ผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่นอนแบงก์กลับสวนกระแสระบบเพิ่มขึ้น 444.05 ล้านบาท ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายภายในประเทศเริ่มกระเตื้องขึ้นในส่วนของสถาบันการเงินทุกประเภท แต่ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศและการเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลโดยรวมเพิ่มขึ้น 1,544 ล้านบาทตามปริมาณบัตรที่เพิ่มขึ้น
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศภาพรวมการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตทั้งสิ้น 73,531.43 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 88.44 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.12% ซึ่งมีปริมาณการใช้จ่ายลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมาตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยผู้บริการบัตรเครดิตในส่วนของธนาคารพาณิชย์และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 470.46 ล้านบาท และ62.03 ล้านบาท ขณะที่ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของบริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 444.05 ล้านบาท
ทั้งนี้ บัตรเครดิตที่มีการใช้จ่ายในประเทศมีปริมาณทั้งสิ้น 53,770.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 754.85 ล้านบาท คิดเป็น 1.42% โดยผู้บริการบัตรเครดิตในส่วนนอนแบงก์มีปริมาณการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 491.03 ล้านบาท จากเดือนพ.ค.ที่มีปริมาณการใช้จ่ายที่ 18,346.93 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 202.63 ล้านบาท จากปริมาณที่มีอยู่ 27,000.83 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้น 61.19 ล้านบาท จากยอดปัจจุบันที่มีอยู่ 8,422.80 ล้านบาท
ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีจำนวน 3,171.06 ล้านบาท ลดลง 737.39 ล้านบาท หรือลดลง 18.87% ซึ่งเป็นการลดลงของสถาบันการเงินทุกประเภท ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้ามีจำนวน 16,589.81 ล้านบาท ลดลง 105.90 ล้านบาท หรือลดลง 0.63% ซึ่งธนาคารพาณิชย์มียอดลดลง 376.18 ล้านบาท ส่วนนอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติยังเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 226.43 ล้านบาท และ 62.03 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับยอดสินเชื่อคงค้างของธุรกิจบัตรเครดิตในเดือนนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 450.99 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.26% จากปัจจุบันที่มียอดคงค้าง 176,751.86 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพาณิชย์ไทยและนอนแบงก์ยังมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 0.15 ล้านบาท ด้านปริมาณบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 12,239,526 ใบ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 133,069 ใบ หรือเพิ่มขึ้น 1.10% ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปริมาณบัตรเครดิตของสถาบันการเงินทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 56,646 ใบ นอนแบงก์ 75,351 ใบ และสาขาธนาคารต่างชาติ 1,072 ใบ
สายนโยบายสถาบันการเงิน ระบุว่า สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของธปท.ล่าสุด ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามียอดคงค้างของสินเชื่อนี้รวมกันทุกสถาบันการเงินทั้งสิ้น 210,716 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,544 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.74% โดยธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 2,112 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างทั้งสิ้น 96,380 ล้านบาท ขณะที่นอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 493 ล้านบาท และ 75 ล้านบาท ตามลำดับ
นอกจากนี้ สถาบันการเงินในระบบมีปริมาณบัญชีของสินเชื่อส่วนบุคคลรวมกัน 10,984,306 บัญชี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียง 45,662 บัญชี หรือเพิ่มขึ้น 0.42% โดยธนาคารพาณิชย์มีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 1,915,267 บัญชี เพิ่มขึ้น 19,637 บัญชี และนอนแบงก์มีทั้งสิ้น 8,305,770 บัญชี เพิ่มขึ้น 31,588 บัญชี ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 5,562 บัญชี จากปัจจุบันที่มียอดบัญชีทั้งสิ้น 762,999 บัญชี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศภาพรวมการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตทั้งสิ้น 73,531.43 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 88.44 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.12% ซึ่งมีปริมาณการใช้จ่ายลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมาตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยผู้บริการบัตรเครดิตในส่วนของธนาคารพาณิชย์และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 470.46 ล้านบาท และ62.03 ล้านบาท ขณะที่ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของบริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 444.05 ล้านบาท
ทั้งนี้ บัตรเครดิตที่มีการใช้จ่ายในประเทศมีปริมาณทั้งสิ้น 53,770.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 754.85 ล้านบาท คิดเป็น 1.42% โดยผู้บริการบัตรเครดิตในส่วนนอนแบงก์มีปริมาณการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 491.03 ล้านบาท จากเดือนพ.ค.ที่มีปริมาณการใช้จ่ายที่ 18,346.93 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 202.63 ล้านบาท จากปริมาณที่มีอยู่ 27,000.83 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้น 61.19 ล้านบาท จากยอดปัจจุบันที่มีอยู่ 8,422.80 ล้านบาท
ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีจำนวน 3,171.06 ล้านบาท ลดลง 737.39 ล้านบาท หรือลดลง 18.87% ซึ่งเป็นการลดลงของสถาบันการเงินทุกประเภท ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้ามีจำนวน 16,589.81 ล้านบาท ลดลง 105.90 ล้านบาท หรือลดลง 0.63% ซึ่งธนาคารพาณิชย์มียอดลดลง 376.18 ล้านบาท ส่วนนอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติยังเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 226.43 ล้านบาท และ 62.03 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับยอดสินเชื่อคงค้างของธุรกิจบัตรเครดิตในเดือนนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 450.99 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.26% จากปัจจุบันที่มียอดคงค้าง 176,751.86 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพาณิชย์ไทยและนอนแบงก์ยังมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 0.15 ล้านบาท ด้านปริมาณบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 12,239,526 ใบ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 133,069 ใบ หรือเพิ่มขึ้น 1.10% ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปริมาณบัตรเครดิตของสถาบันการเงินทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นมากที่สุด 56,646 ใบ นอนแบงก์ 75,351 ใบ และสาขาธนาคารต่างชาติ 1,072 ใบ
สายนโยบายสถาบันการเงิน ระบุว่า สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของธปท.ล่าสุด ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามียอดคงค้างของสินเชื่อนี้รวมกันทุกสถาบันการเงินทั้งสิ้น 210,716 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,544 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.74% โดยธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 2,112 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างทั้งสิ้น 96,380 ล้านบาท ขณะที่นอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 493 ล้านบาท และ 75 ล้านบาท ตามลำดับ
นอกจากนี้ สถาบันการเงินในระบบมีปริมาณบัญชีของสินเชื่อส่วนบุคคลรวมกัน 10,984,306 บัญชี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียง 45,662 บัญชี หรือเพิ่มขึ้น 0.42% โดยธนาคารพาณิชย์มีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 1,915,267 บัญชี เพิ่มขึ้น 19,637 บัญชี และนอนแบงก์มีทั้งสิ้น 8,305,770 บัญชี เพิ่มขึ้น 31,588 บัญชี ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 5,562 บัญชี จากปัจจุบันที่มียอดบัญชีทั้งสิ้น 762,999 บัญชี