"จิ๋ว"ฟุ้งนโยบาย "ไทยร่มเย็น เป็นมิตรเพื่อบ้าน" แก้ความขัดแย้งคนในชาติ และปัญหากับเพื่อนบ้านได้ เตรียมเยือนมาเลย์ พม่า เวียดนาม ลาว จีน เสนอดับไฟใต้ด้วยการตั้ง"นครปัตตานี" ให้ประชาชนในพื้นที่สามารถดูแลตัวเอง แต่ยังอยู่ภายใต้รธน. ด้านปชป. เย้ยแผน"จิ๋ว" จะทำให้ "ไทยร้อนรุ่ม ชักศึกเข้าบ้าน" ชี้ไอเดีย"รัฐปัตตานี" ขัดรธน.ระวังเจอข้อหากบฎ
วานนี้ (2 พ.ย.) พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคและนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์โฆษกพรรค ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย "ไทยร่มเย็น เป็นมิตรเพื่อนบ้าน" ซึ่งเป็นนโยบายด้านความมั่นคง และด้านต่างประเทศของพรรค
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า สถานการณ์ความขัดแย้งของคนในชาติมีมาโดยตลอด และมารุนแรงเพิ่มมากขึ้นหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ซึ่งได้แพร่ขยายไปทุกองค์กร ลงมาถึงครอบครัว ความขัดแย้งแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคิดว่าอีกกลุ่มเป็นเผด็จการทหาร อีกกลุ่มชี้กลับมาว่า เป็นเผด็จการรัฐสภาใช้เงินเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง แต่แก้ไม่ถูก แก้ไม่เป็น จึงยังไม่มีแนวทางอันใดทำให้ประชาชนเข้าใจได้ว่าจะแก้ได้ แนวทางรัฐบาลมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมาย ความจริงการแก้เศรษฐกิจไม่ใช่ปัญหาหลักของชาติ แต่ปัญหาความขัดแย้งคนในชาติ หากจบลงการลงทุนจากภายนอก มันจะหมุนไปเอง
พล.อ.ชวลิต กล่าวด้วยว่าผลจากความขัดแย้งในชาติ ยังส่งผลไปถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วย ขณะเดียวกันเรื่องความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ก็ยังคงรุนแรง ตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามายังไม่เห็นการแก้ไขเหมือนกัน เมื่อวันที่ 31 ต.ค. นายกฯไปพบปะนักธุรกิจ 5 จว.ใต้ ที่อ.หาดใหญ่ ท่านพูดทุกปัญหา แต่ไม่ได้กล่าวถึงความขัดแย้งของคนในพื้นที่
"น่าเสียดาย เมื่อท่านกลับมาแล้ว เพื่อนคนหนึ่งโทรมาหาผมบอกว่า ได้ยินการพูดลักษณะดังกล่าวมา 20-30 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นนโยบายของเรา ไทยร่มเย็น เป็นมิตรกับเพื่อนบ้าน มีความสำคัญมากพรรคเราจะมุ่งมั่นแก้ปัญหาหลัก ให้เสร็จสิ้นบนความจำกัด ทั้งเรื่องอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ และอีกหลายด้าน แต่ที่เรามีคือการสนับสนุนจากประชาชนที่ต้องการให้เราแก้ไขปัญหา แม้จะเป็นพรรคฝ่ายค้าน"
**ไม่แก้ปัญหาประชาชนจะลุกฮือ
พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่าวันนี้เราได้เสนอแนวทาง และบอกกับสังคมมาโดยตลอดว่า ความขัดแย้งวันนี้ไม่ใช่ของแปลกใหม่ แต่เกิดมา 77 ปีแล้ว นับแต่คณะราษฎร์ เอาพระราชอำนาจมาจาก ร.7 และได้พยายามสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พยายามถ่ายเทอำนาจจากพระองค์ท่านมาให้ประชาชน จากรัชกาลที่ 5 มาถึงรัชกาลที่ 6 กำลังสำเร็จ แต่เราไปหยิบฉวยมาก่อน พระองค์ท่านจึงรับสั่งยินดีให้มอบพระราชอำนาจให้ประชาชน ไม่ใช่กลุ่มบุคคลหนึ่งบุคคลใด
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ คนไทยยังเชื่อว่า เรายังไม่มีรัฐบาลโดยประชาชน เพื่อประชาชน คือปัญหาที่ต้องแก้ไข ซึ่งการแก้ปัญหาที่รัฐบาลพยายามจะแก้ เพื่อให้ระบบเป็นไปโดยประชาชน เพื่อประชาชน พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เห็นว่าแนวทางที่จะแก้ คือ ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม ไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลกระโดดข้ามขั้นตอนตรงนี้ โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มองว่าแก้มามากแล้วถึง 18 ฉบับ แต่ปัญหาก็ยังแก้ไขไม่ได้ ทางที่ดี ควรรวมพลังมาทำงานให้ประชาชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
