ก่อนเข้าเรื่อง ขอทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านเรื่องศัพท์ “จินตภาพ”ในที่นี้ ว่ามีความหมายตรงกับคำว่า “concept” ในภาษาอังกฤษและคำว่า “概念” (ออกเสียงว่า “ไก้เนี่ยน”) ในภาษาจีน หมายถึงความรับรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระดับนามธรรม เห็นความเชื่อมโยงอย่างเป็นบูรณาการของสิ่ง เห็นธาตุแท้ของสิ่ง เข้าถึงแก่นแท้ของสิ่ง เห็นตัวกำหนดการขับเคลื่อนหรือเป็นไปของสิ่งได้อย่างถูกต้อง
ความรับรู้ในระดับ “จินตภาพ” จึงเป็นความรับรู้เหนือประสบการณ์ เหนือความรู้สึก แต่เป็นความรับรู้ที่ตั้งฐานอยู่บนฐานของเหตุและผล สามารถสะท้อนความเป็นจริงของสิ่งได้ด้วยการอธิบาย สามารถดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นๆ ได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง
ดังนั้น ความรับรู้ในระดับ “จินตภาพ” จึงต้องตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง มิใช่เกิดขึ้นได้แบบลอยๆ
เมื่อประยุกต์เข้ากับเรื่องการเมืองใหม่ คำว่า “การเมืองใหม่” ซึ่งสะท้อนความรับรู้ในระดับจินตภาพของชาวพันธมิตรฯ ต่อความเป็นจริงของการเมืองใหม่ที่เราร่วมกันขับเคลื่อน ก็คือความรับรู้ในความเป็นจริงที่เรากำลังทำอยู่ ด้วยการสั่งสมประสบการณ์ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้มาในระหว่างการเคลื่อนไหวต่อต้านการเมืองเก่าในระบอบทักษิณ จนเห็นปัญหาและคำตอบทีละส่วน ทีละด้าน ตระหนักในความชั่วร้ายของ “ทุนสามานย์” ในระบอบทักษิณ
การตระหนักถึง เข้าถึง แก่นแท้ (ความชั่วร้าย) ของทุนสามานย์ ในตัวเองก็คือความรับรู้ในระดับจินตภาพของชาวพันธมิตรฯ ที่มีต่อสิ่งที่ดำรงอยู่ (ทุนสามานย์) เกิดการปฏิเสธทุนสามานย์ และยืนหยัดต่อสู้กับทุนสามานย์ ที่เป็นอำนาจกำหนดของการเมืองเก่า
จากนั้น เมื่อเราเชื่อมโยงจินตภาพ “ทุนสามานย์” “การเมืองเก่า” เข้ากับภารกิจและเป้าหมายการต่อสู้ สิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริง ก็จะเกิดความคาดหวังในสิ่งใหม่ที่เราต้องการมาแทนที่สิ่งเก่า (ทุนสามานย์ การเมืองเก่า) สิ่งใหม่ที่คาดหวังว่าจะได้จึงเป็น “การเมืองใหม่”
“การเมืองใหม่” ที่เราคาดหวัง สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของชาวพันธมิตรฯ อุบัติขึ้นในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้กับการเมืองเก่าของทุนสามานย์ เป็นสิ่งใหม่ที่เราคาดหวังว่าจะเข้าแทนที่สิ่งเก่าที่เราปฏิเสธ
อย่างไรก็ดี ในระยะเริ่มแรก คำว่า “การเมืองใหม่” ยังเป็นเพียงเป้าหมาย หรือสิ่งที่ชาวพันธมิตรฯ คาดหมายว่า มันจะเกิดขึ้นมาแทนที่การเมืองเก่า เป็นสิ่งที่ชาวพันธมิตรฯ ต้องการ แต่ก็ยังอธิบายอะไรไม่ได้มากไปกว่าบอกว่า มันมีลักษณะ “ตรงกันข้าม” กับการเมืองเก่าอย่างไร ด้านไหนบ้าง เช่น เป็นการเมืองสะอาด ยังประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เป็นต้น (ตรงกันข้ามกับการเมืองเก่าที่สกปรก มุ่งแสวงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น ซึ่งเป็นมานาน จนเป็นที่รับรู้ทั่วไปในสังคม จนกระทั่งสามารถสรุปได้ว่า การเมืองเก่าเป็นต้นเหตุของความล้าหลังของประเทศชาติ เป็นต้นเหตุของความทุกข์ยากของประชาชน)
