กขช.เสนอ 6 แนวทางรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ชงให้ ครม.พิจารณาวันพรุ่งนี้ มอบกระทรวงพาณิชย์ประสานคลังเป็นเจ้าภาพ ให้สินเชื่อโรงสี เพื่อรับซื้อข้าว
วันนี้ (19 ต.ค.) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ว่า ที่ประชุม กขช.มีมติเห็นชอบให้นำเสนอแนวทางการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ที่กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำอยู่ในขณะนี้ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (20 ต.ค) จำนวน 6 แนวทาง ได้แก่ 1.การเพิ่มสภาพคล่องให้กับโรงสี เพื่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่เหมาะสม โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ประสานงานกับกระทรวงคลัง เป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนสินเชื่อให้โรงสี โดยรัฐบาลจะช่วยรับภาระดอกเบี้ยแทนให้ร้อยละ 2% ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยที่สถานการเงินปล่อยกู้มาให้
2.มาตรการแทรกแซงราคาข้าว โดยรัฐจะมอบหมายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) เข้าไปรับซื้อข้าวโดยตรงจากเกษตรในราคาอ้างอิงที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศไว้ และส่งมอบโรงสีดำเนินการจัดเก็บในรูปแบบข้าวเปลือก และให้จัดเก็บในระยะสั้น ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนส่งมอบกรมการค้าต่างประเทศนำไปหาตลาดเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการรับซื้อข้าวโดยตรงครั้งนี้ คาดว่า จะใช้งบประมาณวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โดยในส่วนของ อ.ต.ก.และ อคส.จะมีค่าบริหารจัดการให้ตันละ 45 บาท/เดือน รวมวงเงิน 200 ล้านบาท ส่วนโรงสีจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บตันละ 55 บาท/เดือน รวมวงเงิน 660 ล้านบาท ทั้งนี้ เหตุผลที่ให้เก็บรักษาข้าวในรูปแบบข้าวเปลือกเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าข้าวที่รับซื้อจากเกษตรกรเป็นข้าวใหม่จริง และเมื่อเก็บไปแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องการเวียนเทียน เนื่องจากข้าวเปลือกจะมีอายุในการเก็บรักษาเพียงอายุสั้นๆ
3.การจัดตลาดนัดพบระหว่างโรงสีกับเกษตรกรในพื้นที่ 57 จังหวัด จำนวน 519 ครั้ง วงเงินงบประมาณ 11 ล้านบาท 4.การผลักดันการส่งออกข้าวต้นฤดูปี 2553 โดยมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้เจรจาค้าข้าวกับ 7 ประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์ บรูไน อิหร่าน ภายใน 4 เดือน ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)
5.มาตรการรับฝากข้าวเปลือกในยุ้งฉางของเกษตรกรในรูปแบบเดิมที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการ โดยกำหนดระยะเวลาตั้งแต่เดือน พ.ย.52 - ก.พ.53 วงเงินกู้ไว้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท และคิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนให้ โดยใช้วงเงินงบประมาณจากวงเงินกู้เดิม 1.3 แสนล้านบาท ที่ใช้สำหรับการรับจำนำสินค้าเกษตร 3 ชนิดก่อนหน้านี้ ซึ่งขณะนี้มีเงินหมุนเวียนจากการที่รัฐบาลสามารถขายสินค้าในสต๊อกออกไปได้บางส่วน โดย ธ.ก.ส.ขอคิดค่าบริหารโครงการ 4% ต่อปี รวมวงเงิน 742 ล้าน บาท ซึ่งมาตรการนี้มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือไม่ให้เกษตรกรนำเข้าออกมาขายเร็ว ส่งผลให้เกิดการกดราคารับซื้อ และในขั้นตอนการเก็บรักษาจะจ่ายค่าดูแลรักษาให้ตันละ 1,000 บาท
และ 6.การเสริมสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้แก่เกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ฤดูการผลิต 2553 เนื่องจากขณะนี้มีเกษตรกรบางส่วนที่มีการจดทะเบียน ร่วมทำประชาคมแล้ว และได้เก็บเกี่ยวข้าวตั้งแต่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากมีเกษตรกรบางส่วนได้เก็บเกี่ยวข้าวและขายไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ทัน ที่ประชุมเห็นควรให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้