"เพราะไม่อยากเห็นรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไม่ถูกทาง เพราะสิ่งสำคัญ และไม่ยากเย็น แม้แต่น้อยในการแก้ปัญหา แต่รัฐบาลไม่ดำเนินการ จึงเป็นห่วงว่าถ้าไม่แก้ ยังเป็นเช่นนี้ คนที่ไม่มีอำนาจ พี่น้องประชาชนจะลุกขึ้นมาแก้ แล้ววันนั้นพวกเราจะเสียใจที่สุด เพราะต้องเกิดความรุนแรงอย่างแน่นอน" พล.อ.ชวลิตกล่าว
** เสนอตั้ง"นครปัตตานี"ดับไฟใต้
สำหรับการสร้างความเป็นธรรมในภาคใต้ ไม่ใช่เรื่องยาก ปัญหามาจากความคับแค้นเพราะการเมืองการปกครองที่ไม่เป็นธรรม หากจับจุดตรงนี้ได้ ก็สามารถแก้ปัญหาได้ พรรคเพื่อไทยเสนอแนวทาง"นครปัตตานี" ที่ลักษณะคล้ายกับ นครเชียงใหม่ คือให้มีการออก พ.ร.บ.ให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเองโดยให้เกียรติกับประชาชนในพื้นที่ แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายไทย ส่วนรายละเอียดขึ้นอยู่กับรัฐบาล
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า วันนี้ (3 พ.ย.) ตนจะลงไปพบปะประชาชน คาดว่าการลงไปครั้งนี้จะมีประชาชนมาร่วมรับฟังการสัมมนากว่า 2,000 คน แม้เราไม่ได้มีอำนาจ งบประมาณหรือกำลังทหาร แต่คนในพื้นที่ก็ยังมีน้ำใจให้กับเรา เป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาลมากกว่าเงินทอง
**เดินสายเยี่ยม 4 ปท.เพื่อนบ้าน-จีน
พล.อ.ชวลิต ยังกล่าวถึงการแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านว่ากลางเดือนพ.ย.นี้ จะเดินทางไปกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทำแผนทำงานร่วมกัน อาทิ ไปหารือที่เราจะช่วยปลูกข้าว มาเลเซียอาจมาช่วยเราปลูกยาง และร่วมทำอุตสาหกรรมฮาลาลด้วยกัน จากนั้นจะไปประเทศพม่า ซึ่งเป็นมิตรที่ดีต่อเรา เพียงแต่เราต้องมองเขาเป็นมิตรด้วย
ต่อจากนั้นจะไปประเทศเวียดนามไปเยี่ยม นายหงอเวียนย๊าป วีรบุรุษเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นเพื่อนตน อายุ 90 ปีแล้ว ต่อจากนั้นจะไปเยือนประเทศลาวไปหาพี่น้องลาว ซึ่งตนมีเพื่อนเป็นรัฐมนตรีหลายคน เสร็จสิ้นหลังจากนั้นจะไปจีน ขอรับรองว่านโยบายของเรา มีเจตจำนงที่จะนำความสงบสุข มาสู่พี่น้องคนไทย
** ชวน"บิ๊กบัง-ส.ส.รัฐบาล-ปชป." ลงใต้
เมื่อถามว่า รูปแบบนครปัตตานี เป็นอย่างไร พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การออกรายละเอียดต้องมีการพูดคุยกัน ถ้าไม่พูดก็ไม่รู้ นครปัตตานี เหมือนเชียงใหม่ กทม. คือต้องออกพ.ร.บ.ให้เขามีขอบเขตดูแลตนเอง โดยเฉพาะวิถีชีวิต มุสลิมของเขา การดำเนินการใด ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย คือให้เกียรติเขาดูแลตนเองได้ในระดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การลงพื้นที่ 3 จว.ภาคใต้จะเชิญ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ไปด้วยหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าได้เชิญทุกท่านทั้งพล.อ.สนธิ นายเด่น โต๊ะมีนา นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ นายแวมาฮะดี แวดาโอะ นายเจ๊ะอามิง โต๊ะตาหยง โดยการลงไปครั้งนี้จะไปฟังความเห็น องค์กรประชาสังคม ที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่เราได้ติดต่อและทำงานร่วมกันมาหลายปีแล้ว
เมื่อถามว่าได้เชิญ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ไปด้วยหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าว่าไม่ได้เชิญ แต่ทุกคนมีสิทธิลงไปได้หมด
เมื่อถามว่าเหตุใดรัฐบาลให้ความสำคัญกับพ.ต.ท.ทักษิณ มากกว่าการแก้ปัญหาให้ประเทศ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าไม่ทราบจริงๆ เดี๋ยวไปถามรัฐบาลให้ เมื่อถามถึงกรณีนายกฯหารือกับ ผบ.ทบ.และแสดงความแปลกใจกับการลงพื้นที่ของประธานพรรคเพื่อไทย พล.อ.ชวลิตกล่าวว่า ท่านคงเป็นอย่างนั้นเอง ที่สนใจเรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็เป็นธรรมดา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกำหนดการลงพื้นที่ จ.ปัตตานี ของพล.อ.ชวลิต ในวันนี้ (3พ.ย.) จะออกเดินทางโดยเครื่องบินเวลา 09.20 น.จากสนามบินดอนเมืองไปลงสนามบินหาดใหญ่ จ.สงขลา จากนั้นจะมีกำหนดการเวลา 14.00 น. พบปะประชาชน และตัวแทนองค์กรภาคต่างๆ ที่ โรงแรมเซาว์เทินร์วิว จ.ปัตตานี โดยจะเดินทางกลับ กทม. ถึงสนามบินดอนเมืองในเวลา 21.00 น.
**นายกฯ มาเลย์เยือนไทยต้น ธ.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเช้าวันเดียวกันนี้ (2 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้การประชุมร่วมกับฝ่ายความมั่น ที่บ้านพิษณุโลก โดยนายอภิสิทธิ์ เปิดเผยหลังการประชุมว่า ได้มีการหารือเพื่อรับมุมมองของคนที่ทำงานกับองค์กรภาคประชาชน เพราะว่าปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับภาคใต้ คือมุมมองที่อาจจะแตกต่างกัน ระหว่างคนที่ทำงานที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐกับในส่วน ของคนที่คลุกคลีกับองค์กรเอกชน จะได้ทราบข้อห่วงใยต่างๆ และแก้ปัญหาได้ถูกจุด
อย่างไรก็ตาม ปัญหารที่ต้องแก้ไขปรับปรุงก็ยังเป็นเรื่องเดิมๆ ที่ยังมีความเข้าใจว่ามีการละเมิดสิทธิ์ ในส่วนของการทำหน้าที่ ซึ่งก็พยายามที่จะปรับปรุงระบบมาตลอดเวลา ทั้งนี้การพูดคุย ไม่เกี่ยวกับการที่ พล.อ.ชวลิต จะเดินทางไปพบนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย
เมื่อถามย้ำว่าได้มีการหารือเรื่อง พล.อ.ชวลิตไปภาคใต้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่าไม่ได้พูดเลย เราประเมินในแง่รับฟังผู้ที่ไปที่ปฏิบัติงานอยู่กับเอ็นจีโอ ว่ามีความรู้สึกอย่างไร สถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงไปทางไหนอย่างไร อุปสรรคเรื่องการตกหล่นการเยียว เรื่องของงบประมาณที่ลงไปในการพัฒนาระดับหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านต้องการมีส่วนร่วม
เมื่อถามว่ามีการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาที่เกี่ยวกับการเมืองภายในที่เริ่มเอาการเมืองนอกประเทศมากดดันการเมืองภายในด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงแล้วไม่ได้คุยกันเรื่องนี้ และอย่างที่เรียนไปแล้วก่อนหน้านี้ ไม่มีปัญหาอะไร เราก็เดินหน้าทำงานทำความเข้าใจไป
เมื่อถามว่านโยบายมั่นคงเร่งด่วนจะมีการปรับอย่างไรบ้าง นายกฯ กล่าวว่า ในส่วนของที่เกี่ยวกับสิทธิขณะนี้จะมีระบบบันทึกในเรื่องของการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน(พรก.ฉุกเฉิน) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และกำลังจะนำกฎหมายความมั่นคงเข้ามาใช้ใน 4 อำเภอจังหวัดสงขลา ซึ่งตนได้กำชับทางตำรวจให้เร่งรัดคดีซึ่งอยู่ในความสนใจ เพราะว่า ออกหมายจับแล้วแต่ยังจับตัวไม่ได้
เมื่อถามว่าการนำพ.ร.บ. ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาใช้ใน 4 อำเภอ แทนกฎอัยการศึกทำให้โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการลดอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติงาน นายกฯ กล่าวว่า หลักการคือการปรับลดอำนาจเจ้าหน้าที่ลงมา และผ่านการหารือกับทุกฝ่ายแล้ว การที่ โฆษก กอ.รมน.ออกมาแสดงความเห็นน่าจะเป็นเรื่องของความห่วงใยมากกว่า
เมื่อถามว่า กรณีนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เสนอให้ตั้งเขตปกครองพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกฯ กล่าวว่าคำนี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า autonomy หรือเขตปกครองพิเศษ ซึ่งเป็นหลักที่ว่าต้องการให้ประชาชนมีสิทธิมีเสียงในการร่วมบริหารมากขึ้น ความจริงเรื่องการกระจายอำนาจเราก็ทำในรูปแบบปกติอยู่แล้ว การที่เราจะมีกฎหมายใหม่ จะนำไปสู่การบริหารจัดการที่มีความพิเศษเรื่องของเขตเศรษฐกิจและอื่นๆ ก็จะ สอดคล้องกัน แต่ว่าคำว่า autonomy มีปัญหาอยู่เสมอ หลายคนเข้าใจระดับความเป็นอิสระที่แตกต่างกันไป แต่ของเราต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่าการที่เราเคยพบทวิภาคีกับนายกฯมาเลเซีย จะมีการสานต่อหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มี นายกฯมาเลเซียจะเดินทางมาในต้นเดือนธ.ค.นี้ ประมาณสัปดาห์แรก ก็จะคุยกันต่อเรื่องนี้ ส่วนที่มองว่าปัญหาใต้ยังไม่ได้ข้อสรุป นายกฯ กล่าวว่า ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนขบวนการ ทั้งเรื่องกฎหมาย ทั้งเรื่องตัวองค์กร และแนวของการพัฒนาที่กำลังทำก็ต้องใช้เวลา 2-3 ปี
**เย้ยจิ๋ว"ไทยร้อนรุ่ม ชักศึกเข้าบ้าน"
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยออกมาระบุว่า นโยบายด้านความมั่นคง และนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลล้มเหลวโดยเฉพาะสถานการณ์ใน 3 จว.ภาคใต้ว่า เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยเฉพาะตัวรมว.ต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถก็เคยเป็นอดีตปลัดกระทรวง และอดีตเอกอัคราชทูตในหลายประเทศ สามารถทำงานได้เลยโดยไม่ต้องเรียนรู้งาน
