ASTVผู้จัดการรายวัน - มนตรีซีเกมส์ของไทยยันไม่คัดค้านการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ของลาว แต่จวก "อาร์เอส" มั่วนิ่มลิขสิทธิ์ ชี้ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการชุดเฉพาะกิจสหพันธ์ซีเกมส์ก่อน
เมื่อวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2552 ที่สำนักงานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย มนตรีซีเกมส์ของประเทศไทยประกอบด้วย ศ.เจริญ วรรธนะสิน และนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ได้เปิดแถลงข่าวให้กับสื่อมวลชนถึงจุดยืนต่อกรณีที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 9-18 ธันวาคม 2552 ณ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ "LAOSOC" ได้ขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันครั้งนี้ให้กับ บริษัท เพชรจำปา จำกัด ที่มีบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อลิขสิทธิ์ดังกล่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทย
โดยการชี้แจงในครั้งนี้ระบุว่า มนตรีซีเกมส์ไทยทั้ง 3 ราย ประกอบด้วย ศ.เจริญ วรรธนะสิน, น.พ.วารินทร์ ตัณฑศุภศิริ และนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ เห็นชอบร่วมกันว่าจะไม่ก้าวก่ายกับเรื่องการซื้อขายลิขสิทธิ์กีฬาซีเกมส์ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวได้ข้อสรุปมาตั้งแต่การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นเจ้าภาพแล้วว่า ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดนั้นไม่ได้เป็นของประเทศเจ้าภาพ หากแต่เป็นของสหพันธ์ซีเกมส์
นายชัยภักดิ์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะมนตรีซีเกมส์ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 ที่เวียงจันทน์ มนตรีซีเกมส์ไทยไม่ได้คัดค้านการซื้อขายลิขสิทธิ์เลย แถมยังยกมือเห็นชอบในหลักการด้วย พร้อมมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา 1 ชุด เพื่อพิจารณาในเงื่อนไขรายละเอียดต่างๆ ในข้อตกลง หรือการทำสัญญากับคณะกรรมการเฉพาะกิจชุดนี้ ที่ได้รับมอบอำนาจจากคณะมนตรีสหพันธ์กีฬาซีเกมส์โดยเฉพาะ
"ตอนนี้มีบริษัทเอกชนในประเทศลาว ร่วมกับคนไทยกลุ่มหนึ่ง ประกาศขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ซึ่งไม่ได้ผ่านการลงนามในสัญญาหรือทำข้อตกลงกับคณะกรรมการเฉพาะกิจของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ที่คณะมนตรีฯ แต่งตั้งขึ้น ต่อมาเมื่อสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ หรือทีวีพูล สอบถามมายังคณะกรรมการเฉพาะกิจชุดดังกล่าว ก็ได้รับการยืนยันว่ายังไม่มีการทำข้อตกลงในรายละเอียดใดๆ จาก LAOSOC ซึ่งคณะมนตรีซีเกมส์ไทย ยืนยันในจุดเดิมว่าสนับสนุนการขายลิขสิทธิ์ซีเกมส์ในครั้งนี้ แต่ต้องผ่านการตกลงในรายละเอียดต่างๆ พร้อมลงนามในสัญญากับคณะกรรมการเฉพาะกิจที่แต่งตั้งโดยสหพันธ์ซีเกมส์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ชอบธรรมในลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์" นายชัยภักดิ์ ย้ำชัด
ศ.เจริญ กล่าวเสริมว่า การขายลิขสิทธิ์ต้องดูแต่ละประเทศด้วยว่ามีกำลังซื้อมากน้อยเพียงใด ให้กำหนดราคาออกมาอย่างชัดเจน แต่ก็มีหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ที่มีปัญหา เนื่องจากสหพันธ์ซีเกมส์ ซึ่งมีสิทธิ์ขาดในลิขสิทธิ์ดังกล่าว ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก บริษัท เพชรจำปา จำกัด ตัวแทนผู้รับผิดชอบการถ่ายทอดสดของลาวเลย แล้วจะให้จ่ายค่าลิขสิทธิ์กันได้อย่างไร ถ้าหากทุกอย่างยังไม่เป็นตามข้อตกลงที่สหพันธ์ซีเกมส์กำหนดไว้
เมื่อวันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2552 ที่สำนักงานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย มนตรีซีเกมส์ของประเทศไทยประกอบด้วย ศ.เจริญ วรรธนะสิน และนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ได้เปิดแถลงข่าวให้กับสื่อมวลชนถึงจุดยืนต่อกรณีที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 9-18 ธันวาคม 2552 ณ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ "LAOSOC" ได้ขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันครั้งนี้ให้กับ บริษัท เพชรจำปา จำกัด ที่มีบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อลิขสิทธิ์ดังกล่าวมาเผยแพร่ในประเทศไทย
โดยการชี้แจงในครั้งนี้ระบุว่า มนตรีซีเกมส์ไทยทั้ง 3 ราย ประกอบด้วย ศ.เจริญ วรรธนะสิน, น.พ.วารินทร์ ตัณฑศุภศิริ และนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ เห็นชอบร่วมกันว่าจะไม่ก้าวก่ายกับเรื่องการซื้อขายลิขสิทธิ์กีฬาซีเกมส์ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวได้ข้อสรุปมาตั้งแต่การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นเจ้าภาพแล้วว่า ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดนั้นไม่ได้เป็นของประเทศเจ้าภาพ หากแต่เป็นของสหพันธ์ซีเกมส์
นายชัยภักดิ์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะมนตรีซีเกมส์ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 ที่เวียงจันทน์ มนตรีซีเกมส์ไทยไม่ได้คัดค้านการซื้อขายลิขสิทธิ์เลย แถมยังยกมือเห็นชอบในหลักการด้วย พร้อมมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา 1 ชุด เพื่อพิจารณาในเงื่อนไขรายละเอียดต่างๆ ในข้อตกลง หรือการทำสัญญากับคณะกรรมการเฉพาะกิจชุดนี้ ที่ได้รับมอบอำนาจจากคณะมนตรีสหพันธ์กีฬาซีเกมส์โดยเฉพาะ
"ตอนนี้มีบริษัทเอกชนในประเทศลาว ร่วมกับคนไทยกลุ่มหนึ่ง ประกาศขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ซึ่งไม่ได้ผ่านการลงนามในสัญญาหรือทำข้อตกลงกับคณะกรรมการเฉพาะกิจของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ที่คณะมนตรีฯ แต่งตั้งขึ้น ต่อมาเมื่อสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ หรือทีวีพูล สอบถามมายังคณะกรรมการเฉพาะกิจชุดดังกล่าว ก็ได้รับการยืนยันว่ายังไม่มีการทำข้อตกลงในรายละเอียดใดๆ จาก LAOSOC ซึ่งคณะมนตรีซีเกมส์ไทย ยืนยันในจุดเดิมว่าสนับสนุนการขายลิขสิทธิ์ซีเกมส์ในครั้งนี้ แต่ต้องผ่านการตกลงในรายละเอียดต่างๆ พร้อมลงนามในสัญญากับคณะกรรมการเฉพาะกิจที่แต่งตั้งโดยสหพันธ์ซีเกมส์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ชอบธรรมในลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์" นายชัยภักดิ์ ย้ำชัด
ศ.เจริญ กล่าวเสริมว่า การขายลิขสิทธิ์ต้องดูแต่ละประเทศด้วยว่ามีกำลังซื้อมากน้อยเพียงใด ให้กำหนดราคาออกมาอย่างชัดเจน แต่ก็มีหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ที่มีปัญหา เนื่องจากสหพันธ์ซีเกมส์ ซึ่งมีสิทธิ์ขาดในลิขสิทธิ์ดังกล่าว ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก บริษัท เพชรจำปา จำกัด ตัวแทนผู้รับผิดชอบการถ่ายทอดสดของลาวเลย แล้วจะให้จ่ายค่าลิขสิทธิ์กันได้อย่างไร ถ้าหากทุกอย่างยังไม่เป็นตามข้อตกลงที่สหพันธ์ซีเกมส์กำหนดไว้