พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ ถึงสาเหตุที่สมเด็จฮุนเซนตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็น ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจว่า ตนไม่ทราบว่าสมเด็จฮุนเซนคิดยังไง แต่เท่าที่มองเห็น เป็นความสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนที่ดีเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรที่คนไทยคิดว่าไปอยู่ข้างศัตรูของชาติอย่างประเทศกัมพูชา พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การจะว่าใครสักคนต้องดูอดีตว่าผลงานที่ผ่านมา ทำอะไรมา ตลอดชิวิตที่ผ่านมาของตนทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สร้างมิตรภาพกับประเทศต่างๆ ให้เกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่ได้ทำงานและเป็นหัวใจที่จะพิจารณาคนๆ หนึ่งว่า มีเป้าหมายอะไรในอนาคตต้องดูอดีต และไม่เข้าใจว่าทำไมไปเห็นว่าเขาเป็นศัตรู แต่หากมีการมองอย่างนั้นจริงๆ ตนก็ไม่ทราบ คงต้องถามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีว่า เหตุใดจึงมีการมองเช่นนั้น
สำหรับในสถานการณ์ที่ทหารของทั้ง 2 ฝ่ายประจันหน้ากัน การไปให้คำปรึกษา กับกัมพูชาเท่ากับเป็นศัตรูของไทย พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ใครไปบอกว่า ตนให้คำปรึกษาเขา แต่ไปบอกว่าการเผชิญหน้ามันไม่ดี ซึ่งเขาก็เห็นด้วยกับการถอนกำลังทหารออกมา และให้ดำเนินการไปตามวิธีปกติของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ และคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก็อย่าเข้าไปยุ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเข้าพรรคเพื่อไทยพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้วหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนกลับเข้ามาสู่การเมืองอีกครั้งโดยมีความมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาประเทศชาติ ที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้แก้ไข ปัญหาที่สำคัญคือเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ความขัดแย้งระหว่างคนในประเทศ ปัญหาภาคใต้ ที่กลับมาก็อยากเข้ามาแก้ไขปัญหาที่ถูกทิ้งเอาไว้เท่านั้น และแรกเริ่มก็คิดว่าจะเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้น ไม่คิดจะเป็นผู้บริหารพรรค แต่เมื่อคนในพรรคสนับสนุนก็ยินดี แต่ไม่ได้คิดว่าจะเป็นหัวหน้าพรรคหรือนายกรัฐมนตรี จะมาแก้ปัญหาแค่ 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่งเท่านั้น นั่นคือเป้าหมาย
สำหรับปัญหาความสัมพันธ์กับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนไม่ทราบจริงๆ ว่าไปทำอะไรขัดแย้งกับท่าน อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อในความจงรักภักดีในชาติและราชบัลลังก์ของพล.อ.เปรม และเคยทำงานร่วมกับท่านมานาน แต่ไม่ทราบจริงๆ ว่ามีอะไรขัดแย้ง ขอความกรุณาสื่อช่วยถามท่านแล้วบอกตนทีว่ามีความขัดแย้งอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าประกาศจะสร้างความสมานฉันท์ในชาตินั้นจะมีแนวทาง การดำเนินการอย่างไร พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ เท่านั้น แต่เกิดยาวนานมากกว่า 77 ปี เพราะในประเทศไทยเป็นการเมืองการปกครอง ที่ไม่เป็นธรรม อำนาจไม่ได้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้เกิดสังคมที่แตกต่างกันและส่งผลให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น ต้องเข้าใจว่าสังคมที่แตกแยกคือสังคมที่แตกต่าง อย่างสังคมที่มีคนรวยนิดเดียวแต่คนจนมาก ความแตกต่าง ก็ทำให้เกิดปัญหาในรูปแบบต่างๆ ทำให้เกิดการต่อสู้กันในบ้านเมือง มีการจับปืนเข้าป่าไปต่อสู้กันเป็นสงครามกลางเมือง ต่อมาก็เกิดความขัดแย้งกันอีก มีประชาชนแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย มีเหลือง-แดง เอาไม้หน้าสามมาตีกัน การแก้ไขคือ ทำให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ทำให้ความแตกต่างทางสังคมน้อยลงความแตกแยก ก็น้อยลง หน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็อย่าไปยุ่งเกี่ยวมันก็จบ ให้เป็นอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะไปอยู่กัมพูชานานหรือไม่และมองอย่างไรกับความสัมพันธ์ของคนทั้ง 2 พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนยังไม่มีโอกาสคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณจึงไม่ทราบว่าจะอยู่กัมพูชานานหรือไม่ ส่วนความสัมพันธ์ของทั้งสองคิดว่า เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน สมเด็จฮุนเซนเป็นเพื่อนที่น่ารักมาก ตนยังอิจฉาและอยากมีเพื่อนอย่างนี้บ้าง