วันนี้ (19 ต.ค.) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ว่า ที่ประชุม กขช.มีมติเห็นชอบให้นำเสนอแนวทางการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ที่กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำอยู่ในขณะนี้ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (20 ต.ค) จำนวน 6 แนวทาง ได้แก่ 1.การเพิ่มสภาพคล่องให้กับโรงสี เพื่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่เหมาะสม โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ประสานงานกับกระทรวงคลัง เป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนสินเชื่อให้โรงสี โดยรัฐบาลจะช่วยรับภาระดอกเบี้ยแทนให้ร้อยละ 2% ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยที่สถานการเงินปล่อยกู้มาให้
2.มาตรการแทรกแซงราคาข้าว โดยรัฐจะมอบหมายให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) เข้าไปรับซื้อข้าวโดยตรงจากเกษตรในราคาอ้างอิงที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศไว้ และส่งมอบโรงสีดำเนินการจัดเก็บในรูปแบบข้าวเปลือก และให้จัดเก็บในระยะสั้น ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนส่งมอบกรมการค้าต่างประเทศนำไปหาตลาดเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการรับซื้อข้าวโดยตรงครั้งนี้ คาดว่า จะใช้งบประมาณวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โดยในส่วนของ อ.ต.ก.และ อคส.จะมีค่าบริหารจัดการให้ตันละ 45 บาท/เดือน รวมวงเงิน 200 ล้านบาท ส่วนโรงสีจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บตันละ 55 บาท/เดือน รวมวงเงิน 660 ล้านบาท ทั้งนี้ เหตุผลที่ให้เก็บรักษาข้าวในรูปแบบข้าวเปลือกเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าข้าวที่รับซื้อจากเกษตรกรเป็นข้าวใหม่จริง และเมื่อเก็บไปแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องการเวียนเทียน เนื่องจากข้าวเปลือกจะมีอายุในการเก็บรักษาเพียงอายุสั้นๆ
3.การจัดตลาดนัดพบระหว่างโรงสีกับเกษตรกรในพื้นที่ 57 จังหวัด จำนวน 519 ครั้ง วงเงินงบประมาณ 11 ล้านบาท 4.การผลักดันการส่งออกข้าวต้นฤดูปี 2553 โดยมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้เจรจาค้าข้าวกับ 7 ประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์ บรูไน อิหร่าน ภายใน 4 เดือน ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)
5.มาตรการรับฝากข้าวเปลือกในยุ้งฉางของเกษตรกรในรูปแบบเดิมที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการ โดยกำหนดระยะเวลาตั้งแต่เดือน พ.ย.52 - ก.พ.53 วงเงินกู้ไว้รายละไม่เกิน 2 แสนบาท และคิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนให้ โดยใช้วงเงินงบประมาณจากวงเงินกู้เดิม 1.3 แสนล้านบาท ที่ใช้สำหรับการรับจำนำสินค้าเกษตร 3 ชนิดก่อนหน้านี้ ซึ่งขณะนี้มีเงินหมุนเวียนจากการที่รัฐบาลสามารถขายสินค้าในสต๊อกออกไปได้บางส่วน โดย ธ.ก.ส.ขอคิดค่าบริหารโครงการ 4% ต่อปี รวมวงเงิน 742 ล้าน บาท ซึ่งมาตรการนี้มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือไม่ให้เกษตรกรนำเข้าออกมาขายเร็ว ส่งผลให้เกิดการกดราคารับซื้อ และในขั้นตอนการเก็บรักษาจะจ่ายค่าดูแลรักษาให้ตันละ 1,000 บาท
และ 6.การเสริมสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้แก่เกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ฤดูการผลิต 2553 เนื่องจากขณะนี้มีเกษตรกรบางส่วนที่มีการจดทะเบียน ร่วมทำประชาคมแล้ว และได้เก็บเกี่ยวข้าวตั้งแต่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากมีเกษตรกรบางส่วนได้เก็บเกี่ยวข้าวและขายไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ทัน ที่ประชุมเห็นควรให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้