“การเมืองใหม่” ในระยะแรกๆ จึงไม่สามารถให้คำตอบไปมากกว่า “สิ่งที่เราต้องการ” ยังลอยอยู่กลางอากาศ จนกระทั่งเมื่อเราทำการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อล้างการเมืองเก่า เผชิญกับการคุกคาม ปราบปราม ทำลาย ที่มาจากฝ่ายต่างๆ และเมื่อบวกกับประสบการณ์ในอดีตของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ทั้งในประเทศและนอกประเทศ เราจึงได้ข้อสรุปเป็นเบื้องต้นว่า การเมืองใหม่จะได้มาก็ด้วยพลังอำนาจของมวลมหาชนที่ตื่นรู้ จำเป็นต้องทำการจุดเทียนปัญญา ดำเนินยุทธศาสตร์อย่างสอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของประเทศไทย ในบริบทของลักษณะยุคสมัยปัจจุบันของสังคมโลก
จึงได้เกิดแนวคิดว่า “การเมืองใหม่ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง”
ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ ชาวพันธมิตรฯ ได้เข้าใจเพิ่มเติมในเรื่อง “การเมืองใหม่” ทำให้องค์ประกอบของความเข้าใจเรื่องการเมืองใหม่มีความรอบด้านมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อผูกโยงกันเข้าเป็น “ภาพรวม” สิ่งที่เรียกว่า “การเมืองใหม่” ก็จะมีความหมายลึกซึ้ง แตกแขนงออกไป เชื่อมโยงเข้าเป็น “จินตภาพ” สะท้อนความคาดหวังของเราในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย รวมทั้งมองเห็นช่องทาง แนวทาง วิถีทาง วิธีการที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการเมืองใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ความรับรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเคลื่อนไหวต่อสู้กับกลุ่มทุนสามานย์เพื่อล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ ทำให้ชาวพันธมิตรฯ ได้ข้อสรุปใหม่ๆ ทีละด้านๆ เช่น ประชาชนต้องเป็นเจ้าภาพ “ทำเอง” ต้องสร้างอำนาจประชาชนซึ่งเป็นอำนาจปัญญา เพื่อต่อสู้เอาชนะอำนาจทุนสามานย์ ซึ่งจะกลายเป็นอำนาจกำหนดใหม่ เข้าแทนที่อำนาจกำหนดเก่าในที่สุด
ยิ่งกว่านั้น ยังทำให้เราเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่า ปัญหาปมเงื่อน หรือปัญหาที่เป็นความขัดแย้งหลัก ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศชาติ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน คือปัญหาทางการเมือง ที่การเมืองเก่าในการกำหนดของกลุ่มทุนสามานย์ครองฐานะครอบงำ ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล มุ่งกอบโกยผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและบริวารอย่างไร้คุณธรรม การแก้ไขปัญหาของประเทศจึงเป็นการแก้ไขปัญหาทางการเมือง ด้วยการล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ ที่สามารถดำเนินไปได้ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หาใช่เป็นปัญหาการกดขี่ทางชนชั้น ที่จะต้องแก้ไขด้วยการปฏิวัติทางชนชั้น ทำลายระบอบปกครองเก่า (ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) สร้างระบอบปกครองใหม่ (ระบอบสังคมนิยม แบบเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ) แต่ประการใดไม่
เมื่อเราเข้าใจลึกซึ้งกว้างขวางยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะได้ข้อสรุปใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเมืองใหม่ จะทำให้ทุกสิ่ง “เข้าที่เข้าทาง” เช่น กลไกรัฐ ก็จะกลายสภาพจากความเป็นเครื่องมือทำมาหากิน ฉ้อราษฎร์บังหลวงของเจ้าหน้าที่ข้าราชการ มาเป็น “เครื่องมือ” ที่ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวม อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง องค์กรเอกชน ก็จะแสดงบทบาทได้เต็มที่โดยไม่ต้องหวั่นเกรงต่ออำนาจอิทธิพลของกลไกรัฐ บุคคลทั่วไปก็จะมีอิสระ เสรีภาพยิ่งๆ ขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน คนดีก็ปรากฏ คนชั่วก็หดหาย ฯลฯ