อย่างไรก็ตาม การที่พรรคเพื่อไทย ออกนโยบาย"ไทยร่มเย็นฯ" เพื่อออกมาแข่งขันกับรัฐบาล ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ประชาชนจะได้มีข้อเปรียบเทียบกัน แต่ไม่ใช่การใช้วิธีการดิสเครดิตประเทศชาติ ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย อย่างเช่นที่ไปเยือนกัมพูชาที่ผ่านมา รวมถึงการจะไปเยือนมาเลเซีย และพม่าในเร็วๆ นี้ด้วย
"การที่พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบาย "ไทยร่มเย็น เป็นมิตรกับเพื่อนบ้าน" เป็นเพียงแค่การสร้างภาพทางการเมือง เพื่อมารองรับบทบาทของ พล.อ.ชวลิต มากกว่าในทางปฏิบัติ หากดูพฤติกรรมของพล.อ.ชวลิต ก็น่าจะเปลี่ยนนโยบายนี้เป็น "ไทยร้อนรุ่ม ชักศึกเข้าบ้าน" ซึ่งตรงกับแนวทางการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศของพล.อ.ชวลิตมากกว่า" นายเทพไทกล่าว
**ชี้"รัฐปัตตานี"ขัด รธน.ข้อหากบฎ
นายเทพไท ยังกล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต เสนอตั้งนครรัฐปัตตานี ว่า ความจริงเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนไม่ทราบวัตถุประสงค์แท้จริงของพล.อ.ชวลิต ว่าเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาทำไม เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ และไม่ทราบว่าโครงสร้างของนครรัฐปัตตานี ที่เสนอมามันเป็นอย่างไร ถ้ามีจุดมุ่งหมายเพื่อจะให้เป็นรัฐอิสระ ก็เข้าข่ายที่จะมีความผิดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ที่ระบุว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ซึ่งความผิดในเรื่องนี้โทษฐานเป็นกบฎในราชอาณาจักรได้ และเชื่อว่าการเสนอแนวคิดนี้ออกมาจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะเป็นปัญหาระดับชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานความมั่นคง จะต้องเข้ามาตรวจสอบ ดูแลอย่างใกล้ชิด จึงอยากเรียกร้องให้พล.อ.ชวลิต ออกมาอธิบายถึงโครงสร้างและเจตนารมณ์ที่แท้จริงว่าต้องการอะไร ไม่อยากให้เสนอขึ้นมาเพื่อสร้างความแตกแยกเกิดขึ้นในชาติและตัวเองก็จะปฏิเสธความรับผิดชอบ เหมือนหลายๆโครงการที่เคยทำมา
**"จิ๋ว"ไปมาเลย์ไม่กระทบรัฐบาล
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จะเดินทางมาประเทศไทย ระหว่างวันที่ 8-10 ธ.ค.นี้ โดยจะพบกับนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ขึ้นมาพบกันที่ กทม. ส่วนประเด็นการหารือมีหลายเรื่อง ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ในภาพรวม ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ บุคคลสองสัญชาติ และความร่วมมือตั้งแต่สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็นการทบทวนสถานะและความต่อเนื่อง หลังจากที่นายกรัฐมนตรีไทย เคยไปเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
เมื่อถามว่ากรณี พล.อ.ชวลิต จะเดินทางไปมาเลเซีย จะส่งผลกระทบอะไรหรือไม่ นายกษิต กล่าวว่าเป็นเรื่องของพล.อ.ชวลิต ซึ่งถือเป็นสิทธิของท่าน แต่คิดว่าคงจะไม่มีผลกระทบอะไร แต่การที่ผู้ใหญ่เดินทางไปก็ต้องติดตามดู เป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ไม่ได้พิเศษอะไร
เมื่อถามว่าคิดว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับที่พล.อ.ชวลิตไปพบกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาหรือไม่ นายกษิต กล่าวว่า"ไม่ทราบ ต้องไปถาม พล.อ.ชวลิต เราไม่มีปัญหาอะไร แต่ผมก็ไม่ทราบว่าท่านไปพูดอะไรกับสมเด็จฮุนเซน" นายกษิตกล่าว
**"บิ๊กบัง"ปัดลงใต้พร้อม"จิ๋ว"
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าที่หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ กล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต เชิญตนร่วมเดินทางลงไป 3 จว.ภาคใต้ ในวันนี้ ว่าพล.อ.ชวลิตได้ให้คนส่งเป็นหนังสือผ่านมา แต่ตนคงไม่เดินทางไปด้วย เพราะคงไม่เหมาะสม และตอนนี้ไม่ค่อยมีเวลามากนัก ต้องไปเรียนหนังสือ
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าจะเป็นแนวร่วมเดียวกับพรรคเพื่อไทยนั้น ยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะตนเดินทางมาเส้นทางนี้ จะไปทำอย่างนั้นไม่ได้ การที่พล.อ.ชวลิต ทำหนังสือชวนตน ก็คงเป็นกลยุทธ์ของท่าน
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเป็นการสร้างความระแวงระหว่างกันให้เกิดขึ้นพล.อ.สนธิ กล่าวว่า เป็นไปได้
"ทางที่ดีที่สุด คือการนำข้อมูลที่ท่านลงไปดูในพื้นที่ มาดูว่ามีจุดไหนอย่างไร ที่เราจะนำมาศึกษาเป็นแนวทางได้ เพื่อนำไปใช้วางแนวทางแก้ไข ซึ่งคงดูจากที่ท่านจะให้สัมภาษณ์หลังจากลงไปแล้วว่าเป็นอย่างไร แต่การไปร่วมกิจกรรม คงไม่ไปแน่" พล.อ.สนธิกล่าว
