ASTVผู้จัดการรายวัน - สัญญาณร้ายธุรกิจบัตรเครดิตทรุดอย่างมีนัย แบงก์ชาติเผยยอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตเดือนมกราคมลดลง 9.45% ธนาคารพาณิชย์มากที่สุด 5.47 พันล้าน ตามด้วยนอนแบงก์ ผู้ถือบัตรเครดิตของสถาบันการเงินทุกประเภท ชะลอการใช้บัตรเครดิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่การเบิกเงินสดล่วงหน้าก็หดตัว 1.50 พันล้าน หรือลดลง 7.57%
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของ ธปท.ได้ประกาศการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือนม.ค.ของปี 52 โดยพบว่า แม้ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตและปริมาณบัตรเครดิตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ในส่วนของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรกลับลดลงทั้งปริมาณการใช้จ่ายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเบิกเงินสดล่วงหน้า สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
ทั้งนี้ ในเดือนแรกของปีนี้มียอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.98 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.53% ซึ่งยอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 5.09 พันล้านบาท 3.45 พันล้านบาท ตามลำดับ มีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่มียอดสินเชื่อคงค้างลดลง 564 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 6.51 หมื่นล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 3.40 หมื่นล้านบาท และนอนแบงก์ 8.4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่จำนวนบัตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.03 ล้านใบ คิดเป็น 8.54% ซึ่งนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 5.21 แสนใบ ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4.48 แสนใบ และสาขาธนาคารต่างชาติอีก 5.62 หมื่นใบ ส่งผลให้ในระบบมีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 13.02 ล้านใบ แบ่งเป็นบัตรของผู้ประกอบการนอนแบงก์ 6.55 ล้านใบ ธนาคารพาณิชย์ 5.12 ล้านใบ และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.36 ล้านใบ
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตมียอดรวม 7.53 หมื่นล้านบาท ลดลง 9.45% หรือลดลง 7.86 พันล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตทุกประเภทต่างมียอดลดลงกันถ้วนหน้า โดยธนาคารพาณิชย์มียอดลดลงมากที่สุด 5.47 พันล้านบาท ตามมาด้วยนอนแบงก์ 1.30 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.10 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์มียอดปริมาณการใช้จ่ายรวมทั้งสิน 4.38 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 2.22 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 9.34 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปัจจุบันมียอดการเบิกเงินสดล่วงหน้ารวม 1.84 หมื่นล้านบาท โดยยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง 1.50 พันล้านบาท หรือลดลง 7.57% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทต่างมียอดลดลง โดยธนาคารพาณิชย์มากสุด 1.31 พันล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาธนาคารต่างชาติ 152 ล้านบาท และนอนแบงก์ 43 ล้านบาท
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมียอดรวม 5.44 หมื่นล้านบาท ลดลง 6.23 พันล้านบาท ลดลง 10.27% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทมียอดใช้จ่ายในประเทศลดลงแถบทั้งสิ้น โดยธนาคารพาณิชย์ลดลง 4.13 พันล้านบาท นอนแบงก์ลดลง 1.22 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 872 ล้านบาท ส่วนปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 2.56 พันล้านบาท ลดลง 132 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.92%พันล้านบาท
นอกจากนี้ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธปท.ล่าสุดในเดือนม.ค.มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.27 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 3.18 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 16.27% ซึ่งธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 2.51 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 9 พันล้านบาท ซึ่งธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์มียอดสินเชื่อคงค้างในปัจจุบันทั้งสิ้น 7.95 หมื่นล้านบาท และ9.26 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติกลับมียอดลดลง 2.31 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.31 หมื่นล้านบาท
