ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติปรับวิธีคำนวณเงินนำส่งเป็นแบบรายวันแทนรายเดือน หลังพบบางแบงก์หัวใสโยกเงินฝากเลี่ยงนำส่งเงินฝากเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หวังลดต้นทุนเงินนำส่งในการคุ้มครองเงินฝากและหาผลตอบแทนให้ได้มากกว่าเงินฝาก คาดระบบใหม่นี้เริ่มใช้ระบบใหม่ปีหน้า
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากเตรียมปรับระบบข้อมูลและระบบการคิดคำนวณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่จะนำส่งเข้ามายังสถาบันคุ้มครองเงินฝากใหม่ทั้งหมด จากปัจจุบันที่คิดเงินนำส่งจากฐานเงินฝากของบัญชีเงินฝากทั้งหมดเฉลี่ยเป็นรายเดือนให้ปรับใหม่มาคิดเป็นรายวันแทน โดยในเบื้องต้นคาดว่าหลังดำเนินการจัดจ้างและจัดทำระบบเสร็จจะเริ่มนำมาใช้ได้ภายในปีหน้า
"ในปัจจุบันสถาบันคุ้มครองเงินฝากคิดเงินนำส่งเป็นรายเดือน แต่มีบางแบงก์อาจจะปรับแต่งยอดเงินฝากในช่วงระหว่างเดือนได้ ทำให้ยอดเงินฝากมีการเคลื่อนไหวลดลงและเงินฝากที่จะนำส่งลดลงไปด้วย จึงปรับมาคิดคำนวณแบบรายวันแทน เพื่อเป็นการดูแลประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินฝากแท้จริง และเกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายทั้งตัวแบงก์พาณิชย์ที่รับเงินฝากเอง ซึ่งสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองถูกปิดกิจการ โดยไม่ต้องรอขอรับชำระหนี้จากการชำระบัญชีทรัพย์สิน รวมถึงส่งผลดีต่อสถาบันคุ้มครองเงินฝากด้วยในแง่ของการดูแล" นายสรสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ แม้สถาบันคุ้มครองเงินฝากปรับวิธีการคำนวณเงินฝากใหม่มาเป็นแบบรายวันนี้ แต่อัตราการนำส่งเงินเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝากยังคงเป็นงวดเช่นเดิม คือ ธนาคารพาณิชย์ต้องนำเงินฝากส่งปีละ 2 ครั้ง และคิดอัตราเงินนำส่ง 0.2%ต่องวด หรือ 0.4%ต่อปี แต่ในพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ได้กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากเรียกเรียกเก็บอัตราเงินนำส่งได้ตั้งแต่ 0.4-1%ของฐานเงินฝากธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของสถาบันการเงินแห่งนั้นที่ได้จากการจัดทำเรสติ้งในการพิจารณาจากฐานะ ซึ่งหากสถาบันการเงินใดมีความเสี่ยงต่ำการคิดอัตราเงินนำส่งต่ำไปด้วย ในทางตรงกันข้ามหากความเสี่ยงมาก อัตราเงินนำส่งจะสูงตาม
นายสรสิทธิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวนในช่วง 3 ปีแรก คือเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.51-10 ส.ค.54 และเมื่อเข้าปีที่ 4 หรือนับตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.54-10 ส.ค.55 จะลดการคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 50 ล้านบาท และในปีที่ 5 หรือวันที่ 11 ส.ค.55 เป็นต้นไปจะคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อบัญชีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ต้องการค้ำประกันเงินฝากให้แก่ผู้ฝากรายย่อยเท่านั้น
อนึ่งใน พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีวัตถุประสงค์หลักคุ้มครองบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่เป็นเงินบาท ทำให้บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไม่ได้รับการคุ้มครอง ประกอบกับเป็นกลไกสำคัญในการสร้างวินัยทางการเงิน ซึ่งจะเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน โดยการจำกัดวงเงินจ่ายคืน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ฝากให้ความสำคัญในการติดตามฐานะและการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ในขณะเดียวกันสถาบันการเงินจะดำเนินงานอย่างระมัดระวัง โปร่งใส และให้บริการที่ดีแก่ผู้ฝากเงิน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน.