**ทบ.ปัดข่าวกองทัพค้าน"กม.มั่นคง"
พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกระแสข่าวกองทัพค้านรัฐบาล ในเรื่องการประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ที่จะประกาศใช้ในช่วงเดือน พ.ย.นี้ ว่าข่าวดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน จากความเป็นจริง ทั้งนี้ตามที่ ครม. มีความเห็นชอบตามหลักการให้ยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา ซึ่งการดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้หารือในระดับบริหาร จากทั้งรัฐบาล กองทัพ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในกรอบของงานของ กอ.รมน. เรียบร้อยแล้ว
"กองทัพบกในฐานะที่เป็นหน่วยปฏิบัติ เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลกำหนดแนวทางดังกล่าว เพราะปัจจุบัน กอ.รมน. ภาค 4 ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง การเตรียมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้รับทราบถึงการปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง และเมื่อปฏิบัติไปในระยะหนึ่งจะประเมินผลการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.มั่นคง ซึ่งจากการหารือของทุกฝ่ายบริหาร และทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบร่วมกันที่จะนำพ.ร.บ.มั่นคง มาใช้ในพื้นที่ คงต้องให้การปฏิบัติในพื้นที่เกิดขึ้นก่อน และจะนำสิ่งที่เกิดขึ้นประเมินผลออกมา ทุกอย่างเป็นไปตามกรอบของรัฐบาล กองทัพเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ปฏิบัติตามกรอบของรัฐบาล และกรอบของ กอ.รมน." รองโฆษก ทบ.กล่าว
ส่วนกรณีที่ พล.อ.ชวลิต จะลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นเรื่องการเมือง โดยทางทหารไม่มีการหารือในเรื่องนี้
วานนี้ (2 พ.ย.) พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคและนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์โฆษกพรรค ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย "ไทยร่มเย็น เป็นมิตรเพื่อนบ้าน" ซึ่งเป็นนโยบายด้านความมั่นคง และด้านต่างประเทศของพรรค
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า สถานการณ์ความขัดแย้งของคนในชาติมีมาโดยตลอด และมารุนแรงเพิ่มมากขึ้นหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ซึ่งได้แพร่ขยายไปทุกองค์กร ลงมาถึงครอบครัว ความขัดแย้งแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคิดว่าอีกกลุ่มเป็นเผด็จการทหาร อีกกลุ่มชี้กลับมาว่า เป็นเผด็จการรัฐสภาใช้เงินเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง แต่แก้ไม่ถูก แก้ไม่เป็น จึงยังไม่มีแนวทางอันใดทำให้ประชาชนเข้าใจได้ว่าจะแก้ได้ แนวทางรัฐบาลมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมาย ความจริงการแก้เศรษฐกิจไม่ใช่ปัญหาหลักของชาติ แต่ปัญหาความขัดแย้งคนในชาติ หากจบลงการลงทุนจากภายนอก มันจะหมุนไปเอง
พล.อ.ชวลิต กล่าวด้วยว่าผลจากความขัดแย้งในชาติ ยังส่งผลไปถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วย ขณะเดียวกันเรื่องความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ก็ยังคงรุนแรง ตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามายังไม่เห็นการแก้ไขเหมือนกัน เมื่อวันที่ 31 ต.ค. นายกฯไปพบปะนักธุรกิจ 5 จว.ใต้ ที่อ.หาดใหญ่ ท่านพูดทุกปัญหา แต่ไม่ได้กล่าวถึงความขัดแย้งของคนในพื้นที่
"น่าเสียดาย เมื่อท่านกลับมาแล้ว เพื่อนคนหนึ่งโทรมาหาผมบอกว่า ได้ยินการพูดลักษณะดังกล่าวมา 20-30 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นนโยบายของเรา ไทยร่มเย็น เป็นมิตรกับเพื่อนบ้าน มีความสำคัญมากพรรคเราจะมุ่งมั่นแก้ปัญหาหลัก ให้เสร็จสิ้นบนความจำกัด ทั้งเรื่องอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ และอีกหลายด้าน แต่ที่เรามีคือการสนับสนุนจากประชาชนที่ต้องการให้เราแก้ไขปัญหา แม้จะเป็นพรรคฝ่ายค้าน"
**ไม่แก้ปัญหาประชาชนจะลุกฮือ
พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่าวันนี้เราได้เสนอแนวทาง และบอกกับสังคมมาโดยตลอดว่า ความขัดแย้งวันนี้ไม่ใช่ของแปลกใหม่ แต่เกิดมา 77 ปีแล้ว นับแต่คณะราษฎร์ เอาพระราชอำนาจมาจาก ร.7 และได้พยายามสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พยายามถ่ายเทอำนาจจากพระองค์ท่านมาให้ประชาชน จากรัชกาลที่ 5 มาถึงรัชกาลที่ 6 กำลังสำเร็จ แต่เราไปหยิบฉวยมาก่อน พระองค์ท่านจึงรับสั่งยินดีให้มอบพระราชอำนาจให้ประชาชน ไม่ใช่กลุ่มบุคคลหนึ่งบุคคลใด
