ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยยอดสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเกือบ 9 พันล้านบาท เช่นเดียวกับปริมาณบัตรพุ่งกว่า 1 ล้านใบ ขณะที่ยอดการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรกลับลดลง 2.78 พันล้านบาท โดยเฉพาะแบงก์พาณิชย์ลดลงกว่า 2 พันล้านบาท ทั้งการใช้จ่ายในประเทศและการเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง มีเพียงนอนแบงก์ที่มีเบิกเงินล่วงหน้าเพิ่ม ด้านสินเชื่อส่วนบุคคลมียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1.63 หมื่นล้านบาท โดยสาขาธนาคารต่างชาติลดลงทั้ง สินเชื่อ และจำนวนบัญชี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการ เงินของธปท.ได้รายงานภาวะการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน พ.ย.ปี 51 พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 8,898.53 ล้านบาท คิดเป็น 5.07% ของสินเชื่อ รวม ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้น ที่มียอดลดลง 12.61 ล้านบาท ส่วนบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) และธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4,527.53 ล้านบาท และ 4,383.63 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นถึง 1.03 ล้านใบ คิดเป็น 8.65% จากปัจจุบันที่มียอดบัตรเครดิตทั้งสิ้น 12.95 ล้านใบ
ส่วนปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมทั้งสิ้น 7.18 หมื่นล้านบาท ลดลง 2,780.63 ล้านบาท หรือลดลง 3.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของทุกสถาบันการเงิน โดยปริมาณการใช้จ่ายของธนาคาร พาณิชย์ลดลงมากที่สุด 2,209.31 ล้านบาท ตามมาด้วยสาขาธนาคารต่างชาติ 555.68 ล้านบาท และนอนแบงก์ 15.64 ล้านบาท ซึ่งการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ลดลงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังมากขึ้น
ทั้งนี้ หากแยกตามประเภทการใช้จ่ายบัตรเครดิตต่างๆ พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 5.22 หมื่นล้านบาท ถือว่าการใช้จ่ายด้านนี้ลดลงมากที่สุดในระบบ 2,105.74 ล้านบาท หรือลดลง 3.88% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทต่างลดลง โดยธนาคารพาณิชย์ลดลง 1,412.86 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 433 ล้านบาท และนอนแบงก์ 259.86 ล้านบาท เช่นเดียวกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่มียอดรวม 1.70 หมื่นล้านบาท ลดลง 694.56 ล้านบาท คิดเป็น 3.92% แต่ผู้ประกอบการนอนแบงก์เท่านั้นที่พยายามรักษารายได้ด้านนี้ไว้ แม้เพิ่มขึ้นไม่มากนักจำนวน 199.27 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เหลือเพียงปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศที่กลับเพิ่มขึ้น 19.67 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.77% จากปัจจุบันที่มี ยอดรวม 2,582.51 ล้านบาท ซึ่งนอนแบงก์ยังคงมีรายได้เป็นบวกอยู่ 44.95 ล้านบาท ต่างกับธนาคารพาณิชย์และสาขาต่างชาติลดลงกันถ้วนหน้า 6.24 ล้านบาท และ 19.03 ล้านบาท ตามลำดับ
สายนโยบายสถาบันการเงินยังได้รายงานตัวเลขสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดคงค้างสินเชื่อรวม 2.30 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.63 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 7.63% ซึ่งธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นถึง 1.56 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 2,404 ล้านบาท แต่สาขาธนาคารต่างชาติมียอดลดลง 1,596 ล้านบาท
ขณะที่จำนวนบัญชีมียอดคงค้างทั้งสิ้น 11.42 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 5.95 แสนบัญชี คิดเป็น 5.50% โดยผู้ประกอบการนอนแบงก์ เพิ่มขึ้นมากสุด 5.13 แสนบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 8.66 หมื่นบัญชี และสาขาธนาคาร ต่างชาติกลับมียอดลดลง 4,517 บัญชี
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการ เงินของธปท.ได้รายงานภาวะการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน พ.ย.ปี 51 พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 8,898.53 ล้านบาท คิดเป็น 5.07% ของสินเชื่อ รวม ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้น ที่มียอดลดลง 12.61 ล้านบาท ส่วนบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) และธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4,527.53 ล้านบาท และ 4,383.63 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นถึง 1.03 ล้านใบ คิดเป็น 8.65% จากปัจจุบันที่มียอดบัตรเครดิตทั้งสิ้น 12.95 ล้านใบ
ส่วนปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมทั้งสิ้น 7.18 หมื่นล้านบาท ลดลง 2,780.63 ล้านบาท หรือลดลง 3.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของทุกสถาบันการเงิน โดยปริมาณการใช้จ่ายของธนาคาร พาณิชย์ลดลงมากที่สุด 2,209.31 ล้านบาท ตามมาด้วยสาขาธนาคารต่างชาติ 555.68 ล้านบาท และนอนแบงก์ 15.64 ล้านบาท ซึ่งการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ลดลงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตระมัดระวังมากขึ้น
ทั้งนี้ หากแยกตามประเภทการใช้จ่ายบัตรเครดิตต่างๆ พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 5.22 หมื่นล้านบาท ถือว่าการใช้จ่ายด้านนี้ลดลงมากที่สุดในระบบ 2,105.74 ล้านบาท หรือลดลง 3.88% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทต่างลดลง โดยธนาคารพาณิชย์ลดลง 1,412.86 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 433 ล้านบาท และนอนแบงก์ 259.86 ล้านบาท เช่นเดียวกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่มียอดรวม 1.70 หมื่นล้านบาท ลดลง 694.56 ล้านบาท คิดเป็น 3.92% แต่ผู้ประกอบการนอนแบงก์เท่านั้นที่พยายามรักษารายได้ด้านนี้ไว้ แม้เพิ่มขึ้นไม่มากนักจำนวน 199.27 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เหลือเพียงปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศที่กลับเพิ่มขึ้น 19.67 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.77% จากปัจจุบันที่มี ยอดรวม 2,582.51 ล้านบาท ซึ่งนอนแบงก์ยังคงมีรายได้เป็นบวกอยู่ 44.95 ล้านบาท ต่างกับธนาคารพาณิชย์และสาขาต่างชาติลดลงกันถ้วนหน้า 6.24 ล้านบาท และ 19.03 ล้านบาท ตามลำดับ
สายนโยบายสถาบันการเงินยังได้รายงานตัวเลขสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. พบว่า ในระบบสถาบันการเงินมียอดคงค้างสินเชื่อรวม 2.30 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.63 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 7.63% ซึ่งธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นถึง 1.56 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 2,404 ล้านบาท แต่สาขาธนาคารต่างชาติมียอดลดลง 1,596 ล้านบาท
ขณะที่จำนวนบัญชีมียอดคงค้างทั้งสิ้น 11.42 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 5.95 แสนบัญชี คิดเป็น 5.50% โดยผู้ประกอบการนอนแบงก์ เพิ่มขึ้นมากสุด 5.13 แสนบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 8.66 หมื่นบัญชี และสาขาธนาคาร ต่างชาติกลับมียอดลดลง 4,517 บัญชี