สังคมมนุษย์ที่มีระเบียบการเมือง มีการปกครองบริหาร ประชาชนยอมรับในความชอบธรรมของระบบ ของผู้นำ และของกลไกต่างๆ สังคมนั้นก็จะอยู่ได้โดยสงบ ปรากฏการณ์ที่ผิดแผกก็จะมีการจัดการภายใต้กระบวนศาลยุติธรรม หรือในกรณีที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็จะมีการยุบสภา เปลี่ยนผู้เข้าสู่ตำแหน่งอำนาจ ฯลฯ แต่เมื่อใดก็ตามที่ระบบดังกล่าวไม่สามารถจะทำงานต่อไปได้จนไม่มีทิศทาง อำนาจรัฐถูกใช้อย่างผิดๆ ประชาชนกระด้างกระเดื่อง มีการกวาดล้างกันเองในระหว่างผู้นำ สังคมนั้นคือสังคมที่ การเมืองป่วน หรือที่นายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล เคยใช้คำว่า “ล่วน” ซึ่งเป็นการกล่าวถึงสังคมจีนในยุคที่ยังไม่มีความสงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ประธาน เหมา เจ๋อตุง
ส่วนกรณีสังคมนั้น ถ้าคนในสังคมเกิดมีลักษณะขาดสติ ความคิดไม่อยู่กับร่องกับรอย มีอาการปัญญาวิปริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทางการเมืองที่มีความคิดผิดแผกไปจากทำนองคลองธรรม ขณะเดียวกันสังคมทั้งสังคมอาจถูกจูงเข้าป่าเข้ารกด้วยการบ้าคลั่งอุดมการณ์ มีการกระทำที่ผิดธรรมเนียมประเพณีจนก่อให้เกิดความวุ่นวายไปทั่ว ไม่สามารถใช้เหตุใช้ผลในการเจรจา ใช้อารมณ์เป็นหลัก ฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามถูกมองเป็นศัตรู เมื่อนั้นคือสภาพของ สังคมป่วย
ตัวอย่างของการเมืองป่วนและสังคมป่วยในประวัติศาสตร์มนุษยชาตินั้นมีอยู่มากมาย แต่จะขอยกมาเป็นตัวอย่างเพียง 3 ประเทศ
ตัวอย่างที่หนึ่ง เยอรมนีภายใต้อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ เป็นตัวอย่างของการเมืองป่วนและสังคมป่วย ฮิตเลอร์เข้าสู่อำนาจด้วยการเลือกตั้ง แต่ได้ใช้อำนาจนอกระบบข่มขู่สมาชิกสภาและกระทำการแก้กฎหมาย ยกเลิกส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ มีการทำลายล้างศัตรูทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ และเมื่อได้อำนาจสูงสุดก็ทำการกวาดล้างชาวยิว มีการปลุกระดมมวลชน เปลี่ยนระบบการปกครองให้เป็นเผด็จการแบบนาซี โดยยกย่องตัวบุคคลที่เป็นผู้นำเรียกว่า พูเรอร์ เกิดความปั่นป่วนทั่วไปโดยมีหน่วยงานพิเศษคือเกสตาโปทำการกวาดล้างศัตรูทางการเมือง ระบบการเมืองปั่นป่วนจนหาขอบเขตไม่ได้ และไม่มีใครมีความมั่นใจต่ออนาคต
ในส่วนของสังคมนั้น คนเยอรมันยุคนั้นถูกครอบด้วยอุดมการณ์นาซี และการบูชาผู้นำในลักษณะบุคลาธิษฐาน มองเห็นชาวยิวเป็นศัตรู ประชาชนจำนวนไม่น้อยสนับสนุนให้มีการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ชาวยิวและชาวยิปซี ถูกจูงเหมือนกับฝูงแกะโดยไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ต่างคนต่างไม่กล้าที่จะแสดงการต่อต้านหรือไม่เห็นด้วย ลักษณะของอาการเช่นนี้เป็นอาการของคนที่ถูกจูงให้คลั่งอุดมการณ์ จึงเป็นลักษณะของสังคมป่วยทั้งสังคม
