การเฉลิมฉลองวันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยการเดินสวนสนาม การแสดงถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ ความพร้อมเพรียงในการแสดงชุดต่างๆ รวมทั้งดอกไม้ไฟที่ตระการตาเป็นที่ประทับใจของคนทั่วไป กล่าวได้ว่าภายใน 3 ทศวรรษที่ผ่านมานี้การเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาของจีนได้นำไปสู่ความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในทางอุตสาหกรรม เกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการป้องกันประเทศ ดังที่นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้เคยรับสั่งว่า “ปล่อยให้จีนหลับต่อไป เพราะถ้าจีนตื่นขึ้นโลกจะสะเทือน” แต่ความสำเร็จดังกล่าวนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากการเรียนรู้ทางการเมืองและการพัฒนาประเทศในอดีต ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล โดยมีเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ที่จะยกมาให้เห็นเป็นตัวอย่าง
ตัวอย่างที่หนึ่ง ใน ค.ศ. 1958 เหมา เจ๋อตุง มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถลุงเหล็กเพื่อแข่งขันกับประเทศในยุโรป และเพื่อการนี้ได้มีนโยบายอันสำคัญยิ่งคือนโยบายก้าวกระโดด (the great leap forward) โดยมีคำสั่งให้ทุกหมู่บ้านนำเหล็กที่ได้จากเครื่องมือเครื่องใช้ และเศษเหล็กต่างๆ ถลุงเป็นเหล็กเพื่อนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง
ในช่วงเวลานั้นตั้งแต่ 20.00 – 22.00 น. จะมีแสงไฟสว่างไสวในทุกหมู่บ้านทั่วแผ่นดินจีน ประชาชนในชนบทต่างทำการถลุงเหล็กตามคำสั่งของรัฐ โดยเรียกการถลุงเหล็กนั้นว่าเตาถลุงเหล็กสวนหลังบ้าน (the backyard furnace) ในขณะที่ทำการถลุงเหล็กนั้นเกษตรกรจำนวนมากควรที่จะต้องใช้เวลาทำการเพาะปลูกในไร่นา เลี้ยงสัตว์ ต้องเสียเวลาถลุงเหล็กตามคำสั่งของรัฐ ผลที่ตามมาก็คือ ความเสียหายอย่างใหญ่หลวง นโยบายก้าวกระโดดกลายเป็นนโยบายที่หกล้มตีลังกาถอยหลัง เหล็กที่ถลุงนั้นขาดคุณภาพกลายเป็นเศษเหล็กจำนวนล้านๆ ตัน
ขณะเดียวกันเกิดปัญหาการขาดแคลนผลผลิตทางเกษตรจนนำไปสู่การอดอยากและเสียชีวิตหลายล้านคน จนต้องมีการสั่งนำเข้าข้าวสาลีจากแคนาดามาชดเชยกับผลผลิตที่ขาดหายไป นโยบายก้าวกระโดดเป็นนโยบายที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เหมา เจ๋อตุง ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในที่ประชุม สิ่งที่เรียนรู้ได้จากปรากฏการณ์ดังกล่าวก็คือ การมุ่งเน้นถึงความมุ่งมั่นและพลังของมนุษย์ และความขยันหมั่นเพียร โดยขาดวิทยาการหรือวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอาจจะไม่สามารถทำการผลิตบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้อาศัยจากความขยันขันแข็งหรือความมุ่งมั่นแต่เพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากนั้นการไม่คิดอย่างรอบคอบ ไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจนนำไปสู่การอดอยาก แสดงถึงความหละหลวมในการกำหนดนโยบายของคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้น
(เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อผู้เขียนอยู่โรงเรียนมัธยม ญาติของครอบครัวที่อยู่เมืองจีนได้เขียนจดหมายมาเล่าเหตุการณ์ และขอให้ส่งเงินไปช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาเรื่องความยากจนและความอดอยาก)