สรุปคือ เนื้อในของ “จินตภาพ” การเมืองใหม่ จะเพิ่มทวีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ ทั้งในด้านการตีความและในด้านการปฏิบัติ เกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่า มันคืออะไร? สามารถทำได้อย่างไร? ใครจะเป็นผู้ลงมือทำ? เกิดแผนยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่พัฒนาก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในทุกขั้นตอนของการต่อสู้ ประกันให้พันธมิตรฯ ประสบชัยชนะในการต่อสู้กับกลุ่มทุนสามานย์ในด้านต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนตลอดไป
จนกระทั่งเราสามารถสถาปนาอำนาจกำหนดใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจของประชาชน ขึ้นแทนที่อำนาจกลุ่มทุนสามานย์ มีรัฐบาลจากพรรคการเมืองใหม่ที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนขึ้นใช้อำนาจบริหารประเทศ ทำให้ทุกสิ่ง “เข้าที่เข้าทาง”
เมื่อทุกสิ่งเข้าที่เข้าทาง สังคมไทยก็สามารถขับเคลื่อนตัวเองไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ประเทศชาติก็จะเจริญรุดหน้าไปเรื่อยๆ ประชาชนก็จะมีชีวิตสุขมากขึ้นเรื่อยๆ
สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ก็จะมั่นคง
ทั้งหมดที่กล่าวมา มิใช่จินตนาการเลื่อนลอย แต่ล้วนเป็นสิ่ง “อนุมาน” จากจินตภาพ “การเมืองใหม่” ของชาวพันธมิตรฯ ที่กำลังเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง ณ วันนี้ สามารถตีความได้ว่า “การเมืองใหม่ คือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่อำนาจกำหนดใหม่ (อำนาจประชาชน) เข้าแทนที่อำนาจกำหนดเก่า (อำนาจทุนนิยมสามานย์)”
ทั้งนี้ “การเมืองใหม่ สามารถสร้างได้ด้วยมือของประชาชน โดยประชาชนเป็นเจ้าภาพ ดำเนินการสร้างอำนาจประชาชน (อำนาจปัญญา) ให้เป็นอำนาจกำหนดใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจโดยรวมของมวลมหาประชาชนจากทุกชั้นชน ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกลัทธิความเชื่อ ทุกสาขาอาชีพ และทุกเพศวัย ดำเนินการต่อสู้เอาชนะอำนาจกำหนดเก่าในระบอบทักษิณและกลุ่มทุนสามานย์ทั้งหลายทั้งปวง”
ความรับรู้ในระดับ “จินตภาพ” จึงเป็นความรับรู้เหนือประสบการณ์ เหนือความรู้สึก แต่เป็นความรับรู้ที่ตั้งฐานอยู่บนฐานของเหตุและผล สามารถสะท้อนความเป็นจริงของสิ่งได้ด้วยการอธิบาย สามารถดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นๆ ได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง
ดังนั้น ความรับรู้ในระดับ “จินตภาพ” จึงต้องตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง มิใช่เกิดขึ้นได้แบบลอยๆ
เมื่อประยุกต์เข้ากับเรื่องการเมืองใหม่ คำว่า “การเมืองใหม่” ซึ่งสะท้อนความรับรู้ในระดับจินตภาพของชาวพันธมิตรฯ ต่อความเป็นจริงของการเมืองใหม่ที่เราร่วมกันขับเคลื่อน ก็คือความรับรู้ในความเป็นจริงที่เรากำลังทำอยู่ ด้วยการสั่งสมประสบการณ์ อารมณ์ความรู้สึกที่ได้มาในระหว่างการเคลื่อนไหวต่อต้านการเมืองเก่าในระบอบทักษิณ จนเห็นปัญหาและคำตอบทีละส่วน ทีละด้าน ตระหนักในความชั่วร้ายของ “ทุนสามานย์” ในระบอบทักษิณ
การตระหนักถึง เข้าถึง แก่นแท้ (ความชั่วร้าย) ของทุนสามานย์ ในตัวเองก็คือความรับรู้ในระดับจินตภาพของชาวพันธมิตรฯ ที่มีต่อสิ่งที่ดำรงอยู่ (ทุนสามานย์) เกิดการปฏิเสธทุนสามานย์ และยืนหยัดต่อสู้กับทุนสามานย์ ที่เป็นอำนาจกำหนดของการเมืองเก่า
จากนั้น เมื่อเราเชื่อมโยงจินตภาพ “ทุนสามานย์” “การเมืองเก่า” เข้ากับภารกิจและเป้าหมายการต่อสู้ สิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริง ก็จะเกิดความคาดหวังในสิ่งใหม่ที่เราต้องการมาแทนที่สิ่งเก่า (ทุนสามานย์ การเมืองเก่า) สิ่งใหม่ที่คาดหวังว่าจะได้จึงเป็น “การเมืองใหม่”