ผลสุดท้ายก็สนับสนุนด้วยความจำใจหรือด้วยความเชื่อก็ตามให้ผู้นำก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จนนำไปสู่การเสียชีวิตและเลือดเนื้ออย่างมหาศาล โดยเฉพาะชาวยิวถูกสังหารหมู่ 6 ล้าน และชาวยิปซีอีกจำนวนมาก ขณะเดียวกันประเทศในยุโรปที่ถูกรุกรานโดยเยอรมันก็ถูกเข่นฆ่าบีฑากรรมอย่างไร้มนุษยธรรม ผลสุดท้ายความป่วนของการเมืองและความป่วยของสังคมก็นำเยอรมนีไปสู่ความพินาศด้วยการพ่ายแพ้สงคราม
ตัวอย่างที่สอง รัสเซียหลังการปฏิวัติบอลเชวิค ฝ่ายบอลเชวิคซึ่งทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองล้มระบบกษัตริย์ของจักรพรรดิซาร์ส นิโคลัส ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการสร้างระเบียบการเมืองขึ้นใหม่ ผืนนาต่างๆ เปลี่ยนให้เป็นนารวม ทรัพย์สินส่วนตัวถูกยึดเป็นของรัฐ และมีคำสั่งให้สังหารเชื้อพระวงศ์ราชตระกูลโรมานอฟ อีกทั้งยังมีการสังหารเกษตรกรชาวนาที่เรียกว่าพวกกูลัคเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็สถาปนาระบบการเมืองแบบสังคมนิยมขึ้นมาโดยเป็นระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ใช้อำนาจปกครองอย่างเด็ดขาด ประชาชนตกอยู่ในความหวาดกลัว
แต่ขณะเดียวกันในหมู่ผู้นำหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเลนินก็มีการต่อสู้แย่งอำนาจ เมื่อสตาลินเข้าสู่ความเป็นผู้นำก็กำจัดศัตรูฝ่ายตรงกันข้ามที่เคยร่วมงานกันมาเป็นจำนวนมาก แม้ทรอสตกี้ซึ่งมีความเห็นขัดแย้งได้หนีภัยการเมืองไปที่เม็กซิโกก็ยังถูกตามฆ่าด้วยการใช้คีมหนีบน้ำแข็งหนีบที่คอจนถึงแก่ชีวิต ความปั่นป่วนของสังคมสหภาพโซเวียตในสมัยนั้นเกิดขึ้นไปทั่ว ถึงแม้คนจะมีความหวังว่าจะมีระบบสังคมนิยมซึ่งจะนำมาซึ่งความเจริญ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานและชาวนาก็ตาม แต่การกวาดล้างได้สร้างความสะพรึงกลัวขึ้นทั่วทั้งแผ่นดิน
นอกจากนั้นยังมีการขยายอำนาจของสหภาพโซเวียตไปสู่ประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก และเมื่อมีการต่อต้านเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1956 ในฮังการีก็ใช้กำลังปราบปราม ต่อมาในปลายทศวรรษของ ค.ศ.1960 ก็มีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เชโกสโลวาเกีย โดยสรุปสภาพการเมืองของสหภาพโซเวียตอยู่ในลักษณะปั่นป่วน มีการกวาดล้างช่วงชิงอำนาจอย่างเป็นนิจ
ในส่วนของสังคมนั้น คนรัสเซียอยู่ในสภาพของคนที่คลั่งอุดมการณ์ มีความเชื่ออย่างไม่ลืมหูลืมตาว่า ลัทธิสังคมนิยมจะมีชัยเหนือทุนนิยมและเสรีประชาธิปไตย งานเขียนที่มีการเสนอในการประชุมระหว่างประเทศจะอ้างเพียงคาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน หรือสตาลิน เท่านั้น ในทางสังคมศาสตร์ถือได้ว่าเป็นการปิดหูปิดตาโดยเอาลัทธิการเมืองกลายเป็นลัทธิคำสอนทางศาสนา
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นศาสนาการเมืองไปโดยปริยาย ในสภาพสังคมอย่างนั้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนย่อมเกิดขึ้นได้ยาก ผลสุดท้ายระบบสังคมนิยมในสหภาพโซเวียตก็ถึงแก่กาลอวสาน ยุโรปตะวันออกประกาศตัวเป็นอิสระ จักรวรรดิสังคมนิยมรัสเซียแตกสลายเป็นเสี่ยงๆ