ตัวอย่างที่สองคือ การปฏิวัติวัฒนธรรมในปลาย ค.ศ. 1960 จนถึงกลาง ค.ศ.1970 โดยเหมา เจ๋อตุง ปลุกระดมมวลชนที่เป็นคนรุ่นเยาว์ที่เรียกว่าเรดการ์ด ทำการคุกคามศัตรูทางการเมือง เช่น นายหลิว เส้าฉี และเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งหลิว เส้าฉี ถูกกักขังและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนเติ้ง เสี่ยวผิง ถูกถอดออกจากตำแหน่งยกเว้นการเป็นสมาชิกพรรค เหมา เจ๋อตุง รณรงค์ต่อต้านขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ปล่อยให้เรดการ์ดสร้างความปั่นป่วนขึ้นทั้งเมือง เปลี่ยนแปลงมาตรฐานของสังคม สัญญาณไฟจราจรสีแดงซึ่งปกติหมายถึงหยุด ยามแดงบางส่วนก็บอกให้ไปเพราะสีแดงเป็นสีแห่งความรุ่งเรืองของคอมมิวนิสต์ ส่วนไฟเขียวหมายถึงให้หยุด เป็นต้น
นอกเหนือจากนั้นยังทำลายวัดวาอาราม ทำลายศาลเจ้าและพระพุทธรูป ใช้ค้อนทุบโบราณวัตถุ มีการวิพากษ์วิจารณ์ครูบาอาจารย์ บิดามารดา และถือโอกาสกำจัดศัตรูทางการเมืองหรือคนที่ตนไม่ชอบ สังคมจีนตกอยู่ในสภาวะกลียุค นำไปสู่อนาธิปไตยไปทั่วทุกหัวระแหง จนต้องมีคำสั่งให้กองทัพปลดแอกประชาชนเข้าควบคุมสถานการณ์และสั่งให้เหล่ายามแดงหรือเรดการ์ดเดินทางไปสู่ชนบท ขณะเดียวกันการก่อสร้างใหม่ๆ การวิจัยทางวิชาการก็ไม่คืบหน้า ครูบาอาจารย์ต่างถูกส่งไปใช้แรงงานในชนบทเพื่อดัดนิสัยที่ยังมีการตกค้างของลัทธิทุนนิยมและค่านิยมศักดินา
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดความชะงักงันของการพัฒนาประเทศจีน เพราะจุดมุ่งเน้นอยู่ที่การกำจัดศัตรูทางการเมืองโดยใช้การปฏิวัติวัฒนธรรมมาอ้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบั้นปลายชีวิตของเหมา เจ๋อตุง ใน ค.ศ. 1976 ความผิดเพี้ยนต่างๆ กลับทวีคูณขึ้นเนื่องจากนางเจียง ชิง ซึ่งเป็นภรรยาของเหมา กับพวกทั้งสามคนที่เรียกว่าแก๊งทั้งสี่ใช้ยามแดงและนโยบายซึ่งอ้างว่าสั่งโดยเหมา เจ๋อตุง กำจัดศัตรูทางการเมืองเพื่อให้สิ้นซาก
ปรากฏการณ์การปฏิวัติวัฒนธรรมนอกจากสร้างความเสียหายในด้านต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือความเสียหายทางจิตใจ ผู้นำพรรคที่เคยต่อสู้ปลดแอกประเทศจีนหลายคนต้องถูกข่มเหงรังแกอย่างไม่เป็นธรรม โดยมีคนคราวลูกหลานเป็นเครื่องมือของศัตรูทางการเมือง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าทำให้ประเทศจีนชะงักงันในการพัฒนาทั้งในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ เป็นแผลทางจิตวิทยาและเป็นจุดด่างดำทางประวัติศาสตร์ที่ยังส่งผลถึงปัจจุบันในหมู่คนจำนวนร้อยๆ ล้านคน
(ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปกับคณะนักวิชาการ นำโดย ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล และ ศ.ดร.เขียน ธีระวิทย์ ไปเยี่ยมเยียนจีนในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ได้เห็นการรณรงค์และการเดินขบวนของพวกเรดการ์ด และการโจมตีเติ้ง เสี่ยวผิง โดยคณะนักวิชาการไปถึงกรุงปักกิ่งวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1976 อีกสองวันต่อมาคือวันที่ 7 เมษายน เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ถูกถอดจากทุกตำแหน่งเหลือเพียงสมาชิกภาพของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน จึงได้เห็นบรรยากาศของการรณรงค์ปลุกเร้ามวลชนโจมตีฝ่ายเติ้ง เสี่ยวผิง)