สายนโยบายสถาบันการเงินธปท.แจ้งว่า ล่าสุดผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลมีปริมาณบัญชีมีทั้งสิ้น 9.75 ล้านบัญชี โดยเป็นส่วนของนอนแบงก์ 7.66 ล้านบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 1.58 ล้านบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติ 7.40 แสนบัญชี ทำให้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนในระบบมีปริมาณบัญชีลดลง 2.27 แสนบัญชี หรือลดลง 2.28% เป็นผลจากนอนแบงก์เป็นเพียงผู้ประกอบการประเภทเดียวที่มีปริมาณบัญชีลดลงถึง 5.73 แสนบัญชี แต่เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาในระบบมีจำนวนบัญชีลดลงถึง 1.09 ล้านบัญชี คิดเป็น 10.09% ซึ่งนอนแบงก์ลดลงมากที่สุด 1.15 ล้านบัญชี รวมถึงสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 1.74 หมื่นบัญชี ขณะที่ธนาคารพาณิชย์กลับมีปริมาณบัญชีเพิ่มขึ้น 7.37 หมื่นบัญชี.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินของ ธปท.ได้ประกาศการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือนม.ค.ของปี 52 โดยพบว่า แม้ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตและปริมาณบัตรเครดิตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ในส่วนของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรกลับลดลงทั้งปริมาณการใช้จ่ายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเบิกเงินสดล่วงหน้า สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
ทั้งนี้ ในเดือนแรกของปีนี้มียอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.98 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.53% ซึ่งยอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 5.09 พันล้านบาท 3.45 พันล้านบาท ตามลำดับ มีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่มียอดสินเชื่อคงค้างลดลง 564 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 6.51 หมื่นล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 3.40 หมื่นล้านบาท และนอนแบงก์ 8.4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่จำนวนบัตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.03 ล้านใบ คิดเป็น 8.54% ซึ่งนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 5.21 แสนใบ ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4.48 แสนใบ และสาขาธนาคารต่างชาติอีก 5.62 หมื่นใบ ส่งผลให้ในระบบมีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 13.02 ล้านใบ แบ่งเป็นบัตรของผู้ประกอบการนอนแบงก์ 6.55 ล้านใบ ธนาคารพาณิชย์ 5.12 ล้านใบ และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.36 ล้านใบ
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตมียอดรวม 7.53 หมื่นล้านบาท ลดลง 9.45% หรือลดลง 7.86 พันล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตทุกประเภทต่างมียอดลดลงกันถ้วนหน้า โดยธนาคารพาณิชย์มียอดลดลงมากที่สุด 5.47 พันล้านบาท ตามมาด้วยนอนแบงก์ 1.30 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.10 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์มียอดปริมาณการใช้จ่ายรวมทั้งสิน 4.38 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 2.22 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 9.34 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปัจจุบันมียอดการเบิกเงินสดล่วงหน้ารวม 1.84 หมื่นล้านบาท โดยยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง 1.50 พันล้านบาท หรือลดลง 7.57% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทต่างมียอดลดลง โดยธนาคารพาณิชย์มากสุด 1.31 พันล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาธนาคารต่างชาติ 152 ล้านบาท และนอนแบงก์ 43 ล้านบาท
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมียอดรวม 5.44 หมื่นล้านบาท ลดลง 6.23 พันล้านบาท ลดลง 10.27% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทมียอดใช้จ่ายในประเทศลดลงแถบทั้งสิ้น โดยธนาคารพาณิชย์ลดลง 4.13 พันล้านบาท นอนแบงก์ลดลง 1.22 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 872 ล้านบาท ส่วนปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 2.56 พันล้านบาท ลดลง 132 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.92%พันล้านบาท
นอกจากนี้ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธปท.ล่าสุดในเดือนม.ค.มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.27 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 3.18 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 16.27% ซึ่งธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 2.51 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 9 พันล้านบาท ซึ่งธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์มียอดสินเชื่อคงค้างในปัจจุบันทั้งสิ้น 7.95 หมื่นล้านบาท และ9.26 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติกลับมียอดลดลง 2.31 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 2.31 หมื่นล้านบาท
สายนโยบายสถาบันการเงินธปท.แจ้งว่า ล่าสุดผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลมีปริมาณบัญชีมีทั้งสิ้น 9.75 ล้านบัญชี โดยเป็นส่วนของนอนแบงก์ 7.66 ล้านบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 1.58 ล้านบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติ 7.40 แสนบัญชี ทำให้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนในระบบมีปริมาณบัญชีลดลง 2.27 แสนบัญชี หรือลดลง 2.28% เป็นผลจากนอนแบงก์เป็นเพียงผู้ประกอบการประเภทเดียวที่มีปริมาณบัญชีลดลงถึง 5.73 แสนบัญชี แต่เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาในระบบมีจำนวนบัญชีลดลงถึง 1.09 ล้านบัญชี คิดเป็น 10.09% ซึ่งนอนแบงก์ลดลงมากที่สุด 1.15 ล้านบัญชี รวมถึงสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 1.74 หมื่นบัญชี ขณะที่ธนาคารพาณิชย์กลับมีปริมาณบัญชีเพิ่มขึ้น 7.37 หมื่นบัญชี.