ตัวอย่างที่สาม ประเทศจีนในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งเริ่มตั้งแต่กลาง ค.ศ. 1960 ซึ่งดำเนินไปถึง 10 ปี สะท้อนถึงลักษณะ การเมืองป่วน ที่เรียกว่า “ล่วน” และ สังคมป่วย ในยุคนั้นมีการกวาดล้างผู้นำทางการเมืองที่มีความคิดคนละแนวทางจากกลุ่มของเหมา เจ๋อตุง และแก๊งทั้งสี่ บุคคลที่มีความคิดในนโยบายเศรษฐกิจที่แตกต่างไปจากลัทธิคอมมิวนิสต์แบบเข้มข้นจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามลัทธิแก้ หรือเป็นผู้เดินตามแนวระบบทุนนิยม เมื่อการต่อสู้แย่งอำนาจไม่สามารถทำได้ในพรรคคอมมิวนิสต์และในกลไกของรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาประชาชน กลุ่มอำนาจเหมา เจ๋อตุง และแก๊งทั้งสี่ รวมทั้งลูกน้องที่ให้การสนับสนุนก็ใช้วิธีการนอกกลไกระบบการเมืองปลุกระดมพวกเรดการ์ดหรือยามแดง ซึ่งเป็นเยาวชนรุ่นอายุไม่ถึง 20 ปี ลุกขึ้นมาเดินขบวนเป็นล้านคนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน รวมทั้งการจัดตั้งไปทั่วแผ่นดินจีน ทำการกวาดล้างผู้นำทางการเมืองที่เคยร่วมปลดแอกประเทศมาด้วยกัน เช่น นายพลเผิง เต๋อหวาย นายหลิว เส้าฉี ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ประธานเหมา เจ๋อตุง ในกรณีที่ทำผิดพลาดในนโยบายก้าวกระโดด
จากนั้นใน ค.ศ. 1976 วันที่ 7 เมษายน ก็มีการปลดเติ้ง เสี่ยวผิง ออกจากตำแหน่งทุกตำแหน่ง ยกเว้นการเป็นสมาชิกพรรค ระบบการปกครองบริหารของจีนหยุดนิ่งสนิท มหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน อาจารย์ถูกส่งไปใช้แรงงานในชนบท การก่อสร้างหยุดชะงักโดยสิ้นเชิง เกิดความปั่นป่วนไปทั่วทั้งแผ่นดิน มีการทำลายสถานศาสนา ทำลายโบราณวัตถุ
และผลสุดท้ายก็จำเป็นต้องใช้กองทหารเข้าสกัดเหล่ายามแดงหรือเรดการ์ดไม่ให้ก่อความวุ่นวายเจนเลยเถิด และมีการสั่งให้ยามแดงออกไปใช้แรงงานในชนบท ความปั่นป่วนของระบบการเมืองในสมัยนั้นคือสภาพของอนาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัด ผู้นำทางการเมืองที่ต่อสู้ปลดแอกประเทศมาด้วยกันถูกรังแกโดยคนรุ่นลูกหลาน แต่ทั้งหมดนี้มาจากความขัดแย้งทางการเมืองของผู้นำระดับสูง และการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเนื่องจากอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม
ในส่วนของสังคมนั้น สังคมจีนยุคนั้นเต็มไปด้วยความบ้าคลั่งทางลัทธิและการบูชาประธาน เหมา เจ๋อตุง เป็นลักษณะของบุคลาธิษฐานที่สูงสุด ความคิดของคนทั่วไปถูกจูงให้ผิดประเพณี การกตัญญูรู้คุณและเคารพบิดามารดาถูกโจมตี ลูกๆ พากันวิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่ของตน มีการพูดจาจาบจ้วงผู้นำระดับสูง ตรรกผิดเพี้ยน เช่น เมื่อขับรถเจอไฟแดงถือว่า “ไป” เพราะแดงเป็นสีของความรุ่งเรืองของคอมมิวนิสต์
แม้กระทั่งในการผ่าตัดตาก็ยังบ้าคลั่งขออ่านหนังสือเล่มแดงของเหมา เจ๋อตุง โดยไม่ใช้ยาชาเพื่อจะทำให้ฮึกเหิมและไม่เจ็บปวด ผลสุดท้ายก็ไม่สำเร็จ ความผิดเพี้ยนของสังคมจีนนั้นเป็นสังคมที่ป่วย คลั่งอุดมการณ์อย่างไม่ลืมหูลืมตา เกิดปัญญาวิปริต และตรรกที่ผิดเพี้ยน จนเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล และทุกวันนี้ยังเป็นบาดแผลสำคัญที่คนจีนทั่วไปไม่อยากจะกล่าวถึง
