กระทรวงการคลังเผยครึ่งแรกปีงบประมาณ 51 (ต.ค.50-มี.ค.51) มีเม็ดเงินจากภาคการคลังถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น 1.57 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.7% ของจีดีพี โดยขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ให้ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5 – 6
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบเศรษฐกิจการคลัง ว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้แล้วจำนวน 67,248 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 มีเม็ดเงินจากภาคการคลัง ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้วกว่า 156,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล เป็นการขาดดุลของรัฐบาลจำนวน 1.64 แสนล้านบาท ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เกินดุล 7.17 พันล้านบาท
"การขาดดุลดังกล่าว เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ในการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตได้ในระดับร้อยละ 5.0-6.0 ในปี 2551" นายสมชัยกล่าวและว่า ในไตรมาสสองของปีงบประมาณ 51 (ม.ค.-มี.ค.51) รัฐบาลขาดดุลการคลัง 6.72 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.7% ของจีดีพี
การขาดดุลดังกล่าว ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6.84 พันล้านบาท หรือลดลง 9.2% เนื่องจากผลของฐานที่สูงในปีที่ผ่านมา เพราะ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่แล้ว มีผลบังคับใช้ล่าช้าโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.50 ทำให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือน ก.พ.50
สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลช่วงไตรมาส 2 ของปี 2551 รัฐบาลมีรายได้กว่า 328,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.8 จากการจัดเก็บรายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสุรา และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บได้ในอัตราสูง ขณะที่การใช้จ่ายงบประมาณมีประมาณ 424,740 ล้านบาท ลดลง 7,592 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีรายจ่ายทั้งสิ้น กว่า 432,300 ล้านบาท เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบเศรษฐกิจการคลัง ว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้แล้วจำนวน 67,248 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 มีเม็ดเงินจากภาคการคลัง ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้วกว่า 156,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล เป็นการขาดดุลของรัฐบาลจำนวน 1.64 แสนล้านบาท ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เกินดุล 7.17 พันล้านบาท
"การขาดดุลดังกล่าว เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ในการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตได้ในระดับร้อยละ 5.0-6.0 ในปี 2551" นายสมชัยกล่าวและว่า ในไตรมาสสองของปีงบประมาณ 51 (ม.ค.-มี.ค.51) รัฐบาลขาดดุลการคลัง 6.72 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.7% ของจีดีพี
การขาดดุลดังกล่าว ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 6.84 พันล้านบาท หรือลดลง 9.2% เนื่องจากผลของฐานที่สูงในปีที่ผ่านมา เพราะ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่แล้ว มีผลบังคับใช้ล่าช้าโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.50 ทำให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือน ก.พ.50
สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลช่วงไตรมาส 2 ของปี 2551 รัฐบาลมีรายได้กว่า 328,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.8 จากการจัดเก็บรายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสุรา และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บได้ในอัตราสูง ขณะที่การใช้จ่ายงบประมาณมีประมาณ 424,740 ล้านบาท ลดลง 7,592 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีรายจ่ายทั้งสิ้น กว่า 432,300 ล้านบาท เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า