กขช.ไฟเขียว 6 มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก เตรียมเสนอ ครม.พิจารณาวันนี้ ทั้งเพิ่มสภาพคล่องให้โรงสี การแทรกแซง เปิดตลาดนัดรับซื้อ ผลักดันส่งออก ฝากเก็บในยุ้งฉางเกษตรกร และการชี้แจงระบบประกัน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) วานนี้ (19 ต.ค.) ว่า กขช.ได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอแนวทางการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปี 2552/53 ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาในวันนี้ (20 ต.ค.) จำนวน 6 แนวทาง เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกที่กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำอยู่ในขณะนี้
สำหรับ 6 มาตรการที่จะนำมาใช้ ได้แก่ 1.การเพิ่มสภาพคล่องให้กับโรงสี เพื่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่เหมาะสม โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ประสานงานกับกระทรวงการคลัง เป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนสินเชื่อให้โรงสี โดยรัฐบาลจะช่วยรับภาระดอกเบี้ยแทนให้ 2% ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยที่สถานการเงินปล่อยกู้มาให้
2.มาตรการแทรกแซงราคาข้าว โดยรัฐบาลจะมอบหมายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) เข้าไปรับซื้อข้าวโดยตรงจากเกษตรกร ในราคาอ้างอิงที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศไว้ และส่งมอบโรงสีดำเนินการจัดเก็บในรูปแบบข้าวเปลือก และให้จัดเก็บในระยะสั้น ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนส่งมอบให้กรมการค้าต่างประเทศนำไปหาตลาดเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการรับซื้อข้าวโดยตรงครั้งนี้ คาดว่า จะใช้งบประมาณวงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยในส่วนของอคส. และอ.ต.ก. จะมีค่าบริหารจัดการให้ตันละ 45 บาท/เดือน รวมวงเงิน 200 ล้านบาท ส่วนโรงสีจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บตันละ 55 บาท/เดือน รวมวงเงิน 660 ล้านบาท
ข้อ 3.การจัดตลาดนัดพบระหว่างโรงสีกับเกษตรกรในพื้นที่ 57 จังหวัด จำนวน 519 ครั้ง วงเงินงบประมาณ 11 ล้านบาท มาตรการที่ 4.การผลักดันการส่งออกข้าวต้นฤดูปี 2553 โดยมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้เจรจาค้าข้าวกับ 7 ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์ บรูไน อิหร่าน ภายใน 4 เดือน ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)
ข้อ 5.มาตรการรับฝากข้าวเปลือกในยุ้งฉางของเกษตรกรในรูปแบบเดิมที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการ โดยกำหนดระยะเวลาตั้งแต่เดือนพ.ย.2552 - ก.พ.2553 วงเงินรายละไม่เกิน 200,000 บาท และคิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนให้ โดยใช้วงเงินงบประมาณจากวงเงินกู้เดิม 130,000 ล้านบาท ที่ใช้สำหรับการรับจำนำสินค้าเกษตร 3 ชนิดก่อนหน้านี้ ซึ่งขณะนี้มีเงินหมุนเวียนจากการที่รัฐบาลสามารถขายสินค้าในสต๊อกออกไปได้บางส่วน ส่วน ธ.ก.ส.คิดค่าบริหารโครงการ 4% ต่อปี รวมวงเงิน 742 ล้านบาท ซึ่งมาตรการนี้มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือไม่ให้เกษตรกรนำเข้าออกมาขายเร็ว เพื่อไม่ให้มีปริมาณสินค้าในตลาดมากเกินไป และในขั้นตอนการเก็บรักษาจะจ่ายค่าดูแลรักษาให้เกษตรกร ตันละ 1,000 บาท ด้วย
มาตรการที่ 6.การเสริมสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้แก่เกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกฤดูการผลิตปี 2553 ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในมาตรการที่ 2 นั้น รัฐบาลตั้งเป้าหมายเข้าไปรับซื้อข้าวจากเกษตรกรจำนวน 2 ล้านตัน โดยจะรับซื้อในแต่ละช่วงเวลาเป็นระยะๆในราคาและปริมาณที่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยจะเข้าไปรับซื้อข้าวในแหล่งผลิตที่มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากและมีราคาต่ำ ซึ่งราคาที่รัฐบาลจะรับซื้อในแต่ละช่วงนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยจะรับซื้อก็ต่อเมื่อราคาต่ำกว่าราคาเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากราคาประกันรายได้ แต่ กขช.ไม่ได้กำหนดว่าราคาที่ต่ำกว่าราคาเป้าหมายจะเป็นเท่าใด พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาดำเนินการไว้ 6 เดือน