การเมืองป่วน และสังคมป่วย เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มนุษยชาติหลายครั้ง ที่ยกมาเป็นเพียง 3 ตัวอย่าง ประเด็นก็คือ การศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องเรียนรู้บทเรียน ส่วนใครจะเรียนรู้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสติปัญญาของแต่ละคน และของแต่ละชาติ
ส่วนกรณีสังคมนั้น ถ้าคนในสังคมเกิดมีลักษณะขาดสติ ความคิดไม่อยู่กับร่องกับรอย มีอาการปัญญาวิปริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทางการเมืองที่มีความคิดผิดแผกไปจากทำนองคลองธรรม ขณะเดียวกันสังคมทั้งสังคมอาจถูกจูงเข้าป่าเข้ารกด้วยการบ้าคลั่งอุดมการณ์ มีการกระทำที่ผิดธรรมเนียมประเพณีจนก่อให้เกิดความวุ่นวายไปทั่ว ไม่สามารถใช้เหตุใช้ผลในการเจรจา ใช้อารมณ์เป็นหลัก ฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามถูกมองเป็นศัตรู เมื่อนั้นคือสภาพของ สังคมป่วย
ตัวอย่างของการเมืองป่วนและสังคมป่วยในประวัติศาสตร์มนุษยชาตินั้นมีอยู่มากมาย แต่จะขอยกมาเป็นตัวอย่างเพียง 3 ประเทศ
ตัวอย่างที่หนึ่ง เยอรมนีภายใต้อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ เป็นตัวอย่างของการเมืองป่วนและสังคมป่วย ฮิตเลอร์เข้าสู่อำนาจด้วยการเลือกตั้ง แต่ได้ใช้อำนาจนอกระบบข่มขู่สมาชิกสภาและกระทำการแก้กฎหมาย ยกเลิกส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ มีการทำลายล้างศัตรูทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ และเมื่อได้อำนาจสูงสุดก็ทำการกวาดล้างชาวยิว มีการปลุกระดมมวลชน เปลี่ยนระบบการปกครองให้เป็นเผด็จการแบบนาซี โดยยกย่องตัวบุคคลที่เป็นผู้นำเรียกว่า พูเรอร์ เกิดความปั่นป่วนทั่วไปโดยมีหน่วยงานพิเศษคือเกสตาโปทำการกวาดล้างศัตรูทางการเมือง ระบบการเมืองปั่นป่วนจนหาขอบเขตไม่ได้ และไม่มีใครมีความมั่นใจต่ออนาคต
ในส่วนของสังคมนั้น คนเยอรมันยุคนั้นถูกครอบด้วยอุดมการณ์นาซี และการบูชาผู้นำในลักษณะบุคลาธิษฐาน มองเห็นชาวยิวเป็นศัตรู ประชาชนจำนวนไม่น้อยสนับสนุนให้มีการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ชาวยิวและชาวยิปซี ถูกจูงเหมือนกับฝูงแกะโดยไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ต่างคนต่างไม่กล้าที่จะแสดงการต่อต้านหรือไม่เห็นด้วย ลักษณะของอาการเช่นนี้เป็นอาการของคนที่ถูกจูงให้คลั่งอุดมการณ์ จึงเป็นลักษณะของสังคมป่วยทั้งสังคม
ผลสุดท้ายก็สนับสนุนด้วยความจำใจหรือด้วยความเชื่อก็ตามให้ผู้นำก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จนนำไปสู่การเสียชีวิตและเลือดเนื้ออย่างมหาศาล โดยเฉพาะชาวยิวถูกสังหารหมู่ 6 ล้าน และชาวยิปซีอีกจำนวนมาก ขณะเดียวกันประเทศในยุโรปที่ถูกรุกรานโดยเยอรมันก็ถูกเข่นฆ่าบีฑากรรมอย่างไร้มนุษยธรรม ผลสุดท้ายความป่วนของการเมืองและความป่วยของสังคมก็นำเยอรมนีไปสู่ความพินาศด้วยการพ่ายแพ้สงคราม