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ คนไทยยังเชื่อว่า เรายังไม่มีรัฐบาลโดยประชาชน เพื่อประชาชน คือปัญหาที่ต้องแก้ไข ซึ่งการแก้ปัญหาที่รัฐบาลพยายามจะแก้ เพื่อให้ระบบเป็นไปโดยประชาชน เพื่อประชาชน พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เห็นว่าแนวทางที่จะแก้ คือ ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม ไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลกระโดดข้ามขั้นตอนตรงนี้ โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มองว่าแก้มามากแล้วถึง 18 ฉบับ แต่ปัญหาก็ยังแก้ไขไม่ได้ ทางที่ดี ควรรวมพลังมาทำงานให้ประชาชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
"เพราะไม่อยากเห็นรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไม่ถูกทาง เพราะสิ่งสำคัญ และไม่ยากเย็น แม้แต่น้อยในการแก้ปัญหา แต่รัฐบาลไม่ดำเนินการ จึงเป็นห่วงว่าถ้าไม่แก้ ยังเป็นเช่นนี้ คนที่ไม่มีอำนาจ พี่น้องประชาชนจะลุกขึ้นมาแก้ แล้ววันนั้นพวกเราจะเสียใจที่สุด เพราะต้องเกิดความรุนแรงอย่างแน่นอน" พล.อ.ชวลิตกล่าว
** เสนอตั้ง"นครปัตตานี"ดับไฟใต้
สำหรับการสร้างความเป็นธรรมในภาคใต้ ไม่ใช่เรื่องยาก ปัญหามาจากความคับแค้นเพราะการเมืองการปกครองที่ไม่เป็นธรรม หากจับจุดตรงนี้ได้ ก็สามารถแก้ปัญหาได้ พรรคเพื่อไทยเสนอแนวทาง"นครปัตตานี" ที่ลักษณะคล้ายกับ นครเชียงใหม่ คือให้มีการออก พ.ร.บ.ให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเองโดยให้เกียรติกับประชาชนในพื้นที่ แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายไทย ส่วนรายละเอียดขึ้นอยู่กับรัฐบาล
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า วันนี้ (3 พ.ย.) ตนจะลงไปพบปะประชาชน คาดว่าการลงไปครั้งนี้จะมีประชาชนมาร่วมรับฟังการสัมมนากว่า 2,000 คน แม้เราไม่ได้มีอำนาจ งบประมาณหรือกำลังทหาร แต่คนในพื้นที่ก็ยังมีน้ำใจให้กับเรา เป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาลมากกว่าเงินทอง
**เดินสายเยี่ยม 4 ปท.เพื่อนบ้าน-จีน
พล.อ.ชวลิต ยังกล่าวถึงการแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านว่ากลางเดือนพ.ย.นี้ จะเดินทางไปกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทำแผนทำงานร่วมกัน อาทิ ไปหารือที่เราจะช่วยปลูกข้าว มาเลเซียอาจมาช่วยเราปลูกยาง และร่วมทำอุตสาหกรรมฮาลาลด้วยกัน จากนั้นจะไปประเทศพม่า ซึ่งเป็นมิตรที่ดีต่อเรา เพียงแต่เราต้องมองเขาเป็นมิตรด้วย
ต่อจากนั้นจะไปประเทศเวียดนามไปเยี่ยม นายหงอเวียนย๊าป วีรบุรุษเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นเพื่อนตน อายุ 90 ปีแล้ว ต่อจากนั้นจะไปเยือนประเทศลาวไปหาพี่น้องลาว ซึ่งตนมีเพื่อนเป็นรัฐมนตรีหลายคน เสร็จสิ้นหลังจากนั้นจะไปจีน ขอรับรองว่านโยบายของเรา มีเจตจำนงที่จะนำความสงบสุข มาสู่พี่น้องคนไทย
** ชวน"บิ๊กบัง-ส.ส.รัฐบาล-ปชป." ลงใต้
เมื่อถามว่า รูปแบบนครปัตตานี เป็นอย่างไร พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การออกรายละเอียดต้องมีการพูดคุยกัน ถ้าไม่พูดก็ไม่รู้ นครปัตตานี เหมือนเชียงใหม่ กทม. คือต้องออกพ.ร.บ.ให้เขามีขอบเขตดูแลตนเอง โดยเฉพาะวิถีชีวิต มุสลิมของเขา การดำเนินการใด ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย คือให้เกียรติเขาดูแลตนเองได้ในระดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การลงพื้นที่ 3 จว.ภาคใต้จะเชิญ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ไปด้วยหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าได้เชิญทุกท่านทั้งพล.อ.สนธิ นายเด่น โต๊ะมีนา นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ นายแวมาฮะดี แวดาโอะ นายเจ๊ะอามิง โต๊ะตาหยง โดยการลงไปครั้งนี้จะไปฟังความเห็น องค์กรประชาสังคม ที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่เราได้ติดต่อและทำงานร่วมกันมาหลายปีแล้ว
เมื่อถามว่าได้เชิญ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ไปด้วยหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าว่าไม่ได้เชิญ แต่ทุกคนมีสิทธิลงไปได้หมด
เมื่อถามว่าเหตุใดรัฐบาลให้ความสำคัญกับพ.ต.ท.ทักษิณ มากกว่าการแก้ปัญหาให้ประเทศ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าไม่ทราบจริงๆ เดี๋ยวไปถามรัฐบาลให้ เมื่อถามถึงกรณีนายกฯหารือกับ ผบ.ทบ.และแสดงความแปลกใจกับการลงพื้นที่ของประธานพรรคเพื่อไทย พล.อ.ชวลิตกล่าวว่า ท่านคงเป็นอย่างนั้นเอง ที่สนใจเรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็เป็นธรรมดา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกำหนดการลงพื้นที่ จ.ปัตตานี ของพล.อ.ชวลิต ในวันนี้ (3พ.ย.) จะออกเดินทางโดยเครื่องบินเวลา 09.20 น.จากสนามบินดอนเมืองไปลงสนามบินหาดใหญ่ จ.สงขลา จากนั้นจะมีกำหนดการเวลา 14.00 น. พบปะประชาชน และตัวแทนองค์กรภาคต่างๆ ที่ โรงแรมเซาว์เทินร์วิว จ.ปัตตานี โดยจะเดินทางกลับ กทม. ถึงสนามบินดอนเมืองในเวลา 21.00 น.