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากเตรียมปรับระบบข้อมูลและระบบการคิดคำนวณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่จะนำส่งเข้ามายังสถาบันคุ้มครองเงินฝากใหม่ทั้งหมด จากปัจจุบันที่คิดเงินนำส่งจากฐานเงินฝากของบัญชีเงินฝากทั้งหมดเฉลี่ยเป็นรายเดือนให้ปรับใหม่มาคิดเป็นรายวันแทน โดยในเบื้องต้นคาดว่าหลังดำเนินการจัดจ้างและจัดทำระบบเสร็จจะเริ่มนำมาใช้ได้ภายในปีหน้า
"ในปัจจุบันสถาบันคุ้มครองเงินฝากคิดเงินนำส่งเป็นรายเดือน แต่มีบางแบงก์อาจจะปรับแต่งยอดเงินฝากในช่วงระหว่างเดือนได้ ทำให้ยอดเงินฝากมีการเคลื่อนไหวลดลงและเงินฝากที่จะนำส่งลดลงไปด้วย จึงปรับมาคิดคำนวณแบบรายวันแทน เพื่อเป็นการดูแลประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินฝากแท้จริง และเกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายทั้งตัวแบงก์พาณิชย์ที่รับเงินฝากเอง ซึ่งสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองถูกปิดกิจการ โดยไม่ต้องรอขอรับชำระหนี้จากการชำระบัญชีทรัพย์สิน รวมถึงส่งผลดีต่อสถาบันคุ้มครองเงินฝากด้วยในแง่ของการดูแล" นายสรสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ แม้สถาบันคุ้มครองเงินฝากปรับวิธีการคำนวณเงินฝากใหม่มาเป็นแบบรายวันนี้ แต่อัตราการนำส่งเงินเข้าสถาบันคุ้มครองเงินฝากยังคงเป็นงวดเช่นเดิม คือ ธนาคารพาณิชย์ต้องนำเงินฝากส่งปีละ 2 ครั้ง และคิดอัตราเงินนำส่ง 0.2%ต่องวด หรือ 0.4%ต่อปี แต่ในพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ได้กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากเรียกเรียกเก็บอัตราเงินนำส่งได้ตั้งแต่ 0.4-1%ของฐานเงินฝากธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของสถาบันการเงินแห่งนั้นที่ได้จากการจัดทำเรสติ้งในการพิจารณาจากฐานะ ซึ่งหากสถาบันการเงินใดมีความเสี่ยงต่ำการคิดอัตราเงินนำส่งต่ำไปด้วย ในทางตรงกันข้ามหากความเสี่ยงมาก อัตราเงินนำส่งจะสูงตาม
นายสรสิทธิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวนในช่วง 3 ปีแรก คือเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.51-10 ส.ค.54 และเมื่อเข้าปีที่ 4 หรือนับตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.54-10 ส.ค.55 จะลดการคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 50 ล้านบาท และในปีที่ 5 หรือวันที่ 11 ส.ค.55 เป็นต้นไปจะคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อบัญชีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ต้องการค้ำประกันเงินฝากให้แก่ผู้ฝากรายย่อยเท่านั้น
อนึ่งใน พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีวัตถุประสงค์หลักคุ้มครองบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่เป็นเงินบาท ทำให้บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไม่ได้รับการคุ้มครอง ประกอบกับเป็นกลไกสำคัญในการสร้างวินัยทางการเงิน ซึ่งจะเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน โดยการจำกัดวงเงินจ่ายคืน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ฝากให้ความสำคัญในการติดตามฐานะและการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ในขณะเดียวกันสถาบันการเงินจะดำเนินงานอย่างระมัดระวัง โปร่งใส และให้บริการที่ดีแก่ผู้ฝากเงิน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน.