาท ในขณะที่ปีที่แล้วได้จัดสรรงวดแรกในเดือนเมษายน 2550 สำหรับการจัดเก็บภาษีหลัก ๆ ของรัฐบาลยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอากรขาเข้า เป็นต้น
ขณะที่รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 795,481 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 58,034 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 726,978 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 43.8 ของวงเงินงบประมาณ (1,660,000 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 42.4 ของวงเงินงบประมาณ (1,566,200 ล้านบาท) และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 68,503 ล้านบาท
"รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 168,133 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 5,254 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 173,387 ล้านบาท รัฐบาลชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินรวม 85,448 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 87,939 ล้านบาท" นายสมชัยกล่าว