สำหรับการขอตัวพ.ต.ท.ทักษิณกลับมาประเทศไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้าย ข้ามแดนนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดในข้อกฎหมาย แต่อยากยกตัวอย่างในกรณีของนายซกเยือน ที่สมเด็จฮุนเซน ทำเรื่องขอตัวกลับไปดำเนินคดีในประเทศกัมพูชา โดยระบุว่าเป็นอาชญากร ประเทศไทยพิจารณาแล้ว ก็ยังไม่ส่งตัวกลับไปเลย ที่พูดนี่ไม่ได้ปกป้องสมเด็จฮุนเซน แต่อยากให้มองอย่างเข้าใจ มองกันอย่างมิตร เท่านั้นก็จบ
ต่อข้อถามว่ามองอย่างไรกับรัฐบาลในปัจจุบัน พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ความประสงค์จริงๆ อยากให้นายกรัฐมนตรียุบสภาวันพรุ่งนี้ เพราะตอนนี้เรตติ้งรัฐบาลสูง ก็อยากให้ยุบเสีย หากไปยุบหลังจากนี้หากเกิดเรื่องใหญ่จะเกิดแล้วจะแก้ปัญหายากขึ้นไปใหญ่ ส่วนปัญหาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นนั้นคืออะไร พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า รัฐบาลมีปัญหาใหญ่อยู่แล้วในเรื่องปัญหาเศรษฐกิจและการช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ให้พ้นจากความยากจน
ผู้สื่อข่าวถามว่าปัญหาของพ.ต.ท.ทักษิณคือปัญหาทางการเมืองหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมก็คือ เรื่องการเมือง หรือแม้แต่การปฏิวัติที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องการเมือง ดังนั้นควรพอได้แล้ว ไม่ควรมีปฏิวัติอีกแล้ว ที่ผ่านมาตนเป็นผบ.ทบ.มีอำนาจในมือก็ไม่เคยคิดที่จะปฏิวัติ และยังต่อต้านการปฏิวัติมาแล้วถึง 2 ครั้ง สุดท้ายผลของการปฏิวัติได้อะไรนอกจากรัฐธรรมนูญเพิ่มอีก 1 ฉบับ ซึ่งเรามีมา 18 ฉบับแล้ว ควรพอได้แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรที่คนไทยคิดว่าไปอยู่ข้างศัตรูของชาติอย่างประเทศกัมพูชา พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การจะว่าใครสักคนต้องดูอดีตว่าผลงานที่ผ่านมา ทำอะไรมา ตลอดชิวิตที่ผ่านมาของตนทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สร้างมิตรภาพกับประเทศต่างๆ ให้เกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่ได้ทำงานและเป็นหัวใจที่จะพิจารณาคนๆ หนึ่งว่า มีเป้าหมายอะไรในอนาคตต้องดูอดีต และไม่เข้าใจว่าทำไมไปเห็นว่าเขาเป็นศัตรู แต่หากมีการมองอย่างนั้นจริงๆ ตนก็ไม่ทราบ คงต้องถามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีว่า เหตุใดจึงมีการมองเช่นนั้น
สำหรับในสถานการณ์ที่ทหารของทั้ง 2 ฝ่ายประจันหน้ากัน การไปให้คำปรึกษา กับกัมพูชาเท่ากับเป็นศัตรูของไทย พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ใครไปบอกว่า ตนให้คำปรึกษาเขา แต่ไปบอกว่าการเผชิญหน้ามันไม่ดี ซึ่งเขาก็เห็นด้วยกับการถอนกำลังทหารออกมา และให้ดำเนินการไปตามวิธีปกติของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ และคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก็อย่าเข้าไปยุ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าการเข้าพรรคเพื่อไทยพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้วหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนกลับเข้ามาสู่การเมืองอีกครั้งโดยมีความมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาประเทศชาติ ที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้แก้ไข ปัญหาที่สำคัญคือเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ความขัดแย้งระหว่างคนในประเทศ ปัญหาภาคใต้ ที่กลับมาก็อยากเข้ามาแก้ไขปัญหาที่ถูกทิ้งเอาไว้เท่านั้น และแรกเริ่มก็คิดว่าจะเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้น ไม่คิดจะเป็นผู้บริหารพรรค แต่เมื่อคนในพรรคสนับสนุนก็ยินดี แต่ไม่ได้คิดว่าจะเป็นหัวหน้าพรรคหรือนายกรัฐมนตรี จะมาแก้ปัญหาแค่ 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่งเท่านั้น นั่นคือเป้าหมาย
