ASTVผู้จัดการรายวัน - “พาณิชย์” ชงกขช. พิจารณามาตรการนำเข้าข้าว AFTA ฟันธงให้แค่อุตสาหกรรมที่ใช้ปลายข้าวเท่านั้นนำเข้าได้ ส่วนข้าวชนิดอื่นปิดประตูตาย และขอให้ตั้งกองทุนพัฒนาชาวนาไทย ส่วนข้อเสนอให้เลื่อนการเปิดเสรีออกไปขึ้นอยู่กับนโยบายจะเปิดหรือจะปิด พร้อมเสนอ 6 มาตรการเสริมช่วยพยุงโครงการประกันราคา ป้องกันข้าวราคารูด
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วานนี้ (5 ต.ค.) คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาด (อนุกขช.) ได้พิจารณามาตรการรองรับการเปิดตลาดข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยเตรียมที่จะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าภายใต้ AFTA โดยมีรมว.พาณิชย์เป็นประธาน ที่จะทำหน้าที่กำหนดมาตรการดูแลการนำเข้า ภายใต้กรอบ คือ การกำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้า ชนิดข้าวที่จะให้นำเข้า แนวทางการนำเข้า และพิจารณาเก็บค่าธรรมเนียมจากข้าวนำเข้า
ทั้งนี้ แนวทางที่คาดว่าจะนำมาใช้ ได้แก่ กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้นำเข้า ให้นำเข้าได้เฉพาะปลายข้าว และการนำเข้าต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยต้องผ่านการตรวจสอบสารตกค้าง สารปนเปื้อน ปลอดศัตรูพืช ปราศจาก GMOs และผู้นำเข้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับข้าวที่นำเข้า เพื่อนำเงินที่ได้มาจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาชาวนาไทย
“จะเสนอให้กขช. พิจารณาโดยเร็ว เพราะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค. โดยเมื่อกขช. อนุมัติ ก็จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หลังจากนั้นกระทรวงพาณิชย์ต้องมาออกระเบียบเพื่อบังคับใช้”แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนข้อเสนอคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอให้พิจารณาชะลอการลดภาษีนำเข้าข้าวเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 ออกไปก่อนนั้น เป็นเรื่องที่กขช. จะพิจารณา และกำหนดเป็นนโยบายออกมา โดยหากชะลอการเปิดเสรี มาตรการต่างๆ ที่ทำออกมา ก็จะยังไม่ต้องใช้ แต่ถ้าไม่ให้ชะลอการเปิดเสรี ก็คงจะต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ได้เตรียมเสนอมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปี 2552/53 ให้กขช. พิจารณา ซึ่งจะมีทั้งหมด 6 มาตรการ เพื่อเป็นมาตรการเสริม หลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มโครงการประกันราคาในเดือนต.ค.นี้ เพราะหากต่อไปมีปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ก็จะสามารถนำมาตรการที่กำหนดไว้มาใช้ได้ทันที ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับผลกระทบ
สำหรับ 6 มาตรการ ได้แก่ 1.รัฐเข้าไปอุดหนุนดอกเบี้ยให้โรงสี พ่อค้าข้าว และภาคเอกชนเข้ารับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคานำตลาด เพื่อเป็นการช่วยดึงราคาไม่ตกต่ำ 2.รัฐบาลเข้าไปสนับสนุนเพิ่มสภาพคล่องแก่องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) และสหกรณ์ เข้าไปรับซื้อข้าวเพื่อดึงปริมาณส่วนเกินออกจากตลาด 3.ส่งเสริมจัดตลาดนัดข้าวเปลือกตามพื้นที่ที่มีข้าวออกมาปริมาณมาก เพื่อให้ชาวนามีช่องทางในการจำหน่ายและป้องกันการถูกกดราคารับซื้อ
4.ให้กรมการค้าต่างประเทศเร่งหาตลาดขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) เพื่อระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาล ออกนอกประเทศให้เร็วที่สุด ทันช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูกที่กำลังเริ่มขึ้น โดยขณะนี้ทราบว่ามี 2-3 ประเทศแสดงความต้องการซื้อข้าวจากไทย เช่น จีน ฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างการเจรจาปริมาณ และราคา เพื่อลดปริมาณข้าวในสต็อก และไม่ให้กระทบต่อราคาในประเทศ
5.ให้อคส.พิจารณาออกมาตรการชะลอการขายข้าวของชาวนา โดยให้ชาวนานำข้าวเปลือกที่ปลูกได้ มาฝากเก็บไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกร เพื่อชะลอการปล่อยข้าวออกสู่ตลาด โดยเน้นเป้าหมาย ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ในภาคอีสาน และภาคเหนือ และ 6.ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกสินเชื่อพิเศษ ให้เกษตรกร และสหกรณ์ สร้างและพัฒนายุ้งฉาง เพื่อจัดเก็บข้าวของตัวเอง
นายชาญชัย รักษ์ธนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า อยากเสนอให้รัฐบาลเปิดเสรีนำเข้าข้าวภายใต้ AFTA แบบเปิดจริงๆ ไม่ใช่กำหนดให้นำเข้าแค่บางอุตสาหกรรมเท่านั้น เพราะที่มีข่าวว่าจะให้แค่อุตสาหกรรมที่ใช้ปลายข้าวเป็นผู้นำเข้า ก็มีไม่กี่อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ เช่น เบียร์ แป้ง และอาหารสัตว์ เท่านั้น
แต่หากเปิดให้มีการนำเข้าข้าวสาร จะมีอุตสาหกรรมอีกเป็นจำนวนมากได้ประโยชน์ และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าขายข้าวของโลกได้ ส่วนข้อกังวลที่ว่าจะมีการนำเข้าข้าวเข้ามาปลอมปนกับข้าวไทยนั้น ไม่น่าเป็นห่วง เพราะข้าวเพื่อนบ้านกับข้าวไทยคุณภาพต่างกัน มันคนละตลาดอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน รัฐยังสามารถเก็บค่าธรรมเนียมจากการนำเข้ามาเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาชาวนาไทยได้อีกมาก