ตัวอย่างที่สามคือ เหตุการณ์เทียนอันเหมินใน ค.ศ. 1989 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งทำการประท้วงทางฝ่ายรัฐ โดยขอให้ทางรัฐเปิดให้มีเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น และเรียกร้องให้เปิดเสรีประเทศมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่รูปการณ์กลับกลายเป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างนายจ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ก่อนนั้นคือนายหู เย่าปัง ซึ่งมีความคิดในทางเสรีนิยม) กับฝ่ายของนายจาง
เจ๋อหมิน หลี่ เซียนเนียน และหลี่ เผิง เป็นต้น โดยเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้อาวุโสเป็นผู้เฝ้าดู การประท้วงของนักศึกษาได้ถูกประณามว่าเป็นพวกต่อต้านพรรคและต่อต้านสังคมนิยมทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไป ขณะที่นายจ้าว จื่อหยาง พยายามยุติการประท้วงของนักศึกษาและขอให้ถอนคำประณามดังกล่าวแต่ก็ไม่เป็นผล ทางฝ่ายเติ้ง เสี่ยวผิง หวั่นเกรงว่าจะเกิดความปั่นป่วนและนำไปสู่สภาวะการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ก็เอนเอียงไปในทางกลุ่มตรงกันข้ามกับนายจ้าว จื่อหยาง ข้อผิดพลาดก็คือนายจ้าว จื่อหยาง ได้เดินทางไปราชการที่ประเทศเกาหลีเหนือ
ในขณะเดียวกันนั้นทางฝ่ายตรงกันข้ามนายจ้าว จื่อหยาง ก็สามารถจูงให้ฝ่ายเติ้ง เสี่ยวผิง เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ความรุนแรงกับนักศึกษา เหตุการณ์กลับรุนแรงขึ้นเมื่อนายกอร์บาชอฟ เดินทางมาพบกับนักศึกษาและมิไยที่นายจ้าว จื่อหยาง จะพยายามพูดจูงใจให้นักศึกษาสลายการชุมนุมแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ผลสุดท้ายก็เกิดกรณีนองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมิน
เหตุการณ์นี้น่าจะหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้ แต่ทุกฝ่ายต่างยืนกรานในจุดยืนของตน ที่สำคัญคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์การปฏิวัติวัฒนธรรมทำให้เกิดรอยแผลทางจิตวิทยา ทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยจึงมีมาตรการที่รุนแรง และเป็นที่น่าเสียดายว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นแผลทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจนปัจจุบันนี้ กล่าวกันว่ามี 3T ที่จีนไม่อยากให้กล่าวถึง คือ เทียนอันเหมิน (Tiananmen) ไต้หวัน (Taiwan) และทิเบต (Tibet) ข้อที่น่าเรียนรู้คือนายจ้าว จื่อหยาง ไม่น่าจะเดินทางไปราชการที่เกาหลีเหนือ น่าจะอยู่ใกล้ชิดกับนายเติ้ง เสี่ยวผิง แทนที่จะออกจากฐานที่มั่นทางการเมือง ทำให้ฝ่ายศัตรูทางการเมืองสามารถพลิกเกมได้
(ผู้เขียนได้เดินทางไปประเทศจีน 29 ครั้ง และเคยบรรยายที่มหาวิทยาลัย เหริน หมิน ต้า เสว ที่กรุงปักกิ่ง และเคยบอกกับอาจารย์ที่นั่นว่าการเปิดประตูประเทศจีนเพื่อสี่ทันสมัย คือ อุตสาหกรรม เกษตร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการป้องกันประเทศ จะต้องนำไปสู่การขยายการศึกษาและการส่งนักเรียนจีนออกไปเรียนยังต่างประเทศ สังคมจีนก็ต้องเปิดกว้างขึ้น ย่อมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ถ้าระบบการเมืองไม่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมก็จะเกิดการเสียดุลและอาจจะนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดได้ โดยผู้เขียนยกตัวอย่าง 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ให้นักวิชาการจีนได้ทราบ หลังจากนั้น 6 เดือน ก็เกิดปรากฏการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมิน)
จีนทุกวันนี้ประสบความสำเร็จ แต่จีนก็มีบทเรียนราคาแพงและขมขื่น บทเรียนดังกล่าวนี้น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับประเทศอื่นด้วย
ตัวอย่างที่หนึ่ง ใน ค.ศ. 1958 เหมา เจ๋อตุง มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถลุงเหล็กเพื่อแข่งขันกับประเทศในยุโรป และเพื่อการนี้ได้มีนโยบายอันสำคัญยิ่งคือนโยบายก้าวกระโดด (the great leap forward) โดยมีคำสั่งให้ทุกหมู่บ้านนำเหล็กที่ได้จากเครื่องมือเครื่องใช้ และเศษเหล็กต่างๆ ถลุงเป็นเหล็กเพื่อนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง
ในช่วงเวลานั้นตั้งแต่ 20.00 – 22.00 น. จะมีแสงไฟสว่างไสวในทุกหมู่บ้านทั่วแผ่นดินจีน ประชาชนในชนบทต่างทำการถลุงเหล็กตามคำสั่งของรัฐ โดยเรียกการถลุงเหล็กนั้นว่าเตาถลุงเหล็กสวนหลังบ้าน (the backyard furnace) ในขณะที่ทำการถลุงเหล็กนั้นเกษตรกรจำนวนมากควรที่จะต้องใช้เวลาทำการเพาะปลูกในไร่นา เลี้ยงสัตว์ ต้องเสียเวลาถลุงเหล็กตามคำสั่งของรัฐ ผลที่ตามมาก็คือ ความเสียหายอย่างใหญ่หลวง นโยบายก้าวกระโดดกลายเป็นนโยบายที่หกล้มตีลังกาถอยหลัง เหล็กที่ถลุงนั้นขาดคุณภาพกลายเป็นเศษเหล็กจำนวนล้านๆ ตัน
ขณะเดียวกันเกิดปัญหาการขาดแคลนผลผลิตทางเกษตรจนนำไปสู่การอดอยากและเสียชีวิตหลายล้านคน จนต้องมีการสั่งนำเข้าข้าวสาลีจากแคนาดามาชดเชยกับผลผลิตที่ขาดหายไป นโยบายก้าวกระโดดเป็นนโยบายที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เหมา เจ๋อตุง ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในที่ประชุม สิ่งที่เรียนรู้ได้จากปรากฏการณ์ดังกล่าวก็คือ การมุ่งเน้นถึงความมุ่งมั่นและพลังของมนุษย์ และความขยันหมั่นเพียร โดยขาดวิทยาการหรือวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอาจจะไม่สามารถทำการผลิตบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้อาศัยจากความขยันขันแข็งหรือความมุ่งมั่นแต่เพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากนั้นการไม่คิดอย่างรอบคอบ ไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจนนำไปสู่การอดอยาก แสดงถึงความหละหลวมในการกำหนดนโยบายของคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้น
(เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อผู้เขียนอยู่โรงเรียนมัธยม ญาติของครอบครัวที่อยู่เมืองจีนได้เขียนจดหมายมาเล่าเหตุการณ์ และขอให้ส่งเงินไปช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาเรื่องความยากจนและความอดอยาก)
ตัวอย่างที่สองคือ การปฏิวัติวัฒนธรรมในปลาย ค.ศ. 1960 จนถึงกลาง ค.ศ.1970 โดยเหมา เจ๋อตุง ปลุกระดมมวลชนที่เป็นคนรุ่นเยาว์ที่เรียกว่าเรดการ์ด ทำการคุกคามศัตรูทางการเมือง เช่น นายหลิว เส้าฉี และเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งหลิว เส้าฉี ถูกกักขังและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนเติ้ง เสี่ยวผิง ถูกถอดออกจากตำแหน่งยกเว้นการเป็นสมาชิกพรรค เหมา เจ๋อตุง รณรงค์ต่อต้านขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ปล่อยให้เรดการ์ดสร้างความปั่นป่วนขึ้นทั้งเมือง เปลี่ยนแปลงมาตรฐานของสังคม สัญญาณไฟจราจรสีแดงซึ่งปกติหมายถึงหยุด ยามแดงบางส่วนก็บอกให้ไปเพราะสีแดงเป็นสีแห่งความรุ่งเรืองของคอมมิวนิสต์ ส่วนไฟเขียวหมายถึงให้หยุด เป็นต้น
นอกเหนือจากนั้นยังทำลายวัดวาอาราม ทำลายศาลเจ้าและพระพุทธรูป ใช้ค้อนทุบโบราณวัตถุ มีการวิพากษ์วิจารณ์ครูบาอาจารย์ บิดามารดา และถือโอกาสกำจัดศัตรูทางการเมืองหรือคนที่ตนไม่ชอบ สังคมจีนตกอยู่ในสภาวะกลียุค นำไปสู่อนาธิปไตยไปทั่วทุกหัวระแหง จนต้องมีคำสั่งให้กองทัพปลดแอกประชาชนเข้าควบคุมสถานการณ์และสั่งให้เหล่ายามแดงหรือเรดการ์ดเดินทางไปสู่ชนบท ขณะเดียวกันการก่อสร้างใหม่ๆ การวิจัยทางวิชาการก็ไม่คืบหน้า ครูบาอาจารย์ต่างถูกส่งไปใช้แรงงานในชนบทเพื่อดัดนิสัยที่ยังมีการตกค้างของลัทธิทุนนิยมและค่านิยมศักดินา
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดความชะงักงันของการพัฒนาประเทศจีน เพราะจุดมุ่งเน้นอยู่ที่การกำจัดศัตรูทางการเมืองโดยใช้การปฏิวัติวัฒนธรรมมาอ้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบั้นปลายชีวิตของเหมา เจ๋อตุง ใน ค.ศ. 1976 ความผิดเพี้ยนต่างๆ กลับทวีคูณขึ้นเนื่องจากนางเจียง ชิง ซึ่งเป็นภรรยาของเหมา กับพวกทั้งสามคนที่เรียกว่าแก๊งทั้งสี่ใช้ยามแดงและนโยบายซึ่งอ้างว่าสั่งโดยเหมา เจ๋อตุง กำจัดศัตรูทางการเมืองเพื่อให้สิ้นซาก
ปรากฏการณ์การปฏิวัติวัฒนธรรมนอกจากสร้างความเสียหายในด้านต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือความเสียหายทางจิตใจ ผู้นำพรรคที่เคยต่อสู้ปลดแอกประเทศจีนหลายคนต้องถูกข่มเหงรังแกอย่างไม่เป็นธรรม โดยมีคนคราวลูกหลานเป็นเครื่องมือของศัตรูทางการเมือง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าทำให้ประเทศจีนชะงักงันในการพัฒนาทั้งในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ เป็นแผลทางจิตวิทยาและเป็นจุดด่างดำทางประวัติศาสตร์ที่ยังส่งผลถึงปัจจุบันในหมู่คนจำนวนร้อยๆ ล้านคน
(ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปกับคณะนักวิชาการ นำโดย ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล และ ศ.ดร.เขียน ธีระวิทย์ ไปเยี่ยมเยียนจีนในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ได้เห็นการรณรงค์และการเดินขบวนของพวกเรดการ์ด และการโจมตีเติ้ง เสี่ยวผิง โดยคณะนักวิชาการไปถึงกรุงปักกิ่งวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1976 อีกสองวันต่อมาคือวันที่ 7 เมษายน เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ถูกถอดจากทุกตำแหน่งเหลือเพียงสมาชิกภาพของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน จึงได้เห็นบรรยากาศของการรณรงค์ปลุกเร้ามวลชนโจมตีฝ่ายเติ้ง เสี่ยวผิง)
ตัวอย่างที่สามคือ เหตุการณ์เทียนอันเหมินใน ค.ศ. 1989 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งทำการประท้วงทางฝ่ายรัฐ โดยขอให้ทางรัฐเปิดให้มีเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น และเรียกร้องให้เปิดเสรีประเทศมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่รูปการณ์กลับกลายเป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างนายจ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ก่อนนั้นคือนายหู เย่าปัง ซึ่งมีความคิดในทางเสรีนิยม) กับฝ่ายของนายจาง