สำหรับปัญหาความสัมพันธ์กับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนไม่ทราบจริงๆ ว่าไปทำอะไรขัดแย้งกับท่าน อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อในความจงรักภักดีในชาติและราชบัลลังก์ของพล.อ.เปรม และเคยทำงานร่วมกับท่านมานาน แต่ไม่ทราบจริงๆ ว่ามีอะไรขัดแย้ง ขอความกรุณาสื่อช่วยถามท่านแล้วบอกตนทีว่ามีความขัดแย้งอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าประกาศจะสร้างความสมานฉันท์ในชาตินั้นจะมีแนวทาง การดำเนินการอย่างไร พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ เท่านั้น แต่เกิดยาวนานมากกว่า 77 ปี เพราะในประเทศไทยเป็นการเมืองการปกครอง ที่ไม่เป็นธรรม อำนาจไม่ได้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้เกิดสังคมที่แตกต่างกันและส่งผลให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น ต้องเข้าใจว่าสังคมที่แตกแยกคือสังคมที่แตกต่าง อย่างสังคมที่มีคนรวยนิดเดียวแต่คนจนมาก ความแตกต่าง ก็ทำให้เกิดปัญหาในรูปแบบต่างๆ ทำให้เกิดการต่อสู้กันในบ้านเมือง มีการจับปืนเข้าป่าไปต่อสู้กันเป็นสงครามกลางเมือง ต่อมาก็เกิดความขัดแย้งกันอีก มีประชาชนแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย มีเหลือง-แดง เอาไม้หน้าสามมาตีกัน การแก้ไขคือ ทำให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ทำให้ความแตกต่างทางสังคมน้อยลงความแตกแยก ก็น้อยลง หน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็อย่าไปยุ่งเกี่ยวมันก็จบ ให้เป็นอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะไปอยู่กัมพูชานานหรือไม่และมองอย่างไรกับความสัมพันธ์ของคนทั้ง 2 พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนยังไม่มีโอกาสคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณจึงไม่ทราบว่าจะอยู่กัมพูชานานหรือไม่ ส่วนความสัมพันธ์ของทั้งสองคิดว่า เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน สมเด็จฮุนเซนเป็นเพื่อนที่น่ารักมาก ตนยังอิจฉาและอยากมีเพื่อนอย่างนี้บ้าง
สำหรับการขอตัวพ.ต.ท.ทักษิณกลับมาประเทศไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้าย ข้ามแดนนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดในข้อกฎหมาย แต่อยากยกตัวอย่างในกรณีของนายซกเยือน ที่สมเด็จฮุนเซน ทำเรื่องขอตัวกลับไปดำเนินคดีในประเทศกัมพูชา โดยระบุว่าเป็นอาชญากร ประเทศไทยพิจารณาแล้ว ก็ยังไม่ส่งตัวกลับไปเลย ที่พูดนี่ไม่ได้ปกป้องสมเด็จฮุนเซน แต่อยากให้มองอย่างเข้าใจ มองกันอย่างมิตร เท่านั้นก็จบ
ต่อข้อถามว่ามองอย่างไรกับรัฐบาลในปัจจุบัน พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ความประสงค์จริงๆ อยากให้นายกรัฐมนตรียุบสภาวันพรุ่งนี้ เพราะตอนนี้เรตติ้งรัฐบาลสูง ก็อยากให้ยุบเสีย หากไปยุบหลังจากนี้หากเกิดเรื่องใหญ่จะเกิดแล้วจะแก้ปัญหายากขึ้นไปใหญ่ ส่วนปัญหาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นนั้นคืออะไร พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า รัฐบาลมีปัญหาใหญ่อยู่แล้วในเรื่องปัญหาเศรษฐกิจและการช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ให้พ้นจากความยากจน
ผู้สื่อข่าวถามว่าปัญหาของพ.ต.ท.ทักษิณคือปัญหาทางการเมืองหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมก็คือ เรื่องการเมือง หรือแม้แต่การปฏิวัติที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องการเมือง ดังนั้นควรพอได้แล้ว ไม่ควรมีปฏิวัติอีกแล้ว ที่ผ่านมาตนเป็นผบ.ทบ.มีอำนาจในมือก็ไม่เคยคิดที่จะปฏิวัติ และยังต่อต้านการปฏิวัติมาแล้วถึง 2 ครั้ง สุดท้ายผลของการปฏิวัติได้อะไรนอกจากรัฐธรรมนูญเพิ่มอีก 1 ฉบับ ซึ่งเรามีมา 18 ฉบับแล้ว ควรพอได้แล้ว