ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.ไล่บี้ขึ้นทะเบียนเกษตรให้เสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากระบบประกันรายได้ เผยมันสำปะหลังและข้าวโพดไม่น่าห่วง แต่ข้าวยังมีปัญหา “มาร์ค”เร่งรัดพาณิชย์แก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำตาม 6 มาตรการรักษาเสถียรภาพราคา พร้อมสั่ง “สาทิตย์” ทำความเข้าใจระบบประกันรายได้ให้เกษตรกรผ่านวิทยุประเทศไทย “พรทิวา”เผยตั้งโต๊ะซื้อข้าวเริ่ม 2 พ.ย.นี้ นำร่อง 3 จังหวัด พิษณุโลก กำแพงเพชร และนนทบุรี ระบุถ้าราคาขึ้นหยุดซื้อ แต่ถ้าทรุดต่อรับซื้อไม่อั้น ส่วนข้าวในสต๊อกเตรียมระบายผ่านระบบจีทูจี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเรื่องการติดตามการประกันรายได้เกษตรกร โดยได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เร็วที่สุดเพื่อให้มีความพร้อม ซึ่งในส่วนของข้าวโพดกับมันสำปะหลังไม่น่าจะมีปัญหาอะไรแล้ว เพราะขั้นตอนทั้งหลายทำได้ครอบคลุมค่อนข้างเป็นไปตามเป้า แต่ที่ต้องเร่งรัด คือ ข้าว เนื่องจากมีเกษตกรจำนวนมาก และยังได้เห็นชอบให้ปรับปรุงตัวเลขผลผลิตต่อไร่ ซึ่งครอบคลุม 19 จังหวัด หลังจากที่มีการทักท้วงมาว่าต่ำกว่าความเป็นจริง และขอให้เกษตรกรมั่นใจได้ว่าถ้าทำการเพาะปลูกจะได้สิทธิ์เรื่องการประกันรายได้อย่างแน่นอน
ส่วนการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ครม.ได้อนุมัติ 6 มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกปี 2552/53 ไปแล้ว ได้แก่ การเพิ่มสภาพคล่องให้โรงสี เพื่อให้มีเงินไปซื้อข้าว 2.ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ไปซื้อข้าวโดยตรง จำนวน 2 ล้านตัน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท 3.จัดตลาดนัดพบโรงสีกับเกษตรกร 4.ผลักดันส่งออกข้าวต้นฤดู 5.ฝากเก็บในยุ้งฉางเกษตรกร และ 6.การสร้างความเข้าใจระบบประกัน โดยได้เร่งรัดให้กระทรวงพาณิชย์ไปดำเนินการ ซึ่งบางมาตรการสามารถเริ่มดำเนินการได้เลย แต่บางมาตรการจะเริ่มได้ประมาณต้นเดือนพ.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม วานนี้ (27 ต.ค.) รัฐบาลได้มีการโอนเงินส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) สำนักงานใหญ่ โดยเป็นการโอนเงินไปยังธกส. สาขาหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 12 ,430,792 บาท และธกส.สาขาบ้านหมี่ จ.ลพบุรี จำนวน 1,067,995 บาท เพื่อนำเงินเข้าบัญชีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เร่งเสนอข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดของโครงการประกันรายได้ ผ่านวิทยุแห่งประเทศไทยทุกเช้าเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกร เพราะพบว่ายังมีเกษตรกรเป็นจำนวนมากไม่เข้าใจเรื่องระบบการประกันรายได้ จึงจำเป็นต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้มาก และให้เกษตรกรแน่ใจได้ว่าได้รับเงินจากโครงการนี้แน่นอน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เงินงบประมาณที่รัฐบาลตั้งไว้รองรับการจ่ายชดเชยให้เกษตรกร อาจไม่สูงมาก เพราะแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรได้ปรับสูงขึ้น เช่น ข้าวโพด จะมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดโลก ซึ่งได้นำข้าวโพดไปผลิตเป็นเอทานอล และหากกระทรวงพาณิชย์ทำการส่งออกได้มาก จะทำให้ราคาข้าวโพดในประเทศสูงขึ้นด้วย ขณะที่ราคาข้าวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน รวมไปถึงมันสำปะหลัง ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลอาจจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้จำนวนมาก แต่เห็นว่าเป็นเงินที่ตกไปอยู่ในมือของเกษตรกร ไม่ใช่รั่วไหลไปอยู่กับฝ่ายต่างๆ เหมือนกับโครงการรับจำนำ