“การเมืองใหม่” ที่เราคาดหวัง สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของชาวพันธมิตรฯ อุบัติขึ้นในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้กับการเมืองเก่าของทุนสามานย์ เป็นสิ่งใหม่ที่เราคาดหวังว่าจะเข้าแทนที่สิ่งเก่าที่เราปฏิเสธ
อย่างไรก็ดี ในระยะเริ่มแรก คำว่า “การเมืองใหม่” ยังเป็นเพียงเป้าหมาย หรือสิ่งที่ชาวพันธมิตรฯ คาดหมายว่า มันจะเกิดขึ้นมาแทนที่การเมืองเก่า เป็นสิ่งที่ชาวพันธมิตรฯ ต้องการ แต่ก็ยังอธิบายอะไรไม่ได้มากไปกว่าบอกว่า มันมีลักษณะ “ตรงกันข้าม” กับการเมืองเก่าอย่างไร ด้านไหนบ้าง เช่น เป็นการเมืองสะอาด ยังประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เป็นต้น (ตรงกันข้ามกับการเมืองเก่าที่สกปรก มุ่งแสวงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น ซึ่งเป็นมานาน จนเป็นที่รับรู้ทั่วไปในสังคม จนกระทั่งสามารถสรุปได้ว่า การเมืองเก่าเป็นต้นเหตุของความล้าหลังของประเทศชาติ เป็นต้นเหตุของความทุกข์ยากของประชาชน)
“การเมืองใหม่” ในระยะแรกๆ จึงไม่สามารถให้คำตอบไปมากกว่า “สิ่งที่เราต้องการ” ยังลอยอยู่กลางอากาศ จนกระทั่งเมื่อเราทำการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อล้างการเมืองเก่า เผชิญกับการคุกคาม ปราบปราม ทำลาย ที่มาจากฝ่ายต่างๆ และเมื่อบวกกับประสบการณ์ในอดีตของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ทั้งในประเทศและนอกประเทศ เราจึงได้ข้อสรุปเป็นเบื้องต้นว่า การเมืองใหม่จะได้มาก็ด้วยพลังอำนาจของมวลมหาชนที่ตื่นรู้ จำเป็นต้องทำการจุดเทียนปัญญา ดำเนินยุทธศาสตร์อย่างสอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของประเทศไทย ในบริบทของลักษณะยุคสมัยปัจจุบันของสังคมโลก
จึงได้เกิดแนวคิดว่า “การเมืองใหม่ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง”
ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ ชาวพันธมิตรฯ ได้เข้าใจเพิ่มเติมในเรื่อง “การเมืองใหม่” ทำให้องค์ประกอบของความเข้าใจเรื่องการเมืองใหม่มีความรอบด้านมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อผูกโยงกันเข้าเป็น “ภาพรวม” สิ่งที่เรียกว่า “การเมืองใหม่” ก็จะมีความหมายลึกซึ้ง แตกแขนงออกไป เชื่อมโยงเข้าเป็น “จินตภาพ” สะท้อนความคาดหวังของเราในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย รวมทั้งมองเห็นช่องทาง แนวทาง วิถีทาง วิธีการที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการเมืองใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ความรับรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเคลื่อนไหวต่อสู้กับกลุ่มทุนสามานย์เพื่อล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ ทำให้ชาวพันธมิตรฯ ได้ข้อสรุปใหม่ๆ ทีละด้านๆ เช่น ประชาชนต้องเป็นเจ้าภาพ “ทำเอง” ต้องสร้างอำนาจประชาชนซึ่งเป็นอำนาจปัญญา เพื่อต่อสู้เอาชนะอำนาจทุนสามานย์ ซึ่งจะกลายเป็นอำนาจกำหนดใหม่ เข้าแทนที่อำนาจกำหนดเก่าในที่สุด