สำหรับมาตรการการรับฝากข้าวในยุ้งฉางของเกษตรกร เบื้องต้นตั้งเป้าหมายปริมาณข้าวไว้ที่ 1.5 ล้านตัน ใช้งบประมาณเป็นจำนวน 18,550 ล้านบาท ส่วนการผลักดันการส่งออกไปต่างประเทศ ในส่วนของจีทูจี ตั้งเป้าหมาย ไว้ที่ 950,000 ตัน และการขายข้าวแบบพีทูพี 3,000,000 ตัน ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายขายข้าว ในปี 2553 ไว้ที่ปริมาณ 9-9.5 ล้านตัน มูลค่า 4,500-4,750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) วานนี้ (19 ต.ค.) ว่า กขช.ได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอแนวทางการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปี 2552/53 ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาในวันนี้ (20 ต.ค.) จำนวน 6 แนวทาง เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกที่กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำอยู่ในขณะนี้
สำหรับ 6 มาตรการที่จะนำมาใช้ ได้แก่ 1.การเพิ่มสภาพคล่องให้กับโรงสี เพื่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่เหมาะสม โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ประสานงานกับกระทรวงการคลัง เป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนสินเชื่อให้โรงสี โดยรัฐบาลจะช่วยรับภาระดอกเบี้ยแทนให้ 2% ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยที่สถานการเงินปล่อยกู้มาให้
2.มาตรการแทรกแซงราคาข้าว โดยรัฐบาลจะมอบหมายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) เข้าไปรับซื้อข้าวโดยตรงจากเกษตรกร ในราคาอ้างอิงที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศไว้ และส่งมอบโรงสีดำเนินการจัดเก็บในรูปแบบข้าวเปลือก และให้จัดเก็บในระยะสั้น ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนส่งมอบให้กรมการค้าต่างประเทศนำไปหาตลาดเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการรับซื้อข้าวโดยตรงครั้งนี้ คาดว่า จะใช้งบประมาณวงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยในส่วนของอคส. และอ.ต.ก. จะมีค่าบริหารจัดการให้ตันละ 45 บาท/เดือน รวมวงเงิน 200 ล้านบาท ส่วนโรงสีจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บตันละ 55 บาท/เดือน รวมวงเงิน 660 ล้านบาท
ข้อ 3.การจัดตลาดนัดพบระหว่างโรงสีกับเกษตรกรในพื้นที่ 57 จังหวัด จำนวน 519 ครั้ง วงเงินงบประมาณ 11 ล้านบาท มาตรการที่ 4.การผลักดันการส่งออกข้าวต้นฤดูปี 2553 โดยมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้เจรจาค้าข้าวกับ 7 ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์ บรูไน อิหร่าน ภายใน 4 เดือน ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)
ข้อ 5.มาตรการรับฝากข้าวเปลือกในยุ้งฉางของเกษตรกรในรูปแบบเดิมที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการ โดยกำหนดระยะเวลาตั้งแต่เดือนพ.ย.2552 - ก.พ.2553 วงเงินรายละไม่เกิน 200,000 บาท และคิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนให้ โดยใช้วงเงินงบประมาณจากวงเงินกู้เดิม 130,000 ล้านบาท ที่ใช้สำหรับการรับจำนำสินค้าเกษตร 3 ชนิดก่อนหน้านี้ ซึ่งขณะนี้มีเงินหมุนเวียนจากการที่รัฐบาลสามารถขายสินค้าในสต๊อกออกไปได้บางส่วน ส่วน ธ.ก.ส.คิดค่าบริหารโครงการ 4% ต่อปี รวมวงเงิน 742 ล้านบาท ซึ่งมาตรการนี้มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือไม่ให้เกษตรกรนำเข้าออกมาขายเร็ว เพื่อไม่ให้มีปริมาณสินค้าในตลาดมากเกินไป และในขั้นตอนการเก็บรักษาจะจ่ายค่าดูแลรักษาให้เกษตรกร ตันละ 1,000 บาท ด้วย
มาตรการที่ 6.การเสริมสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้แก่เกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกฤดูการผลิตปี 2553 ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในมาตรการที่ 2 นั้น รัฐบาลตั้งเป้าหมายเข้าไปรับซื้อข้าวจากเกษตรกรจำนวน 2 ล้านตัน โดยจะรับซื้อในแต่ละช่วงเวลาเป็นระยะๆในราคาและปริมาณที่เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยจะเข้าไปรับซื้อข้าวในแหล่งผลิตที่มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากและมีราคาต่ำ ซึ่งราคาที่รัฐบาลจะรับซื้อในแต่ละช่วงนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยจะรับซื้อก็ต่อเมื่อราคาต่ำกว่าราคาเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากราคาประกันรายได้ แต่ กขช.ไม่ได้กำหนดว่าราคาที่ต่ำกว่าราคาเป้าหมายจะเป็นเท่าใด พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาดำเนินการไว้ 6 เดือน
สำหรับมาตรการการรับฝากข้าวในยุ้งฉางของเกษตรกร เบื้องต้นตั้งเป้าหมายปริมาณข้าวไว้ที่ 1.5 ล้านตัน ใช้งบประมาณเป็นจำนวน 18,550 ล้านบาท ส่วนการผลักดันการส่งออกไปต่างประเทศ ในส่วนของจีทูจี ตั้งเป้าหมาย ไว้ที่ 950,000 ตัน และการขายข้าวแบบพีทูพี 3,000,000 ตัน ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายขายข้าว ในปี 2553 ไว้ที่ปริมาณ 9-9.5 ล้านตัน มูลค่า 4,500-4,750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