ตัวอย่างที่สอง รัสเซียหลังการปฏิวัติบอลเชวิค ฝ่ายบอลเชวิคซึ่งทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองล้มระบบกษัตริย์ของจักรพรรดิซาร์ส นิโคลัส ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการสร้างระเบียบการเมืองขึ้นใหม่ ผืนนาต่างๆ เปลี่ยนให้เป็นนารวม ทรัพย์สินส่วนตัวถูกยึดเป็นของรัฐ และมีคำสั่งให้สังหารเชื้อพระวงศ์ราชตระกูลโรมานอฟ อีกทั้งยังมีการสังหารเกษตรกรชาวนาที่เรียกว่าพวกกูลัคเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็สถาปนาระบบการเมืองแบบสังคมนิยมขึ้นมาโดยเป็นระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ใช้อำนาจปกครองอย่างเด็ดขาด ประชาชนตกอยู่ในความหวาดกลัว
แต่ขณะเดียวกันในหมู่ผู้นำหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเลนินก็มีการต่อสู้แย่งอำนาจ เมื่อสตาลินเข้าสู่ความเป็นผู้นำก็กำจัดศัตรูฝ่ายตรงกันข้ามที่เคยร่วมงานกันมาเป็นจำนวนมาก แม้ทรอสตกี้ซึ่งมีความเห็นขัดแย้งได้หนีภัยการเมืองไปที่เม็กซิโกก็ยังถูกตามฆ่าด้วยการใช้คีมหนีบน้ำแข็งหนีบที่คอจนถึงแก่ชีวิต ความปั่นป่วนของสังคมสหภาพโซเวียตในสมัยนั้นเกิดขึ้นไปทั่ว ถึงแม้คนจะมีความหวังว่าจะมีระบบสังคมนิยมซึ่งจะนำมาซึ่งความเจริญ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานและชาวนาก็ตาม แต่การกวาดล้างได้สร้างความสะพรึงกลัวขึ้นทั่วทั้งแผ่นดิน
นอกจากนั้นยังมีการขยายอำนาจของสหภาพโซเวียตไปสู่ประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก และเมื่อมีการต่อต้านเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1956 ในฮังการีก็ใช้กำลังปราบปราม ต่อมาในปลายทศวรรษของ ค.ศ.1960 ก็มีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เชโกสโลวาเกีย โดยสรุปสภาพการเมืองของสหภาพโซเวียตอยู่ในลักษณะปั่นป่วน มีการกวาดล้างช่วงชิงอำนาจอย่างเป็นนิจ
ในส่วนของสังคมนั้น คนรัสเซียอยู่ในสภาพของคนที่คลั่งอุดมการณ์ มีความเชื่ออย่างไม่ลืมหูลืมตาว่า ลัทธิสังคมนิยมจะมีชัยเหนือทุนนิยมและเสรีประชาธิปไตย งานเขียนที่มีการเสนอในการประชุมระหว่างประเทศจะอ้างเพียงคาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน หรือสตาลิน เท่านั้น ในทางสังคมศาสตร์ถือได้ว่าเป็นการปิดหูปิดตาโดยเอาลัทธิการเมืองกลายเป็นลัทธิคำสอนทางศาสนา
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นศาสนาการเมืองไปโดยปริยาย ในสภาพสังคมอย่างนั้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนย่อมเกิดขึ้นได้ยาก ผลสุดท้ายระบบสังคมนิยมในสหภาพโซเวียตก็ถึงแก่กาลอวสาน ยุโรปตะวันออกประกาศตัวเป็นอิสระ จักรวรรดิสังคมนิยมรัสเซียแตกสลายเป็นเสี่ยงๆ
ตัวอย่างที่สาม ประเทศจีนในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งเริ่มตั้งแต่กลาง ค.