xs
xsm
sm
md
lg

ครม.ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมชายแดนใต้ เล็งเลิกอัยการศึกสงขลา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบกข่าว
นายกฯอภิสิทธิ์ เผยที่ประชุม ครม.อนุมัติต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ถึงม.ค.ปีหน้า พร้อมเล็งยกเลิกกฎอัยการศึก 4 อำเภอ จ.สงขลา หันใช้ กม.ความมั่นคง แทน เผย ตั้งคณะกรรมการไล่บี้ จนท.ระดับพื้นที่ สางปัญหาร้องเรียน หลังชาวบ้านหวั่นถูกเพิกเฉย มอบ “สาทิตย์-ถาวร” ดูแลสรุปรายงาน ครม.

วันนี้ (13 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.30 น.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติการต่ออายุการใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่ออีก 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม ถึงเดือนมกราคม โดยรับทราบว่าได้มีการปรับปรุงเรื่องความโปร่งใสในขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมาย ทั้ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกฎอัยการศึก เวลาที่มีการเชิญตัวหรือเรียกตัวจะจัดให้มีการระบบของการบันทึกอย่างชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับใคร เจ้าหน้าที่คนใดเป็นผู้ใช้อำนาจ เพื่อประโยชน์ในการลดผลกระทบในทางลบหรือข้อครหาว่าผลกระทบที่เกิดจากการใช้กฎหมายลักษณะนี้เป็นอย่างไร

“นอกจากนี้ ครม.ได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการเข้ามาดูแลเรื่องปัญหาการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งระบบการร้องเรียนเดิมมีอยู่ แต่กระจัดกระจาย จึงให้มีคณะกรรมการอำนวยการในส่วนกลาง เพื่อติดตามเรื่องนี้ในภาพรวม โดยมอบหมายให้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯและนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ร่วมดูแลเรื่องนี้” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ครม.ยังเห็นชอบหลักการใน 4 อำเภอ คือ อ.จะนะ อ.เทพา อ.นาทวี อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ซึ่งเดิมใช้กฎอัยการศึกอยู่จะมีการดำเนินการยกเลือกกฎอัยการศึก และนำกฎหมายความมั่นคงเข้าไปใช้แทน โดยจะให้ดำเนินการก่อนสิ้นเดือน พ.ย.อันนี้เพื่อเป็นการเริ่มต้นในการลดการใช้อำนาจพิเศษในแง่ของความเข้มข้นลงมาจากกฎอัยการศึกมาเป็นกฎหมายความมั่นคงมาเป็น 4 อำเภอนี้ หากใน 4 อำเภอนี้ มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติได้ดีวันข้างจะสามารถพิจารณานำมาทดแทนกฎอัยการศึก หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 3 จังหวัดต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุหลักที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลปัญหาร้องเรียน เพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจมากเกินไปหรือเปล่า นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป้าหมายของเรา คือ ทำอย่างไรเราจะสามารถบริหารงานในพื้นที่โดยไม่ต้องมีการใช้อำนาจ อันนี้เป็นเป้าหมายปลายทางอยู่แล้ว แต่โดยข้อเท็จจริงในปัจจุบันกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษยังมีความจำเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือกฎอัยการศึก ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ กฎหมายเหล่านี้แม้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่จะเข้าไปทำงานรักษาความสงบ เช่น มีรายข่าวเข้าปิดล้อม สัดกั้น เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อใดก็ตามมีการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษก็จะมีข้อครหาว่ามีการละเมิดสิทธิ์หรือใช้อำนาจเกินขอบเขต ซึ่งในอดีตมีศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน แต่ ครม.ก่อนหน้านี้ที่ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งข้อสังเกตว่า ทำอย่าไรเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีกฎหมายพิเศษ จึงได้มอบให้ทาง สมช.ไปดูจะทำระบบนี้ให้ดีขึ้นอย่างไร และขณะนี้การร้องเรียนมีกระจัดกระจาย ตัวประชาชนมีความหวั่นไหวการร้องเรียนอยู่กับหน่วยงานที่ปฏิบัติตรงนั้น เลยต้องการให้มีคณะกรรมการตรงนี้ขึ้นมาอีกระดับ เพื่อสร้างความมั่นให้กับกระบวนการร้องเรียนมากขึ้น หากใครได้รับผลกระทบยื่นร้องต่อคณะกรรมการโดยตรงนี้ได้ คณะกรรมการจะติดตามเรื่องร้องเรียนในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างแท้จริง

เมื่อถามว่า อำนาจคณะกรรมการ หากพบเจ้าหน้าที่ทำผิดจะสามารถสั่งลงโทษได้เลยหรือไม่ นาอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อันนี้ต้องว่าไปตามกระบวนการเรื่องวินัยหรือเรื่องกฎหมาย แต่ตรงนี้ต้องการให้การร้องเรียนที่ประชาชนไม่มั่นใจสามารถนำข้อมูลมาได้มากขึ้น มีหลักประกัน หน่วยงานระดับล่างไม่เพิกเฉย จะมีตัวคณะกรรมการชุดนี้ไปติดตาม และรายงานที่ประชุม ครม.ต่อไป

เมื่อถามว่า ใน 4 อำเภอจังหวัดสงขลา ที่จะยกเลิกอัยการศึก และใช้กฎหมายความมั่นคงแทน จะประกาศเป็นช่วงหรืออย่างไรและกี่เดือนจะประเมิน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทาง สมช.จะคุยกับ กอ.รมน.และ กองทัพ แต่จากการที่ได้เชิญมาประชุมวานนี้ (12 ต.ค.) เขาอยากให้ประกาศประมาณ 1 ปี แต่ยังไม่ใช้ข้อยุติสุดท้าย
กำลังโหลดความคิดเห็น