คลังมั่นใจเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ 5–6% ตามเป้า หลังไตรมาสที่ 2 รัฐบาลสามารถอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้วกว่า 67,200 ล้านบาทส่งผลให้ครึ่งปีแรกมีเงินกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว 156,800 ล้านบาท
วันนี้(2 พ.ค.) นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบเศรษฐกิจการคลัง ว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้แล้วจำนวน 67,248 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 มีเม็ดเงินจากภาคการคลัง ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้วกว่า 156,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 5 – 6
สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลช่วงไตรมาส 2 ของปี 2551 รัฐบาลมีรายได้กว่า 328,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.8 จากการจัดเก็บรายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสุรา และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บได้ในอัตราสูง ขณะที่การใช้จ่ายงบประมาณมีประมาณ 424,740 ล้านบาท ลดลง 7,592 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีรายจ่ายทั้งสิ้น กว่า 432,300 ล้านบาท เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า
วันนี้(2 พ.ค.) นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบเศรษฐกิจการคลัง ว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้แล้วจำนวน 67,248 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 มีเม็ดเงินจากภาคการคลัง ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้วกว่า 156,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 5 – 6
สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลช่วงไตรมาส 2 ของปี 2551 รัฐบาลมีรายได้กว่า 328,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.8 จากการจัดเก็บรายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสุรา และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บได้ในอัตราสูง ขณะที่การใช้จ่ายงบประมาณมีประมาณ 424,740 ล้านบาท ลดลง 7,592 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีรายจ่ายทั้งสิ้น กว่า 432,300 ล้านบาท เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ล่าช้า