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าวว่า ในส่วนของข้าว มีเกษตรกรมาลงทะเบียนไว้กว่า 3 ล้านราย คาดว่าจะทำสัญญาได้แล้วเสร็จภายในปลายเดือนธ.ค. ข้าวโพดมีเกษตรกรลงทะเบียน 3.8 แสนราย ทำสัญญากับธ.ก.ส.แล้ว 2.1แสนราย ภายในสิ้นเดือนนี้จะทำสัญญาได้ครบทุกราย ส่วนมันสำปะหลัง ขึ้นทะเบียนไว้ 4.3แสนราย ธ.ก.ส.จะทยอยทำสัญญาให้เสร็จภายในสิ้นเดือนพ.ย.นี้
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.นี้ อคส. และอ.ต.ก. จะเริ่มรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาอ้างอิงของกระทรวงพาณิชย์ที่ประกาศทุกๆ 15 วัน โดยจะเริ่มที่ 3 จังหวัดก่อน คือ พิษณุโลก กำแพงเพชร และนนทบุรี เพราะผลผลิตข้าวออกก่อนจังหวัดอื่น จากนั้นจะฝากเก็บในโกดังของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ ในเบื้องต้น กำหนดปริมาณรับซื้อที่ 2 ล้านตัน ใช้เงินประมาณ 20,000 ล้านบาท หากสถานการณ์ราคายังไม่ดีขึ้นก็อาจจะเพิ่มปริมาณรับซื้อได้อีก
ส่วนมาตรการอื่นๆ ได้ขอให้ผู้ส่งออกช่วยซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรตามราคาตลาด อย่ากดราคารับซื้อ และอาจให้เพิ่มการดำรงสต๊อกข้าวของผู้ส่งออกเป็น 800-1,000 ตัน จากปัจจุบันกำหนดให้เก็บสต๊อกตลอดเวลา 500 ตัน ส่วนการบริหารสต็อกข้าวของรัฐบาล จะใช้วิธีการซื้อขายลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) โดยมีตลาด เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอิหร่าน ซึ่งจะเร่งเจรจาระบายข้าวในช่วงต้นฤดูกาลผลิต 3-4 เดือนนับจากนี้ให้ได้ตามเป้าหมาย 950,000 ตัน และมีเป้าหมายทั้งปี 2553 ที่ 1.77 ล้านตัน นอกจากนี้ จะให้มีการเจรจาซื้อขายลักษณะรัฐบาลกับเอกชน (จีทูพี) เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าถึงโดยตรงจากเดิมที่ซื้อผ่านโบรกเกอร์ข้าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเรื่องการติดตามการประกันรายได้เกษตรกร โดยได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เร็วที่สุดเพื่อให้มีความพร้อม ซึ่งในส่วนของข้าวโพดกับมันสำปะหลังไม่น่าจะมีปัญหาอะไรแล้ว เพราะขั้นตอนทั้งหลายทำได้ครอบคลุมค่อนข้างเป็นไปตามเป้า แต่ที่ต้องเร่งรัด คือ ข้าว เนื่องจากมีเกษตกรจำนวนมาก และยังได้เห็นชอบให้ปรับปรุงตัวเลขผลผลิตต่อไร่ ซึ่งครอบคลุม 19 จังหวัด หลังจากที่มีการทักท้วงมาว่าต่ำกว่าความเป็นจริง และขอให้เกษตรกรมั่นใจได้ว่าถ้าทำการเพาะปลูกจะได้สิทธิ์เรื่องการประกันรายได้อย่างแน่นอน
ส่วนการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ครม.ได้อนุมัติ 6 มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกปี 2552/53 ไปแล้ว ได้แก่ การเพิ่มสภาพคล่องให้โรงสี เพื่อให้มีเงินไปซื้อข้าว 2.ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ไปซื้อข้าวโดยตรง จำนวน 2 ล้านตัน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท 3.จัดตลาดนัดพบโรงสีกับเกษตรกร 4.ผลักดันส่งออกข้าวต้นฤดู 5.ฝากเก็บในยุ้งฉางเกษตรกร และ 6.การสร้างความเข้าใจระบบประกัน โดยได้เร่งรัดให้กระทรวงพาณิชย์ไปดำเนินการ ซึ่งบางมาตรการสามารถเริ่มดำเนินการได้เลย แต่บางมาตรการจะเริ่มได้ประมาณต้นเดือนพ.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม วานนี้ (27 ต.