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วานนี้ (5 ต.ค.) คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาด (อนุกขช.) ได้พิจารณามาตรการรองรับการเปิดตลาดข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยเตรียมที่จะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าภายใต้ AFTA โดยมีรมว.พาณิชย์เป็นประธาน ที่จะทำหน้าที่กำหนดมาตรการดูแลการนำเข้า ภายใต้กรอบ คือ การกำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้า ชนิดข้าวที่จะให้นำเข้า แนวทางการนำเข้า และพิจารณาเก็บค่าธรรมเนียมจากข้าวนำเข้า
ทั้งนี้ แนวทางที่คาดว่าจะนำมาใช้ ได้แก่ กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้นำเข้า ให้นำเข้าได้เฉพาะปลายข้าว และการนำเข้าต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยต้องผ่านการตรวจสอบสารตกค้าง สารปนเปื้อน ปลอดศัตรูพืช ปราศจาก GMOs และผู้นำเข้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับข้าวที่นำเข้า เพื่อนำเงินที่ได้มาจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาชาวนาไทย
“จะเสนอให้กขช. พิจารณาโดยเร็ว เพราะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค. โดยเมื่อกขช. อนุมัติ ก็จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา หลังจากนั้นกระทรวงพาณิชย์ต้องมาออกระเบียบเพื่อบังคับใช้”แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนข้อเสนอคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอให้พิจารณาชะลอการลดภาษีนำเข้าข้าวเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 ออกไปก่อนนั้น เป็นเรื่องที่กขช. จะพิจารณา และกำหนดเป็นนโยบายออกมา โดยหากชะลอการเปิดเสรี มาตรการต่างๆ ที่ทำออกมา ก็จะยังไม่ต้องใช้ แต่ถ้าไม่ให้ชะลอการเปิดเสรี ก็คงจะต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดไว้
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ได้เตรียมเสนอมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปี 2552/53 ให้กขช. พิจารณา ซึ่งจะมีทั้งหมด 6 มาตรการ เพื่อเป็นมาตรการเสริม หลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มโครงการประกันราคาในเดือนต.ค.นี้ เพราะหากต่อไปมีปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ก็จะสามารถนำมาตรการที่กำหนดไว้มาใช้ได้ทันที ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับผลกระทบ
สำหรับ 6 มาตรการ ได้แก่ 1.รัฐเข้าไปอุดหนุนดอกเบี้ยให้โรงสี พ่อค้าข้าว และภาคเอกชนเข้ารับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคานำตลาด เพื่อเป็นการช่วยดึงราคาไม่ตกต่ำ 2.รัฐบาลเข้าไปสนับสนุนเพิ่มสภาพคล่องแก่องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) และสหกรณ์ เข้าไปรับซื้อข้าวเพื่อดึงปริมาณส่วนเกินออกจากตลาด 3.ส่งเสริมจัดตลาดนัดข้าวเปลือกตามพื้นที่ที่มีข้าวออกมาปริมาณมาก เพื่อให้ชาวนามีช่องทางในการจำหน่ายและป้องกันการถูกกดราคารับซื้อ
4.ให้กรมการค้าต่างประเทศเร่งหาตลาดขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) เพื่อระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาล ออกนอกประเทศให้เร็วที่สุด ทันช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูกที่กำลังเริ่มขึ้น โดยขณะนี้ทราบว่ามี 2-3 ประเทศแสดงความต้องการซื้อข้าวจากไทย เช่น จีน ฟิลิปปินส์ อยู่ระหว่างการเจรจาปริมาณ และราคา เพื่อลดปริมาณข้าวในสต็อก และไม่ให้กระทบต่อราคาในประเทศ
5.ให้อคส.พิจารณาออกมาตรการชะลอการขายข้าวของชาวนา โดยให้ชาวนานำข้าวเปลือกที่ปลูกได้ มาฝากเก็บไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกร เพื่อชะลอการปล่อยข้าวออกสู่ตลาด โดยเน้นเป้าหมาย ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ในภาคอีสาน และภาคเหนือ และ 6.ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกสินเชื่อพิเศษ ให้เกษตรกร และสหกรณ์ สร้างและพัฒนายุ้งฉาง เพื่อจัดเก็บข้าวของตัวเอง
นายชาญชัย รักษ์ธนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า อยากเสนอให้รัฐบาลเปิดเสรีนำเข้าข้าวภายใต้ AFTA แบบเปิดจริงๆ ไม่ใช่กำหนดให้นำเข้าแค่บางอุตสาหกรรมเท่านั้น เพราะที่มีข่าวว่าจะให้แค่อุตสาหกรรมที่ใช้ปลายข้าวเป็นผู้นำเข้า ก็มีไม่กี่อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ เช่น เบียร์ แป้ง และอาหารสัตว์ เท่านั้น
แต่หากเปิดให้มีการนำเข้าข้าวสาร จะมีอุตสาหกรรมอีกเป็นจำนวนมากได้ประโยชน์ และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าขายข้าวของโลกได้ ส่วนข้อกังวลที่ว่าจะมีการนำเข้าข้าวเข้ามาปลอมปนกับข้าวไทยนั้น ไม่น่าเป็นห่วง เพราะข้าวเพื่อนบ้านกับข้าวไทยคุณภาพต่างกัน มันคนละตลาดอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน รัฐยังสามารถเก็บค่าธรรมเนียมจากการนำเข้ามาเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาชาวนาไทยได้อีกมาก