เจ๋อหมิน หลี่ เซียนเนียน และหลี่ เผิง เป็นต้น โดยเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้อาวุโสเป็นผู้เฝ้าดู การประท้วงของนักศึกษาได้ถูกประณามว่าเป็นพวกต่อต้านพรรคและต่อต้านสังคมนิยมทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไป ขณะที่นายจ้าว จื่อหยาง พยายามยุติการประท้วงของนักศึกษาและขอให้ถอนคำประณามดังกล่าวแต่ก็ไม่เป็นผล ทางฝ่ายเติ้ง เสี่ยวผิง หวั่นเกรงว่าจะเกิดความปั่นป่วนและนำไปสู่สภาวะการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ก็เอนเอียงไปในทางกลุ่มตรงกันข้ามกับนายจ้าว จื่อหยาง ข้อผิดพลาดก็คือนายจ้าว จื่อหยาง ได้เดินทางไปราชการที่ประเทศเกาหลีเหนือ
ในขณะเดียวกันนั้นทางฝ่ายตรงกันข้ามนายจ้าว จื่อหยาง ก็สามารถจูงให้ฝ่ายเติ้ง เสี่ยวผิง เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ความรุนแรงกับนักศึกษา เหตุการณ์กลับรุนแรงขึ้นเมื่อนายกอร์บาชอฟ เดินทางมาพบกับนักศึกษาและมิไยที่นายจ้าว จื่อหยาง จะพยายามพูดจูงใจให้นักศึกษาสลายการชุมนุมแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ผลสุดท้ายก็เกิดกรณีนองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมิน
เหตุการณ์นี้น่าจะหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้ แต่ทุกฝ่ายต่างยืนกรานในจุดยืนของตน ที่สำคัญคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์การปฏิวัติวัฒนธรรมทำให้เกิดรอยแผลทางจิตวิทยา ทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยจึงมีมาตรการที่รุนแรง และเป็นที่น่าเสียดายว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นแผลทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจนปัจจุบันนี้ กล่าวกันว่ามี 3T ที่จีนไม่อยากให้กล่าวถึง คือ เทียนอันเหมิน (Tiananmen) ไต้หวัน (Taiwan) และทิเบต (Tibet) ข้อที่น่าเรียนรู้คือนายจ้าว จื่อหยาง ไม่น่าจะเดินทางไปราชการที่เกาหลีเหนือ น่าจะอยู่ใกล้ชิดกับนายเติ้ง เสี่ยวผิง แทนที่จะออกจากฐานที่มั่นทางการเมือง ทำให้ฝ่ายศัตรูทางการเมืองสามารถพลิกเกมได้
(ผู้เขียนได้เดินทางไปประเทศจีน 29 ครั้ง และเคยบรรยายที่มหาวิทยาลัย เหริน หมิน ต้า เสว ที่กรุงปักกิ่ง และเคยบอกกับอาจารย์ที่นั่นว่าการเปิดประตูประเทศจีนเพื่อสี่ทันสมัย คือ อุตสาหกรรม เกษตร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการป้องกันประเทศ จะต้องนำไปสู่การขยายการศึกษาและการส่งนักเรียนจีนออกไปเรียนยังต่างประเทศ สังคมจีนก็ต้องเปิดกว้างขึ้น ย่อมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ถ้าระบบการเมืองไม่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมก็จะเกิดการเสียดุลและอาจจะนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดได้ โดยผู้เขียนยกตัวอย่าง 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ให้นักวิชาการจีนได้ทราบ หลังจากนั้น 6 เดือน ก็เกิดปรากฏการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมิน)
จีนทุกวันนี้ประสบความสำเร็จ แต่จีนก็มีบทเรียนราคาแพงและขมขื่น บทเรียนดังกล่าวนี้น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับประเทศอื่นด้วย