ยิ่งกว่านั้น ยังทำให้เราเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่า ปัญหาปมเงื่อน หรือปัญหาที่เป็นความขัดแย้งหลัก ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศชาติ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน คือปัญหาทางการเมือง ที่การเมืองเก่าในการกำหนดของกลุ่มทุนสามานย์ครองฐานะครอบงำ ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล มุ่งกอบโกยผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและบริวารอย่างไร้คุณธรรม การแก้ไขปัญหาของประเทศจึงเป็นการแก้ไขปัญหาทางการเมือง ด้วยการล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ ที่สามารถดำเนินไปได้ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หาใช่เป็นปัญหาการกดขี่ทางชนชั้น ที่จะต้องแก้ไขด้วยการปฏิวัติทางชนชั้น ทำลายระบอบปกครองเก่า (ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) สร้างระบอบปกครองใหม่ (ระบอบสังคมนิยม แบบเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ) แต่ประการใดไม่
เมื่อเราเข้าใจลึกซึ้งกว้างขวางยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะได้ข้อสรุปใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเมืองใหม่ จะทำให้ทุกสิ่ง “เข้าที่เข้าทาง” เช่น กลไกรัฐ ก็จะกลายสภาพจากความเป็นเครื่องมือทำมาหากิน ฉ้อราษฎร์บังหลวงของเจ้าหน้าที่ข้าราชการ มาเป็น “เครื่องมือ” ที่ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวม อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง องค์กรเอกชน ก็จะแสดงบทบาทได้เต็มที่โดยไม่ต้องหวั่นเกรงต่ออำนาจอิทธิพลของกลไกรัฐ บุคคลทั่วไปก็จะมีอิสระ เสรีภาพยิ่งๆ ขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน คนดีก็ปรากฏ คนชั่วก็หดหาย ฯลฯ
สรุปคือ เนื้อในของ “จินตภาพ” การเมืองใหม่ จะเพิ่มทวีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่ ทั้งในด้านการตีความและในด้านการปฏิบัติ เกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่า มันคืออะไร? สามารถทำได้อย่างไร? ใครจะเป็นผู้ลงมือทำ? เกิดแผนยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่พัฒนาก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในทุกขั้นตอนของการต่อสู้ ประกันให้พันธมิตรฯ ประสบชัยชนะในการต่อสู้กับกลุ่มทุนสามานย์ในด้านต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนตลอดไป
จนกระทั่งเราสามารถสถาปนาอำนาจกำหนดใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจของประชาชน ขึ้นแทนที่อำนาจกลุ่มทุนสามานย์ มีรัฐบาลจากพรรคการเมืองใหม่ที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนขึ้นใช้อำนาจบริหารประเทศ ทำให้ทุกสิ่ง “เข้าที่เข้าทาง”
เมื่อทุกสิ่งเข้าที่เข้าทาง สังคมไทยก็สามารถขับเคลื่อนตัวเองไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ประเทศชาติก็จะเจริญรุดหน้าไปเรื่อยๆ ประชาชนก็จะมีชีวิตสุขมากขึ้นเรื่อยๆ
สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ก็จะมั่นคง
ทั้งหมดที่กล่าวมา มิใช่จินตนาการเลื่อนลอย แต่ล้วนเป็นสิ่ง “อนุมาน” จากจินตภาพ “การเมืองใหม่” ของชาวพันธมิตรฯ ที่กำลังเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง ณ วันนี้ สามารถตีความได้ว่า “การเมืองใหม่ คือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่อำนาจกำหนดใหม่ (อำนาจประชาชน) เข้าแทนที่อำนาจกำหนดเก่า (อำนาจทุนนิยมสามานย์)”
ทั้งนี้ “การเมืองใหม่ สามารถสร้างได้ด้วยมือของประชาชน โดยประชาชนเป็นเจ้าภาพ ดำเนินการสร้างอำนาจประชาชน (อำนาจปัญญา) ให้เป็นอำนาจกำหนดใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจโดยรวมของมวลมหาประชาชนจากทุกชั้นชน ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกลัทธิความเชื่อ ทุกสาขาอาชีพ และทุกเพศวัย ดำเนินการต่อสู้เอาชนะอำนาจกำหนดเก่าในระบอบทักษิณและกลุ่มทุนสามานย์ทั้งหลายทั้งปวง”