**นายกฯ มาเลย์เยือนไทยต้น ธ.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเช้าวันเดียวกันนี้ (2 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้การประชุมร่วมกับฝ่ายความมั่น ที่บ้านพิษณุโลก โดยนายอภิสิทธิ์ เปิดเผยหลังการประชุมว่า ได้มีการหารือเพื่อรับมุมมองของคนที่ทำงานกับองค์กรภาคประชาชน เพราะว่าปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับภาคใต้ คือมุมมองที่อาจจะแตกต่างกัน ระหว่างคนที่ทำงานที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐกับในส่วน ของคนที่คลุกคลีกับองค์กรเอกชน จะได้ทราบข้อห่วงใยต่างๆ และแก้ปัญหาได้ถูกจุด
อย่างไรก็ตาม ปัญหารที่ต้องแก้ไขปรับปรุงก็ยังเป็นเรื่องเดิมๆ ที่ยังมีความเข้าใจว่ามีการละเมิดสิทธิ์ ในส่วนของการทำหน้าที่ ซึ่งก็พยายามที่จะปรับปรุงระบบมาตลอดเวลา ทั้งนี้การพูดคุย ไม่เกี่ยวกับการที่ พล.อ.ชวลิต จะเดินทางไปพบนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย
เมื่อถามย้ำว่าได้มีการหารือเรื่อง พล.อ.ชวลิตไปภาคใต้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่าไม่ได้พูดเลย เราประเมินในแง่รับฟังผู้ที่ไปที่ปฏิบัติงานอยู่กับเอ็นจีโอ ว่ามีความรู้สึกอย่างไร สถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงไปทางไหนอย่างไร อุปสรรคเรื่องการตกหล่นการเยียว เรื่องของงบประมาณที่ลงไปในการพัฒนาระดับหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านต้องการมีส่วนร่วม
เมื่อถามว่ามีการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาที่เกี่ยวกับการเมืองภายในที่เริ่มเอาการเมืองนอกประเทศมากดดันการเมืองภายในด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงแล้วไม่ได้คุยกันเรื่องนี้ และอย่างที่เรียนไปแล้วก่อนหน้านี้ ไม่มีปัญหาอะไร เราก็เดินหน้าทำงานทำความเข้าใจไป
เมื่อถามว่านโยบายมั่นคงเร่งด่วนจะมีการปรับอย่างไรบ้าง นายกฯ กล่าวว่า ในส่วนของที่เกี่ยวกับสิทธิขณะนี้จะมีระบบบันทึกในเรื่องของการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน(พรก.ฉุกเฉิน) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และกำลังจะนำกฎหมายความมั่นคงเข้ามาใช้ใน 4 อำเภอจังหวัดสงขลา ซึ่งตนได้กำชับทางตำรวจให้เร่งรัดคดีซึ่งอยู่ในความสนใจ เพราะว่า ออกหมายจับแล้วแต่ยังจับตัวไม่ได้
เมื่อถามว่าการนำพ.ร.บ. ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาใช้ใน 4 อำเภอ แทนกฎอัยการศึกทำให้โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการลดอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการปฏิบัติงาน นายกฯ กล่าวว่า หลักการคือการปรับลดอำนาจเจ้าหน้าที่ลงมา และผ่านการหารือกับทุกฝ่ายแล้ว การที่ โฆษก กอ.รมน.ออกมาแสดงความเห็นน่าจะเป็นเรื่องของความห่วงใยมากกว่า
เมื่อถามว่า กรณีนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เสนอให้ตั้งเขตปกครองพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกฯ กล่าวว่าคำนี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า autonomy หรือเขตปกครองพิเศษ ซึ่งเป็นหลักที่ว่าต้องการให้ประชาชนมีสิทธิมีเสียงในการร่วมบริหารมากขึ้น ความจริงเรื่องการกระจายอำนาจเราก็ทำในรูปแบบปกติอยู่แล้ว การที่เราจะมีกฎหมายใหม่ จะนำไปสู่การบริหารจัดการที่มีความพิเศษเรื่องของเขตเศรษฐกิจและอื่นๆ ก็จะ สอดคล้องกัน แต่ว่าคำว่า autonomy มีปัญหาอยู่เสมอ หลายคนเข้าใจระดับความเป็นอิสระที่แตกต่างกันไป แต่ของเราต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่าการที่เราเคยพบทวิภาคีกับนายกฯมาเลเซีย จะมีการสานต่อหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มี นายกฯมาเลเซียจะเดินทางมาในต้นเดือนธ.ค.นี้ ประมาณสัปดาห์แรก ก็จะคุยกันต่อเรื่องนี้ ส่วนที่มองว่าปัญหาใต้ยังไม่ได้ข้อสรุป นายกฯ กล่าวว่า ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนขบวนการ ทั้งเรื่องกฎหมาย ทั้งเรื่องตัวองค์กร และแนวของการพัฒนาที่กำลังทำก็ต้องใช้เวลา 2-3 ปี
**เย้ยจิ๋ว"ไทยร้อนรุ่ม ชักศึกเข้าบ้าน"
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยออกมาระบุว่า นโยบายด้านความมั่นคง และนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลล้มเหลวโดยเฉพาะสถานการณ์ใน 3 จว.ภาคใต้ว่า เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยเฉพาะตัวรมว.ต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถก็เคยเป็นอดีตปลัดกระทรวง และอดีตเอกอัคราชทูตในหลายประเทศ สามารถทำงานได้เลยโดยไม่ต้องเรียนรู้งาน
อย่างไรก็ตาม การที่พรรคเพื่อไทย ออกนโยบาย"ไทยร่มเย็นฯ" เพื่อออกมาแข่งขันกับรัฐบาล ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ประชาชนจะได้มีข้อเปรียบเทียบกัน แต่ไม่ใช่การใช้วิธีการดิสเครดิตประเทศชาติ ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย อย่างเช่นที่ไปเยือนกัมพูชาที่ผ่านมา รวมถึงการจะไปเยือนมาเลเซีย และพม่าในเร็วๆ นี้ด้วย
"การที่พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบาย "ไทยร่มเย็น เป็นมิตรกับเพื่อนบ้าน" เป็นเพียงแค่การสร้างภาพทางการเมือง เพื่อมารองรับบทบาทของ พล.อ.ชวลิต มากกว่าในทางปฏิบัติ หากดูพฤติกรรมของพล.อ.ชวลิต ก็น่าจะเปลี่ยนนโยบายนี้เป็น "ไทยร้อนรุ่ม ชักศึกเข้าบ้าน" ซึ่งตรงกับแนวทางการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศของพล.อ.ชวลิตมากกว่า" นายเทพไทกล่าว
