ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.ไฟเขียว “พาณิชย์” ตั้งโต๊ะซื้อข้าวเปลือกเจ้าอายุสั้นช่วยเหลือเกษตรกร เหตุไม่ได้สิทธิ์ในโครงการประกันรายได้ของรัฐบาล “พรทิวา”เผยจะรับซื้อทันที คาดใช้เงินประมาณ 4 พันล้านบาท พร้อมใช้โอกาสร่วมคณะนายกฯ หารือญี่ปุ่น เปิดตลาดให้นำเข้าข้าวชนิดใหม่จากไทยภายใต้โควตา WTO แทนล๊อกสเป็กแค่ข้าวเมล็ดสั้นเพื่อเปิดตลาดส่งออกเพิ่ม ส่วนการเปิดจุดซื้อข้าวเหงา ไม่มีชาวนาเอาข้าวมาขาย เหตุโรงสี ผู้ส่งออกแย่งกันซื้อ หลังประเมินแนวโน้มราคาข้าวพุ่ง
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือกเจ้าที่มีอายุการเพาะปลูกน้อยกว่า 100 วัน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพราะไม่สามารถนำข้าวดังกล่าวมาเข้าร่วมโครงการประกันรายได้กับรัฐบาลได้ เบื้องต้นคาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกที่มีอายุการเพาะปลูกน้อยกว่า 100 วัน มีปริมาณทั้งหมด 4 แสนตัน และจะรับซื้อทั้งหมด โดยราคาข้าวเปลือกเจ้า 10% ราคาตันละ 8,189 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ราคาตันละ 7,789 บาท ซึ่งปลูกในพื้นที่จ.พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ เป็นต้น
“ครม.เห็นว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอายุสั้นมีปัญหา เพราะข้าวชนิดนี้ไม่ได้กำหนดให้เข้าร่วมโครงการประกันรายได้กับรัฐบาล จึงได้อนุมัติให้มีการเปิดจุดรับซื้อข้าวดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยหน่วยงานที่ซื้อข้าว ทั้งอคส.และอ.ต.ก. จะใช้เงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) มารับซื้อข้าวจำนวนดังกล่าว คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 4 พันล้านบาท”นางพรทิวากล่าว
สำหรับข้าวเปลือกเจ้าที่มีอายุการเพาะปลูกน้อยกว่า 100 วัน เป็นข้าวนาปรังที่ใช้ระยะเวลาการเพาะปลูก 75 วัน ซึ่งเกษตรกรเร่งปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดเร็วกว่าการปลูกข้าวปกติทั่วไป
นางพรทิวากล่าวว่า จะเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 3-5 พ.ย.นี้ ร่วมกับคณะของนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะใช้โอกาสนี้เข้าพบรมว.กระทรวงเกษตร และรมว.กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (เมติ) ของญี่ปุ่น เพื่อขอให้ญี่ปุ่นเพิ่มการนำเข้าข้าวภายในโควตาที่เปิดไว้ตามกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยให้ญี่ปุ่นเปิดให้มีการนำเข้าข้าวชนิดใหม่จากไทยเพิ่มขึ้น แทนที่จะกำหนดไว้เฉพาะข้าวเมล็ดสั้น ซึ่งไทยไม่ได้ปลูก แต่ไทยปลูกข้าวเมล็ดยาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มตลาดการส่งออกข้าวให้กับไทยได้เพิ่มขึ้น
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า หลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดจุดรับซื้อข้าวตามมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในโครงการประกันรายได้เกษตรกร เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา 18 จุด จนถึงขณะนี้ยังไม่มีเกษตรกรรายใดนำข้าวมาเข้าร่วมโครงการเปิดจุดรับซื้อกับกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากข้าวในตลาดขณะนี้ปรับตัวสูงขึ้น จากแนวโน้มผลผลิตข้าวโลกลดลง เพราะเกิดภัยธรรมชาติ และผลผลิตข้าวของประเทศสำคัญๆ ก็ประสบภาวะเสียหาย ทำให้โรงสีและผู้ส่งออก แข่งขันซื้อข้าวในตลาด โดยให้ราคาสูงกว่ารัฐบาลที่รับซื้อตามราคาอ้างอิง
โดยราคาข้าวสารในตลาด ณ วันที่ 2 พ.ย. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (100 กก.) อยู่ที่ 3,270-3280 บาท สูงกว่าราคา ณ วันที่ 30 ต.ค. อยู่ที่ 3,220-3,230 บาท ข้าวหอมปทุมธานี 2,250-2,260 บาท จาก 2,200-2,210 บาท ข้าวขาว 100% ชั้น 2 (100 กก.) 1,620-1,630 บาท จาก 1,600-1,610 บาท ข้าวขาว 5% 1,550-1,560 จาก 1,540-1,550 บาท ข้าวขาว 25% 1,350-1,360 บาท จาก 1,330-1,340 บาท เป็นต้น ส่วนราคาตลาดข้าวเปลือกเจ้า 5% อยู่ที่ตันละ 8,000-9,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 8,900-9,000 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิ 1.31-1.41 หมื่นบาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว 8,000-9,000 บาท/ตัน
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือกเจ้าที่มีอายุการเพาะปลูกน้อยกว่า 100 วัน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพราะไม่สามารถนำข้าวดังกล่าวมาเข้าร่วมโครงการประกันรายได้กับรัฐบาลได้ เบื้องต้นคาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกที่มีอายุการเพาะปลูกน้อยกว่า 100 วัน มีปริมาณทั้งหมด 4 แสนตัน และจะรับซื้อทั้งหมด โดยราคาข้าวเปลือกเจ้า 10% ราคาตันละ 8,189 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 25% ราคาตันละ 7,789 บาท ซึ่งปลูกในพื้นที่จ.พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ เป็นต้น
“ครม.เห็นว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอายุสั้นมีปัญหา เพราะข้าวชนิดนี้ไม่ได้กำหนดให้เข้าร่วมโครงการประกันรายได้กับรัฐบาล จึงได้อนุมัติให้มีการเปิดจุดรับซื้อข้าวดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยหน่วยงานที่ซื้อข้าว ทั้งอคส.และอ.ต.ก. จะใช้เงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) มารับซื้อข้าวจำนวนดังกล่าว คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 4 พันล้านบาท”นางพรทิวากล่าว
สำหรับข้าวเปลือกเจ้าที่มีอายุการเพาะปลูกน้อยกว่า 100 วัน เป็นข้าวนาปรังที่ใช้ระยะเวลาการเพาะปลูก 75 วัน ซึ่งเกษตรกรเร่งปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดเร็วกว่าการปลูกข้าวปกติทั่วไป
นางพรทิวากล่าวว่า จะเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 3-5 พ.ย.นี้ ร่วมกับคณะของนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะใช้โอกาสนี้เข้าพบรมว.กระทรวงเกษตร และรมว.กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (เมติ) ของญี่ปุ่น เพื่อขอให้ญี่ปุ่นเพิ่มการนำเข้าข้าวภายในโควตาที่เปิดไว้ตามกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยให้ญี่ปุ่นเปิดให้มีการนำเข้าข้าวชนิดใหม่จากไทยเพิ่มขึ้น แทนที่จะกำหนดไว้เฉพาะข้าวเมล็ดสั้น ซึ่งไทยไม่ได้ปลูก แต่ไทยปลูกข้าวเมล็ดยาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มตลาดการส่งออกข้าวให้กับไทยได้เพิ่มขึ้น
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า หลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดจุดรับซื้อข้าวตามมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในโครงการประกันรายได้เกษตรกร เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา 18 จุด จนถึงขณะนี้ยังไม่มีเกษตรกรรายใดนำข้าวมาเข้าร่วมโครงการเปิดจุดรับซื้อกับกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากข้าวในตลาดขณะนี้ปรับตัวสูงขึ้น จากแนวโน้มผลผลิตข้าวโลกลดลง เพราะเกิดภัยธรรมชาติ และผลผลิตข้าวของประเทศสำคัญๆ ก็ประสบภาวะเสียหาย ทำให้โรงสีและผู้ส่งออก แข่งขันซื้อข้าวในตลาด โดยให้ราคาสูงกว่ารัฐบาลที่รับซื้อตามราคาอ้างอิง
โดยราคาข้าวสารในตลาด ณ วันที่ 2 พ.ย. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (100 กก.) อยู่ที่ 3,270-3280 บาท สูงกว่าราคา ณ วันที่ 30 ต.ค. อยู่ที่ 3,220-3,230 บาท ข้าวหอมปทุมธานี 2,250-2,260 บาท จาก 2,200-2,210 บาท ข้าวขาว 100% ชั้น 2 (100 กก.) 1,620-1,630 บาท จาก 1,600-1,610 บาท ข้าวขาว 5% 1,550-1,560 จาก 1,540-1,550 บาท ข้าวขาว 25% 1,350-1,360 บาท จาก 1,330-1,340 บาท เป็นต้น ส่วนราคาตลาดข้าวเปลือกเจ้า 5% อยู่ที่ตันละ 8,000-9,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 8,900-9,000 บาท/ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิ 1.31-1.41 หมื่นบาท/ตัน และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว 8,000-9,000 บาท/ตัน