ค.) รัฐบาลได้มีการโอนเงินส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) สำนักงานใหญ่ โดยเป็นการโอนเงินไปยังธกส. สาขาหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 12 ,430,792 บาท และธกส.สาขาบ้านหมี่ จ.ลพบุรี จำนวน 1,067,995 บาท เพื่อนำเงินเข้าบัญชีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เร่งเสนอข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดของโครงการประกันรายได้ ผ่านวิทยุแห่งประเทศไทยทุกเช้าเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกร เพราะพบว่ายังมีเกษตรกรเป็นจำนวนมากไม่เข้าใจเรื่องระบบการประกันรายได้ จึงจำเป็นต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้มาก และให้เกษตรกรแน่ใจได้ว่าได้รับเงินจากโครงการนี้แน่นอน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เงินงบประมาณที่รัฐบาลตั้งไว้รองรับการจ่ายชดเชยให้เกษตรกร อาจไม่สูงมาก เพราะแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรได้ปรับสูงขึ้น เช่น ข้าวโพด จะมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดโลก ซึ่งได้นำข้าวโพดไปผลิตเป็นเอทานอล และหากกระทรวงพาณิชย์ทำการส่งออกได้มาก จะทำให้ราคาข้าวโพดในประเทศสูงขึ้นด้วย ขณะที่ราคาข้าวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน รวมไปถึงมันสำปะหลัง ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลอาจจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้จำนวนมาก แต่เห็นว่าเป็นเงินที่ตกไปอยู่ในมือของเกษตรกร ไม่ใช่รั่วไหลไปอยู่กับฝ่ายต่างๆ เหมือนกับโครงการรับจำนำ
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าวว่า ในส่วนของข้าว มีเกษตรกรมาลงทะเบียนไว้กว่า 3 ล้านราย คาดว่าจะทำสัญญาได้แล้วเสร็จภายในปลายเดือนธ.ค. ข้าวโพดมีเกษตรกรลงทะเบียน 3.8 แสนราย ทำสัญญากับธ.ก.ส.แล้ว 2.1แสนราย ภายในสิ้นเดือนนี้จะทำสัญญาได้ครบทุกราย ส่วนมันสำปะหลัง ขึ้นทะเบียนไว้ 4.3แสนราย ธ.ก.ส.จะทยอยทำสัญญาให้เสร็จภายในสิ้นเดือนพ.ย.นี้
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.นี้ อคส. และอ.ต.ก. จะเริ่มรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาอ้างอิงของกระทรวงพาณิชย์ที่ประกาศทุกๆ 15 วัน โดยจะเริ่มที่ 3 จังหวัดก่อน คือ พิษณุโลก กำแพงเพชร และนนทบุรี เพราะผลผลิตข้าวออกก่อนจังหวัดอื่น จากนั้นจะฝากเก็บในโกดังของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ ในเบื้องต้น กำหนดปริมาณรับซื้อที่ 2 ล้านตัน ใช้เงินประมาณ 20,000 ล้านบาท หากสถานการณ์ราคายังไม่ดีขึ้นก็อาจจะเพิ่มปริมาณรับซื้อได้อีก
ส่วนมาตรการอื่นๆ ได้ขอให้ผู้ส่งออกช่วยซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรตามราคาตลาด อย่ากดราคารับซื้อ และอาจให้เพิ่มการดำรงสต๊อกข้าวของผู้ส่งออกเป็น 800-1,000 ตัน จากปัจจุบันกำหนดให้เก็บสต๊อกตลอดเวลา 500 ตัน ส่วนการบริหารสต็อกข้าวของรัฐบาล จะใช้วิธีการซื้อขายลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) โดยมีตลาด เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอิหร่าน ซึ่งจะเร่งเจรจาระบายข้าวในช่วงต้นฤดูกาลผลิต 3-4 เดือนนับจากนี้ให้ได้ตามเป้าหมาย 950,000 ตัน และมีเป้าหมายทั้งปี 2553 ที่ 1.77 ล้านตัน นอกจากนี้ จะให้มีการเจรจาซื้อขายลักษณะรัฐบาลกับเอกชน (จีทูพี) เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าถึงโดยตรงจากเดิมที่ซื้อผ่านโบรกเกอร์ข้าว