**ชี้"รัฐปัตตานี"ขัด รธน.ข้อหากบฎ
นายเทพไท ยังกล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต เสนอตั้งนครรัฐปัตตานี ว่า ความจริงเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนไม่ทราบวัตถุประสงค์แท้จริงของพล.อ.ชวลิต ว่าเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาทำไม เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ และไม่ทราบว่าโครงสร้างของนครรัฐปัตตานี ที่เสนอมามันเป็นอย่างไร ถ้ามีจุดมุ่งหมายเพื่อจะให้เป็นรัฐอิสระ ก็เข้าข่ายที่จะมีความผิดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ที่ระบุว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ซึ่งความผิดในเรื่องนี้โทษฐานเป็นกบฎในราชอาณาจักรได้ และเชื่อว่าการเสนอแนวคิดนี้ออกมาจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะเป็นปัญหาระดับชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานความมั่นคง จะต้องเข้ามาตรวจสอบ ดูแลอย่างใกล้ชิด จึงอยากเรียกร้องให้พล.อ.ชวลิต ออกมาอธิบายถึงโครงสร้างและเจตนารมณ์ที่แท้จริงว่าต้องการอะไร ไม่อยากให้เสนอขึ้นมาเพื่อสร้างความแตกแยกเกิดขึ้นในชาติและตัวเองก็จะปฏิเสธความรับผิดชอบ เหมือนหลายๆโครงการที่เคยทำมา
**"จิ๋ว"ไปมาเลย์ไม่กระทบรัฐบาล
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จะเดินทางมาประเทศไทย ระหว่างวันที่ 8-10 ธ.ค.นี้ โดยจะพบกับนายกรัฐมนตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ขึ้นมาพบกันที่ กทม. ส่วนประเด็นการหารือมีหลายเรื่อง ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ในภาพรวม ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ บุคคลสองสัญชาติ และความร่วมมือตั้งแต่สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็นการทบทวนสถานะและความต่อเนื่อง หลังจากที่นายกรัฐมนตรีไทย เคยไปเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
เมื่อถามว่ากรณี พล.อ.ชวลิต จะเดินทางไปมาเลเซีย จะส่งผลกระทบอะไรหรือไม่ นายกษิต กล่าวว่าเป็นเรื่องของพล.อ.ชวลิต ซึ่งถือเป็นสิทธิของท่าน แต่คิดว่าคงจะไม่มีผลกระทบอะไร แต่การที่ผู้ใหญ่เดินทางไปก็ต้องติดตามดู เป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ไม่ได้พิเศษอะไร
เมื่อถามว่าคิดว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับที่พล.อ.ชวลิตไปพบกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาหรือไม่ นายกษิต กล่าวว่า"ไม่ทราบ ต้องไปถาม พล.อ.ชวลิต เราไม่มีปัญหาอะไร แต่ผมก็ไม่ทราบว่าท่านไปพูดอะไรกับสมเด็จฮุนเซน" นายกษิตกล่าว
**"บิ๊กบัง"ปัดลงใต้พร้อม"จิ๋ว"
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าที่หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ กล่าวถึงกรณีพล.อ.ชวลิต เชิญตนร่วมเดินทางลงไป 3 จว.ภาคใต้ ในวันนี้ ว่าพล.อ.ชวลิตได้ให้คนส่งเป็นหนังสือผ่านมา แต่ตนคงไม่เดินทางไปด้วย เพราะคงไม่เหมาะสม และตอนนี้ไม่ค่อยมีเวลามากนัก ต้องไปเรียนหนังสือ
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าจะเป็นแนวร่วมเดียวกับพรรคเพื่อไทยนั้น ยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะตนเดินทางมาเส้นทางนี้ จะไปทำอย่างนั้นไม่ได้ การที่พล.อ.ชวลิต ทำหนังสือชวนตน ก็คงเป็นกลยุทธ์ของท่าน
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเป็นการสร้างความระแวงระหว่างกันให้เกิดขึ้นพล.อ.สนธิ กล่าวว่า เป็นไปได้
"ทางที่ดีที่สุด คือการนำข้อมูลที่ท่านลงไปดูในพื้นที่ มาดูว่ามีจุดไหนอย่างไร ที่เราจะนำมาศึกษาเป็นแนวทางได้ เพื่อนำไปใช้วางแนวทางแก้ไข ซึ่งคงดูจากที่ท่านจะให้สัมภาษณ์หลังจากลงไปแล้วว่าเป็นอย่างไร แต่การไปร่วมกิจกรรม คงไม่ไปแน่" พล.อ.สนธิกล่าว
**ทบ.ปัดข่าวกองทัพค้าน"กม.มั่นคง"
พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกระแสข่าวกองทัพค้านรัฐบาล ในเรื่องการประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ที่จะประกาศใช้ในช่วงเดือน พ.ย.นี้ ว่าข่าวดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อน จากความเป็นจริง ทั้งนี้ตามที่ ครม. มีความเห็นชอบตามหลักการให้ยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา ซึ่งการดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้หารือในระดับบริหาร จากทั้งรัฐบาล กองทัพ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในกรอบของงานของ กอ.รมน. เรียบร้อยแล้ว
"กองทัพบกในฐานะที่เป็นหน่วยปฏิบัติ เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลกำหนดแนวทางดังกล่าว เพราะปัจจุบัน กอ.รมน. ภาค 4 ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง การเตรียมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้รับทราบถึงการปฏิบัติงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง และเมื่อปฏิบัติไปในระยะหนึ่งจะประเมินผลการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.มั่นคง ซึ่งจากการหารือของทุกฝ่ายบริหาร และทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบร่วมกันที่จะนำพ.ร.บ.มั่นคง มาใช้ในพื้นที่ คงต้องให้การปฏิบัติในพื้นที่เกิดขึ้นก่อน และจะนำสิ่งที่เกิดขึ้นประเมินผลออกมา ทุกอย่างเป็นไปตามกรอบของรัฐบาล กองทัพเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ปฏิบัติตามกรอบของรัฐบาล และกรอบของ กอ.รมน." รองโฆษก ทบ.กล่าว
ส่วนกรณีที่ พล.อ.ชวลิต จะลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นเรื่องการเมือง โดยทางทหารไม่มีการหารือในเรื่องนี้