ศ. 1960 ซึ่งดำเนินไปถึง 10 ปี สะท้อนถึงลักษณะ การเมืองป่วน ที่เรียกว่า “ล่วน” และ สังคมป่วย ในยุคนั้นมีการกวาดล้างผู้นำทางการเมืองที่มีความคิดคนละแนวทางจากกลุ่มของเหมา เจ๋อตุง และแก๊งทั้งสี่ บุคคลที่มีความคิดในนโยบายเศรษฐกิจที่แตกต่างไปจากลัทธิคอมมิวนิสต์แบบเข้มข้นจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามลัทธิแก้ หรือเป็นผู้เดินตามแนวระบบทุนนิยม เมื่อการต่อสู้แย่งอำนาจไม่สามารถทำได้ในพรรคคอมมิวนิสต์และในกลไกของรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาประชาชน กลุ่มอำนาจเหมา เจ๋อตุง และแก๊งทั้งสี่ รวมทั้งลูกน้องที่ให้การสนับสนุนก็ใช้วิธีการนอกกลไกระบบการเมืองปลุกระดมพวกเรดการ์ดหรือยามแดง ซึ่งเป็นเยาวชนรุ่นอายุไม่ถึง 20 ปี ลุกขึ้นมาเดินขบวนเป็นล้านคนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน รวมทั้งการจัดตั้งไปทั่วแผ่นดินจีน ทำการกวาดล้างผู้นำทางการเมืองที่เคยร่วมปลดแอกประเทศมาด้วยกัน เช่น นายพลเผิง เต๋อหวาย นายหลิว เส้าฉี ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ประธานเหมา เจ๋อตุง ในกรณีที่ทำผิดพลาดในนโยบายก้าวกระโดด
จากนั้นใน ค.ศ. 1976 วันที่ 7 เมษายน ก็มีการปลดเติ้ง เสี่ยวผิง ออกจากตำแหน่งทุกตำแหน่ง ยกเว้นการเป็นสมาชิกพรรค ระบบการปกครองบริหารของจีนหยุดนิ่งสนิท มหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน อาจารย์ถูกส่งไปใช้แรงงานในชนบท การก่อสร้างหยุดชะงักโดยสิ้นเชิง เกิดความปั่นป่วนไปทั่วทั้งแผ่นดิน มีการทำลายสถานศาสนา ทำลายโบราณวัตถุ
และผลสุดท้ายก็จำเป็นต้องใช้กองทหารเข้าสกัดเหล่ายามแดงหรือเรดการ์ดไม่ให้ก่อความวุ่นวายเจนเลยเถิด และมีการสั่งให้ยามแดงออกไปใช้แรงงานในชนบท ความปั่นป่วนของระบบการเมืองในสมัยนั้นคือสภาพของอนาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัด ผู้นำทางการเมืองที่ต่อสู้ปลดแอกประเทศมาด้วยกันถูกรังแกโดยคนรุ่นลูกหลาน แต่ทั้งหมดนี้มาจากความขัดแย้งทางการเมืองของผู้นำระดับสูง และการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเนื่องจากอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม
ในส่วนของสังคมนั้น สังคมจีนยุคนั้นเต็มไปด้วยความบ้าคลั่งทางลัทธิและการบูชาประธาน เหมา เจ๋อตุง เป็นลักษณะของบุคลาธิษฐานที่สูงสุด ความคิดของคนทั่วไปถูกจูงให้ผิดประเพณี การกตัญญูรู้คุณและเคารพบิดามารดาถูกโจมตี ลูกๆ พากันวิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่ของตน มีการพูดจาจาบจ้วงผู้นำระดับสูง ตรรกผิดเพี้ยน เช่น เมื่อขับรถเจอไฟแดงถือว่า “ไป” เพราะแดงเป็นสีของความรุ่งเรืองของคอมมิวนิสต์
แม้กระทั่งในการผ่าตัดตาก็ยังบ้าคลั่งขออ่านหนังสือเล่มแดงของเหมา เจ๋อตุง โดยไม่ใช้ยาชาเพื่อจะทำให้ฮึกเหิมและไม่เจ็บปวด ผลสุดท้ายก็ไม่สำเร็จ ความผิดเพี้ยนของสังคมจีนนั้นเป็นสังคมที่ป่วย คลั่งอุดมการณ์อย่างไม่ลืมหูลืมตา เกิดปัญญาวิปริต และตรรกที่ผิดเพี้ยน จนเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล และทุกวันนี้ยังเป็นบาดแผลสำคัญที่คนจีนทั่วไปไม่อยากจะกล่าวถึง
การเมืองป่วน และสังคมป่วย เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มนุษยชาติหลายครั้ง ที่ยกมาเป็นเพียง 3 ตัวอย่าง ประเด็นก็คือ การศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องเรียนรู้บทเรียน ส่วนใครจะเรียนรู้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสติปัญญาของแต่ละคน และของแต่ละชาติ